The Talentist ประกาศรางวัล Employer Branding Awards 2023 ประจำประเทศไทย

The Talentist ประกาศรางวัล Employer Branding Awards 2023 ประจำประเทศไทย

บริษัทนายจ้างในอุดมคติ: คืออะไร?

ANCOR ประเทศไทย เฉลิมฉลองความสำเร็จของงาน The Talentist โดยมีการประกาศรางวัล Employer Branding Awards 2023 ในประเทศไทย และนำเสนอบทวิเคราะห์เกี่ยวกับตลาดแรงงาน, ผลวิจัยเรื่องการรับรู้แบรนด์นายจ้าง และปัจจัยหลักในการเลือกนายจ้าง

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 งาน “Talentist” จัดขึ้นที่หอประชุม C-Asean ตึก CW Tower โดยมีการนำเสนอผลการวิจัยการรับรู้แบรนด์นายจ้าง “The Talentist” โดย ANCOR จากผลวิจัย พบว่าปัจจัย 5 อันดับแรกในการเลือกนายจ้าง ได้แก่

  1. เงินเดือนที่น่าดึงดูดใจ – 62%
  2. ความมั่นคงทางการเงินขององค์กร – 61%
  3. โอกาสในการทำงาน – 61%
  4. ความมั่นคงในการทำงานระยะยาว – 61%
  5. บรรยากาศการทำงานที่น่าพึงพอใจ 60%

ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการทำงานคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์ และการขนส่ง ภายในงาน มีการจัดพิธีมอบรางวัลบริษัทนายจ้างที่น่าดึงดูดที่สุดในประเทศไทย โดยอิงข้อมูลมาจากผลการสำรวจซึ่งมีผู้ตอบแบบสำรวจ 5,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งการประเมินความน่าสนใจของบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 150 แห่งจาก 13 อุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย

โดยบริษัท Microsoft ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนายจ้างที่น่าดึงดูดที่สุดในประเทศไทย ขณะที่ Mercedes-Benz คว้าอันดับที่สอง ตามมาด้วย ABB อันดับที่สาม นอกจากนี้ ในผลการศึกษาพบว่า มี 139 บริษัทจาก 150 แห่งซึ่งเป็นรู้จักมากกว่า 10% ในบรรดาประชากรกลุ่มตัวอย่าง

ภายในงาน The Talentist ยังมีการมอบรางวัลให้แก่ผู้นำของแต่ละอุตสาหกรรม อันได้แก่:

  • ธุรกิจการเกษตร – Cargill
  • กลุ่มยานยนต์ – Mercedes-Benz
  • กลุ่มก่อสร้างและการพัฒนา – Siam Cement
  • อีคอมเมิร์ซ – Ascend
  • อุปกรณ์และเครื่องมือวิศวกรรม – ABB
  • กลุ่มบริการทางการเงิน – RHB
  • กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค – Thaibev
  • กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ – Samsung
  • กลุ่มโรงแรม, ร้านอาหาร, คาเฟ่และธุรกิจจัดเลี้ยง – Hilton
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – Microsoft
  • กลุ่มอุตสาหกรรมด้านพลังงาน – PTT
  • ธุรกิจค้าปลีก – King Power 
  • การขนส่ง – Airports of Thailand

Dmitry Gusev กรรมการผู้จัดการของ ANCOR ประเทศไทย แสดงความขอบคุณ โดยกล่าวว่า “งาน Talentist – Employer Branding Awards 2023 เกินความคาดหมายของเรา และเรารู้สึกตื่นเต้นกับผลตอบรับเชิงบวกจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมงานนี้ การจัดงานในครั้งนี้ทำให้เกิดโอกาสในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือที่มีความหมายมาก เรารู้สึกภูมิใจที่ได้จัดเวทีนี้ขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่องค์กรต่างๆ ที่เป็นผู้นำในการสร้างแบรนด์ผู้จ้างงาน”

Faizan Ahmed หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการของ ANCOR ประเทศไทย กล่าวว่า “งาน Talentist – Employer Branding Awards 2023 ประสบความสำเร็จอย่างมาก การสร้างแบรนด์นายจ้างเป็นเสาหลักภายในฝ่ายทรัพยากรส่วนบุคคล ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับชื่อเสียงขององค์กรต่อบุคคลภายนอก ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง แต่มีคนทำงานที่มีความสามารถและศักยภาพสูงที่จำกัด

องค์กรต่างๆ จะต้องประเมินแบรนด์ผู้จ้างงานในปัจจุบัน รวมไปถึงการระบุช่องว่างที่ขัดแย้งกับจุดยืนของตน และพัฒนามาตรการแทรกแซงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การวิจัยนี้นำเสนอข้อเท็จจริงเชิงลึกและกระตุ้นความคิดซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้บริษัทต่างๆ พัฒนา EVP หรือคุณค่าที่องค์กรอยากนำเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น”

Gareth George หัวหน้าฝ่ายจัดหางานของ ANCOR ประเทศไทย กล่าวว่า “สิ่งนี้ได้ตอกย้ำความคิดของเราเกี่ยวกับแนวโน้มการสรรหาบุคลากร โดยที่บริษัทจำนวนมากขึ้น มุ่งเน้นไปที่สวัสดิการและผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน เพื่อปรับปรุงการมีส่วนร่วมของพนักงาน และพัฒนาในเรื่องของการรักษาพนักงานไว้ ในขณะที่ผู้มองหางานให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นในการทำงาน การพัฒนาทักษะต่างๆ และโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ มากพอ ๆ กับการเพิ่มเงินเดือน

และเมื่อพวกเขาอยู่ในช่วงการมองหางาน  28% ของคนเหล่านี้หางานจากบริษัทจัดหางาน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับช่องทางการหางานอื่นๆ ANCOR ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทจัดหางานชั้นนำของประเทศไทย มากด้วยประสบการณ์มากกว่า 15 ปี พร้อมที่จะค้นหาบุคลากรที่ใช่และมีความสามารถ เพื่อช่วยยกระดับธุรกิจของคุณขึ้นไปอีกขั้น”

บทสรุปที่สำคัญของงานวิจัย

ในยุคธุรกิจของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนี้ การสร้างแบรนด์ผู้จ้างงานกลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรในการกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับพนักงานของตนรวมไปถึงการดึงดูดผู้มีความสามารถที่ใช่และเหมาะสม ซึ่งการสร้างแบรนด์ผู้จ้างงานนี้ ทำหน้าที่เป็นผืนผ้าใบที่องค์กรสามารถใช้ในการวาดเอกลักษณ์ของตนและสร้างเสน่ห์เชิงกลยุทธ์เพื่อดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถระดับสูงเอาไว้ ดังนั้น องค์กรต่างๆ จะต้องทำความเข้าใจแนวโน้มของตลาดแรงงานให้ลึกซึ้ง

จากผลวิจัย ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกบริษัทนายจ้างคือเงินเดือนและสวัสดิการที่น่าดึงดูด, ความมั่นคงทางการเงิน, โอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพ, ความมั่นคงในงานระยะยาว, และบรรยากาศในที่ทำงาน นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า นายจ้างปัจจุบันของพวกเขาได้รับคะแนนสูงในด้านความมั่นคงทางการเงิน, การบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง, ความเป็นผู้นำ และเนื้อหางานที่น่าสนใจ

ในขณะที่บริบทโดยรวมของบริษัทในประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถามมักจะระบุว่าบริษัทมีชื่อเสียงที่ดี, บริการและสินค้ามีคุณภาพสูง,มีการบริหารและการจัดการที่ดี, มีเทคโนโลยีล่าสุดที่ทันสมัย รวมไปถึงบริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในเรื่องของโอกาสและความก้าวหน้าทางอาชีพและบรรยากาศการทำงานได้รับการจัดอันดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ดังนั้นบริษัทเหล่านี้ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าวเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรต่อไป

หลักการในแบบสอบถาม

นอกเหนือจากคำถามทั่วไปแล้ว ลักษณะเฉพาะของการศึกษาวิจัยของ The Talentist คือ ผู้ตอบแบบสอบถามยังถูกขอให้ประเมินแบรนด์นายจ้างของบริษัทใดบริษัทหนึ่งด้วย ซึ่งบริษัทเหล่านี้เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถกำหนดทิศทางและแนวโน้มในตลาดแรงงานได้ ทั้งในเรื่องของ จำนวนผลตอบแทน สวัสดิการที่หลากหลาย และสภาพแวดล้อมการทำงาน

การศึกษานี้ครอบคลุม 13 อุตสาหกรรมหลัก จากบริษัท 150 แห่ง โดยคัดเลือกจากรายชื่อบริษัทในประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของจำนวนพนักงานเต็มเวลา ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกสุ่มแสดงรายชื่อบริษัทจำนวน 30 แห่งขณะกรอกแบบสอบถาม

ในเวลาเดียวกัน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างและหลักการสุ่มนี้จะทำให้แต่ละบริษัทสามารถแสดงแก่ผู้ตอบแบบสำรวจอย่างน้อย 1,000 คนได้ ผู้เข้าร่วมการสำรวจจะต้องเลือกนายจ้างที่พวกเขารู้จัก และตอบคำถามว่าต้องการทำงานที่นั่นหรือไม่ ในขั้นตอนถัดไป พวกเขาจะให้คะแนนความน่าดึงดูดของแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของแต่ละบริษัทที่เลือก

ข้อมูลทางสังคมของกลุ่มตัวอย่าง

แบบสำรวจผ่านทางออนไลน์นี้ จัดทำโดย ANCOR ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 28 สิงหาคม 2566 โดยมีกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนผู้ตอบแบบสอบถามวัยทำงานอายุ 20-60 ปี จำนวนกว่า 5,000 คนทั่วประเทศ โดย 80% มาจากพื้นที่ทางเศรษฐกิจในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภาคตะวันออก และผู้เข้าร่วมการสำรวจทั้งหมดอย่างน้อย 80% ทำงานในภาคพาณิชย์

นอกจากนี้ การสำรวจนี้ยังมีการแบ่งอัตราส่วนตามเพศชายและหญิง แบ่งตามกลุ่มอายุ รวมไปถึงกลุ่มคนที่จำแนกตามระดับการศึกษาอีกด้วย

ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด 5 อันดับแรกในการเลือกนายจ้าง

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ส่งผลต่อปัจจัยหลักที่ใช้ขับเคลื่อนการตัดสินใจเลือกบริษัทที่คนต้องการทำงานด้วย ดังนั้นบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้และใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์นายจ้าง เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

จากผลวิจัย พบว่า 5 ปัจจัยที่ใช้ขับเคลื่อนหลักได้แก่ เงินเดือนและผลตอบแทนที่น่าดึงดูดมีความสำคัญถึง 62% ของผู้ตอบแบบสอบถาม, ความมั่นคงทางการเงินของบริษัท – 61%, โอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพ – 61%, ความมั่นคงในการทำงานระยะยาว – 61% และบรรยากาศการทำงานที่ดี 60% เมื่อจำแนกตามเพศแล้ว ผู้หญิงให้คะแนนความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ในการเลือกบริษัทนายจ้างสูงกว่าผู้ชาย ในขณะที่โอกาสและความก้าวหน้าทางอาชีพ และบรรยากาศการทำงานที่ดีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนอายุระหว่าง 25-34 ปีมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ

ในขณะเดียวกัน ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะให้คะแนนความสำคัญกับปัจจัยหลายประการต่ำกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ พนักงานที่ทำงานในภาครัฐยังให้คะแนนความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้วย เงินเดือนและสวัสดิการที่น่าดึงดูดใจมีความสำคัญมากกว่าสำหรับผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา

ในขณะที่ 5 ปัจจัยหลักที่นายจ้างมอบให้กับพนักงาน ได้แก่ ความมั่นคงทางการเงินของบริษัท การบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง เนื้อหางานที่น่าสนใจ ความก้าวหน้าในอาชีพ เงินเดือนและสวัสดิการที่น่าดึงดูดตามลำดับ การทำความเข้าใจช่องว่างระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่บริษัทนายจ้างนำเสนอและสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญในการเลือกนายจ้างนั้นจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรได้ดียิ่งขึ้น

การเปลี่ยนงาน V.S การรักษาพนักงาน

ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 25% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการย้ายบริษัท ในขณะที่ 28% วางแผนที่จะเปลี่ยนสถานที่ทำงานในปีหน้า พนักงานที่ยังคงอยู่ในองค์กรปัจจุบันให้ความสำคัญกับเงินเดือนและสวัสดิการที่น่าสนใจ รวมไปถึงความมั่นคงในงานระยะยาวมากกว่าพนักงานที่เปลี่ยนงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

สำหรับองค์กรที่ต้องการจะรักษาพนักงานของตนและลดอัตราการลาออกของพนักงานนั้น สิ่งสำคัญที่องค์กรต้องพิจารณาคือปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนงาน โดยจากผลการศึกษา พบว่า 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุถึงค้าจ้างที่ต่ำ 33% กล่าวถึงโอกาสก้าวหน้าในอาชีพที่จำกัด และอีก 24% มีความกังวลกับเรื่องการขาดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน เมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานในกลุ่มอายุอื่น ๆ

พนักงานที่อายุ 25-34 ปีมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงานมากกว่ากลุ่มอายุอื่นอันเนื่องมาจากฐานเงินเดือนที่ต่ำ ผู้หญิงวัยทำงานที่อายุระหว่าง 25-34 ปี ระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับการขาดความก้าวหน้าในอาชีพการงานมากกว่ากลุ่มอื่น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบุถึงรูปแบบการทำงานที่ไม่ยืดหยุ่นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ในขณะที่ผู้คนอาศัยอยู่ในภาคใต้ มักระบุว่าพวกเขาใช้เวลาในการเดินทางไปยังสถานที่ทำงานนานเกินไป เมื่อเทียบกับผู้คนที่อาศัยในภาคอื่นๆ

สภาพและรูปแบบการทำงานในองค์กรก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน จากการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ ระบุว่าสภาพการทำงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ในบรรดาผู้ที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกมากกว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงลบ โดยกลุ่มที่ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงลบ ให้เหตุผลถึงเรื่องปริมาณงานมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มที่ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เหตุผลถึงเรื่องเงินเดือนมากที่สุด

ผู้ตอบแบบสอบถามที่อายุต่ำกว่า 24 ปีมีแนวโน้มที่จะสังเกตเห็นการปรับปรุงตารางการทำงาน เนื้อหางาน วัฒนธรรมองค์กร และสถานที่ตั้งมากกว่าคนอื่นๆ ในขณะที่พนักงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปมักเน้นย้ำถึงความเสื่อมโทรมของสถานที่ทำงานมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ ทั้งนี้ พนักงานที่มีอายุระหว่าง 35-44 ปี สังเกตว่าสภาพการทำงานของพวกเขาไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ช่องทางการหางาน

เพื่อยกระดับแบรนด์ผู้จ้างงานขององค์กรและดึงดูดผู้มีความสามารถระดับสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจแพลตฟอร์มที่ผู้สมัครใช้เพื่อสำรวจโอกาสในการทำงานและประเมินชื่อเสียงของบริษัท

ผลการวิจัยระบุว่า 51% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้เว็บไซต์หางานเฉพาะทาง โดยช่องนี้มักใช้โดยผู้หญิง, ผู้หางานที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี และบุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า JobThai เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมสำหรับการหางานในทุกกลุ่มตัวอย่าง บุคคลอายุระหว่าง 25-34 ปีมีแนวโน้มที่จะใช้เว็บไซต์นี้บ่อยกว่าค่าเฉลี่ย

ในขณะที่ผู้หางานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะใช้ช่องทางนี้น้อยกว่า JobBkk และ JobsDB ตามลำดับ และได้รับความนิยมน้อยกว่าในกลุ่มบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 24 ปี และผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี อย่างไรก็ตาม โซเชียลมีเดียได้รับการจัดอันดับรองลงมาจากเว็บไซต์หางานด้วยอัตราการใช้ถึง 47% โดยช่องทางนี้ได้รับความนิยมเป็นพิเศษในกลุ่มผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 34 ปี

สถานที่ที่ต้องการทำงาน

จากผลการวิจัย เมื่อถามถึงสถานที่ทำงานที่ต้องการ ผู้ตอบแบบสอบถาม 30% ระบุว่าต้องการมีธุรกิจเป็นของตนเอง 19% ต้องการทำงานในบริษัทพาณิชย์ที่มีเงินทุนต่างประเทศ, 13% ต้องการทำงานในบริษัทพาณิชย์ด้วยเงินทุนในประเทศ, 10% ในรัฐวิสาหกิจ, 8% ในหน่วยงานภาครัฐ และอีก 6% ระบุว่าไม่ได้ชื่นชอบสถานที่ไหนเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ตัวเลือกอื่นๆ เช่น ธุรกิจของครอบครัว, สตาร์ทอัพ, องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และอื่นๆ ต่างได้รับการตอบรับจากผู้ตอบแบบสอบถามน้อยกว่า 5% 

สำหรับจำนวนพนักงานบริษัทในอุดมคตินั้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่แสดงความชื่นชอบในการทำงานในบริษัทที่มีขนาดตั้งแต่ 101 ถึง 1,000 คน ผู้ชายและบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่ไม่ต้องการถูกจ้างงานพนักงานในภาครัฐระบุถึงความชื่นชอบในบริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่ถึง 100 คน

ผู้ตอบแบบสอบถามระดับปริญญาตรีระบุถึงความชื่นชอบในบริษัทที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ถึง 5,000 ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีแนวโน้มที่จะระบุว่าพวกเขาไม่มีความชอบเป็นพิเศษ รวมไปถึงไม่สนใจที่จะทำงานเลย

สวัสดิการและผลตอบแทน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามชื่นชอบสวัสดิการประเภทประกันสุขภาพ 83%, วันหยุดพิเศษ 83% และการให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการเงิน 80% ตามลำดับ ในทางกลับกันเมื่อสอบถามถึงสวัสดิการที่นายจ้างมอบให้ พบว่า สวัสดิการประเภทประกันสุขภาพมีจำนวน 47%, วันหยุดเพิ่มเติม 46% และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 27% 

คนที่มีอายุต่ำกว่า 24 ปีแสดงความสนใจในสวัสดิการและผลตอบแทนเหล่านี้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ เช่น ค่าฟิตเนส สิทธิซื้อหุ้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย ในขณะที่พนักงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะแสดงความสนใจในสวัสดิการต่างๆ มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การประกันสุขภาพสำหรับสมาชิกในครอบครัว และการฝึกอบรมหรือเงินชดเชยเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 93% ต้องการการสนับสนุนและความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากนายจ้าง โดยที่พวกเขาต้องการชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นถึง 49%, เงินทุนสำหรับการกู้ยืมบ้าน 46%, การพัฒนาทักษะใหม่ๆ 38%, การให้คำแนะนำทางด้านการเงิน 34%, ความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิต 33%, รูปแบบการทำงานในลักษณะ Remote/Hybrid Working 32%, ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย 26% และการดูแลเด็กระหว่างชั่วโมงทำงานอีก 22%

อุตสาหกรรมที่น่าสนใจที่สุดในการทำงานด้วย

การจัดอันดับความน่าสนใจของอุตสาหกรรมผู้คนต้องการร่วมงานด้วยนั้นขึ้นอยู่กับผลรวมของการเป็นที่รู้จักและความน่าดึงดูดของบริษัทในอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยผลวิจัยระบุว่าอุตสาหกรรมที่น่าดึงดูดและเป็นที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์ และการขนส่ง อุตสาหกรรมที่น่าดึงดูดแต่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก

ได้แก่ กลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์วิศวกรรม, ธุรกิจการเกษตร, โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยง, อุตสาหกรรมพลังงาน, กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และการก่อสร้างและการพัฒนา ในขณะที่อุตสาหกรรมประเภท อีคอมเมิร์ซ, กลุ่มบริการทางการเงิน และการค้าปลีก เป็นที่รู้จักค่อนข้างสูงในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามแต่มีความน่าดึงดูดที่น้อยกว่า

CTA HR Products & Services

 

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง