Neurodiversity ยกระดับองค์กรด้วยความเท่าเทียมทางระบบประสาท

HIGHLIGHT

  • Harvard Health Publishing ได้นิยามความหมายของ Neurodiversity ว่า “Neurodiversity คือความคิดที่บอกว่าผู้คนเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวของพวกเขาในแบบที่แตกต่างกันออกไป ไม่ได้มีหนทางไหนที่ถูกต้องที่สุด ทั้งด้านความคิด การเรียนรู้ ความประพฤติ และความแตกต่าง สิ่งเหล่านั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ”
  • ถ้าองค์กรสนับสนุนความหลากหลายทางระบบประสาทในที่ทำงาน ก็จะทำให้องค์กรแข็งแกร่งมากขึ้น เนื่องจากได้รวบรวมคนที่มีความสามารถเฉพาะทางในหลาย ๆ ด้านเข้ามาทำงานร่วมกัน
  • HR ควรเข้าใจก่อนว่า Neurodiversity หรือคนที่เป็นออทิสติก มีปัญหาทางการอ่าน หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่เรื่องที่แปลกแยกหรือแตกต่าง เราสามารถพูดคุยถึงเรื่องนี้ หรือกับคนที่มีความแตกต่างได้อย่างปกติ

Neurodiversity ยกระดับองค์กรด้วยความเท่าเทียมทางระบบประสาท

Diversity ถือเป็นคำที่มาแรงมากในยุคนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ บทความในเว็บไซต์ ป้ายโฆษณา หรือสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เราก็จะเห็นคำว่า Diversity อยู่เสมอ โดยปกติแล้ว Diversity ที่แปลว่า ‘ความหลากหลาย’ นี้ คนส่วนใหญ่จะมองเป็นเรื่องของความหลากหลายทางเพศสภาพ รสนิยมทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว หรืออะไรก็ตาม

แต่ Diversity ที่เราจะพูดถึงกันในบทความนี้ นั่นคือ ‘Neurodiversity‘ ซึ่งหมายถึงความแตกต่างทางระบบประสาท เราเรียนรู้ในเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง เชิญหาคำตอบไปพร้อมกันที่ HREX

Neurodiversity คืออะไร ?

หลายคนเคยได้ยินคำนี้มาก่อน และเข้าใจความหมายของมัน แต่สำหรับคนที่ไม่เคยเห็น ไม่รู้จัก เราอาจแปลออกมาเป็นภาษาไทยให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า ‘ความหลากหลายทางระบบประสาท’

Harvard Health Publishing ได้นิยามความหมายของ Neurodiversity ว่า “Neurodiversity คือ ความคิดที่ว่าผู้คนเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวของพวกเขาในแบบที่แตกต่างกันออกไป ไม่ได้มีหนทางไหนที่ถูกต้องเสมอไปในความคิด การเรียนรู้ และความประพฤติ และความแตกต่างเหล่านั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ”

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น คนที่เป็นออทิสติก ก็เป็นหนึ่งในความหลากหลายทางระบบประสาทที่พวกเราค่อนข้างคุ้นเคยและได้ประสบพบเจอกันมาอย่างน้อยก็คนหนึ่งในชีวิต นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคนที่เป็นโรค Dyslexia หรือภาวะผิดปกติทางการอ่าน Dyspraxia หรือความบกพร่องของทักษะการเคลื่อนไหว เป็นต้น

คุณ Max Simpson ซึ่งเป็น Chief Executive Officer จาก Steps Community กล่าวว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้จะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย เพราะเปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นตัวของตัวเองในการทำงาน จึงรู้สึกมีความสุข อยากทุ่มเทให้กับงานมากขึ้น ซึ่งพอเป็นแบบนี้ก็จะ ทำให้โครงสร้างตั้งแต่ล่างไปจนถึงบนสุดมีความแข็งแรง โดย Steps มองว่าสิ่งที่เราควรทำคือการให้ความรู้กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน, หัวหน้า, ลูกค้า เรื่อยไปจนถึงผู้คนในสังคม

หน่วยงาน NWRC ได้ทำแบบสำรวจกับผู้ร่วมงาน Thailand HR Tech 2023 และได้ข้อสรุปว่าคนที่มีความต่างด้านระบบประสาท มักจะถูกมองข้ามในกระบวนการทำงาน โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 61% มองว่าพวกเขายินดีรับคนที่มีความผิดปกติเข้าทำงาน ขณะที่ 59% บอกว่าพวกเขายังไม่ตระหนักถึงการให้ความสำคัญจากภาครัฐมากเท่าที่ควร

ทำไมความหลากหลายของพนักงานในองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ (Workforce Diversity)

Neurodiversity สร้างประโยชน์ให้องค์กรอย่างไร ?

ความจริงแล้วในโลกใบนี้อาจไม่มีใครมีความปกติทางระบบประสาทเลย เพราะคนส่วนใหญ่ต่างก็มีความพิการ, เป็นโรคทางระบบประสาท หรือมีภาวะอื่น ๆ ซ่อนอยู่ด้วยกันทั้งนั้น

เหตุนี้การสร้างนโยบายองค์กรที่สนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทุกคนจึงสามารถช่วยดูแลความเป็นอยู่และจิตใจของพนักงาน ถ้าองค์กรสนับสนุนความหลากหลายทางระบบประสาทในที่ทำงาน ก็จะทำให้องค์กรแข็งแกร่งมากขึ้น เนื่องจากได้รวบรวมคนที่มีความสามารถเฉพาะด้านในหลาย ๆ ส่วนเข้ามาทำงานร่วมกัน

Neurodiversity สามารถสร้างประโยชน์ให้องค์กรได้ในหลายๆ เช่น

1. มีความจำหรือความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

Harvard Business Review ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า ความหลากหลายทางระบบประสาทในรูปแบบต่าง ๆ อาจจะทำให้เกิดทักษะพิเศษในการจดจำเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องคณิตศาสตร์ได้ดีกว่า และเมื่อมาอยู่ในตลาดการจ้างงาน คนที่เป็นออทิสติกก็มักจะความสามารถหรือประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เหนือกว่าเพื่อนร่วมงานที่มีระบบประสาทแบบคนปกติทั่วไป

2. สร้างความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ

การเป็นคนที่มีความแตกต่างทางระบบประสาทไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนที่มีความหลากหลายทางระบบประสาทจะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในที่ทำงาน แต่รู้ไหมว่ากลุ่มคนพวกนี้สามารถดึงจุดแข็งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวออกมาใช้ในการทำงานได้ พนักงานที่เป็นออทิสติกหรือมีความหลากหลายทางระบบประสาทในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะนำเสนอมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ ข้อมูลเชิงลึกที่มีสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย

3. ได้กลุ่มผู้มีความสามารถที่กว้างขึ้นมาร่วมงาน

ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง องค์กรไม่ควรจะมองข้ามกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางระบบประสาท เพื่อไม่ให้พลาดการนำคนที่มีศักยภาพ (potential) มากที่สุดเข้ามาร่วมงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมากในยุคที่มีแรงงานในตลาดน้อยกว่าเดิม

4. ทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

การจ้างงานที่มีความหลากหลายทางระบบประสาทถือเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจมาก เพราะปัญหาการขาดแคลนทักษะที่ส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่นการที่สหภาพยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพนักงานไอทีถึง 800,000 คน ซึ่งเป็นแรงงานที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์และเป็นส่วนที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วย

Neurodiversity ยกระดับองค์กรด้วยความเท่าเทียมทางระบบประสาท

Neurodiversity และ Inclusive Workplace สร้างได้อย่างไร ?

อันดับแรกเราต้องปลูกฝังความเข้าใจของ HR ก่อนว่า Neurodiversity หรือคนที่เป็นออทิสติก มีปัญหาทางการอ่าน หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่เรื่องที่แปลกแยกหรือแตกต่าง และเราสามารถพูดคุยถึงเรื่องนี้กับคนที่มีความแตกต่างได้อย่างปกติ หัวหน้างานและพนักงานก็สามารถคุยถกปัญหา หรือความต้องการของแต่ละฝ่ายได้อย่างเปิดเผย นี่คือรากฐานที่ต้องทำให้เสร็จ ก่อนที่จะนำไปต่อยอดเป็นนโยบายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสนับสนุนพนักงานทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่นการให้พื้นที่ส่วนตัวที่เงียบสงบ มีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา เซ็ตโปรแกรมช่วยเหลือ หรือการที่หัวหน้างานมีการสอนงานหรือพูดคุยกับพนักงานแบบตัวต่อตัว ทุกคนต้องกล้าพูดถึงความต้องการในการทำงานในรูปแบบที่เหมาะกับตัวเอง เช่น การเปิด Dark Mode บนหน้าจอและแอปต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาความเครียดในการมองเห็น หรือการจัดหาเทคโนโลยีพิเศษเพื่อปรับวิธีการอ่านให้ดียิ่งขึ้น

HR มีวิธีบริหารจัดการพนักงาน และ Neurodiversity ในองค์กรอย่างไร ?

HR ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการบริหารจัดการพนักงาน ทั้งผู้บริหารองค์กร ระดับหัวหน้างาน, พนักงานทั่วไป ตลอดจนพนักงานที่มีความหลากหลายทางระบบประสาท ให้เห็นถึงความสำคัญที่องค์กรควรเปิดรับคนที่เป็นออทิสติก หรือคนที่มีภาวะผิดปกติในการอ่านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรดังที่กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น สร้าง Awareness ให้พนักงานทุกระดับได้เข้าใจถึงที่มาที่ไปว่า Neurodiversity คืออะไร และเหตุผลที่องค์กรต้องสร้าง Neurodiversity-Inclusive Workplace ให้เกิดขึ้นจริง

นอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างโปรแกรมหรือนโยบายบริษัทที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของกลุ่มพนักงานที่มีความหลากหลายทางระบบประสาท ให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ  ในองค์กรได้อย่างมีความสุข

การมีตัวเลือกมากขึ้นในการหาพนักงานดีอย่างไร

การเกิด The Great Resignation ในปัจจุบัน ทำให้กำลังคนที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมการทำงานประเภทต่าง ๆ นั้นหายากกว่าที่เคย เราจึงต้องมีการเปิดรับคนในรูปแบบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อเป็นตัวเลือกให้โลกของการทำงานยุคใหม่ ดูฝีมือและความสามารถเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่สภาพร่างกาย หรืออายุ (Stage Not Age) การเปิดรับแรงงานประเภทใหม่ ๆ นี้ หากแผ่ขยายไปในหลายองค์กร ก็อาจทำให้โลกแห่งการทำงานเปลี่ยนไปทั้งใบได้เลยเช่นกัน

ดังนั้น หากผู้ประกอบการอยากจะลองมองหาแรงงานประเภทใหม่เข้ามาสร้างการพัฒนาในองค์กร การนำ HR Tech มาใช้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สามารถใช้บริการ Recruitment Solution ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการสรรหาพนักงาน ทาง HREX มี HR Products & Services ที่จะทำให้การสรรหาของคุณง่ายขึ้นและเป็นไปตามต้องการได้อย่างแน่นอน

บทสรุป

ในอดีตเราอาจเคยมองว่าคนที่ผิดปกติทั้งทางร่างกายหรือระบบประสาทนั้น ไม่เหมาะกับการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโลกของการทำงาน อาจด้วยเพราะเราจินตนาการไปแล้วว่ากลุ่มคนเหล่านั้นไม่มีความสามารถมากพอหรือเทียบเท่ากับคนปกติได้

แต่ในปัจจุบันนี้ สังคมมีการเปิดกว้างมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากการรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางระบบประสาทจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ หรือสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้แล้ว ยังเป็นการให้โอกาสกลุ่มคนเหล่านี้ให้ได้แสดงความสามารถเฉพาะตัว เกิดการสร้างคุณค่าในตัวเอง และทำให้พวกเขาไม่รู้สึกแปลกแยกหรือโดดเดี่ยวอย่างที่ผ่านมา

Sources

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง