Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนสิงหาคม 2023

ไม่ว่าจะเป็น HR มือเก่าหรือมือใหม่ เราต่างจำเป็นต้องหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ยิ่งเมื่อเรามี HR มืออาชีพคอยให้คำปรึกษา เราก็จะยิ่งได้คำตอบที่ถูกต้อง รัดกุมยิ่งขึ้น เหตุนี้ HREX.asia จึงเปิดมีบริการ  HR Community เว็บบอร์ดถาม-ตอบ (Q&A Forum) ที่จะช่วยให้ HR ทุกคนมีชุมชนไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันง่ายขึ้น บอกเลยว่าแพลตฟอร์มแห่งนี้คือแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญจากทุกสาย ที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลต้องรู้ แถมยังถูกกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้อ้างอิงได้จริง

Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อประจำเดือนสิงหาคม 2023 มุ่งเน้นไปในหลากหลายประเด็น ทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ที่หาจากที่ไหนไม่ได้ โดยมีคำถามที่น่าสนใจและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ดังนี้


Q1 : ทำงานครบ 120 วัน แต่หัวหน้าไม่แจ้งว่าผ่านโปรหรือไม่ เราจะทำอะไรได้บ้างนอกจากรอ ?

เราทำงานที่บ.แห่งหนึ่งค่ะไม่มีสวัสดิการอะไรเลยแม้แต่ประกันสังคม เราฝึกงานครบ4เดือน(120วัน)ตามที่เค้ากำหนดแล้ว ตอนจนนี้ล่วงมา6วันแล้วค่ะ แต่หัวหน้าไม่ยอมแจ้งว่าผ่านฝึกงานรึยัง เราสามารถทำอะไรได้บ้างคะนอกจากรอ 

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

ตอบ 2 คำถามนะคะ

1. ลูกจ้างที่เริ่มทำงานใหม่ นายจ้างมีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมภายใน 30 วัน ในแต่ละเดือนต้องนำส่งเงินประกันสังคมที่หักจากเงินเดือนพนักงาน พร้อมทั้งจ่ายสมทบเพิ่มให้กับพนักงาน และยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

2. เมื่อพนักงานทำงานครบ 120 วัน หากนายจ้างไม่แจ้งให้พนักงานทราบถึงผลการปฏิบัติงาน ถือว่าพนักงานได้รับการบรรจุเป็รพนักงานประจำโดยอัติโนมัติ หากจะเลิกจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และจ่ายค่าชดเชยจากการเลิกจ้างอีก 1 เดือน โดยนายจ้างต้องชี้แจงเหตุผลถึงการเลิกจ้างนั้น ๆ หากเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าอะไรเลย เข้าข่าย “การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม” พนักงานสามารถไปร้องเรียนที่สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน กรมแรงงาน ประจำจังหวัดได้

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q2: กรณีที่ถูกเลิกจ้าง ต้องนำค่าประจำตำแหน่งมาคำนวนกับเงินเดือนเพื่อคิดค่าชดเชยด้วยหรือไม่ ?

เนื่องจากถูกเลิกจ้าง อยากทราบวิธีคำนวนเพื่อให้ตนได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

กรณีถูกเลิกจ้าง ต้องนำค่าตำแหน่งมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย ซึ่งหากวัดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เงินได้ทุกประเภทที่จ่ายพร้อมเงินเดือน เป็นประจำทุกเดือน เมื่อมีเหตุต้องเลิกจ้างกรณีความผิดไม่ร้ายแรง ต้องนำเงินทุกประเภทที่ลูกจ้างได้รับ มาคำนวณจ่ายค่าชดเชยด้วย 

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q3: หัวหน้าห้ามไม่ให้บ่นเรื่องงานลงโซเชียล แต่กลับทำเสียเอง ควรแก้ไขอย่างไร?

ถ้าเกิดคนเป็น HR / หัวหน้า เตือนไม่ให้บ่นเรื่องงาน บ่นเรื่องหัวหน้าลงโซเชี่ยล แต่ตัวเขาเองกลับบ่นเสียเอง อย่างนี้เราควรทำอย่างไรครับ

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

นิสัยขี้บ่นเป็นพฤติกรรม เป็นนิสัยเฉพาะบุคคล หากการบ่นนั้น ๆ ส่งผลเสียต่องาน ต่อองค์กร แนะนำให้แจ้งผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ตักเตือน แม้ว่าจะเป็น HR ก็ตาม กรณีแบบนี้ต้องให้ผู้บริหารที่อยู่ระดับสูงขึ้นเรียกคุยและให้แก้ไข ปรับปรุง

การบ่นในที่ทำงานทำให้เสียบรรยากาศในการทำงานร่วมกันในองค์กร และในระยะยาว งานก็จะขาดประสิทธิภาพด้วยค่ะ 

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q4: หัวหน้าจำไม่ได้ว่าสั่งงานอะไรไป ควรแก้ไขอย่างไร ?

ขอสอบถามครับ หัวหน้ามักลืมว่าตัวเองสั่งงานอะไรไปบ้าง หรือเคยคอมเมนท์งานว่าอย่างไร ทำให้กระทบกับการทำงานต่อ เราควรทำอย่างไร หรือทีมควรซัพพอร์ทกันเองอย่างไรบ้างครับ

A: โดย Poonnie HR

ถ้าทำงานแบบกระดาษ ก้อให้จดโน้ตข้อความที่ต้องแก้ไข

ถ้าทำงานบนระบบที่มีการติดตามงาน ก้อให้ note comment ไว้ในหัวข้อที่ต้องแก้ไข และแชร์ไฟล์ให้คนในทีมรับทราบ ยุคปัจจุบันเทคโนโลยีบางอย่างไม่ต้องลงทุนเยอะ แต่ช่วยการทำงานได้ง่าย เร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community


Q5: แนวคิดนวัตกรรมคืออะไร สร้างแนวคิดนี้ให้พนักงานได้อย่างไร ?

อยากทราบแนวทาง แผนงาน โครงการที่จะทำให้พนักงานมีแนวคิดนวัตกรรม

A: โดย Poonnie HR

เป็นคำถามที่ดูไม่ยาก แต่ยากมากในการปฏิบัติครับ ผมมีมุมมองให้ชวนคิดดังนี้

1.วัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร ส่งเสริมให้พนักงานกล้าแสดงออกรึไม่ครับ สังเกตุจากในการประชุมแต่ละกลุ่ม พอจะทราบคำตอบแล้ว

2. โครงสร้างองค์กร ออกแบบเป็นอย่างไร

3. การมองบุคลากรในองค์กรว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Productivity รึปล่าว หรือว่า ขึ้นอยู่กับคำสั่ง ทำตามที่บอก รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมด้านต่างๆ

4. HR มีบทบาทหน้าที่เหมือนกระทรวงศึกษา หรือ ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว มีประสิทธิภาพ

เมื่อหาคำตอบเหล่านี้ได้แล้ว ก็มาออกแบบโครงการหรือแผนงาน ครับ ยกตัวอย่างโครงการง่าย ๆ เช่นโครงการถ่ายทอดความรู้ ในเวลางาน จัดสัปดาห์ละวัน วันละ 2 ชม. ทำเป็นชั่วโมงแห่งการเรียนรู้ โดยอาจเชิญวิทยากรข้างนอก แต่ถ้าจะให้ดี เชิญบุคลากรภายในของเรานี่แหละ มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ซึ่งความรู้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องงาน อาจเป็นเรื่องที่น่าสนใจในช่วงเวลานั้น หรืองานอดิเรกเลยก้อได้ แต่ตัวชี้วัดที่สำคัญอีกตัวคือ มีผู้บริหารเข้าร่วมรับฟังหรือส่งเสริมหรือไม่ ถ้าโอเคในโครงการง่าย ๆ นี้ ก้อคิดโครงการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้โดยไม่ยากครับ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง