Q&A By HR NOTE: Kincentric Framework For Agile Organization: จะ Transform องค์กรใหญ่ ที่อยู่มานาน มี Culture แบบ Hierarchy หนักๆ เชื่องช้า ให้ Agile ได้อย่างไร

แรกเริ่มเราต้องมาวิเคราะห์ก่อนว่าการขับเคลื่อนให้องค์กรเป็น Agile organization นั้นควรเข้าไปปรับตรงจุดไหน โดย Kincentric มี Framework ในการบริหารจัดการใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. วัฒนธรรมองค์กร
2. โครงสร้างองค์กรและการออกแบบองค์กรในปัจจุบัน
3. การบริหารงานบุคคลและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานบุคคล
โดยวิธีการที่จะวิเคราะห์ว่าแนวทางไหนที่องค์กรควรให้ความสำคัญก่อนนั้นมีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้ Employee survey, Culture survey, เปรียบเทียบกับองค์กรที่มี Agile สูง หรือแม้กระทั่งการวัด Business performance
ดังนั้น การเกิด Agile organization ไม่ได้หมายถึงการปรับโครงสร้างองค์กรให้ flat อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่ง Kincentric เองเคยมีงานวิจัยเช่นกันว่าองค์กรที่มี Hierarchy อยู่มากก็สามารถเป็น Agile organization ได้เช่นกัน เพราะ Agile คือ Mindset ของพนักงานที่ต้องการตอบสนองต่อความต้องการอย่างรวดเร็วที่สุด
สุดท้าย ขอยกตัวอย่างบทความที่ Kincentric เคยเขียนถึง “Squad” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในการทำ Agile ดังนี้ครับ

Agile Organization ในโลกธุรกิจยุคดิจิตอล

ในโลกธุรกิจปัจจุบันเราเห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เราใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพลังทางความคิด (Mental Power) ช่วยให้เราคำนวณประมวลผลได้แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้นกว่าที่สมองมนุษย์จะทำได้ ความสามารถของดิจิตอลเทคโนโลยีนี้กำลังเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันของธุรกิจและองค์กรต่างๆ การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงต้องรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ซับซ้อนขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดคำถามว่า องค์กรควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างตามยุคดิจิตอลอย่างไร คำตอบที่ได้ยินบ่อยๆ ไม่ว่าปรับแบบเล็กน้อยๆ หรือปรับแบบเปลี่ยนโฉมใหม่ สิ่งสำคัญคือต้อง agile
ถ้าพูดถึง Agile organization บริษัทที่เป็นต้นแบบและถูกกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นชื่อของ Spotify บริษัทบริการเพลงสตรีมมิ่งสัญชาติสวีเดน โครงสร้างทีมของ Spotify กลายเป็นกรณีศึกษาสำหรับ Agile Organization ต่างๆ เพราะมีแนวทางการจัดการเพื่อความคล่องตัวอย่างมาก โดยมุ่งเน้นที่การจัดโครงสร้างทีมและการประสานงานระหว่างทีม
ทีมงานย่อยใน Agile organization มีชื่อเรียกว่า “Squad” บางองค์กรก็เรียกแตกต่างกันไป เช่น Crew, Party หรือ Troop แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ เป็นทีมงานที่ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 5-7 คนจาก Functions งานต่างๆกัน Squad จะมีการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายโดยไม่ต้องพึงพา Squad อื่น และมีอิสระ (Autonomy) ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆได้เพื่อความคล่องตัว
Squad หลายๆทีมที่มีเป้าหมายในธุรกิจเดียวกันเมื่อถูกจัดรวมกันจะเรียกว่า Tribe ความสัมพันธ์ระหว่าง Tribe เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดทางธุรกิจ เพื่อให้ Squad ต่างๆ มีเป้าหมายทางกลยุทธ์ที่สอดคล้องกัน (Strategic Alignment) การประสานงานระหว่าง Squads ใน Tribe มักเกิดขึ้นในรูปแบบกันเอง ไม่เป็นทางการ และ Tribe leader มีหน้าที่ในการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีร่วมกันระหว่าง Squads
(ดูภาพประกอบ) นอกจาก Squad และ Tribe แล้วยังมีกลุ่มโครงสร้างที่เรียกว่า Chapter และ Guild โดย Chapter เป็นกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญจาก Function เดียวกัน เช่น Software developers หรือ Salesman เป็นต้น โดยกลุ่มคนใน Chapter เดียวกันจะมาจากคนละ Squad เป้าหมายคือการสร้างกลุ่มเพื่อแบ่งปันความรู้เชิงเทคนิค โครงสร้างใน Chapter มีลักษณะ Flat มากเนื่องจากเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ส่วน Guild เป็นกลุ่มคนที่อาจจะมาจากต่าง Squad และต่าง Chapter และต่าง Tribe ได้ เพียงแต่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน Guild มีเป้าหมายเพื่อการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ๆ เช่น Project pilot ต่างๆ
การออกแบบโครงสร้างใน Agile organization มีทางเลือกมากมาย และไม่จำเป็นต้องยึดติดกับแนวทางใดแนวทางหนึ่ง คำถามสำคัญที่ต้องตอบให้ได้คือ โครงสร้างนั้นๆสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจและการเปลี่ยนแปลงที่สร้างมูลค่าได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ (Dynamic Capability) และการตัดสินใจดังกล่าวให้ผลลัพธ์ที่เสถียร (Stability) มากน้อยเพียงใด Agile Organization ที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงโดยยังคง Stability ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้โครงสร้างองค์กรแบบ Agile organization ประสบความสำเร็จคือวัฒนธรรมองค์กรและ Mindset ของบุคลากร ซึ่งเราจะพูดถึงประเด็นนี้ในครั้งต่อไป
โพสนี้เป็น Content ที่ผลิตจากโปรเจกใหม่ถอดด้ามของเรา…HR คนไหนมีคำถามเกี่ยวกับประเด็นใดในการทำงานสามารถส่งคำถามเข้ามาได้โดยตรงทาง Inbox ของแฟนเพจ หรือผ่านลิงค์นี้ https://forms.gle/dmzmVrMbrSVieprd8 ทางเราจะทำการติดต่อประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญให้กับท่านแบบฟรีๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้พวกเราคนทำงานชาวไทยสามารถผ่านวิกฤติจากไวรัสครั้งนี้ไปได้ โดยเราจะขอนำคำถามนั้นไปพัฒนาต่อเป็น Content เพื่อช่วยเหลือคนในวงกว้างต่อไปอีกด้วย
Our partner: Reianthong Vongsangkam is a Human Resources Consultant (HR Consultant) at Kincentric. Kincentric is Thailand Consulting Capabilities: With 27 highly experienced consultants partnering with our clients in Thailandand the Southeast Asian region to provide exceptional quality services and consulting. Visit company facebook here https://www.facebook.com/kincentricthailand/
สำหรับผู้ที่อยากเข้าร่วมเป็น Partner กับเราสามารถอ่านรายละเอียดพร้อมส่งใบสมัครได้ในลิงค์นี้

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง