Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนกรกฏาคม 2023

ตลอดปีที่ผ่านมา HR ต้องเจอกับคำศัพท์ใหม่ ๆ และกลยุทธ์ใหม่ ๆ อยู่ทุกวัน บ้างก็เป็นเรื่องใกล้ตัว แต่บ้างก็เป็นเรื่องไกลตัวที่ต้องหาข้อมูลมากเป็นพิเศษ เรียกได้ว่า HR ยุคนี้ต้องตื่นตัวมากกว่าที่เคยเป็นในอดีตหลายเท่า เหตุนี้ HREX.asia จึงต้องการเป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ชีวิตของ HR ง่ายขึ้น โดยเรามีบริการ HR Community เว็บบอร์ดถาม-ตอบ (Q&A Forum) เพื่อช่วยให้ HR ทุกคนมีชุมชนไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันง่ายขึ้น เพราะนี่แหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญจากทุกสายที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลต้องรู้ แถมยังถูกกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้อ้างอิงได้จริง

Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อประจำเดือนกรกฏาคม 2023 มุ่งเน้นไปในหลากหลายหัวข้อ และถือเป็นข้อมูลใหม่ล่าสุดที่สามารถทำไปอ้างอิงได้จริง โดยมีคำถามที่น่าสนใจและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ดังนี้


Q1 : ทำไม HR ถึงชอบต่อเงินเดือนพนักงาน ? อยากได้คำอธิบาย

ทำไม HR ถึงชอบต่อรองเงินเดือนผู้สมัครงาน ไม่ว่าผู้สมัครงานเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ ต่อให้เงินเดือนที่เรียกไป จะอยู่ในขอบเขตที่บริษัทกำหนดไว้ตามประกาศสมัครงานตั้งแต่แรก แต่ก็จะขอกดให้ราคาลดลงมาอยู่ดี อันนี้ HR มีเงื่อนไข หรือมี KPI อย่างไรครับ ?

A: โดย นภัสราพร เด่นพงศ์พันธุ์

อัตราเงินเดือนที่ระบุในตำแหน่งงานที่ประกาศ มักเป็นช่วงเงินเดือนที่แสดงถึง  ค่าของงานในตำแหน่งที่ประกาศนั้น ซึ่งเงินที่ตอบแทนสำหรับตำแหน่งงานดังกล่าว จะมาจากโครงสร้างเงินเดือนขององค์กร

ในส่วนของการต่อรองเงินเดือน ปัจจัยที่ใช้คือการเปรียบเทียบประสบการณ์ในการทำงานของผู้สมัคร ซึ่ง HR อาจมองว่าผู้สมัครมีน้อยกว่า Job Spec ที่ประกาศไว้ จากประสบการณ์ที่เคยจ้างงานมา ส่วนใหญ่มักจะใช้จำนวนปีประสบการณ์ตรงตาม Job Spec มาเป็นมาตรฐานในการคำนวณค่าจ้างแรกรับ

อีกแนวคิดหนึ่งที่อาจจะใช้ช่วงเวลาทดลองงานในการพิสูจน์ผลงาน หากได้ผลงานจริง   อัตราจ้างก็จะเป็นไปตามงบประมาณและตรงตามที่ประกาศ แถมผู้ที่ผ่านการทดลองงานก็ได้พิสูจน์ฝีมือ และได้กำลังใจในการทำงานอีกด้วย     แต่หลักการที่ไม่ควรลืมคือจุดประสงค์ในการจ้างงานในแต่ละช่วงเวลาอาจจะไม่ใช่เหตุผลและบริบทเดียวกัน ดังนั้น อัตราค่าตอบแทนก็สามารถแตกต่างกันได้แม้จะทำงานเหมือนกันทุกประการก็ตาม  

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community 


Q2: การประเมินผล HR แบบเก่าและแบบใหม่แตกต่างกันอย่างไร ?

อยากทราบว่าการประเมินของ HR แบบเก่าและแบบใหม่ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง อยากได้คำอธิบายที่ละเอียด เพื่อนำไปปรับใช้ต่อไป

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

ในอดีต การประเมินจะเน้นเรื่องปริมาณ ไม่มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลงานที่ชัดเจน และไม่มีการติดตามผล ถึงเวลาก็ประเมินผลประจำปี โดยไม่นำผลการประเมินมาปรับปรุง ไม่นำมาใช้ประโยชน์

ส่วนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา HR จะใช้ PMS (Performance Management System) คือระบบการบริหารผลงาน การประเมินผลจะเน้นเป้าหมายการทำงานและตัวชี้วัดผลงานที่ระบุชัดเจนแน่นอน โดยแยกตาม Job และกลุ่มงาน จะประเมินกันอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง บางองค์กรก็ประเมินกันทุกไตรมาส ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ที่สำคัญต้องมีการติดตามผลและให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ในการปรับปรุงพัฒนา (Performance Feedback & Coaching)  

เครื่องมือที่นิยมใช้ในการประเมินผล เข่น MBO , Balanced Scorecard , KPIs , OKRs เป็นต้น

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q3: หัวหน้าให้ทำงานวันเสาร์ – อาทิตย์ แต่ไม่มีเงินให้ ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

มีข้อสงสัยครับว่า ถ้าบริษัทให้พนักงานมาทำงานวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุด แต่บริษัทไม่มีนโยบายให้ค่า OT แก่พนักงาน อย่างนี้บริษัทสามารถทำได้ไหมครับ ในกฎหมายแรงงานมีการระบุข้อบังคับให้ทุกบริษัทต้องจ่าย OT ไหมครับ ขอบคุณครับ

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

การทำงานในวันหยุด นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การทำงานในวันหยุด พนักงานรายเดือนจะได้รับค่าจ้างเพิ่มอีก 1 เท่าของอัตราค่าจ้างรายเดือน

2. การทำงานค่าล่วงเวลา (OT)ในวันหยุด จะได้รับโอที 3 เท่า

3. การทำงานล่วงเวลา (OT)ในวันทำงานปกติ จะได้รับ OT 1.5 เท่า

รายการทั้ง 3 ประเภทนี้การจ่ายค่าตอบแทนไม่เหมือนกัน ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 61-63 

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q4: พนักงานลาป่วยโดยไม่มีใบรับรองแพทย์ ควรแก้ไขอย่างไร ?

พนักงานใช้สิทธิลาป่วย 1-2 วัน โดยไม่ยื่นหลักฐานหรือใบรับรองแพทย์ ขอทราบวิธีแก้ไข เพราะเป็นกฎของบริษัท แต่พนักงานไม่ทำตาม

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

วิธีแก้ไข

1. ฝ่าย HR ของบริษัท ต้องทบทวนระเบียบการลาต่าง ๆ  เช่น พนักงานใช้สิทธิลาป่วย 1-2 วัน โดยไม่ยื่นหลักฐานหรือใบรับรองแพทย์ ต้องชี้แจง ทำความเข้าใจถึงแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง

2. หากพนักงานไม่ปฏิบัติ ตามระเบียบ ข้อ 1 ให้เรียกพนักงานคุย ขอทราบเหตุผล หากเหตุผลไม่เพียงพอหรือไม่น่าเชื่อถือ ให้ตักเตือน เป็นโทษทางวินัย กรณีทำผิดซ้ำอีก ถือว่าพนักงานฝ่าฝืนระเบียบบริษัท เป็นการไม่ให้ความร่วมมือกับบริษัท จะได้รับโทษหนักขึ้นกว่าเดิม

ข้อแนะนำเพิ่มเติม : การดูแลพนักงานในองค์กร ให้ใช้หลักการแรงงานสัมพันธ์หรือพนักงานสัมพันธ์ สื่อสารกันให้ชัดเจน

พูดคุยกันให้มากขึ้น พูดคุยกันบ่อย ๆ จึงจะได้รับความร่วมมือที่ดี

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q5: วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อการทำธุรกิจอย่างไร ?

อยากรู้ว่าเมื่อสังคมเปลี่ยนไป ค่านิยมเปลี่ยนไป เราจะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

วัฒนธรรมองค์กร ที่น่าจะเหมาะสมกับสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจจะปรับตัวอย่างไรดี เพื่อสร้างความได้เปรียบ ในการเเข่งขันทางธุรกิจให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน (Sustainable) 

ตัวอย่าง

ร่วมกันสร้าง STRONG Culture คำว่า STRONG แปลตามศัพท์หมายถึง ความเข้มแข็ง แข็งแรง เราสามารถสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรได้ด้วยการกระทำ หรือการแสดงออก หรือพฤติกรรมของพนักงานทุกคนด้วย charactors 6 ตัวนี้ 

1. S  Service mind : บริการด้วยใจทั้งลูกค้าภายใน ภายนอก

2. T  Teamwork & Trus : ทำงานเป็นทีมและไว้วางใจซึ่งกันและกัน

3. R  Ready to improve : พร้อมที่จะปรับปรุง พร้อมเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่่า

4. O  Ownership : กระตุ้นความรู้สึกพนักงานว่าตนเป็นเจ้าของที่ จะนำพาองค์กรให้เติบโตและยั่งยืน 

5. N  New idea for improve : มีความคิดใหม่ ๆ ในการปรับปรุงทั้งเรื่องงานและนิสัยส่วนตัว

6, G Growth mindset : มีกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ 

ข้อแนะนำเพิ่มเติม : วัฒนธรรมองค์กรไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการทำงาน สภาพความเป็นอยู่ของแต่ละองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรที่ดี เกิดจากการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน ที่แสดงออกเป็นรูปธรรมและเห็นได้ชัดเจน ไม่ใช่การกำหนดหรือสั่งการจากฝ่ายบริหารหรือเจ้าของกิจการ  และต้องใช้เวลาในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง