Direction – Alignment – Commitment (DAC) ถอดกลยุทธ์การสร้างผู้นำแห่งอนาคต

ถอดกลยุทธ์การสร้างผู้นำแห่งอนาคต

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2023 ทาง Slingshot Group ได้จัดงาน The Slingshot’s 2023 Top 50 CEOs Dinner Talk: A New Way of Making Leadership Happen ณ โรงแรม Kimpton Maa-lai Bangkok โดยภายในงานได้เชิญ CEO มากกว่า 50 เข้าร่วมดินเนอร์สังสรรค์ ซึ่งคุณ สหธร เพชรวิโรจน์ชัย Manager of HREX ได้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมงานนี้ด้วย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำถึง 4 หัวข้อ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่าง Slingshot และ Center for Creative Leadership (CCL) และ HREX ได้สรุปมาให้แล้ว

ถอดกลยุทธ์การสร้างผู้นำแห่งอนาคต

New Ways of Making Leadership Happen โดย Diana Khaitova, APAC Head of CCL

แม้ว่าเราจะได้ยินนิยามโลกสมัยใหม่ว่า VUCA และ BANI มานาน แต่สำหรับ CCL แล้ว มีคำนิยามโลกดิสรัปชั่นของตัวเองว่า RUPT โดยย่อมาจาก

  • R – Rapid โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ฉับไว ทำให้เกิด New Reality อยู่ทุกเวลา
  • U – Unpredictable โลกที่คาดเดาล่วงหน้าได้ยาก ซึ่งเราต้องเข้าใจ Understanding มันให้ได้
  • P – Paradoxical โลกที่ขัดแย้งหรือเหมือนอยู่ตรงข้ามกันตลอดเวลา แต่ถ้าหากเรามีความคิดเชิงบูรณาการ ก็จะเกิดโอกาส New Posibility ใหม่ ๆ ได้เช่นกัน
  • T – Tangled โลกที่เชื่อมโยงพัวพันเกี่ยวเนื่องกันไปหมด ซึ่งหากเราตระหนักรู ก็จะสร้างให้เกิดความโปร่งใส Transpareny ขึ้นมาได้

ยกตัวอย่างความ Paradoxical ที่เราต้องเข้าใจคือผู้นำต้องมองเห็น Short-Term และ Long-Term ขององค์กร, มี Centralization และ Decentralization, สร้าง Individual Goal และ Team Goal รวมไปถึงการมอง Competitaion และ Collabaration ด้วยเช่นกัน

ฉะนั้นแล้ว ความเป็นผู้นำ หรือ Leadership จึงเป็นกระบวนการทางสังคมที่จะต้องช่วยให้ผู้ึคนสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นกลุ่มเหนียวแน่น เพื่อสร้างผลลัพธ์โดยรวมนั่นเอง

ทาง CLL จึงเชื่อว่าความเป็นผู้นำจะประกอบด้วยกัน 3 อย่าง คือ  Direction – Alignment – Commitment (DAC) 

  • D – Direction ทิศทางขององค์กรที่กำลังจะไป ผู้นำต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน แม่นยำ
  • A – Alignment  ความสอดคล้องของฟังก์ชั่นการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ
  • C – Commitment ข้อตกลงเพื่อกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินการแผนดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของ Mindset ที่ผู้นำจะต้องมีความสามารถ 3 อย่าง คือ

  • Think : ผู้นำต้องคิดจัดลำดับความสำคัญ, การจัดการความขัดแย้งในองค์กร รวมไปถึงระบบนิเวศทางการตลาดของตัวเอง ผ่านความสามารถในการสแกนหา, วิสัยทัศน์, การมองภาพใหม่, หา Common Sense และสร้างความคิดเชิงระบบ
  • Act : ผู้นำต้องกล้าดำเนินการ ลงมือกระทำ ซึ่งอาจต้องทำอย่างทันท่วงที เด็ดขาด ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร และต้องจัดลำดับความสำคัญที่ชัดเจนด้วย
  • Influence : สร้างแรงกระตุ้นและมีอิทธิพลให้เกิดความมุ่งมั่นในการทำงาน ผ่านเชิงกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ภายในและภายนอก เพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อใจ (Trust) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในระดับ Emotional อีกด้วย

ถอดกลยุทธ์การสร้างผู้นำแห่งอนาคต

A New Way of Making Leadership Happen โดย Shaun Wong, Group Chief Transformation Officer CP Axtra PCL

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเป็นผู้นำแบบเก่าอย่าง Top-Down ก็มีจุดแข็งเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความชัดเจนของผู้อำนาจในการตัดสินใจ พนักงานจะรู้ว่าจะได้รับคำตอบ ฟีคแบค หรือได้รับคำแนะนำจากใคร ทำให้มีมาตรฐาน เพราะการตัดสินใจมากจากลุ่มเล็ก ๆ 

อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้นำแบบเดิม Top-Down อาจไม่ตอบโจทย์กับโลกยุคปัจจุบัน ที่ซับซ้อนมากกว่าแต่ก่อน

การสร้างผู้นำฉบับ CP Axtra PCL จึงใช้การผสมผสานกันระหว่าง Top-Down และ Bottom-Up พร้อม ๆ กับการสร้างความคล้องของ Direction – Alignment – Commitment (DAC)  ในองค์กรด้วยเช่นกัน

สิ่งที่เหมาะสมกับการ Top-Down ได้แก่จาก Goal-Setting การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน,​ Communication​ การสื่อสาร และการทำ Performance Management ขณะที่ Bottom-Up แก่นหลักคือการสร้างวัฒนธรรมให้เกิดปฏิสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยน (Culture of Interactions & Exchanges) ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นผู้นำในวิธีการทำงานแบบ Agile ซึ่งผู้นำต้องให้ความสำคัญกับการเติบโต ความเป็นอยู่ที่ดี และการเสริมสร้างศักยภาพของพนักงาน

ท้ายที่สุด การเป็นผู้นำย่อมเหนื่อยล้า หากแต่การขับเคลื่อน DAC ให้ต่อเนื่องต้องเชื่อในตัวคุณเอง, ยอมรับความท้าทาย, มีความมุ่งมั่นและมีแรงบันดาลใจ, ก้าวทีละก้าว และเชื่อในความฝันของคุณเสมอ

ถอดกลยุทธ์การสร้างผู้นำแห่งอนาคต

Building a Sustainable and Successful DX Strategy, Dan Brassington, Managing Partner APJ INCITE Consulting

แน่นอนว่าการทำ Transformation เป็นเรื่องยาก มีสถิติบอกว่า มีโปรเจกต์กว่า 70% ล้มเหลว,​ 45% ไม่ตอบโจทย์ความคาดหวังทางธุรกิจ และ 20% บอกว่าการวิเคราะห์เป็นเรื่องยาก ผลสรุปจากงานวิจัยพบว่า 93% ของบริษัทต่าง ๆ จึงกำลังดิ้นรนต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันมาจากเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ Digital Tranformation 

ความต้องการในการแปลงเป็นองค์กรสู่ดิจิทัล จึงได้เพิ่มความต้องการด้านไอทีและธุรกิจอย่างมีนัยยะสำคัญ องค์กรจึงต้องผสานรวมกระบวนการพื้นฐานหลายอย่างที่จำเป็นต้องรวมเข้าด้วยกัน และการเปลี่ยนแปลงประเภทนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน อาทิ เรื่อง Cloud, Digital Channel, Security & Data Privacy, Business Value & Outcomes และต้นทุน

และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อ Digitalization สิ่งที่ผู้นำจำเป็นต้องมี 6 ข้อคือ

  1. CREATE A CLEAR PLAN เพื่อสร้างแผนที่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะท้าทายวิธีการทำงานขององค์กร
  2. BUILD THE RIGHT FOUNDATION สร้างรากฐานการเปลี่ยนแปลงให้ดีโดยไฮไลท์สิ่งสำคัญเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องกระจายไปทั่วทุกทีมและทุกแผนก
  3. CREATE THE RIGHT ORGANIZATIONAL STRUCTURE เพราทุกองค์กรมีความแตกต่างกัน แต่จำเป็นต้องกำหนดโครงสร้างและแบบจำลองให้ถูกต้อง 
  4. OPERATING MODEL โดย  BRIDGE THE GAP เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลยุทธ์และการดำเนินการให้เกิดขึ้นจริง
  5. COMMUNICATE WHY DIGITAL CHANGE MATTERS สื่อสารว่าทำไมถึงสำคัญ ผ่านทั้งรูปแบบให้แรงบันดาลใจ สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
  6. CULTIVATE A CULTURE OF CHANGE สุดท้ายคือปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ส่วนขององค์กร ที่สำคัญต้องทำให้ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดยั่งยืน

ถอดกลยุทธ์การสร้างผู้นำแห่งอนาคต

DAC in Thailand, Dhanjira Pimolsaengsuriya, Group Head of Operations Slingshot Group

เพราะธุรกิจเรื่องของผลลัพธ์ (Business Outcome) เป็นสิ่งสำคัญ ผู้นำที่ดีจะต้องทำให้คนในองค์กรทุกระดับมองเห็นภาพไปในทิศทางเดียวกัน Direction – Alignment – Commitment (DAC)  จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในส่วนนี้

ปิดท้ายหัวข้อบรรยายนี้ คุณธัญจิราจึงได้นำผลสำรวจผู้นำจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทยกว่า 100 องค์กร มาเล่าให้ฟัง ซึ่งพบว่า องค์กรไทยมี Commitment สูง แต่กลับมี Alignment ที่ต่ำ

กล่าวคือ องค์กรไทยมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน แต่คนในองค์กรกลับไม่ได้มองไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้การทำงานของแต่ละแผนกยังไม่สอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ 

หากผู้นำองค์กรสามารถพัฒนา Alignment ได้อีก ก็จะช่วยยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ถอดกลยุทธ์การสร้างผู้นำแห่งอนาคต

บทสรุป

โลกยุคใหม่ต้องการผู้นำที่มาสร้างกระบวนการทางสังคมที่ช่วยให้บุคคลต่าง ๆ ทั้งภายในทีม หน่วยงาน แผนก ชุมชนหรือทั้งองค์กรสามารถร่วมกันทำงาน 

เพราะการประสบความสำเร็จ ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนเพียงคนเดียวอีกต่อไป

ผู้นำยุคใหม่จึงต้องมี Direction ที่ชัดเจน มี Alignment ไปในทิศทางเดียวกัน และที่สำคัญต้องมี Commitment เป็นตัวขับเคลื่อนความมุ่งมั่นและรับผิดชอบร่วมกันของทีม 

Direction – Alignment – Commitment (DAC) จึงเป็นปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรในอนาคต ผ่านผู้นำและบทบาทของ CEO นั่นเอง

สำหรับใครที่อยากอ่านผลสำรวจฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ในลิ้งค์นี้ https://bit.ly/3utrXZ5

ถอดกลยุทธ์การสร้างผู้นำแห่งอนาคต

ผู้เขียน

Sahatorn Petvirojchai

Sahatorn Petvirojchai

Manager of HREX.asia who works in media platforms for a long time. Interested in Global Culture, Marketing, and Self Development.

บทความที่เกี่ยวข้อง