ในยุคที่การทำงานเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน การกลั่นแกล้งในที่ทำงานหรือที่เรียกว่า “บูลลี่” (Bully) กลับกลายเป็นปัญหาที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานด้วย จากสถิติพบว่าปัญหาการบูลลี่ในที่ทำงานกลายเป็นปัจจัยแรก ๆ ที่ทำให้พนักงานหมดใจและหมดไฟในการทำงาน
เนื่องในสัปดาห์ Anti-Bullying ในวันที่ 11-15 พฤศจิกายนนี้ เราอยากชวนดูสถิติการบูลลี่ในที่ทำงานเพื่อหาแนวทางป้องกันและเพื่อสร้างความตระหนักรู้ หยุดส่งต่อความรุนแรง หันมาส่งต่อความใจดีและคำพูดเชิงบวกให้กำลังใจกันมากยิ่งขึ้นกันดีกว่า !
Contents
รู้หรือไม่ คนทำงานลาออกจากบริษัทเพราะประเด็นบูลลี่ถึง 23%
การบูลลี่ในที่ทำงานเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนทำงานเครียดจากการทำงาน งานวิจัยพบว่าคนทำงาน 8 ใน 10 คน มีประสบการณ์ Cyberbully ในที่ทำงาน และ 65% ของการบูลลี่ในที่ทำงานโดยไม่รู้ตัวเกิดขึ้นจากหัวหน้าหรือผู้จัดการ ส่วนประเภทของการบูลลี่ในที่ทำงานที่พบบ่อยที่สุดคือ บูลลี่ผ่านอีเมล 23.3% การนินทาจากเพื่อนร่วมงาน 20.2% และการบูลลี่ผ่านการตะคอก 17.8%
จากผลการสำรวจของสถาบัน Workplace Bullying Institute ทำการสำรวจพนักงานออฟฟิศในสหรัฐอเมริกา พบว่า 66% ของพนักงานรับรู้ว่ามีการบูลลี่ในที่ทำงาน 49% ของพนักงานตกอยู่ในสถานการณ์ถูกบูลลี่โดยตรงที่ทำงาน โดยประชากรกว่า 76.3 ล้านคนในอเมริกายอมรับว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากปัญหาการบูลลี่ในที่ทำงาน นอกจากนี้ การทำงานแบบ Remote work ก็มีแนวโน้มถูกบูลลี่มากกว่าถึง 43.2% เลยทีเดียว
สำหรับการทำงานทางไกล (Remote Working) พบว่าการบูลลี่ไม่ค่อยเกิดขึ้นมากถึง 41% เลยทีเดียว! แต่ก็อาจเกิดการบูลลี่ได้ในบางครั้งในสัดส่วน 35% เมื่อมีการประชุมออนไลน์แบบกลุ่ม และ 15% เมื่อมีการประชุมออนไลน์แบบตัวต่อตัว 6% ในอีเมลที่ส่งหาทุกคน และ 3% ในอีเมลที่ส่งแบบส่วนตัว
สัญญาณอันตรายจากออฟฟิศที่ไม่ Healthy
การกลั่นแกล้งในที่ทำงานไม่เคยเกิดผลดีกับใคร และอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจกับผู้ถูกกระทำได้ในระยะยาว ปัญหานี้ส่งผลต่อบุคคล สังคม และองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความโดดเดี่ยวและรู้สึกแปลกแยกไปจากสังคม ไปจนถึงการขาดความมุ่งมั่นและแรงจูงใจในการทำงานและการใช้ชีวิต
HR จะรับมือปัญหาการบูลลี่ในที่ทำงานได้อย่างไร?
วัฒนธรรมองค์กรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยป้องกันปัญหาการบูลลี่ในที่ทำงานได้ เพราะวัฒนธรรมองค์กรช่วยสร้างมาตรฐานและปรับพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร อย่างไรก็ตามการจัดการของหัวหน้าหรือผู้นำองค์กรหรือ HR ก็สามารถช่วยลดปัญหาการบูลลี่หรือทำให้ความเข้าใจและมาตรฐานการทำงานดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
1. กำหนดคุณค่าและสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงบวกในองค์กร
HR ควรเริ่มด้วยการกำหนดคุณค่าและมาตรฐานพฤติกรรมที่ชัดเจนในองค์กร โดยค่านิยมเหล่านี้ควรอยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน ส่งเสริมความหลากหลาย และการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ มีกฎระเบียบที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ยอมรับได้และไม่ยอมรับในที่ทำงาน เพราะเมื่อทุกคนในองค์กรเข้าใจและมีความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรฐานเหล่านี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมบูลลี่
เช่น การทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัย มีอะไรสามารถพูดคุยได้อย่างตรงไปตรงมาโดยปราศจากการเมืองในที่ทำงาน ทำให้การสื่อสารเป็นเรื่องง่าย วัฒนธรรมองค์กรอาจเรียกได้ว่าคือหัวใจสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการบูลลี่ในที่ทำงาน หากพนักงานทุกคนเข้าใจ ให้ความสำคัญและเห็นถึงคุณค่าในเรื่องนี้ก็ย่อมส่งผลต่อบรรยากาศในการทำงานที่ดีขึ้น และสื่อสารกันง่ายขึ้นโดยไม่ต้องมีการบูลลี่ในที่ทำงาน
2. จัด Workshop เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการบูลลี่
หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้เกี่ยวกับการบูลลี่ในที่ทำงาน โดยสามารถเชิญผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยและให้ความรู้ รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเภทของการบูลลี่ สาเหตุที่เกิดขึ้น และผลกระทบของมันต่อผู้ถูกบูลลี่และบรรยากาศการทำงาน รวมถึงการสอนทักษะในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การให้ความรู้จะทำให้พนักงานตระหนักถึงปัญหาและรู้จักวิธีการรับมือเมื่อต้องเผชิญกับการบูลลี่ได้ดียิ่งขึ้น
ประเภทของการบูลลี่ในที่ทำงานมีอะไรบ้าง?
(อ้างอิง: Anti-Bullying week: เปิดสถิติ “บูลลี่” ในที่ทำงานและวิธีรับมือเมื่อตกเป็นเหยื่อบูลลี่) |
3. ผู้นำองค์กรเป็นแบบอย่างสำหรับพฤติกรรมการทำงาน
ผู้นำในองค์กรมีบทบาทสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมที่ปลอดภัยจากการบูลลี่ การแสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงการให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องจากผู้นำองค์กร หรือหัวหน้าทีมจะช่วยกำหนดมาตรฐานให้กับพนักงาน ผู้นำควรมีความสามารถในการสื่อสารที่ดีและกระตือรือร้นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาสามารถพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาการบูลลี่ได้อย่างเปิดเผย
4. กำหนดนโยบายการทำงานเพื่อป้องกันการบูลลี่
HR ควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการป้องกันการบูลลี่ในที่ทำงาน ซึ่งนโยบายนี้ควรรวมถึงความหมายของการบูลลี่ วิธีการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขั้นตอนในการสอบสวน และการรับมือเมื่อเกิดการกลั่นแกล้งในที่ทำงาน
นโยบายที่ชัดเจนยังต้องสื่อสารให้พนักงานทุกคนเข้าใจและเห็นพ้องต้องกัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการยอมรับพฤติกรรมที่เป็นอันตรายในที่ทำงาน การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนทำให้พนักงานเห็นว่าบริษัทมีความมุ่งมั่นในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและปลอดภัยสำหรับทุกคน
โดยนโยบายการทำงานในองค์กรควรประกอบไปด้วย:
- จัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพนักงาน
- มาตรฐานพฤติกรรมที่คาดหวังจากพนักงานทุกคน รวมถึงตัวอย่างของสิ่งที่ถือว่าเป็นการบูลลี่และสิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นการบูลลี่ในที่ทำงาน
- ข้อความชี้แจงว่านโยบายนี้มีผลกับงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานอย่างไร
- ให้คำจำกัดความและแบ่งประเภทของการบูลลี่ การกลั่นแกล้งในที่ทำงานให้พนักงานทุกคนเข้าใจตรงกัน
- ให้ข้อมูลวิธีการและสถานที่ที่พนักงานสามารถรายงานข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในที่ทำงานได้
- พิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในที่ทำงานอย่างจริงจังและตอบสนองอย่างเป็นกลาง รวมถึงรักษาความลับเพื่อเคารพความเป็นส่วนตัวแก่พนักงาน
- ชี้แจงถึงผลที่ตามมาและสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามนโยบาย
- วิธีที่นายจ้างจะตอบสนองต่อข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในที่ทำงาน
- วิธีการสอบสวนรายงานว่ามีการบูลลี่เกิดขึ้นในที่ทำงาน
- แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับพนักงานหากเกิดการบูลลี่ขึ้นในที่ทำงาน
อีกสิ่งที่สำคัญคือ หากพบเห็นการบูลลี่กันในที่ทำงาน ปลูกฝังให้พนักงานทุกคนเข้าใจว่าสิ่งที่ควรทำไม่ใช่การเพิกเฉย แต่ควรนำเรื่องราวไปแจ้งแก่หัวหน้าหรือผู้จัดการโดยตรง โดยอธิบายบอกตามข้อเท็จจริงเพื่อให้หัวหน้าพิจารณาและแนะนำแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง หรือแจ้งต่อ HR โดยหากมีรายละเอียดในลักษณะของการกลั่นแกล้งหรือการข่มขู่บังคับก็จะช่วยทำให้มีข้อเท็จจริงสำหรับการรายงานผลมากยิ่งขึ้น เช่น วัน เวลา สถานที่ สิ่งที่พูดหรือทำและในสถานการณ์นั้นมีใครอยู่ด้วยบ้าง
สรุป
การกลั่นแกล้งในที่ทำงานไม่เคยเกิดผลดีกับใคร และอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจกับผู้ถูกกระทำได้ในระยะยาว ปัญหานี้ส่งผลต่อบุคคล สังคม และองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความโดดเดี่ยวและรู้สึกแปลกแยกไปจากสังคม ไปจนถึงการขาดความมุ่งมั่นและแรงจูงใจในการทำงานและการใช้ชีวิต
เพราะการบูลลี่ไม่ใช่เรื่องตลก แม้คนที่บูลลี่นั้นจะเป็นเจ้านายแต่เราทุกคนก็มีสิทธิ์ป้องกันตัวเองและเรียกร้องสิทธิ์ความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นได้ หากเรื่องนั้นเราไม่ได้รู้สึกสนุกหรือสร้างผลกระทบและความเสียหายทั้งทางใจและการทำงานของเรา การนำเรื่องไปแจ้งให้อีกฝ่ายที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือ HR เมื่อถูกบูลลี่ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะไม่ควรมีใครตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ไม่ว่าจากใครก็ตาม