Search
Close this search box.

Recruiter vs. Recruitment Consultant vs. Headhunter ต่างกันยังไง?

HIGHLIGHT

  • Recruiter หรือ Corporate Recruiter  เป็นส่วนหนึ่งของ HR Department ที่จะ Represent บริษัทที่เราสังกัดอยู่ เราสรรหาพนักงานเพื่อมาเป็นครอบครัวเดียวกับเรา และได้ทำงานค่อนข้างหลากหลาย
  • Recruitment Consultant หรือ Career Advisor เป็นหนึ่ง ในอาชีพที่มาแรงที่สุดของเด็กจบใหม่ เพราะเรียนจบอะไรก็สามารถเป็นได้และไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน โดยเป็นตัวกลางที่ช่วยหาคนให้กับบริษัทลูกค้าและหางานให้กับแคนดิเดต
  • Headhunter หรือ Executive Recruiter มักจะสรรหาบุคคลให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมเฉพาะ  โดยมากจะหาในระดับ Manager เงินเดือนห้าหลักปลาย ๆ ขึ้นไปจนถึงหลายแสน

HREX CoverRecruiter vs. RC/CA vs. Headhunter ต่างกันยังไง?

Recruiter vs. Recruitment Consultant vs. Headhunter ต่างกันยังไง?

ทั้ง 3 คำที่กล่าวมาข้างต้น ทำหน้าที่เหมือนกันคือ “การสรรหาบุคลากร” เพื่อมาทำงาน ณ บริษัทใดบริษัทหนึ่ง ส่วนเรื่องของกระบวนการ (Process) วิธีการได้มาซึ่งแคนดิเดตอาจจะต่างกันเล็กน้อย แต่ความคาดหวังและความกดดันต่างกันมาก

จริง ๆ แล้วคนที่ทำ 1 ใน 3 นี้โดยทั่วไปก็แนะนำตัวเองคร่าว ๆ ว่าเป็น Recruiter มาจากบริษัท ABC กันทั้งนั้น เพื่อให้อีกฝ่ายรับรู้แบบเข้าใจง่าย ๆ เวลาไปพบปะผู้คนด้านนอก หรือไปงานสัมมนาที่มีเวลาแนะนำตัวสั้น ๆ

แต่ในแวดวง HR กันเองจะค่อนข้างเจาะจงตัวเองไปเลยว่า เราเป็น HR เป็น Recruiter เป็น HRBP (Business Partner) เป็น C&B (Compensation and Benefits) หรือเป็น Recruitment Consultant

และเรื่องที่จะเอามาเล่ามาแชร์ในวันนี้ เป็นในมุมมองในแบบที่เจาะจง และเล่าในฐานะคนที่มีประสบการณ์ทั้ง 3 แบบมาแล้ว เพราะเคยอยู่ทั้งแบบ Corporate, Agency, และเป็น Outsource ให้บริษัทลูกค้าด้วย

1. Recruiter หรือ Corporate Recruiter

Recruiter เป็นส่วนหนึ่งของ HR Department ที่จะ Represent บริษัทที่เราสังกัดอยู่ เราสรรหาพนักงานเพื่อมาเป็นครอบครัวเดียวกับเรา และได้ทำงานค่อนข้างหลากหลาย

ตั้งแต่สรรหาเอง จัดทำเอกสาร ทำของพรีเมียม ออกอีเวนต์ Job Fair ทำ Employer Branding ยาวไปจนถึงพนักงาน Onboarding โดยมากมักจะรับ Requirement มาว่า แผนกไหนของบริษัทต้องการพนักงานใหม่ หรือต้องการหาคนมาแทนที่ตำแหน่งเดิม

การสัมภาษณ์งานเบื้องต้นไม่ลึกมาก ถ้าผ่านรอบนี้ก็จะส่งต่อเข้าไปสัมภาษณ์กับคนอื่นที่เป็น Technical หรือ Business Unit หรือ Manager ต่อไป

ข้อดีของ Recruiter

  • ได้ทำงานหลากหลายส่วน รู้จักคนในบริษัทเยอะเพราะต้องคอยประสานงานในการสัมภาษณ์ทุกครั้งที่มีแคนดิเดตมาสัมภาษณ์ ตั้งแต่ Reception ไปจนถึง Manager
  • ไม่เครียดหรือกดดันเท่าตำแหน่งอื่น ถ้าใครไม่สนใจหางานใหม่​ ก็ไม่จำเป็นต้องแคร์ สามารถยกหูกดเบอร์หาแคนดิเดตคนต่อไปแบบไม่คิดมาก

ข้อเสียของ Recruiter

  • ต่อให้เราสรรหาบุคคลได้มากขึ้น ก็ไม่มีค่าคอมมิชชั่นใด ๆ
  • อาจต้องทำงาน Admin จิปาถะหรือทำงานร่วมกับแผนกอื่น ๆ ด้วย ถ้าใครไม่ชอบงานเอกสาร หรือ Multitasking ไม่ดีพอ ชีวิตจะวุ่นวายมาก
  • เป็นคน Represent หรือเรียกว่าเป็น Brand Ambassador ของบริษัท ความประทับใจแรกอยู่ที่ Recruiter นี่แหละ ถ้าเผลอวีนหรือให้แคนดิเดตมีประสบการณ์ในการสัมภาษณ์ไม่ดี แคนดิเดตมีสิทธิ์ที่จะเอาไปเมาท์ลงพันทิปหรือแบนสินค้าบริษัทได้เลย

HREX CoverRecruiter vs. RC/CA vs. Headhunter ต่างกันยังไง?

2. Recruitment Consultant หรือ Career Advisor

เป็น 1 ในอาชีพที่มาแรงที่สุดของเด็กจบใหม่ เพราะเรียนจบอะไรก็สามารถเป็นได้และไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน โดย Recruitment Consultant (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า RC) ที่ทำงานอยู่ใน Recruitment Agency จะไม่ใช่ HR แต่จะทำงานร่วมกับ HR แต่ละบริษัทซึ่งถือเป็นลูกค้า

สรุปว่า RC หรือ CA เป็นตัวกลางที่ช่วยหาคนให้กับบริษัทลูกค้าและหางานให้กับแคนดิเดต โดยที่ RC/CA จะเจ๊าะแจ๊ะกับแคนดิเดตค่อนข้างเยอะ

“เยอะ” นี่หมายถึงจำนวนแคนดิเดตที่เยอะและคำถามเยอะ เพื่อเก็บ Record และโทรไปนำเสนองานต่าง ๆ ทีหลังที่เห็นว่าเหมาะสมกับประสบการณ์หรือสิ่งที่แคนดิเดตมองหา ซึ่งอาจจะตรงมากหรือตรงน้อยกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการก็ได้

มีความยืดหยุ่นสูงกว่า Headhunter เนื่องจาก RC/CA สามารถติดต่อได้ทั้งแคนดิเดตที่กำลังมองหางานอยู่และไม่ได้มองหางาน ตั้งแต่เลเวลเด็กจบใหม่เงินเดือนหนึ่งหมื่นบาทไปจนถึงเลเวลเงินเดือนหลักแสนทีเดียว

ข้อดีของ RC/CA

  • ได้ทำหลาย Skill นอกจาก People Skill แบบที่ HR จะมีได้แล้วอีก Skill หนึ่งที่จำเป็นมาก ๆ คือ Sales Skill เพราะ Key ของประเภทนี้คือ ขาย Job ยังไงให้น่าสนใจ ให้แคนดิเดตอยากสมัคร อยากไปลองสัมภาษณ์ ในขณะเดียวกันต้องขายแคนดิเดตให้กับลูกค้าว่า ทำแคนดิเดตของคนนี้เหมาะกับงานนี้ บริษัทนี้ เราจะเป็นคนเขียน Recommendation และดึงศักยภาพของแคนดิเดตคนนึงให้ออกมามากที่สุดเพื่อที่ทำให้เขาได้งาน ลูกค้าได้คน และเราก็ได้เงิน เย้ !
  • ถ้าสามารถปิดแคนดิเดตหรือสรรหาสำเร็จเราจะรู้สึก Happy มาก ที่ช่วยคนมีงานทำ มีเงินใช้ อัตราการว่างงานลดลง เศรษฐกิจสังคมดีขึ้น (ขนาดนั้นเลย !) และเราจะได้ค่าตอบแทนเพิ่ม (ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของแต่ละ Agency)
  • Career Path ไปได้ทั้ง HR และ Sales

ข้อเสียของ RC/CA

  • มียอด อาจจะเครียดได้ แต่ไม่เยอะเท่า Headhunter
  • อาจหงุดหงิดกับแคนดิเดตหรือลูกค้าบ้าง การรอ feedback เป็นอะไรที่ทรมาน ต่อให้ได้ Offer แต่ถ้าแคนดี้ที่พยายามด้วยกันมาไม่เอานี่แทบจะร้องไห้ บางเคสการต่อรองเรียกได้ว่าหน้าแหกหลายรอบแล้ว 555+

Sourcedout คือแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นจาก Recruiter เพื่อ Recruiter โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนวงการ Recruitment ตอบโจทย์เรื่องการทำงานที่ง่ายขึ้น มีโอกาสสร้างรายได้ที่มากขึ้น รวมถึงช่วยให้กระบวนการ Hiring ระหว่างผู้สมัครและองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. Headhunter หรือ Executive Search​ Recruiter

ปกติตำแหน่งนี้มักจะสรรหาบุคคลให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมเฉพาะ คือจะเป็น Specialize ใน Industry หนึ่ง ๆ โดยที่คุณสมบัติหรือ Requirement ที่ให้มาจะไม่ใช่คุณสมบัติตามท้องตลาด โดยมากจะเป็นระดับ Manager เงินเดือนห้าหลักปลาย ๆ ขึ้นไปจนถึงหลายแสน

ปกติจะต้องติดต่อแคนดิเดตที่ High Profile มีงานอยู่แล้ว ไม่ได้มองหางานใหม่ ดังนั้นการเป็น Headhunter มันยากตั้งแต่การได้มาซึ่งแคนดิเดตแล้ว ! เพราะคนเหล่านี้ไม่โพสต์เบอร์โทรศัพท์พร่ำเพรื่อ (เพราะส่วนมากเป็น C-level ที่ปกติงานยุ่งอยู่แล้ว) และไม่แอคทีฟใน Platform หางานทั่วไป (เพราะส่วนใหญ่ก็อยู่บริษัทดี ๆ ดัง ๆ ไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน)

ดังนั้นต้องทำการบ้านมาดีมาก ๆ ๆ ๆ ถ้าย้ายมาชีวิตเขาจะดีขึ้นกว่าที่บริษัทที่เขาทำอยู่ตอนนี้ยังไงบ้าง ถ้าสมมุติเราเจอคนที่ตรงกับที่ลูกค้าต้องการมาก ๆ เราจะเป็นประเภทหนึ่งที่ยกหูหาเบอร์ต่อไปไม่ได้ทันที ต้องหาวิธี Convince แค่นี้ก็ Challenge สุด ๆ บางทีอาจต้องบุกถึงบริษัท นัดทานข้าว ตีกอล์ฟ เลี้ยงเหล้า ไปหาตามงานอีเวนต์สัมมนาหรือวิธีอะไรก็ได้ที่จะหา​ Contact​ หรือพยายาม Connect Relationship กับเขา

แล้ว Headhunter ล่ะ คืออะไร ? แตกต่างจาก Recruiter อย่างไร ?

ข้อดีของ Headhunter

  • เราสามารถเป็นเจ้าของตลาดได้ ถ้าเรามี Connection และความน่าเชื่อถือมากพอ พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นงานและมีประสบการณ์กันทั้งนั้น เราไม่ต้องคุยเจ๊าะแจ๊ะเยอะแบบ RC/CA (เพราะบางคนคุยแล้วเสียเวลา)
  •  ถ้าปิดได้ ยิ่งแคนดิเดตเงินเดือนเยอะยิ่งดี โดย Headhunter ส่วนใหญ่ค่าคอมมิชชั่นจะอยู่ที่ 10% ต่อตำแหน่ง​ (หรือบางบริษัทขึ้นกับยอดต่อ​ quarter)​สมมติเราสามารถปิดแคนดิเดตเงินเดือน 200,000 ได้ 1 คน เราจะได้เงินเพิ่มอีก 20,000 โดยไม่รวมกับเงินเดือน แล้วเราจะปิดกี่สิบคนก็ได้ ! ฉันต้องรวย !
  • หลาย ๆ Headhunt เป็นบริษัทต่างชาติ จะใช้ภาษาอังกฤษบ่อย ถ้าเราทำยอดได้ดีมีโอกาส Relocate ไปทำในสำนักงานต่างประเทศ

ข้อเสียของ Headhunter

  • เครียดมากกกกกก กดดันสุด ๆ จนปัญญาหลายรอบ เพราะยอดเยอะ (ประมาณ x3 เท่าของ RC/CA) ถ้าเราไม่ปิดหรือไม่มี Achievement เลย Team Manager หรือ HQ อาจเรียกคุยได้
  • จะไปสาย Corporate ยากกว่าแบบ Recruiter และ RC/CA ที่จะไปบริษัทไหนก็ได้ แต่ Headhunter  อาจจะไปได้เฉพาะใน Industry ที่ตัวเองรับผิดชอบ ซึ่งก็หนีไม่พ้นคนในวงการแวดวงนั้น ๆ

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง