สรุปงานเสวนา Thriving or Struggling in the Era of AI

HIGHLIGHT

  • การเติบโตของ AI คือเรื่องที่ทุกคนต้องเรียนรู้ ไม่ได้เป็นแค่หน้าที่ของ HR เท่านั้น เพราะหากองค์กรไม่มีความเป็น Digital Literacy เราก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้เลย ซึ่งการรับฟังประสบการณ์จากวิทยากรชั้นนำจะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น
  • Change Management ต้องเริ่มจากการทำให้คนในองค์กรเชื่อมั่นใน AI ก่อน โดยเราสามารถเร่ิมจากการทำ Pilot Project ซึ่งจะช่วยทั้งด้านของการทำความเข้าใจ และเป็นตัวอย่างให้คนเห็นว่าปัญญาประดิษฐ์ช่วยงานมนุษย์ได้จริง
  • รากฐานของ AI คือการมีข้อมูลที่ดี (Data Auality) เราต้องรู้ว่าเป้าหมายขององค์กรคืออะไร ต้องการผลลัพธ์แบบใด และเลือกใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพ ปราศจากอคติในการสอน AI
  • HR ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของ AI ทั้งในแง่ของเทคโนโลยี ตลอดจนการตอบรับจากสังคม เพราะมันคือเทคโนโลยีที่ใหม่มาก อาจมีค่านิยมที่แตกต่างกันในแต่ละบริบทและสถานการณ์ กฎบางอย่างที่เคยถูกยอมรับก็อาจกลายเป็นเรื่องผิด HR จึงต้องหาข้อมูลตลอดเวลา

สรุปงานเสวนา Thriving or Struggling in the Era of AI

เมื่อ AI เข้ามามีบทบาทมากกว่าที่คุณคิด การเตรียมพร้อมขององค์กร ไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ของ HR เท่านั้นอีกต่อไป แต่จะทำอย่างไรให้ทั้งองค์กรขับเคลื่อนธุรกิจไปได้พร้อมกันอย่างยั่งยืน เหตุนี้ Kincentric จึงร่วมมือกับ HREX จัด Webinar ในหัวข้อ Thriving or Struggling in the Era of AI ขึ้นมาเพื่อจุดประกายความคิดและศึกษาประสบการณ์จากวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ที่จะทำให้เรารู้ว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจในยุคนี้คืออะไร, วัฒนธรรมองค์กรมีผลกับการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างไร และบทบาทของผู้นำมีส่วนสำคัญแค่ไหนกับการก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่แบบนี้ 

รายชื่อวิทยากร

  • คุณดิสพงศ์ พรชนกนาถ – Human Resource Director จาก WHA Group
  • คุณปราโมทย์ พวงสำลี – Chief People Officer จาก CardX Thailand
  • ดร. พิณนรี ธีร์มกร – Lecturer and AI Strategist จาก Sasin School of Management
  • คุณนลิน เตชะสกุลสิน – Consultant จาก Kincentric Thailand
  • ดำเนินรายการโดย : คุณสหธร เพชรวิโรจน์ชัย – Manager จาก HREX.asia 

สรุปเสวนา ‘ถอดรหัสบทบาทขององค์กรและผู้นำจากเคสจริง ประสบการณ์จริง’

ดร. พิณนรี ธีร์มกร มองว่าหากองค์กรต้องการนำ AI มาใช้ เราต้องเริ่มต้นจากการทำ AI Transformation Playbook ประกอบด้วยขั้นตอนคือ

  1. ลองเอา AI มาเล่นเป็นโปรเจ็คขนาดเล็ก (Pilot Project) เพื่อทดลองว่าเรามีปัญหาหรือมีการเตรียมตัวพร้อมแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างให้คนที่ยังไม่เชื่อ AI ได้เห็นถึงความสำเร็จจากการใช้เครื่องมือดังกล่าวด้วย
  2. การสร้างทีม AI ขององค์กร
  3. การฝึกอบรมเรื่อง AI ให้กับคนในองค์กร
  4. พัฒนายุทธศาสตร์ทางด้าน AI ขององค์กร อนึ่งเราต้องคิดว่ามันคือเทคโนโลยีใหม่และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นเราต้องทดลองใช้ AI ก่อน จึงจะสามารถวางแผนการทำงานได้ถูกต้องที่สุด
  5. หลังจากดำเนินงานทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถสื่อสารกับคนภายนอกว่าองค์กรของเรามีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในส่วนใดบ้าง จะเกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง

ในที่นี้ข้อมูล (Data) เป็นเรื่องสำคัญมาก เปรียบดั่งทุกอย่างของ AI โดยเราต้องเปรียบปัญญาประดิษฐ์ว่ามันเหมือนกับการสอนเด็กคนหนึ่ง AI จะรู้อะไรขึ้นอยู่กับเราสอนอะไรเข้าไป เราต้องดูคุณภาพของข้อมูล, ต้องระวังการให้ข้อมูลที่อคติ (AI Bias) เพราะฉะนั้น AI จะฉลาดมากขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีข้อมูลที่เพรียบพร้อม

ความท้าทายหลักขององค์กรยุคนี้จะประกอบไปด้วยเรื่องดังนี้

  1. ข้อมูลที่มีนั้นมีคุณภาพหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ เอามาใช้งานได้จริงหรือไม่ นี่คือปัญหาที่องค์กรทุกขนาดต้องเจอ กล่าวได้ว่านี่คือปัญหาที่องค์กร 90% ต้องเจอ โดยวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดคือองค์กรต้อง “ให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูล” นี่เป็นงานที่คนไม่เห็นคุณค่ามากนัก แต่องค์กรต้องจัดสรรงบประมาณมาให้เรื่องนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้
  2. ต้องนำ AI มาเชื่อมกับระบบเดิมให้ได้ ต้องมีการสื่อสารระหว่างทีมมากขึ้น ไม่สามารถปล่อยทีมไอทีให้ดำเนินงานอยู่คนเดียว เพราะ AI เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เราต้องสื่อสารเพื่อให้รู้ว่ามนุษย์ต้องการเครื่องมืออะไร เพื่อจะได้เลือกนำข้อมูลมาวางแผนและใช้งานให้ตรงโจทย์ที่สุด
  3. การวางแผนงบประมาณ เพราะการว่าจ้างวิศวกร AI ราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นกว่าเราจะพัฒนาคนที่เก่งเรื่อง AI ขึ้นมาได้นั้นก็ต้องลงทุน แต่ปัญหานี้จะดีขึ้นในอนาคต และหากองค์กรมีเครื่องมือที่สามารถซื้อได้ “แนะนำให้ซื้อ” เพราะมีความคุ้มค่ามากกว่า
  4. เรื่องของ Change Management เราต้องทำคนให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงด้วย ซึ่งต้องย้อนกลับไปที่ Transformation Playbook ที่กล่าวไว้ข้างต้น เพราะยิ่งคนเชื่อมั่น การทำงานก็จะคล่องตัวยิ่งขึ้น
  5. จริยธรรมและกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ (Ethics and Regulartion) เพราะ AI ยังเป็นเรื่องใหม่ อาจมีค่านิยมหรือมุมมองที่เปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์ ดังนั้นเราต้องศึกษาข่าวตลอด

AI เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับทุกคนและเริ่มได้ไม่ยาก หากองค์กรของคุณยังไม่ได้นำมาใช้ การเริ่มตอนนี้ก็ยังไม่ใช่เรื่องสายเกินไป เพราะคอร์สเรียนปัจจุบันราคาไม่ได้สูงนัก ถ้าเราอยากทำอะไร ก็สามารถลงมือทำได้เลย เพราะ AI ขั้นพื้นฐานแทบทุกชิ้นสามารถเปิดโอกาสให้เราทดลองใช้งานได้ง่าย ๆ และสำคัญที่สุดคือเราต้องคิดว่า “ไม่มีโปรเจ็คไหนที่เล็กเกินไป” ให้ลงมือทำได้เลย

อย่างสุดท้าย เราต้องกลับมาถามอย่างจริงจังว่าบริษัทของเราจะมีคุณค่ามากขึ้นหรือไม่ถ้าเอา AI มาใช้ เพราะ AI ไม่ได้เป็นคำตอบสุดท้ายของทุกเรื่อง ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้ AI เราก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนตรงนี้เลย

ทางด้านของคุณนลิน เตชะสกุลสินกล่าวว่าคาแรกเตอร์ขององค์กรที่สามารถผลักดัน AI ได้ เรียกว่า Inquisitive Intelligent Organization (IIO) ซึ่งต้องมีลักษณะดังนี้

  1. Curiousity, Open-Mindedness, Critical Thinking : คนในองค์กรต้องมีความอยากรู้อยากเห็น กล้าตั้งคำถาม ต้องมีการพูดคุยกันในองค์กรอย่างเปิดกว้างรับฟัง มีทักษะในการวิเคราะห์ว่าเทคโนโลยีแบบไหนที่เหมาะกับรูปแบบการทำงานของเรา
  2. Cross-Functional Collaboration : พอมีการนำ AI มาใช้แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นจะอยู่บน AI เดียวกันทั้งหมด หากฝ่ายการตลาดเริ่มคิดค้นแล้ว, ฝ่ายผลิตจะสร้างผลงานที่สอดคล้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวได้หรือเปล่า เรียกว่าการทำงานร่วมกันจะมีความลึกซึ้งชึ้น สามารถเก็บข้อมูลเพื่อนร่วมงานได้ตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน ให้รู้ว่ารูปแบบการทำงาน, มุมมองต่อเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างไร ช่วยให้เราเข้าใจกันมากขึ้น สร้างสรรค์งานได้ดีขึ้น
  3. The Roles of Leaders : คนที่เป็นหัวหน้า ต้องเป้นแบบอย่างในการตั้งคำถามและหาข้อมูลเพิ่มเติม ต้องสามารถสนับสนุนให้คนได้ทดลองสิ่งใหม่ ๆ และบริหารโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ขององค์กรให้ดี ไม่ปล่อยให้ใครต้องเผชิญหน้ากับ AI อย่างโดดเดี่ยว
  4. Forstering a Diversere, Equitable, Inclusive Culture : สร้างบรรยากาศให้คนกล้าตั้งคำถามและลงมือทำ

สิ่งเหล่านี้อาจฟังดูยาก แต่ทำได้โดยวิธีการ 3c ดังนี้

  1. ทุกคนต้องทำงานสอดคล้องกัน (Connect) หัวหน้าสั่งงานแบบไหน, พนักงานเข้าใจตรงกันไหม และ HR สนับสนุนหรือเปล่า
  2. ตรวจดูว่าคนคนในองค์กรตอบรับ AI มากพอหรือเปล่า (Courage)
  3. ทำให้เกิดความสม่ำเสมอ (Consistency) พนักงานจะได้รู้ว่าเรา “เอาจริง” เข้าใจว่านี่คือวิถีใหม่ที่องค์กรกำลังจะทำ มิฉะนั้นพวกเขาก็จะโฟกัสกับเรื่องอื่นมากกว่า

คุณปราโมทย์ พวงสำลี จาก CardX กล่าวว่าเราต้องพยายามทำให้องค์กรมีความพร้อมในทุกระดับ หากต้องการก้าวไปเป็น AI-First Organization และเราต้องวางรากฐาน (Foundation) ด้วยวิธีการดังนี้ 

  1. วิสัยทัศน์และเป้าหมายต้องมาด้วยกัน เช่นการวางแผนว่าภายในปี 2027 นั้น รายได้ 75% ขององค์กรต้องมาจาก AI เมื่อรู้แบบนี้องค์กรก็จะเกิดการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
  2. วางโครงสร้างทาง Technology & Data ให้ชัดเจน
  3. โครงสร้างองค์กรเปลี่ยนแล้ว วิธีทำงานเปลี่ยนให้สอดคล้องกันดีแล้วหรือไม่ ทุกคนเข้าถึง AI ได้ไหม และ AI จะทำให้องค์กรของเราสร้างสรรค์งานได้เร็วขึ้น, มีประสิทธิภาพดีขึ้นจริงหรือไม่

คุณดิสพงศ์ พรชนกนาถ จาก WHA กล่าวว่าการทำ Digital Transformation เป็นเรื่องที่ WHA ให้ความสำคัญมานาน โดยมีการวาง Roadmap ในปี 2021 เพราะรู้ว่าโลกจะก้าวเข้ามาถึงยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญมากขึ้น ก่อนที่จะตั้งเป้าเป็น Innovative Workplace ในปี 2022 เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานกล้าแสดงความเห็น และกล้าลงมือทำในเรื่องใหม่ ๆ พื่ให้องค์กรเติบโตไปในแง่มุมที่แตกต่างแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่วนในปี 2023 ทาง WHA ก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของข้อมูล (Data) เพราะไม่ว่าจะเลือกเป้าหมายไว้อย่างไร แต่ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้อง แผนเหล่านั้นก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้น WHA จะเน้นไปที่การจัดข้อมูลให้เป็นระบบ เป็นระเบียบ และกระตุ้นให้พนักงานนำข้อมูลเหล่านั้นไปช่วยวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

สำหรับในปี 2024 นั้น ทาง WHA ตั้งเป้าจะเป็นองค์กรที่เอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับงานอย่างเต็มระบบ ให้ชีวิตของพนักงานดีขึ้น ดังนั้นถ้าองค์กรอยากเติบโต เราต้องวางแผนว่าบุคลากรจะเข้าใจเรื่องปัญญาประดิษฐ์ดีขึ้นได้อย่างไร

HR ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับคน (People Strategy) โดย WHA ให้ความสำคัญกับ Change Management เพื่อเปลี่ยนพนักงานให้เข้าใจในเรื่องของ 1.) Respect 2.) Trust 3.) Allow Failure 4.) Can Do Attitude 5.) Agile 6.) Collaborate นี่คือหน้าที่ของ HR ในการเพิ่มทักษะพนักงานจนมีความพร้อมมากพอ

คุณปราโมทย์กล่าวเสริมว่าในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราต้องทำให้บุคลากรกล้าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา, การรู้สึกตื่นเต้นกับการทำงานตลอดเวลา รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ (Ownership), มีประสบการณ์ทำงานที่สอดประสานกัน และท้ายสุดคือการเป็น High Performance Driven Organization มุ่งเน้นไปที่คำว่า “สำเร็จ” มากกว่า “เสร็จ” เพื่อให้เกิดเนื้องานที่สมบูรณ์แบบ (Exceptional) นั่นเอง

CTA HR Products & Services

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง