เปิดโลก HR แห่งอนาคตไปกับงาน Globish Present CREATIVE TALK 1 Stage: “HR & PEOPLE DIRECTION องค์กรยุคนี้ต้อง…”

เสาร์ที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่าน HREX.asia ในฐานะ Media Partner ได้เข้าร่วมงานสัมมนาแห่งอนาคตชื่อ Globish Present CREATIVE TALK 1 Stage: “HR & PEOPLE DIRECTION องค์กรยุคนี้ต้อง…” ซึ่งเป็นการช่วยเราหาคำตอบว่า HR และผู้นำ (Leader) ในปัจจุบันต้องให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้างหากต้องการก้าวไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน รวมถึงการชี้ให้เห็นว่ากระแส (Trends) ของโลกธุรกิจในปีนี้เป็นแบบไหน โดยข้อมูลทั้งหมดในงานนี้คือข้อมูลเชิงลึกแบบอินไซด์คนทำงาน แบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. “Gen Gap & Value: องค์กรยุคนี้ต้องบริหารความสัมพันธ์คนหลาก Gen” : องค์กร หรือ HR เองจะบริหารความสัมพันธ์กับคนหลากเจเนอเรชั่นได้อย่างไร?

โดย : อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer, SCG และ ธีรกร อานันโทไทย Chief Digital Officer & Co-founder, Globish

2. “Talent Management องค์กรยุคนี้ต้องสร้าง Talent เร่งให้เกิดการเรียนรู้” : เราจะบริหารจัดการกับคนเก่ง ๆ ในยุค Talent War ได้อย่างไร?

โดย : ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

และ รวิศ หาญอุตสาหะ CEO of Srichand and Founder of ‘Mission to the Moon’ 

3. “PEOPLE DIRECTION  องค์กรยุคนี้ต้องเข้าใจว่ายุคเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน” : คนยุคนี้อยากทำงานกับบริษัทแบบไหน HR ต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง?

โดย : อภิชาติ ขันธวิธิ CEO, QGEN Consultant

งานนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่โรงภาพยนตร์ SCREEN X พารากอนซีนีเพลกซ์ ชั้น 6 สยามพารากอน ซึ่งทีมงานของ HREX.asia ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจเอาไว้ ดังนี้

ปัจจุบันประเด็นเรื่อง Generation Gap ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุคที่โลกให้ความสำคัญกับความแตกต่าง (Diversity) มากเป็นพิเศษ  แต่สิ่งแรกที่ต้องตั้งคำถามก็คือเรื่องของ Generation Gap ที่เราฟังกันมาและแบ่งเป็นกลุ่ม Baby Boomer, Gen X, Gen Y, Gen Z นั้น เป็นคุณค่าของพวกเขาจริง ๆ หรือเป็นแค่การเหมารวม (Stereotype) กันแน่ ? เพราะเราควรมองภาพกว้างให้เห็นก่อน ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่โลกของคนสูงวัยมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจะหาแต่พนักงานจากคนรุ่นใหม่อย่างเดียวย่อมไม่เพียงพออีกต่อไปเราต้องมีคำว่า ‘Inclusive Mindset’ ที่กำลังบอกว่าพนักงานรุ่นใหม่ต้องหมายถึงคนทุกเพศ ทุกวัย  เพราะศักยภาพของคนไม่ได้เกี่ยวกับอายุ แต่มาจากการตั้งคำถามว่า ‘เขาเป็นคนอย่างไร’ ต่างหาก องค์กรที่ดีจึงไม่ใช่องค์กรที่เปิดรับคนจบใหม่แบ้สปฏิเสธคนรุ่นเก่า แต่เป็นองค์กรที่ผสานบุคลากรที่หลากหลายความเชื่อ หลากหลายความคิดเข้าด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์มากกว่า 

คุณแทน – ธีรกร อานันโทไทย Chief Digital Officer & Co-founder บริษัท Globish Academia (Thailand) ได้สรุปความอย่างน่าสนใจว่า “ถ้าเราแก้ปัญหา Diversity ได้ ผมเชื่อว่าประเทศเราจะมีความหวังมากขึ้น” การบริหารความแตกต่างจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรจะหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกแล้ว

เรื่องต่อมาคือประเด็นของ Talent Management ซึ่งคุณโจ้ – ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พูดไว้อย่างน่าสนใจว่า “จงสร้างองค์กรให้เป็นต้นใหม่ใหญ่ จนนกอยากมาทำรัง”​ ขณะที่คุณแท็ป – รวิศ หาญอุตสาหะ CEO of Srichand and Founder of ‘Mission to the Moon’ เน้นย้ำว่า “คนเรามีความเก่งไม่เหมือนกัน หน้าที่ของหัวหน้าทีมคือต้องเอาคนไปอยู่ให้ถูกที่” 

สิ่งสำคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือเรื่องที่องค์กรต้องเร่งให้เกิดการเรียนรู้ ต้องทำให้บุคลากรมี Ability To Learn คือสามารถเรียนเรื่องใหม่ ๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกสมัยใหม่ ที่สำคัญคนยุคนี้ต้องรู้จัก Circle of Competence คือการตระหนักว่าเรารู้เรื่องอะไร มีเรื่องไหนที่คิดว่ารู้แต่พอพิจารณาจริง ๆ ก็พบว่าเราไม่รู้ และมีเรื่องไหนบ้างที่เรายอมรับว่าเราไม่รู้ตั้งแต่ต้น การตรวจเช็คเรื่องนี้เป็นระยะจะทำให้เราเข้าใจว่าตนขาดอะไร และหาทางเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป

อีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ก็คือการหาคนเก่งในปัจจุบันเป็นเรื่องยาก เพราะคนเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลง และออกจากระบบไปทำงานแบบฟรีแลนซ์มากขึ้น แต่ก่อนที่จะไปพูดถึง Talent War หรือการแย่งชิงคนเก่ง เราเคยถามตัวเองหรือยังว่าแท้จริงแล้วเราต้องการพนักงานแบบไหน ? เพราะบางทีที่ผังองค์กรที่เราใช้อยู่ อาจไม่ใช่ผังองค์กรที่เราต้องการในปัจจุบันอีกต่อไป ในที่นี้จะเป็นการบริหารจัดการคนในระดับไหนก็แล้วแต่ คนที่รับผิดชอบต้องมีทักษะจิตวิทยาที่ดีแล้วคุยกับทีมให้มากขึ้น จะได้รู้ว่าเขามีความชอบหรือไม่ชอบ และต้องการหรือไม่ต้องการอะไรบ้าง 

นอกจากนี้ยังต้องหาทางสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจให้ได้ว่ามีบางเรื่องที่พวกเขาไม่รู้จริง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเวลาประเมินคน อย่าดูแค่ว่าเขา “ทำเสร็จ” ไหม แต่ให้ดูว่างานที่เขาทำนั้น “สำเร็จ” อย่างที่ตั้งใจหรือไม่ต่างหาก

ปิดท้ายการเสวนานี้ด้วยการตั้งคำถามว่าทิศทางของบุคลากรไทย (Direction) จะเป็นอย่างไรต่อไป ?​ คุณบี – อภิชาติ ขันธวิธิ CEO Qgen Consultant ได้สรุปไว้ว่า “เด็กจบใหม่มีโอกาสลาออกใน 1 ปี เพราะเขามองว่าองค์กรยังเติมเต็มสิ่งที่เขาต้องการไม่ได้” นี่คือเรื่องที่องค์กรต้องหาทางแก้ไขอย่างรัดกุมโดยด่วน เพราะบริษัทจะต้องใช้งบประมาณสูงถึง 1 ใน 3 ของอัตราเงินเดือนรวมทั้งปีของพนักงานท่านนั้นเพื่อนำไปหาพนักงานใหม่ โดยรวมถึงขั้นตอนการจัดอบรม, ช่วงทดลองงาน และค่าเสียโอกาสในระหว่างนั้น แปลว่าหากมีพนักงานลาออก 10 คน องค์กรจะต้องเสียเม็ดเงินรวมกันกว่า 1 ล้านบาทเข้าให้แล้ว ดังนั้นจะดีกว่าไหมหากองค์กรนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาสวัสดิการเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของบุคลากรให้ดีกว่าเดิม

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเนื้อหาจากงาน Globish Present CREATIVE TALK 1 Stage: “HR & PEOPLE DIRECTION องค์กรยุคนี้ต้อง…”

สามารถติดตามงานครั้งถัดไปของ CT1Stage ได้ที่ https://www.facebook.com/CT1STAGE
หรือหากใครสนใจเรื่องการบริหารคน จัดการทีมทั้งในมุมของลีดเดอร์และ HR สามารถไปติดตามกันต่อได้ที่งาน People Performance หนึ่งใน Conference ที่จะเกิดขึ้นในงาน AP Thai Present CTC2023 FESTIVAL ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน – วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566

สํารองที่นั่งได้แล้ววันนี้ที่ https://www.ctc2023.com/
ลูกค้าองค์กร สปอนเซอร์ผู้สนใจออกบูธ สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
📧 sponsorship@ctc2023.com หรือติดต่อ
󰛉 คุณเปรียว: 083-469-4414

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง