ทำไมคนรุ่นใหม่ไม่ชอบงานที่ทำอยู่ เพราะไม่มีความอดทน หรือเพราะมองไม่เห็นโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน ?

ผลสำรวจวิจัยจาก Gallup เผยให้เห็นว่ากว่า 71 % ของคนรุ่นใหม่ไม่รู้สึก Engage กับงานที่ทำอยู่ และอีก 60 % มีความรู้สึกว่าหากเจองานใหม่ที่ได้รับโอกาสที่ดีกว่า ผลตอบแทนที่ดีกว่า ก็พร้อมที่จะไปเสมอ ซึ่งคำว่าคนรุ่นใหม่นั้นครอบคลุมตั้งแต่ Millennials ไปจนถึง Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอายุอยู่ในระหว่าง 21 – 36 ปี และเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในภาคแรงงานมากที่สุด

แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ชอบงาน และพอจะมีทางออกบ้างหรือเปล่า ?

ก่อนอื่น อธิบายความแตกต่างระหว่าง Millennial และ Gen Z กันสักนิด เพราะนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา โลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายตั้งแต่ระดับจุลภาค บทบาทของ Millennial และ Gen Z จึงชัดเจนขึ้น ในทุกๆภาคส่วน ไม่ว่าจะเรื่องเชิงสังคม เศรษฐกิจหรือการเมือง

ทำไมคนรุ่นใหม่ไม่ชอบงานที่ทำอยู่ เพราะไม่มีความอดทน หรือเพราะมองไม่เห็นโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน ?

Gen Y / Millennial

Gen Y นี้เป็นกลุ่มใหญ่สุดใน Social Media กว่า 73% ใช้งานโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นมาก แต่ก็กลับยิ่งรู้สึกเหงามากขึ้น ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Cafe Hopping ที่ต้องออกไปถ่ายรูปตามสถานที่เก๋ๆ โดยเฉพาะร้านกาแฟใหม่ๆ หรืออะไรก็ตามที่กำลังเป็นเทรนด์หรือเป็นกระแสอยู่ เพื่อทยอยอัพโหลดขึ้นเรียกไลก์จากเพื่อนบนโซเชียล

Wellness หรือ Well-being หรือกระแสธุรกิจที่เกิดขึ้นจาก Millennial เมื่อพวกเขาอยากรู้สึกดีกับชีวิต ทำให้อาหารคลีนโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงเทรนด์การฟังเสียง ASMR ที่คนยุคก่อนอาจไม่อินไปด้วย และก็ไปจนถึงการท่องเที่ยวแบบ Slow Travel ที่เที่ยวด้วยตัวเองไม่พึ่งไกด์ เพราะไม่ได้อยากรีบร้อนไปไหน เพื่อผ่อนคลายจากชีวิตการทำงานที่เร่งรีบ ธุรกิจแบบ Direct to Consumer ผ่านช่องทางออนไลน์จะตอบโจทย์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าชาว Gen Y หรือ Millennial ได้มากที่สุด

Gen Z

Gen Z นี้เติบโตมาพร้อมกับ COVID 19 และนั่นเองทำให้พวกเขารู้สึกสั่นคลอนกับอนาคตและชีวิตของตัวเอง งานดีๆ ก็ไม่ได้มีรองรับ Gen Z ทุกคน ซึ่งเป็นวัยที่กำลังใกล้จะจบการศึกษา หรือหลายคนก็จะออกไปแล้วแต่ไม่ได้งานตามที่ฝันไว้ เมื่อความมั่นคงในคนรุ่นก่อนไม่มีเหลือในโลกทุกวันนี้ อีกทั้งบริษัทดีๆ ลดการจ้างพนักงานประจำลงเรื่อยๆ และก็เอาเทคโนโลยีอย่าง AI เข้ามาแทนที่มากขึ้นทุกวัน ทำให้ Gen Z นอกจากจะเครียดกับโควิด ยังต้องมาเครียดกับเรื่องชีวิตอันไม่แน่นอนหลังเรียนจบ

และนั่นก็ทำให้พวกเขารู้จักรวมตัวจับกลุ่มกันทางออนไลน์ได้เร็วกว่าคนรุ่นก่อน ไม่ว่าจะก่อให้เกิดกลุ่มที่แบ่งปันข้อมูลการหางานหรือฝึกงานในช่วงโควิด19 ก็ตาม และ Gen Z ก็เลือกที่จะมองหาการจับกลุ่มในโลกออนไลน์ในรูปแบบ Community ต่างๆ อย่างจริงจังกว่าคนทุก Gen เพื่อที่จะได้เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความกังวลของตัวเองและก็ช่อยปลอบประโลมด้วยกัน ยิ่งทำให้พวกเขามีความผูกพันธ์ระหว่างกันผ่านออนไลน์ได้ง่ายกว่าทุก Gen และเป็น Generation ที่โตมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้พวกเขามีความมั่นใจว่ามีความรู้ความเข้าใจในการคิดก่อนโพสมากอย่างที่ Gen อื่นอาจไม่คิด

สาเหตุและทางออก

1. ความคาดหวังที่สูงเกินไป และต้องการจะก้าวหน้าไวๆ

เพราะทุกๆที่นั้นเต็มไปด้วยสื่อ Social Media และด้านดีๆ ชีวิตและหน้าที่การงานที่ดีของคนอื่น และ reward ก็ได้มาง่ายๆ (เป็นจำนวนไลก์หรือจำนวนแชร์) ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ต้องการจะก้าวหน้าไวๆ เหมือนที่เห็นใน Social หากไม่ได้รับโอกาสที่ดีกว่า ก็พร้อมจะไปที่ใหม่เพื่อหาหาความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ และความคาดหวังสำหรับคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้เป็นความคาดหวังรายปีเช่นในสมัยก่อน แต่เป็นความคาดหวังรายเดือนเลยทีเดียว

2. เปรียบเทียบง่ายขึ้น อิจฉาเก่งขึ้น
สอดคล้องจากข้อแรก เพราะสื่อ Social Media ทำให้เกิดการเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น เครียดมากขึ้น วิตกกังวลและเกิดความรู้สึกเศร้า เกิดเป็นอาการ Imposter Syndrome คือภาวะที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง มีความกลัวว่าวันหนึ่งเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายจะรู้ว่าตัวเขาเองนั้นไม่เก่งจริง หรือไม่เหมาะกับงานที่ทำอยู่ บางครั้งก็มักนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานอยู่บ่อยๆ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะต่อมา นั่นก็คือ Social Comparison คือการชอบนำชีวิต ผลงานของตัวเองไปเปรียบเทียบกับของคนที่ประสบความสำเร็จหรือคนที่เหนือกว่าเรา ทั้งๆที่ลืมคิดไปว่าแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานชีวิตหรือต้นทุนที่ไม่เท่ากัน

องค์กรสามารถทำอะไรเพื่อคนรุ่นใหม่ได้บ้าง ?

📌 หัวหน้าต้องฉายไฟทุกคนอย่างเท่าเทียม
หน้าที่ของคนเป็นหัวหน้าคือหาเวทีให้ลูกน้องได้แสดงออก ช่วยฉายไฟเวลาที่ลูกน้องกำลังแสดงอย่างโดดเด่น ช่วยหลบไฟเวลาที่แสดงผิดพลาด ซึ่งหลบไฟในที่นี้ หมายถึง การช่วยออกโรงปกป้องไม่ให้ลูกน้องโดนต่อว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการช่วยกันปิดบังความผิด และที่สำคัญคือให้พื้นที่ตัวสำรองลงสนามบ้าง เพราะในทุกๆ ทีมเวิร์คจะมีคนเด่นและคนรองเสมอ การเปิดโอกาสให้ตัวสำรองได้แสดงฝีมือบ้าง จะทำให้หัวหน้าเห็นความสำคัญของทีมโดยทั่วถึงกัน เป็นการพัฒนาความสามารถของตัวสำรอง มองเห็นจุดแข็งของทุกคน และลดการเปรียบเทียบเพราะแต่ละคนนั้นมีความเก่งแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน

📌 ให้อิสระในวิธีการคิดและการทำงาน
ในยุคสมัยใหม่ คนรุ่นใหม่มีสไตล์การทำงานที่ต่างจากคนรุ่นเก่าค่อนข้างมาก ค่อนข้างมีความคิดแบบ Ownership และไม่ยึดติดคุณค่าของตัวเองกับระบบเดิมๆแบบ Hierarchy อีกต่อไป ดังนั้นเจ้านายยุคใหม่ต้องเข้าใจและตามให้ทัน ต้องปล่อยให้เขามีอิสระในการคิด และมีสิทธิ์ในการออกแบบชีวิตของตัวเอง รวมไปการรับผิดชอบตัวเองในการพัฒนาความสามารถอยู่เสมอ เพราะถ้าหากไม่ให้อิสระเลย เขาก็จะรู้สึกว่าต้องไปทำงานด้วยความอดทน และก็จะเกิดคำถามตามมาว่าทำไมต้องอดทน ถ้าหากข้างนอกมีโอกาสดีๆมากมาย ที่ให้อิสระเขาได้มากกว่า

📌 Start with why
What How When หลายๆครั้งเวลาเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างเรามักเริ่มต้นด้วย What เช่น
What – สิ่งที่ต้องทำคืออะไร ? งานนั้นคืออะไร ?
How – วิธีการทำให้สำเร็จคืออะไร ? ต้องทำอย่างไร ?
Why – ทำไมปัญหานี้จึงเกิดขึ้น? ทำไมผลงานถึงทำเงินให้เราไม่ได้?
ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรถามคือ Why เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง เริ่มต้นที่ Why แล้วจะมองเห็นภาพรวมของทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น กลับกันหากยังไม่รู้ว่าทำไปทำไม ทั้งขั้นตอนที่ทำและผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไร้ความหมาย

สิ่งแรกที่ตระหนักคือต้องรู้ก่อนว่าคนในองค์กรต้องการคนแบบไหน ซึ่งตรงนี้ทำให้ HR มีบทบาทมากที่ต้องทำหน้าที่เป็น Partner ให้กับองค์กร เพื่อ Start with why ว่า pain point ของคนรุ่นใหม่คืออะไร? Passion ขององค์กรคืออะไร? องค์กรนี้อยู่เพื่ออะไร? แล้ว Journey ที่ต้องทำเพื่อไปให้ถึง Why ข้างหน้านั้น ต้องทำอะไรบ้าง ? เพราะการสรรหาคนที่องค์กรต้องการนั้นไม่ใช่แค่องค์กรต้องการเท่านั้น แต่พนักงานก็ต้องการเข้ามาในองค์กรด้วยเช่นกัน ทุกอย่างนั้นเริ่มต้นที่ why

สุดท้ายไม่ว่า Gen ไหนต่างก็มีความเครียดในงานที่ตัวเองทำอยู่ และเกิดความรู้สึกไม่ชอบงานของตัวเองแทบทุก Gen แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรรู้คือ การสามารถทำงานที่ไม่ชอบได้จะทำให้ทุกคนเป็นมืออาชีพ แล้วเอาเวลาเครียดงานที่ไม่ชอบของตัวเองไปคิดว่าสาเหตุที่ไม่ชอบนั้นเพราะอะไร มีอะไรบ้างที่ควบคุมได้ ลดความคาดหวัง เลิกเปรียบเทียบ แล้วเพิ่มมาตรฐานของตัวเองให้ดี เพราะมาตรฐานของเรานั้นคือความจริง ไม่ใช่ Social Media

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง