สรุปงาน L&D FORUM 2021: เมื่อ PMAT พา HR โต้คลื่นความท้าทายของโลกการทำงานแห่งอนาคต

HIGHLIGHT

  • เพราะสถานการณ์โลกทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครเจอมาก่อน เช่นเดียวกับโลกของทำงานที่เปลี่ยนไปจนอาจไม่มีวันเหมือนเดิม ฉะนั้นเมื่อโจทย์ธุรกิจเปลี่ยน โจทย์ L&D เปลี่ยน และโจทย์ HR ก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน
  • เป้าหมายของ HR คือการเอาทักษะของคนไปปรับใช้กับการสร้างความสำเร็จให้องค์กร และต้องเร่งส่งเสริมการเรียนรู้ในองค์กรให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
  • HR ต้องเตรียมความพร้อมทั้งตัวเอง และเตรียมให้คนอื่นพร้อมเจอกับทุกสถานการณ์ ผ่านการ Upskill & Reskill
  • ผู้นำที่ประสบผลสำเร็จ อาจไม่ใช่คนที่มีความคิดสร้างสรรค์บรรเจิด แต่มีเสาอากาศไรดาร์ไว แล้วปรับตัวแสดงหาโอกาศใหม่ ๆ ตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าจะทำ People Transformation ต้องทำ Leadership Transformation ก่อน
  • หนึ่งในทักษะที่สำคัญก็คือ Life Long Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทุกองค์กรต้องสนับสนุนให้เกิดอย่างจริงจัง เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนในองค์กรเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาตัวเอง
  • เทรนด์การเรียนรู้แบบ Just In Time คือการที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้เพียงสั้น ๆ เฉพาะสิ่งสำคัญ และสามารถเอาไปประยุกต์กับงานได้ทันที
  • HR เดินออกจากพื้นที่แห่งความเคยชิน เพื่อมองทั้งหมดด้วยมุมมองใหม่ และเปิดใจรับ “การเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยวิธิการใหม่” แล้วทุกคนก็จะพร้อมโตคลื่นอนาคตที่กำลังท้าทายพวกเราอยู่

สรุปงาน L&D FORUM 2021: เมื่อ PMAT พา HR โต้คลื่นความท้าทายของโลกการทำงานแห่งอนาคต

สิ้นสุดลงไปแล้วกับงาน Learning & Development FORUM 2021 ที่จะยกระดับความสามารถของ HR และการพัฒนาองค์กร โดยในปีนี้ PMAT (Personnel Management Association of Thailand) หรือ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย ได้ชวน HR เตรียมความพร้อมเข้าสู่ Next Normal และ Future of Work ผ่านทัพวิทยากรหลายสิบท่าน ไม่ว่าจะเป็น HR Executive ผู้นำทางความคิด หรือผู้เชี่ยวชาญมากที่จะมาขยายมุมมองต่อการพัฒนาองค์กร

เพราะภายใต้การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ไม่ว่าจะจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 และการถูก Digital Disruption ส่งผลให้โลกการทำงานเกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง PMAT จึงเชื่อว่าหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้องค์กรอยู่รอดได้ก็คือ “ความรู้” ของคนในองค์กร เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาและวางแผนรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

แม้งานจะมี 5 วัน 16-20 สิงหาคม 2021 แต่วันนี้ HR NOTE จึงจะมาสรุปงานทั้งหมดไว้ในบทความเดียว เพื่อให้ HR ทุกท่านสามารถหยิบนำความรู้ที่ได้จากแต่ละวัน นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของท่านได้จริง

DAY1: Learning & Development to Future

L&D FORUM 2021 PMAT HR

วันนี้เกี่ยวกับอะไร

เริ่มวันแรกของงาน L&D FORUM 2021 จาก PMAT ด้วยการสำรวจความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนไป เพื่อให้ทราบว่าองค์กรต่าง ๆ ควรเตรียมพร้อมและรับมือกับสภาพแวดล้อมยุค Next Normal อย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่แค่ New Normal อีกต่อไป

PMAT จัดเต็มไปเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาร่วมพูดคุยกันถึง 9 ท่าน โดยมีคุณฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ CEO & Co-Founders จาก SkillLane เป็นผู้เริ่มเปิด Session แรกของงาน ตามมาด้วย คุณปฐมา จันทรักษ์ Vice President for Indochina Expansion & Managing Director IBM, คุณทัสพร จันทรี TAS Consulting Partner & HR Headquarter, Mr. Adrian Ole Executive Director (Partner) Deloitte Consulting, Singapore, คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ Chief Human Resource Officer, Gulf Energy Development PCL, ศ. ดร.นภดล ร่มโพธิ์  อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุณวิโรจน์ วงศ์สถิรยาคุณ Executive Vice President – Organization Effectiveness Thaioil Group, คุณพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ Founder and CEO, PacRim Group และปิดท้ายวันด้วย ดร. วิโรจน์ จิรพัฒนกุล Managing Director, Skooldio Chief Product Officer, Learn Corporation

HR ได้ความรู้อะไรบ้าง

สำหรับวันแรกของ L&D FORUM 2021 มุ่งเน้นไปที่เทรนด์ L&D ที่เปลี่ยนไป เพราะสถานการณ์ของโลกทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครเจอมาก่อน ทั้งโลกที่ชัตดาวน์ สายการบินที่หยุดนิ่ง หรือโรคระบาดที่ทำร้ายทุกคน เช่นเดียวกับโลกของทำงานที่เปลี่ยนไปจนอาจไม่มีวันเหมือนเดิม ทุกคนจึงเน้นย้ำความสำคัญของบทบาท L&D ในการพาองค์กรไปสู่ยุคใหม่ ฉะนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ L&D ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทกลายเป็นนักวิเคราะห์ นักออกแบบ นักเรียนรู้ ศิลปิน และนักสื่อสาร ซึ่งต้องต่อยอดความรู้ตลอดเวลาด้วย

นอกจากเรื่องโรคระบาดแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่วันนี้พูดถึงกันบ่อย ๆ ก็คือประเด็นการปรับตัวทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่ ดังนั้น L&D จะต้องสนับสนุน Digital Transformation เนื่องจาก COVID-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการ Disruption อย่างรวดเร็ว เมื่อโจทย์ธุรกิจเปลี่ยน โจทย์ L&D เปลี่ยน และโจทย์ HR ก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน เช่น HR ต้องคิดแล้วว่าจะเอา HR เทรนไปรวมกับ Human Experience ได้ยังไง?

HR อาจมีหน้าที่เล่าให้พนักงานรู้ว่าเป้าหมายขององค์กรคืออะไร? ขณะเดียวกันต้องทำความเข้าใจว่าเป้าหมายของพนักงานเขาต้องการอะไร? ผสมผสานการเรียนรู้เข้าไปตอบโจทย์ ทั้งเป้าหมายองค์กรและเป้หมายของคนทำงาน เพื่อสื่อสารว่าสิ่งเหล่านี้จะไปด้วยกันได้อย่างไร? ฉะนั้นหน้าที่ HR จึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งตัวเอง และเตรียมให้คนอื่นพร้อมเจอกับทุกสถานการณ์ ผ่านการ Upskill & Reskill เพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับโมเดลธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้น

 

ทักษะที่จำเป็นในโลกดิจิทัล
  1. Customers ประกอบด้วยการออกแบบความคิดการนำไปใช้การบริการ
  2. Technology การพัฒนาซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ธุรกิจการเรียนรู้ AI และธุรกิจดิจิทัล
  3. Way of working จะต้องมีความยืดหยุ่นและสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรม

DAY 2: Next Leadership with Culture

L&D FORUM 2021 PMAT HR

วันนี้เกี่ยวกับอะไร

สำหรับวันที่สอง PMAT เน้นไปที่สภาวะความเป็นผู้นำในโลกอนาคต เพราะผู้นำมีส่วนสำคัญมากในการพาองค์กรเดินหน้าสู่อนาคตได้อย่างมั่นคง มีประสิทธิภาพ และราบรื่น ด้วยการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใหม่

ประเดิม Speaker เปิดงานด้วย ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย ตามมาด้วยผู้นำองค์กรอีก 7 ท่าน ได้แก่ คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล Chairman KASIKORN Business, Technology Group (KBTG), คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม Group Chief Human Resources Officer, AIS and Intouch, ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ Chief Executive Officer, ACCOMM Group, คุณธันม์ทวิน คู่เรืองตระกูล ผู้อำนวยการฝ่าย World Business Strategy Regional Business Agile Transformation ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), คุณพุฒิกานต์ เอารัตน์ Head of People & Branding, Head of Risk Management and Head of Portfolio and Venture Management, SCB 10X, คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้งร้าน Penguin Eat Shabu และคุณทรงภัทร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา CEO Mind Dojo

HR ได้ความรู้อะไรบ้าง

“ผู้นำที่ประสบผลสำเร็จ อาจไม่ใช่คนที่มีความคิดสร้างสรรค์บรรเจิด แต่มีเสาอากาศไรดาร์ไว แล้วปรับตัวแสดงหาโอกาศใหม่ ๆ ตลอดเวลา” – ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคม PMAT กล่าว

ประโยคนี้น่าจะเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดสำหรับผู้นำในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะผู้นำทุกระดับต้องเร่งเครื่อง Transformation ให้ทันท่วงที และเป็นการทำจากแก่น ไม่ใช่แค่เปลือก โดยเฉพาะผู้บริหารระดับ C Level ต้องมีความตระหนักถึงวิกฤติที่เกิดขึ้น แก้ปัญหา และวางแผนเปลี่ยนแปลงองค์กรในระยะยาว

หนึ่งในทักษะที่สำคัญก็คือ Life Long Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทุกองค์กรต้องสนับสนุนให้เกิดอย่างจริงจัง เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนในองค์กรเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาตัวเอง และอนาคตกำลังจะเป็น Blended Learning คือให้คนมี Passion หลากหลาย สามารถเข้าถึงความรู้ที่ตัวเองสนใจ แล้วนำมาพัฒนาผสมผสานความรู้ที่ตัวเองมีอยู่

ฉะนั้นถ้าจะทำ People Transformation ต้องทำ Leadership Transformation ก่อน เริ่มจากเปลี่ยนวิธีคิด เน้นสร้างความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) เพราะผู้นำสามารถสร้างผลกระทบด้านบวกได้มากมาย ขึ้นอยู่ว่าผู้นำจะทำหรือไม่ ซึ่ง Speaker ของวันนี้ก็หวังว่า ผู้นำจะเป็น Game Changer ในองค์กร ที่จะเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางธุรกิจและตั้งเป้าหมายแผนธุรกิจใหม่ทั้งหมดได้จริง

Best Practice SCB10X

ความสำเร็จของ SCB10X เกิดจากการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

  • ตัดสินใจให้เร็ว เรียนรู้จากความผิดพลาด
  • สร้างผลกระทบ (Impact) ให้เกิดขึ้นจริง
  • ทำให้คนรักและไว้ใจ (Trust)
  • ปลดปล่อยศักยภาพของคนทำงาน

DAY 3: Experience of the Leaning Exploration

L&D FORUM 2021 PMAT HR

วันนี้เกี่ยวกับอะไร

ยังอยู่ในบรรยากาศของ COVID-19 ที่กล่าวถึงการที่องค์กรต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ค้นหาการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบใหม่ ๆ รวมไปถึงคนทำงานเองก็ต้องปรับตัวเช่นกัน โดยเฉพาะการเรียนรู้ทักษะใหม่ที่องค์กรต้องการ และยกระดับความสามรถของตัวเองทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง นับเป็นการเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทุกคนต้องสนใจ

วันนี้ได้รับเชิญวิทยากรทั้งหมด 6 ท่าน เริ่มต้นที่ คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ CEO and Founder Ookbee, คุณเอก อัศว์ศิวะกุล SVP, Academy Innovation, Strategic Partnership and Learning Engagement ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), คุณหัสนัย เตชเจริญปิติ HR Learning Manager, L’Oreal Thailand, คุณธีริศรา พวงประโคน Managing Director – PeopleScape, Major Development PCL, คุณธีรวัฒน์ อุดมยิ่งเจริญ Head of Talent Management – Asia BU, PepsiCo และ คุณเมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ CEO & Co-Founder BASE Playhouse

HR ได้ความรู้อะไรบ้าง

เพราะการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ทุกคนในความสนใจ และ HR ก็เป็นแผนกหนึ่งที่ต้องเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้กับพนักงานทุกคน ผ่านเครื่องมือและกลยุทธ์มากมายที่สามารถทำได้ เช่น Job Training, On Boarding หรือแม้กระทั่ง Company Outings

ทว่าในโลกยุคปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนการเรียนรู้มากมาย ทำให้การเข้าใจถึงรูปแบบมีเดียและการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเป็นทักษะแรก ๆ ที่ควรให้ความสนใจ เนื่องจากเทคโนโลยีเติบโตเร็วมาก ขณะที่คนเราเติบโตอย่างจำกัด และในอนาคตความฉลาดของเทคโนโลยีอาจจะแซงมนุษย์ด้วยซ้ำ ฉะนั้นเราต้องติดตามและรู้เท่าทันเทคโนโลยี

แน่นอนว่าการเรียนออนไลน์เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างแรกในช่วงนี้ ด้วยโลกเปลี่ยนแปลงเร็วและการใช้ชีวิตปัจจุบันที่ไม่เหมือนก่อน ทำให้ความรู้ที่ผ่านมา 4-5 ปีตกรุ่นไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนจึงต้องพัฒนาตัวอย่างต่อเนื่อง ลงทุนในตัวเอง และยอมรับความคิดเห็นคนอื่น

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และพัฒนาคนมีสารพัดอย่าง เช่น การได้แนวทางการทำงานที่คล่องแคล่วแบบ Agile, การมีคนเก่งและข้อมูลดี ๆ เอาไว้ขับเคลื่อนองค์กร, การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในองค์กร และการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่ดียิ่งกว่า ฯลฯ สุดท้ายแล้ว L&D ที่ยอดเยี่ยมก็จะเพิ่มคุณค่าขององค์กรอย่างยั่งยืน

 

องค์ประกอบสร้างคนให้มีทักษะสุดยอดบริการจาก Major Development
  • คัดสรรคนจาก DNA องค์กร
  • เน้นพัฒนาพนักงานกลุ่มให้บริการลูกค้า
  • มาตรฐานการบริการเป็นเลิศ
  • เปิดโอกาสให้พนักงานเติบโต

 

DAY 4: The Future Learning Design

L&D FORUM 2021 PMAT HR

วันนี้เกี่ยวกับอะไร

หลังจากเข้าใจการเปลี่ยนแปลง L&D ไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการลงมือทำในงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย PMAT มองว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการออกแบบ ถ่ายทอด และก้าวต่อของการเรียนรู้ ฉะนั้น HR จะต้องรู้จักนำทักษะ เครื่องมือ และกรอบแนวทางไปใช้งานจริง เพื่อยกระดับการพัฒนาภายในองค์กรต่อไป

วันนี้มีวิทยากรทั้งหมด 6 ท่าน ดร.เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), คุณฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ CEO และ Co-Founders, SkillLane, คุณชุติมา เกษมกรกิจ Deputy Managing Director, KBTG, รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข Executive Advisor, Bumrungrad Academy, ผศ.ดร.ดาวิษา ศรีธัญรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), คุณพิริยะ กุลกาญจนาชีวิน Co-Founder : Glow Story, License holder and Curator: TEDxBangkok, คุณญาณวุฒิ จรรยหาญ หนึ่งในผู้ก่อตั้งเสือร้องไห้ เจ้าของเพจ พี่เอ็ด 7 วิ และคุณชิน วังแก้วหิรัญ CEO Vonder

HR ได้ความรู้อะไรบ้าง

ทุกคนอาจคิดว่าเป้าหมาย L&D ของ HR คือการทำให้คนเก่งขึ้น แต่ในยุคต่อไปการเป็นคนเก่งอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะ HR ต้องทำให้โมเดลธุรกิจกับคนเก่งให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายคือการเอาทักษะของคนไปปรับใช้กับการสร้างความสำเร็จให้องค์กร และ HR ต้องเร่งส่งเสริมการเรียนรู้ในองค์กรให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

ทั้งนี้ CEO กว่า 80% เชื่อว่า การหาทักษะใหม่ ๆ ให้องค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด มีการสำรวจพนักงานโดยถามว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้มีความสุขกับการทำงาน ปัจจัยแรกคือลักษณะของงานที่ทำ และปัจจัยก็มาคือโอกาสการเรียนรู้เติบโต ซึ่งถ้าเราจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เกื้อหนุนกับการเรียนรู้ จะมีผลต่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 25% และถ้าเราสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เรียน จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้นไปถึง 55%

ทว่าหลักสูตรการเรียนรู้ส่วนใหญ่ใช้เวลาเรียนนานและสิ่งที่เรียนไม่ตอบโจทย์กลับไปทำงานรูปแบบเดิม จึงเกิดเทรนด์การเรียนรู้แบบ Just In Time ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้เพียงสั้น ๆ เฉพาะสิ่งสำคัญ และสามารถเอาไปประยุกต์กับงานได้ทันที

และการเรียนรู้ไม่ได้มีอยู่แค่ในห้องเรียน Serious Leisure หรือกิจกรรมยามว่างแบบจริงจัง ก็ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีของ HRD ที่จะช่วยให้พนักงานค้นหากิจกรรมยามว่างที่จริงจัง โดยเป้าหมายในการใช้กิจกรรมยามว่างที่จริงจังก็เพื่อการพัฒนาคน และทำให้งานอดิเรกนั้นไม่ได้เล่นอย่างเปล่า ๆ แต่ต้องเล่นอย่างจริงจังและเพิ่มพลังให้องค์กรด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทุกคนสนุกไปกับการพัฒนา และสนุกไปกับการเรียนรู้พร้อมกัน

การทำ Serious Leisure ในงาน HRD
  • ต้องมี mindset
  • เปิดใจและขยายมุมมอง
  • เปิดใจให้กับกิจกรรมยามว่าง แต่จริงจังโดยเฉพาะกับผู้บริหารระดับสูง

 

DAY 5: Accelerating L&D thought Innovation Technology

L&D FORUM 2021 PMAT HR

วันนี้เกี่ยวกับอะไร

หลังจากได้กรอบแนวคิดและเครื่องมือในการพัฒนาแล้ว ปิดท้ายวันสุดท้ายกับการเจาะลึกไปที่การขยายการพัฒนาออกไปทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างอนาคตแห่งการเรียนรู้ โดยสิ่งที่จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเข้าถึงทุกคนก็คือนวัตกรรมเทคโนโลยี (Innovation Technology) โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทุกองค์กร และทำให้เกิดการเรียนรู้แบบไร้พรมแดนต่อไป

PMAT ยังคงจัดเต็มวิทยากรทั้งหมด 8 ท่าน ได้แก่ คุณวุฒิชัย ก่อสกุล Director – Virtual Link Solutions, คุณ Summer Salomonsen, Ed.D. VP Content Product & Head of Cornerstone Studios, คุณ Boonchoo Malhotra, Regional Director, People Strong, ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ Chief Executive Officer, ACCOMM Group, คุณนกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ CEO & Co-Founder, Conicle, คุณวาณี พิชเยนทรโยธิน รองประธานบริหารอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคล G-ABLE, ดร.วชรวรรธน์ ปิยะรัตนมงคล SVP-Organization Development & Learning, Gulf Energy Development PCL. และคุณโอชวิน จิรโสตติกุล CEO FutureSkills

HR ได้ความรู้อะไรบ้าง

Innovation Technology เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น e-learning หรือ virtual learning ซึ่ง HR สามารถประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบลูกผสมไฮบริดระหว่าง e-learning กับการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย หลาย ๆ บริษัทยังจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ในห้องเรียน เพราะจะฝึกทักษะการเรียนรู้หน้างานยังจำเป็น และถ้ามาบวกกับ e-learning เสริมทักษะ ก็จะทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การคัดเลือกเทคโนโลยีการเรียนรู้เข้ามาใช้งานในองค์กรที่ Speaker แนะนำ เช่น Mobile Training เมื่อสมาร์ทโฟนกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น, VDO Base Learning นำเสนอการเรียนรู้แบบภาพเคลื่อนไหว, Social learning การรับฟังและแชร์ความรู้ที่จากสังคมภายนอกเพื่อเก็บนำมาพัฒนาองค์กร, Gamification สร้างแรงจูงใจการเรียนรู้ผ่านเกม และ Micro Learning การเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจงแบบพอดีคำ ใช้เวลาไม่นาน และโฟกัสเพียงสิ่งสำคัญ เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและนำไปใช้งานได้ทันทีนั่นเอง

เพราะมนุษย์เกิดมาเพื่อเรียนรู้ และมีการเรียนรู้ซ้ำได้เรื่อย ๆ เพียงแต่ว่าเมื่อพูดถึงการเรียนรู้ขององค์กร ปัจจุบันหลายองค์กรไม่ได้มองเรื่องการพัฒนาคนในองค์กรอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการพัฒนาให้กับพาร์ทเนอร์ด้วย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในและนอกองค์กรต่อไป

 

งานวิจัยของ PWC ระบุว่า HR technology ลงทุนด้านไหนบ้าง
  1. 46% เป็นการลงทุนทางด้านทักษะและการเดินทางอาชีพ
  2. 49% เป็นงบสำหรับการลงทุนค้นหาคนเก่งจากภายนอก
  3. 45% การรับคนทำงานจะใช้ AI
  4. 36% เกี่ยวข้องกับด้าน Tailor Learning Journey ให้เหมาะสมกับองค์กร
  5. ปลดล็อกผลการปฏิบัติงานของพนักงานให้ขึ้นสูงสุด

บทสรุป

ในโลกที่หมุนเร็วขึ้นเป็นทวีคูณ การส่งเสริมให้คนทำงานมี Growth Mindset จึงเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรกำลังให้ความสำคัญมาก ไม่แปลกที่เราจะได้ยินคำว่าการพัฒนาความรู้ในรูปแบบ Upskill และ Reskill

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคน ทุกตำแหน่ง และทุกองค์กรอยู่รอดในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ทุกวินาที และเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามาทดแทนมนุษย์เช่นกัน

เราจึงอยากสรุปว่า ขอแค่ HR เดินออกจากพื้นที่แห่งความเคยชิน เพื่อมองทั้งหมดด้วยมุมมองใหม่ และเปิดใจรับ “การเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยวิธิการใหม่” แล้วทุกคนก็จะพร้อมโตคลื่นอนาคตที่กำลังท้าทายอยู่

สนใจสมัครสมาชิก PMAT Member Plus :https://qrgo.page.link/8ie2

ผู้เขียน

Sahatorn Petvirojchai

Sahatorn Petvirojchai

Manager of HREX.asia who works in media platforms for a long time. Interested in Global Culture, Marketing, and Self Development.

บทความที่เกี่ยวข้อง