องค์กรให้สวัสดิการที่หักจากเงินเดือน แต่พนักงานกลับมองเป็นภาระ HR จะแก้ปัญหาอย่างไร ?

HIGHLIGHT

  • พนักงานจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินให้สวัสดิการ ทั้งที่ควรได้เป็นเงินเดือนเต็ม
  • สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แท้จริงแล้ว คือภาระหรือสิ่งล้ำค่า
  • HR ผู้ดูแลพนักงานจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร 

องค์กรให้สวัสดิการที่หักจากเงินเดือน แต่พนักงานกลับมองเป็นภาระ HR จะแก้ปัญหาอย่างไร ?

การรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทนาน ๆ มีหลายปัจจัย สวัสดิการนั้นคือหนึ่งในเครื่องมือที่ทุกองค์กรใช้ดูแลพนักงาน เช่น การส่งเงินประกันสังคม จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีประกันกลุ่มคุ้มครองพนักงาน เป็นความใส่ใจพนักงานในมุมขององค์กร 

แต่หากมองในมุมของพนักงาน มีบางส่วนที่ไม่เข้าใจว่า สวัสดิการที่องค์กรให้คืออะไร และยังถูกหักเงินออกจากเงินเดือนที่ควรได้รับอีกด้วย เช่น เงินเดือน 50,000 ถูกหักประกันสังคม 750 บาท ถูกหักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2,500 และยังโดนหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 1,750 บาท ได้รับเงินสุทธิ 45,000 บาท หายไปถึง 5,000 บาท หรือพนักงานบางท่านอาจจะกำลังมีปัญหาทางการเงินอยู่ ก็อาจไม่พอใจที่ต้องจ่ายเงินให้กับสวัสดิการเหล่านี้ พวกเขาจึงมองว่าสวัสดิการที่องค์กรมอบให้กลับกลายเป็นภาระ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการดีที่หักจากเงินเดือน

องค์กรให้สวัสดิการที่หักจากเงินเดือน แต่พนักงานกลับมองเป็นภาระ HR จะแก้ปัญหาอย่างไร ?

ยกตัวอย่าง สวัสดิการอย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ องค์กรเต็มใจมอบให้พนักงานเพื่อเป็นหลักประกันเมื่อออกจากงานหรือยามเกษียณ เพื่อให้พนักงานได้มีเงินก้อนเก็บไว้ใช้จ่ายในอนาคต ผ่านการลงทุนโดยผู้จัดการกองทุน ที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุน นั่นคือมุมมองของบริษัทที่มอบให้พนักงาน 

แต่พนักงานอาจมองว่าสวัสดิการของบริษัท เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเป็นป่าที่หลงเข้าไปแล้วอาจจะกลับออกมาไม่ได้ ต้องหลงไปอยู่ในพื้นที่ที่เราไม่รู้จัก มี‎เสือ สิงห์ กระทิง แรด เปรียบเสมือนการลงทุนที่ตกต่ำมาตอกย้ำให้พนักงานไม่อยากอยู่ สุดท้ายเขาจะพยายามหนีออกจากป่านี้ ด้วยการถอนเงินออกจากกองทุน เพื่อนำไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และสุดท้ายก็ไม่มีกินในช่วงบั้นปลาย 

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว HR จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ?

องค์กรให้สวัสดิการที่หักจากเงินเดือน แต่พนักงานกลับมองเป็นภาระ HR จะแก้ปัญหาอย่างไร ?

วิธีการแก้ไขปัญหาของเรื่องนี้คือ “ความเข้าใจ” สิ่งที่ต้องช่วยพนักงานคือการมอบความรู้และความเข้าใจกับพนักงาน ตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงาน พยายามอย่ายัดเยียดโดยการส่งเอกสารให้พนักงานอ่านและเซ็น แล้วบอกว่าพนักงานเข้าใจแล้ว ซึ่งการให้ความรู้เรื่องสวัสดิการสามารถทำได้หลายวิธีผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมกันภายในองค์กร เช่น จัดแข่งขันตอบปัญหาเรื่องสวัสดิการองค์กร โดยมีรางวัลมอบให้ หรือมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการขององค์กร เปิดพื้นที่ให้ซักถาม และเสนอแนะสวัสดิการที่พนักงานอยากให้เป็น ซึ่งเป็นการส่งเสริมทางบวกให้กับพนักงาน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบสวัสดิการที่เหมาะกับแต่ละองค์กรอีกด้วย

“หากมอบของให้คนที่ไม่อยากได้ นั่นคือภาระ ต้องมอบของ และให้ความเข้าใจนั่นคือ คำตอบ”

พนักงานจะไม่มองสวัสดิการเป็นภาระ ถ้าเข้าใจว่าสิ่งที่องค์กรมอบให้คืออะไร และยังจะดูแลป่าผืนนี้ให้ร่มเย็นเขียวขจี ซึ่งเปรียบเสมือนพนักงานได้ใช้ประโยชน์จากสวัสดิการนั้นอย่างเต็มที่ เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเติบโตงอกเงย ได้ใช้เพื่อการเกษียณตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และมองบริษัทเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรช่วยเหลือพนักงานในทุกด้าน และพนักงานก็มีความสุขทุ่มเทให้การทำงานให้บริษัทอย่างเต็มที่ 

เขียนโดย

บอม Money Class
ผู้อยากส่งเสริมความรู้การเงินให้เป็นพื้นฐานความรู้ของคนทุกระดับ

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง