เลือกตั้ง 62 อาทิตย์ที่ 24 มีนา คนที่ต้องทำงานในวันอาทิตย์ควรทำอย่างไรและสิ่งที่ควรรู้ก่อนไปใช้สิทธิ์

ใกล้จะมาถึงกันแล้วกับการเลือกตั้งปี 62 ซึ่งการเลือกตั้งทั่วไปในปีนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม มีความสำคัญกับทุกคนในประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคนที่ต้องทำงานในวันอาทิตย์ พวกเขาจำเป็นต้องหยุดงานในวันนั้นหรือไม่ รวมไปถึงคนที่ไม่สามารถหยุดจากงานได้จะมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างไร ควรเตรียมตัวอย่างไร มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้ก่อนเข้าคูหาบ้าง

เราได้รวบรวมมาไว้ให้ทุกคน รวมไปถึงเรื่องที่เกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งใหม่ในครั้งนี้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคนที่เลือกตั้งเป็นครั้งแรก

สิ่งที่ควรรู้ก่อนไปเลือกตั้ง

สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้จะแตกต่างไปกับครั้งก่อนๆ โดยครั้งนี้จะมีบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว เพราะเราใช้ระบบเลือกตั้งแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘ระบบจัดสรรปันส่วนผสม’ ให้เรามีสิทธิกากบาทเลือกส.ส.แบบแบ่งเขตเท่านั้น ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดในเขตจะได้เป็นส.ส.ตัวแทนเขตและคะแนนที่เลือกจะนำไปรวมกันทั้งประเทศ เพื่อคำนวณจำนวนที่นั่ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น

ส.ส.ทั้งจากระบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ จะไปรวมกันเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไป

ความแตกต่างและข้อควร ‘ระวัง’ อีกอย่างในการเลือกตั้งครั้งนี้คือหมายเลขประจำตัว หรือ ‘เบอร์’ ของผู้สมัครแต่ละพรรคการเมือง

ในการเลือกตั้งครั้งก่อนๆเราคุ้นชินกับการจำหมายเลขพรรค เนื่องจาก ผู้สมัคร ส.ส.ที่มาจากพรรคเดียวกันจะใช้หมายเลขเดียวกันทั่วประเทศ แต่เลือกตั้งปีนี้แม้ ส.ส.จะมาจากพรรคเดียวกัน แต่อยู่คนละเขตก็อาจจะได้หมายเลขต่างกัน เช่น

タイトル

พรรค A   ส่งนาย ก ลงเขต 1 อาจจะได้เบอร์  5

ส่งนาย อ ลงเขต 3 อาจจะได้เบอร์  10

พรรค B   ส่งน.ส. ข ลงเขต 1 อาจจะได้เบอร์ 10

ส่งน.ส. ว ลงเขต 3 อาจจะได้เบอร์  20

ดังนั้นควรจำเบอร์ของผู้สมัครในเขตของเราที่จะเลือกให้ดี

หากเราไม่ชอบผู้สมัครคนไหนในเขตเลย เราก็สามารถเลือกกากบากลงในช่อง ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด (Vote No) ได้

หากเขตเลือกตั้งใดไม่มีผู้สมัครคนไหนได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงVote No เขตนั้นจะต้องเลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครคนเดิมของทุกพรรคจะลงสมัครไม่ได้อีก เพื่อให้ประชาชนได้เลือกผู้แทนที่ต้องการจริงๆ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553
  • มีสัญชาติไทย หรือผู้ที่เปลี่ยนมาเป็นสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน ถึงวันเลือกตั้ง

ผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง

  • ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  • ผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกเพิงถอนสิทธิการเลือกตั้ง
  • ผู้ที่ถูกคุมขังโดยหมายศาล
  • ผู้ที่มีสภาพวิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือไม่สมประกอบ

ขั้นตอนในการเลือกตั้ง

ในวันเลือกตั้ง คูหาเลือกตั้งเริ่มเปิดตั้งแต่ 8.00 – 17.00 น. เมื่อเดินทางไปถึงเขตเลือกตั้ง อย่าลืมเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อใช้ในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและยืนยันตัวตน

จากนั้นลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือรับบัตรเลือกตั้ง 1 ใบ คือ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต โดยในบัตรจะมี หมายเลขผู้สมัคร โลโก้พรรค และชื่อพรรคของผู้สมัครดังตัวอย่าง

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560

เมื่อเข้าไปในคูหาเลือกตั้งให้ทำเครื่องหมายกากบาก X ในช่องว่างสำหรับทำเครื่องหมายลงคะแนนให้ผู้สมัครที่เราเลือกเพียงหมายเลขเดียว

เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งให้เรียบร้อยและหย่อนบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้ง

คำเตือน

  • ห้ามนำบัตรเลือกตั้งออกจากเขตเลือกตั้ง หรือทำเครื่องหมายเพื่อให้เป็นที่สังเกต
  • ห้ามถ่ายบัตรเลือกตั้งที่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว และห้ามนำบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้วแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าลงคะแนนหรือลงคะแนนไม่เลือกผู้สมัครใด
  • ต้องนำบัตรเลือกตั้งหย่อนลงหีบบัตรด้วยตัวเอง
  • หากฝ่าฝืนข้อห้ามต้องระวางโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

หากมีธุระ หรืองานด่วนจนไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ ต้องทำอย่างไร

โดยปกติเราจะมีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่สำหรับบางคนที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันที่ 24 มีนาคมได้ ด้วยเพราะอาจจะติดธุระสำคัญที่ไม่สามารถเลื่อนได้ หรือต้องมาทำงานในวันอาทิตย์ เช่นคนที่ทำงานด้านบริการนั้น สามารถยื่นลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าออนไลน์ได้ ตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. – 19 ก.พ. และต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งใน วันที่ 17 มี.ค.2562
คนที่ต้องการลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ระบบลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขตเลือกตั้ง ทางอินเทอร์เน็ต

โดยมีรายละเอียดที่ต้องกรอก ดังนี้

  • เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • ชื่อเป็นภาษาไทยโดยไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม
  • นามสกุลเป็นภาษาไทย
  • วัน เดือน ปีเกิด (พ.ศ.) เช่น เกิด 1 ก.ค. 2520 ใส่ 01/07/2520
  • เลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน ตัวอักษร 2 หลักแรกและตามด้วยตัวเลข 10 หลัก

  • เลขรหัสประจำบ้าน 11 หลัก

  • เลือกจังหวัดที่จะไปใช้สิทธิ

เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูล หากข้อมูลถูกต้อง ระบบจะแสดงหน้าจอลงทะเบียน โดยต้องเลือกสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขต หรือหากต้องการเปลี่ยนจังหวัดที่ต้องการไปใช้สิทธิ ก็สามารถเลือกจังหวัดอื่นๆ ในหน้าจอนี้ได้ โดยสถานที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามจังหวัดที่เลือก

เมื่อกรอกข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลแล้ว ให้กดปุ่ม ‘ลงทะเบียน’ ระบบจะแสดงข้อความขึ้นมาให้ยืนยัน การบันทึกข้อมูล หากต้องการกลับไปแก้ไขข้อมูลให้กด ‘ไม่ใช่’ หากต้องการยืนยันการลงทะเบียนกด ‘ใช่’ ระบบจะทำการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบการลงทะเบียน

เมื่อเสร็จสิ้นการลงทะเบียน ระบบจะแสดงเอกสารการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง เราสามารถพิมพ์เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการลงทะเบียนได้

สรุป

การเลือกตั้งครั้งนี้มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราในอนาคตอย่างมาก ทุกคนควรไปใช้สิทธิเลือกผู้สมัครที่ใช่สำหรับตัวเอง และสำหรับคนที่ไม่สามารถไปเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคมได้ ก็ยังสามารถยื่นลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้าได้

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง