ทฤษฎีกบต้มอาจไม่มีจริง เพราะกบตัวนั้นจะกระโดดหนีไปตั้งแต่เริ่มรู้สึกว่าน้ำร้อนแล้ว

ทฤษฎีกบต้มอาจไม่มีจริง เพราะกบตัวนั้นจะกระโดดหนีไปตั้งแต่เริ่มรู้สึกว่าน้ำร้อนแล้ว

ทฤษฎีกบต้ม ที่เล่าไว้ว่า เมื่อเราใส่กบเข้าไปในน้ำเดือด เพื่อไม่ให้กบกระโดดหนีออกไปเมื่อมันรู้สึกร้อนมาก เราต้องจับกบมาใส่ในน้ำที่อุณหภูมิไม่สูงมากก่อน เอามันมาแช่ไว้ แล้วค่อยๆปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นเรื่อยๆ พอน้ำต้มนั้นเดือดมากพอ กบก็จะตาย และเราก็จะได้กินกบตัวนั้น แต่ความเชื่อที่ว่านั้นเป็นความเชื่อที่ผิด !

ในความจริงแล้ว เมื่อเราโยนกบเข้าไปในน้ำที่อุณหภูมิเดือดมากตั้งแต่แรก กบจะบาดเจ็บจากน้ำร้อน จนมันไม่สามารถกระโดดออกมาจากน้ำร้อนนั้นได้ แต่ถ้าเป็นกบที่แช่ในน้ำที่อุ่นอยู่แล้ว พอน้ำเริ่มร้อนจนมันไม่ไหว สุดท้ายกบมันก็รู้ตัวและกระโดดออกไปอยู่ดี ซึ่งตรงข้ามจากความเชื่อที่เราเคยได้ยินกันมาตลอด ความเข้าใจผิดตรงนี้ ก็เหมือนกับการที่องค์กรมีความเชื่อในอะไรบางอย่าง ที่อาจจะไม่ได้ช่วยให้องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพมากพอ เช่น หากมีเด็กรุ่นใหม่มา Challenge วิธีการทำงานเก่าๆ ที่ไม่มีประสิทธิภาพในองค์กร หากผู้นำองค์กรไม่ได้ทบทวนตัวเอง หรือพยายามทบทวนวิธีการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้น ยังเชื่ออยู่ต่อไปว่าจะต้มกบต้องค่อยๆต้มในหม้อจากอุณหภูมิที่ต่ำๆก่อน สุดท้ายกบขององค์กรอาจจะกระโดดหนีไป

เพราะฉะนั้นเรื่องเล่าเรื่องนี้อาจกำลังบอกถึง การกลับมาทบทวนการทำงานแบบเก่าๆ ความเชื่อแบบเก่าๆ และ “ตั้งคำถาม” กับความเชื่อที่ตัวเองยึดถือมานานเพื่อ rethink และ unlearn ความรู้ของตัวเองอยู่เสมอ เพราะความสำเร็จในอดีตก็ไม่ได้การันตีว่าคุณจะสำเร็จแบบเดิมอีกครั้งในอนาคต

ในหนังสื่อเรื่อง Think Again จากผู้เขียน Adam Grant บอกไว้ว่าโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เรามักมีกระบวนการคิดที่ไม่เอื้อให้ตั้งคำถามกับความเชื่อของตัวเองเท่าไรนัก โดยผู้เขียนได้แบ่งวิธีการคิดแบบมนุษย์ทั่วไปออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. คิดแบบนักเทศน์ (preacher) : คือการคิดที่เชื่อมั่นว่าความเชื่อที่ตัวเองยึดถือนั้นเป็นจริงที่สุด ส่วนความเชื่อของคนอื่นยังไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องสั่งสอนและให้ความรู้ที่ถูกต้อง
  2. คิดแบบทนายความ (prosecutor) : คือการคิดที่มีเป้าหมายคือหาข้อโต้แย้งเพื่อล้มล้างและเอาชนะความคิดของผู้อื่น เหมือนกับทนายที่ชนะคดีด้วยการโจมตีจุดอ่อนของอีกฝ่าย
  3. คิดแบบนักการเมือง (politician) : คือการคิดที่พุ่งเป้าไปที่การหาเสียงและหว่านล้อม ทำทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะใจและให้ผู้คนเชื่อ เพื่อจะอยู่ฝ่ายเดียวกันเหมือนนักการเมืองทั้งหลาย

ซึ่งในชีวิตประจำวัน มนุษย์ก็มักจะเปลี่ยนวิธีการคิดและสวมบทบาทเป็นได้ทั้งนักเทศน์ ทนายความหรือนักการเมืองไปตามสถานการณ์ต่างๆ แต่คนส่วนใหญ่มักจะลืมเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญที่สุดในยุคสมัยนี้ ก็คือ “การคิดแบบนักวิทยาศาสตร์” (scientist) คือการคิดด้วยหลักเหตุผลเพื่อหาความจริงที่อยู่ตรงกลาง อีกทั้งพร้อมที่ปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อของตัวเองหากพบเหตุผลหรือหลักฐานสนับสนุนมากพอ ไม่ได้ยึดติดกับความเชื่อของตัวเองเพียงอย่างเดียว และไม่ได้ตัดสินว่าความคิดความเชื่อของคนอื่นๆเป็นความจริงน้อยกว่าไม่ว่าจะ Nokia หรือ Blackberry ที่ยึดมั่นกับความสำเร็จอย่างยาวนานของตัวเองจนไม่ยอมคิดใหม่ (Rethink) จนต้องพ่ายแพ้ให้กับ iPhone ของ Apple ไป

และจริง ๆ แล้ว ถ้าสตีฟ จ๊อบส์ไม่ Rethink and Unlearn เราก็อาจไม่มี iPhone ใช้อย่างในทุกวันนี้ ว่ากันว่า สตีฟ จ๊อบส์เคยต่อต้านการทำ Smart Phone มาอย่างยานาน ถึงขั้นประกาศว่าจะไม่ทำโทรศัพท์เด็ดขาด แต่เนื่องจากพนักงานใน Apple ที่ได้ซุ่มทำการศึกษา หาข้อมูลเป็นเวลากว่า 6 เดือนเพื่อที่จะนำเสนอต่อสตีฟ จ๊อบส์จนสามารถเปลี่ยนความคิดเขาได้ในที่สุด นี่ถือเป็นผลของการไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิมๆ และพร้อมจะเรียนรู้ ปรับตัวเองให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

ที่มา

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง