Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2023

มาถึงเดือนสุดท้ายของปี 2023 ที่แสนวุ่นวายของชาว HR เพราะเป็นปีที่โลกเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากเกิดเหตุโควิด-19 และองค์กรส่วนใหญ่ต้องปรับปรุง พัฒนา และเลือกใช้นโยบายบางส่วนที่ต่อยอดมาจากช่วงเวลาดังกล่าว บ้างก็เป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จ บ้างก็เป็นนโยบายที่ล้มเหลว โดยสิ่งเหล่านี้ต่างจำเป็นต้องสอดคล้องกับค่านิยม, ทัศนคติ และบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยอีกด้วย ดังนั้น HR ที่พร้อมรับฟังผู้อื่นและปรับตัวเป็นประจำเท่านั้นที่จะอยู่รอดในโลกธุรกิจได้อย่างแท้จริง

Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อประจำเดือนธันวาคม 2023 มุ่งเน้นไปในหลากหลายประเด็น ทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ สอดคล้องกับบริบทของสังคมในแต่ละช่วง โดยมีคำถามที่น่าสนใจและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ดังนี้

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2023

Q1 : ลูกจ้างติดสุราและมีอาการมึนเมามาทำงาน ควรบริหารจัดการอย่างไร ?

กรณีที่ลูกจ้างติดสุรา ถึงแม้จะดื่มข้างนอก แต่ยังคงมีอาการมึนเมา ส่งผลให้ต้องลาป่วยบ่อยๆ นายจ้างสามารถทำการใดได้บ้าง เนื่องจากลูกจ้างลางานบ่อย ลางานเนื่องจากพักรักษาตัวด้วยอาหารกระเพาะอาหารอักเสบและพิษสุรา ซึ่งปีก่อนได้ประสบอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขี่รถมอเตอร์ไซด์ไปชนท้ายรถกระบะ ส่งผลให้ต้องพักรักษาตัว 2 ครั้ง เราควรบริหารจัดการพนักงานคนดังกล่าวอย่างไร ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

ข้อแนะนำโดยย่อค่ะ ลูกจ้างลาป่ายบ่อย ๆ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม และทำให้มีผลเสียต่อการทำงาน ให้เรารับมือดังนี้

1. ลูกจ้างลาได้ตามที่ป่วยจริง แต่จะได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันต่อปี ตามกฎหมายแรงงาน

2. บริษัท/นายจ้าง/ฝ่าย HR ต้องเรียกคุย สอบถามสาเหตุที่ทำให้ป่วยบ่อย ๆ ยิ่งลูกจ้างติดสุราเป็นผลเสียต่อการทำงาน หากเลิกดื่มไม่ได้ ให้ลงโทษทางวินัยจากขั้นเบาไปถึงขั้นหนัก คือพิจารณาเลิกจ้าง แต่การเลิกจ้างกรณีนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือนายจ้างอาจใช้วิธีเรียกคุยให้ลูกจ้างสำนึกผิด และขอลาออกด้วยตนเอง

3. การับพนักงานในครั้งต่อๆ ไป นายจ้าง/บริษัท ต้องทบทวนวิธีการสรรหา คัดเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติให้ชัดเจน เช่น ไม่รับผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มของมึนเมาทุกประเภท แม้ว่าจะเป็นสิทธิส่วนบุคคล ให้ระบุไว้ในระเบียบการสรรหาโดยต้องไม่ขัดกับ PDPA แนะนำให้กำหนดไว้ใน Employee Privacy Notice

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community 


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2023

Q2: พนักงานส่งเอกสาร จะได้โบนัสเหมือนพนักงานออฟฟิศหรือไม่ ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร และ Poonnie HR

โดยหลักปฏิบัติทั่วไป กรณีมีการจ่ายโบนัส พนักงานทุกคนในบริษัทจะได้รับกันทุกคน เพราะถือว่าทุกคนมีส่วนช่วยกันทำงาน แต่สัดส่วนในการจ่ายโบนัสอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทค่ะ

ถ้าจ้างงานแบบพนักงานประจำ เหมือนตำแหน่งอื่นๆ ควรได้เช่นเดียวกัน เพราะมีส่วนในการที่ทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ครับ 0

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2023

Q3: โดน HR ลงโทษย้อนหลังตามกฎบริษัทที่เราไม่รู้ว่ามีอยู่ ควรทำอย่างไร ?

สวัสดีค่ะ อยากสอบถามว่า HR สามารถลงโทษ/ตักเตือนเราย้อนหลังได้ไหมคะ ถ้าเราไม่ทราบว่าบริษัทมีกฎข้อใดข้อหนึ่งอยู่ และการกระทำนั้นผ่านมานานแล้ว แต่ทาง HR เพิ่งส่งข้อความมาตักเตือนเราว่าสิ่งที่ทำนั้นผิดกฎค่ะ

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

โดยการปฏิบัติที่ถูกต้อง ก่อนที่พนักงานจะเริ่มทำงาน ทาง HR จะมีการปฐมนิเทศพนักงานเพื่อชี้แจงกฎข้อบังคับและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการทำงาน

กรณีลงโทษทางวินัยย้อนหลัง หากเหตุที่เกิดนานเกิน 1 ปี จะไม่มีผล เนื่องจากอายุความในการกระทำทางวินัยมีเพียง 1 ปี

การที่พนักงานไม่ทราบว่าบริษัทมีกฎข้อใดข้อหนึ่งอยู่ แนะนำให้พูดคุยกับ HR และผู้บังคับบัญชาให้มีความเข้าใจตรงกัน และหากพนักงานผิดจริงก็ให้ปรับปรุงแก้ไข เพื่อการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร เริ่มต้นกันใหม่ค่ะ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2023

Q4: ไม่ผ่านโปรแต่บริษัทแจ้งพนักงานหลัง 119 วัน

สัญญาแจ้งไว้ว่า “ใน**ระหว่าง** 119 วันหากผลการทำงานไม่เป็นที่หน้าพอใจ บริษัทมีสิทธิเลิกจ้างโดยมิจ่ายค่าชดเชยใดๆ”

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ

1. ช่วงวันที่ 110 ประเมิณรอบแรก ผล คือ ผ่านการประเมิณแบบคาบเส้น

2.หลังผ่าน 119 วันมาแล้วโดยประมาณ 1 อาทิตย์ ได้มีการแจ้งใหม่ว่า “ ไม่ผ่านโปร ” แต่ “ยังมีการจ้างงานต่อจนถึง อีก 1 รอบเดือนถัดไป” โดยมิได้มีระบุในสัญญาจ้าง หรือ เป็นการต่อ Probation แต่อย่างใด

คำถามคือ

1. เราเรียกร้องสิทธิของเราได้แบบใดบ้าง

2.เรา “จำเป็น” ต้องทำงานให้เค้าจนถึงอีกรอบเดือนถัดไปหรือไม่ ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

1. เราเรียกร้องสิทธิของเราได้แบบใดบ้าง : การจ้างงานเกิน 119 วัน หากเลิกจ้าง บริษัทต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยก่อนจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไป การเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าว บริษัทต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

2. เรา “จำเป็น” ต้องทำงานให้เค้าจนถึงอีกรอบเดือนถัดไปหรือไม่ ? : ให้สอบถามความจำเป็น ที่บริษัทให้ทำงานต่อ หากเป็นประโยชน์ต่อบริษัท ก็สามารถทำงานต่อได้ค่ะ โดยบริษัทต้องจ่ายค่าจ้างเงินเดือนตามปกติ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2023

Q5: ต้องมีพนักงานกี่คนถึงจำเป็นต้องใช้แผนก HR

เนื่องจากบริษัทจะทำการเปิดทำงานกะกลางคืนพนักงานกะกลางคืนประมาณ 30-40 คน อยากสอบถามชาว HR ว่าตามกฎหมายขั้นต่ำแล้วควรมี HR จำนวนกี่คนในการดูแลพนักงาน

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

ตามกฎหมาย ฯ ไม่มีการกำหนดจำนวนพนักงานกี่คนที่ต้องมี HR  อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำว่ากรณีที่มีพนักงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
ควรมี HR ดูแลรับผิดชอบ อย่างน้อยก็ต้องดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. การขึ้นทะเบียนนายจ้าง ลูกจ้าง การนำส่งเงินสมทบประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน2. ต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง