Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมกราคม 2023

ต้อนรับปีใหม่กันแบบนี้ แต่โลกของ HR ก็ยังคงมีเรื่องให้เราเรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่ง HR Community เว็บบอร์ดถาม-ตอบ (Q&A Forum) คือแพลตฟอร์มที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ HR ทุกคนมีชุมชนไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันง่ายขึ้น เพราะนี่แหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญจากทุกสายที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลต้องรู้ แถมยังถูกกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้อ้างอิงได้จริง

Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อประจำเดือนมกราคม 2023 มุ่งเน้นไปในหลากหลายหัวข้อ ทั้งด้านจริยธรรม, การบริหารจัดการความผิดพลาด (Crisis Management), การสร้างวัฒนธรรมองค์กร, การแลกเปลี่ยนความรู้  (Knownledge Management) โดยมีคำถามที่น่าสนใจและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ดังนี้

Q1 : หากพนักงานทำผิดพลาดจนบริษัทเสียค่าใช้จ่าย เราสามารถให้พนักงานรับผิดชอบได้หรือไม่ ?

อยากสอบถามว่า พนักงานในองค์กรได้ทำการข้ามขั้นตอนบางอย่างไปจนบริษัทได้รับความเสียหายหลักล้านบาท ซึ่งหัวหน้างานเองก็ละเลยการตรวจสอบด้วย ในที่นี้เราสามารถเลิกจ้างทั้งคู่และเรียกร้องค่าชดเชยได้หรือไม่ ?

A: โดย Apinun Ruddist

สำหรับการกระทำผิดในการทำงานจนทำให้บริษัทเกิดความเสียหายนั้น นายจ้างสามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้

ตามมาตรา 119 ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ที่ได้กำหนดกรณีที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ในกรณีดังต่อไปนี้

  1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q2: การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คืออะไร ?

อยากรู้ความหมายในเชิง HR และแนวทางนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับงาน

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

การประเมินค่างาน (Job Evaluation) เป็นวิธีการที่ใช้ในการกำหนดระดับตำแหน่งงานในองค์กร และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งงานนั้น ๆ  ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับ Core Business การตีค่างานมักจะได้รับผลตอบแทนสูง

ในการการประเมินค่างานนั้น ผู้ประเมินหรือ HR ต้องมีความเข้าใจลักษณะงานที่ปฏิบัติ คือต้องมีการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ก่อนที่จะดำเนินการประเมินค่างาน

สิ่งที่สำคัญคือ ค่างานจะประเมินที่งาน ไม่ใช่ตัวคน ตำแหน่งงานเดียวกัน อาจมีคนทำงานมากกว่า 1 คน ก็จะถูกประเมินค่างานเป็นตำแหน่งงานเดียวกัน

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q3: สามารถขอให้พนักงานเขียนชื่อตัวเองลงบนแบบสอบถามได้หรือไม่ ?

องค์กรมีนโยบายอยากให้พนักงานเขียนชื่อตัวเองลงในแบบสอบถาม อยากรู้ว่าวิธีนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง และแบบไหนดีกว่า ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

โดยทั่วไป “แบบสอบถามความพึงพอใจ” ผู้ตอบแบบสำรวจไม่ต้องระบุชื่อ ผู้ตอบจะได้สบายใจในการให้ข้อมูล  เพราะหากเราให้ระบุชื่อผู้ตอบ พวกเขาก็อาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเมื่อเจอคำถามที่ละเอียดอ่อน

ดังนั้นคำตอบที่ได้ก็จะไม่ใช่ข้อมูลจริง ไม่สามารถเอาไปแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q4: ถูกเอาเรซูเม่ของเราไปยื่นบริษัทอื่นโดยไม่ได้แจ้ง ทำอย่างไรดี ?

พอดีว่าเป็นพนักงานสัญญาจ้างที่บริษัทแห่งหนึ่ง ทำงานมาได้ 1 ปี พอสิ้นปีได้มีการแจ้งต่อสัญญาแล้วให้ทำการส่ง resume ให้ทางบริษัท เลยทำการส่งไปให้ผ่านหัวหน้าโดยคิดว่าเป็นการต่อสัญญาจ้างกับบริษัทเดิม แต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมามีการแจ้งจาก HR ว่าเราต้องออกจากบริษัท แล้วไปทำการต่อสัญญากับบริษัทหนึ่งโดยที่เราไม่ได้รับแจ้งอะไรเลยก่อนล่วงหน้า รู้สึกเหมือนถูกมัดมือชก จะทำอย่างไรได้บ้าง ?

A: โดยโชติช่วง กังวานกิจมงคล

ถ้าเป็นตามที่เขียนจริงก็คือผิด พรบ. PDPA ครับ แต่ทั้งนี้จะต้องดูสัญญาแรกสุดก่อนว่าได้มีพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ เพราะเท่าที่ดู จะเป็นเหมือนว่า จากเดิมเป็นพนักงานสัญญาจ้างกับ บริษัท A หรือก็คือพนักงานอีกรูปแบบการจ้างภายในบริษัท A ซึ่งการโยกย้ายแบบนี้เปรียบเหมือนการเอาพนักงานอีกรูปแบบการจ้างภายในบริษัท A ไปให้ external เป็นคนบริหารจัดการต่อ เคสแบบนี้เกิดได้เป็นปกติสำหรับการเปลี่ยนรูปแบบการจ้างครับ

ดังนั้นสิ่งสำคัญแรกสุดคือต้องตรวจเช็คสัญญาจ้างฉบับแรกสุดของเราก่อนว่ามีการระบุสิทธิ์ในการโยกย้ายพนักงานรูปแบบชั่วคราวให้ 3rd Party หรือไม่ และถ้ามี ต้องดูว่าเป็นสัญญาระหว่างบริษัทและ 3rd Party ที่ระบุว่าสามารถขอเอกสาร Resume จากพนักงานได้หรือไม่

หากมีการเขียนชัดเจนในเอกสาร สิ่งที่ไม่เหมาะสมที่สุดคือหัวหน้าไม่บอกเราว่าเอา Resume ไปให้อีกฝ่ายเท่านั้น แต่ในแง่ PDPA อาจจะไม่สามารถร้องเรียนได้เนื่องจากทั้งหมดมีการระบุอยู่ครับ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q5: พนักงานอยากได้พื้นที่ละหมาด แต่ออฟฟิศเล็กมาก แก้ไขอย่างไรดี ?

เราพยายามอธิบายพนักงานให้หาทางเลือกอื่น ๆ ตามหลักศาสนาได้หรือไม่ เพราะแม้องค์กรจะมีที่ว่างอยู่บางส่วน แต่ก็เป็นพื้นที่สำหรับเก็บเอกสารสำคัญ ไม่รู้จะพูดคุยเพื่อหาทางออกตรงกลางอย่างไรเพราะพนักงานเคร่งศาสนามาก และมองว่าองค์กรไม่ยอมผ่อนหนักผ่อนปรน แม้จะเป็นพื้นที่เอกสารสำคัญ แต่เขาก็ไม่คิดจะขโมยหรือทำให้เสียหายอยู่แล้ว แค่อยากทำตามหลักปฏิบัติของศาสนาเท่านั้น

A: โดย Poonnie HR

บางทีห้องเก็บของ พอมีพื้นที่ ก็สามารถปรับให้เป็นห้องละมาดได้นะครับ สิ่งเล็กๆ ที่ใส่ใจให้พนักงานบางทีอาจส่งผลดีต่อพนักงานในกลุ่มอื่นๆ ด้วย  ลองดูนะ เป็นกำลังใจให้ครับ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง