สรุปทุกเรื่องที่ต้องรู้จากงาน INSIGHT DAY BY Mission Academy กับคุณรวิศ หาญอุตสาหะ

HIGHLIGHT

  • Mission Academy เกิดขึ้นเพื่อสร้างศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
  • Mission Academy เน้นโมเดลการสอนแบบ CASE ได้แก่ Customization, Quality Assurance, Subject Matter Expertise และ Engagement Strategy
  • Denis Machuel ซึ่งเป็น Chief Executive Office จาก Adecco Group กล่าวว่า “เราต้องลงทุนกับคนให้เหมือนกับการลงทุนในเทคโนโลยี” เพราะภายในปี 2027 จะมี 44% ของทักษะหลักที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี
  • McKinsey กล่าวว่าเมื่อเราจะออกแบบการเรียนรู้ในองค์กรนั้น เราต้องมีเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะทำเพื่ออะไร มิฉะนั้นก็อาจเสียเวลาไปเรียนรู้ผิดหัวข้อ (Mis Match)
  • องค์กรต้องไม่ออกกฎที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมคนกลุ่มเดียว แต่บังคับใช้กับคนทั้งบริษัท

สรุปทุกเรื่องที่ต้องรู้จากงาน INSIGHT DAY BY Mission Academy กับ คุณรวิศ หาญอุตสาหะ

ในวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา HREX.asia ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมงาน Insight Day by Mission Academy ที่ออฟฟิศมิชชั่นทูเดอะมูน ซึ่งถือเป็นการเปิดบ้านครั้งแรกที่มีทั้งการพูดคุยในหัวข้อ Advancing Talent Development – เจาะลึกเทรนด์อัปสกิลคนทำงาน 2024 โดยคุณรวิศ หาญอุตสาหะ ก็ยังมีในส่วนของการพูดคุยตอบคำถามและ Networking Session ซึ่งบอกเลยว่างานนี้เป็นงานสุด Exclusive จำกัดเพียง 20 ที่นั่งเท่านั้น !

โลกของการอบรมพนักงานจะเป็นอย่างไร และมีหัวข้อไหนที่ HR ควรรู้ หาคำตอบได้ที่นี่เท่านั้น

สรุปงาน

Mission Academy เกิดขึ้นเพื่อสร้างศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)  โดยมีผู้สอนหลักคือคุณรวิศ หาญอุตสาหะ ที่มีประสบการณ์ทำงานมากมายในโลกธุรกิจ สามารถทำ Srichand ให้มียอดขายในปีล่าสุดสูงถึง 1,500 ล้าน โดยเน้นไปที่โมเดลแบบ CASE หมายถึง

C : Customization  : ปรับเนื้อหาและกินกรรมให้ตรงกับความต้องการและบริบทของกลุ่มผู้เรียน

A : Quality Assurance : เมื่อเรียนไปแล้ว ต้องได้คุณภาพ วัดผลได้

S : Subject Matter Expertise : คัดเลือกเนื้อหาที่มีความทันสมัย เข้มข้น ใกล้ตัว และใช้ได้จริง

E : Engagement Strategy : มีการถามตอบตลอดเวลา ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากกว่านั่งฟังเฉย ๆ

คุณรวิศกล่าวว่าสิ่งที่ท้าทายในโลกของการบริหารคนในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ทักษะ (Skill) และวัฒนธรรม (Culture) โดยประเด็นที่น่าสนใจก็คือมีองค์กร 60% เห็นด้วยว่า Skill Gap ในตลาดแรงงานคืออุปสรรคในการเติบโต (อ้างอิงจาก World Economic Forum) สำหรับประเทศสิงคโปร์ได้จัดการเรื่องนี้ด้วยการยกเป็นวาระแห่งชาติเพื่อวางแผนร่วมกับสถานศึกษาชั้นนำในการหาคำตอบว่าจะแก้ไขปัญหาเรื่องทักษะของคนกว่า 2 ล้านคนได้อย่างไร เหตุนี้ “การจ้าง Talent” จะเป็นเรื่องที่ยากที่สุดในอีก 5 ปีนับจากนี้ ซึ่งหมายรวมถึงการรักษาพนักงานเหล่านั้นให้ได้ด้วย

Skill Gap เกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุเหล่านี้

  • เรียนรู้ผิดหัวข้อ (Mis Match) :  ในที่นี้ McKinsey กล่าวว่าเมื่อเราจะออกแบบการเรียนรู้ในองค์กรนั้น เราต้องมีเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะทำเพื่ออะไร เริ่มจาก Hard Skills ที่จะมีการต่อยอดที่รวดเร็วเสมอเพื่อจะไปต่อได้ เช่นเรื่อง Data Analysis ที่พอมีข้อมูลมากขึ้น กระบวนการวิเคราะห์ก็ต้องซับซ้อนมากาขึ้น ใช้เครื่องมือมากขึ้น แต่ก็ยังต้องมีพื้นฐานของวิธีแบบเก่าอยู่, ในด้านของ Soft Skills ก็สำคัญมาก เพราะงานบางส่วนนะถูก Automate ไป งานที่เหลือจึงต้องกระตุ้นกลาย ๆ ให้คนทำงานอย่างเข้มข้นมากขึ้น ใช้ความเป็นมนุษย์มากขึ้น ความแตกต่างคือการดูว่าใครที่มี Emotional Intelligence มากกว่า และอย่างสุดท้ายคือ Meta Skill คือการคิดว่าตัวเองอยากมีชีวิตเติบโตไปเป็นแบบไหน และวาง Direction ให้ตัวเองก้าวไปถึงจุดนั้น
  • Generative AI : เทคโนโลยีได้ช่วยให้มนุษย์ทำงานง่ายขึ้น เช่นฟังก์ชัน Attend for me ของ Google Workspace ที่จะช่วยให้เราเข้าประชุมซ้อนกันได้ และ AI จะสรุปเนื้อหาทั้งหมดมาให้ ซึ่งพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้าถึงคนได้ทันทีแบบนี้ ทำให้มนุษย์ต้องรู้จักพัฒนาตัวเองตลอดเวลา หากชะล่าใจ ก็มีโอกาสถูกทิ้งไว้ข้างหลังทันที

เราจะปิดจุดอ่อนและเสริมทักษะพนักงานได้อย่างไร

Denis Machuel ซึ่งเป็น Chief Executive Office จาก Adecco Group กล่าวว่า “เราต้องลงทุนกับคนให้เหมือนกับการลงทุนในเทคโนโลยี” เพราะภายในปี 2027 จะมี 44% ของทักษะหลักที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี 

นอกจากนี้เราก็ต้องฝึกทักษะในการแยกของจริงกับของปลอมให้ถูก ไม่ได้หมายถึงเรื่องของการผลิตงานด้วย AI เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้ภาษาที่พร้อมมีเทคโนโลยีช่วยแก้ไขให้ตลอดเวลา หรือแม้แต่การนำทางที่เราต่างใช้ระบบดิจิทัล ทำให้ Sense of Direction หายไป อนึ่งคุณรวิศได้ให้แนวทางแก้ไขว่าท้ายสุดแล้ว เราต้องหาจุดสมดุล (Find Balance) คือ ต้องหาจุดสมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีและความเป็นมนุษย์

ประเด็นสำคัญที่จะมีความสำคัญเสมอประกอบด้วย

  • การมี Growth Mindset
  • รู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • มีเป้าหมายให้ตัวเอง
  • กล้ารับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน

ประเด็นที่จะมีความสำคัญและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

  • ความคิดสร้างสรรค์ 
  • การคิดเชิงวิเคราะห์และแก้ปัญหา
  • ความสามารถในการสื่อสารและโน้มน้าวผู้อื่น

ประเด็นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา

  • Software Development
  • การออกแบบ (Design)
  • Production Management

ปิดท้ายด้วยการดูว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร ซึ่งเขากล่าวว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นเหมือนตู้ปลาที่มีปลาน้ำเค็มและน้ำจืดอยู่ด้วยกัน ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะปลาแต่ละประเภทต้องการสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน การเรียนรู้วัฒนธรรมก็เหมือนกันที่เราต้องหาสิ่งที่เหมาะที่สุดกับองค์กรแทน โดยเราสามารถแบ่งวัฒนธรรมองค์กรออกมาได้ดังนี้

  • Caring : รูปแบบขององค์กร 63% ทั่วโลกในช่วงปี 2017-2019 มีความอบอุ่น ชอบช่วยเหลือกัน แต่มีข้อเสียคือกลัวความขัดแย้ง ตัดสินใจช้า
  • Purpose Driven : 9% ขององค์กรทั่วโลกในปี 2017-2019 มีเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนและประโยชน์ให้สังคม ข้อเสียคือโฟกัสเป้าหมายระยะยาวเกินไปจนหลุดโฟกัส
  • Learning : วัฒนธรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของพนักงาน
  • Enjoyment : 2% ขององค์กรทั่วโลกในปี 2017-2019 เน้นความสนุกสนาน
  • Results :  89% ขององค์กรทั่วโลกในปี 2017-2019 เน้นผลลัพธ์และเป้าหมาย แต่ปัญหาคืออาจมีผลกระทบในเรื่องงาน เกิดปัญหาในการสื่อสาร
  • Authority : เน้นการสร้างอำนาจ ใครไม่ทำตามก็ถูกเลิกจ้าง
  • Safety : เช่นธุรกิจธนาคารและประกันภัย
  • Order : เน้นความเป็นระบบ พนักงานปฏิบัติตามกติกา ตามคำสั่ง

ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมที่ดี คือการโฟกัสไปที่ความยั่งยืน (Sustainability) พนักงานต้องการเป้าหมายขององค์กรที่มีคุณค่า, ได้รับแรงบันดาลใจจากหัวหน้างาน นอกจากนี้พนักงานยังให้ความสำคัญกับการเห็นตัวเองเก่งขึ้นในทุกวัน, ได้เรียนรู้เรื่องใหม่สอดคล้องกับการได้เครื่องมือที่เหมาะสม, การได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมที่มีศักยภาพ และสำคัญที่สุดคือได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม

All HR Solutions! มาค้นหา HR Products and Services กับ HREX กันเถอะ

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง