Financial Health สุขภาพการเงินของพนักงานที่ HR ควรรู้

HIGHLIGHT

  • ทุกองค์มีตรวจสุขภาพประจำปี แล้วทำไมไม่ตรวจสุขภาพการเงินด้วย
  • สุขภาพทางการเงินพนักงานสัมพันธ์อย่างไรกับองค์กร
  • สุขภาพการเงินของพนักงานที่ควรให้ความสำคัญ

สุขภาพการเงินของพนักงานที่ HR ควรรู้

ในทุกปี บริษัทจะเชิญโรงพยาบาลให้มาตรวจสุขภาพพนักงาน เป็นการตรวจร่างกายขั้นพื้นฐาน เช่น วัดความดัน ตรวจวัดค่าไขมัน ต่าง ๆ นานา เพื่อตรวจสอบการทำงานของร่างกายให้มีประสิทธิภาพ แต่ยังมีอีกด้านที่องค์กรยังไม่ได้ให้ความสำคัญนั้นคือ การตรวจสุขภาพการเงิน

สุขภาพทางการเงินถือเป็นหนึ่งในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) ให้กับพนักงานไม่แพ้เรื่องสุขภาพ ถ้าพนักงานมีปัญหาทางด้านการเงิน เช่น มีปัญหาด้านหนี้สิน ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานรายนั้นจะตกลงอย่างเห็นได้ชัด ต้องแก้ปัญหาเรื่องเงินในเวลางาน นอกเวลารีบเร่งหารายได้เสริม พักผ่อนไม่เพียงพอ และอาจถึงขั้นมีการย้ายงานเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งส่งผลเสียกับองค์กรอย่างมาก เพราะฉะนั้นนอกจากการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่องค์กรควรต้องเริ่มคือ การตรวจสุขภาพทางการเงิน

ในบทความนี้จะมาพูดถึง เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพการเงิน (Financial Health) ที่ HR ควรต้องรู้

1. การบริหารเงินเดือน

การบริหารเงินเดือนถือเป็นกระดุมเม็ดแรกที่ควรต้องให้ความสำคัญ หากติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก จะทำให้การแก้ไขเป็นไปได้ยาก การจัดการเงินเดือนที่ได้รับนั้นไม่มีอะไรซับซ้อน นั่นคือ รายรับ – รายจ่าย ต้องเป็นบวก

แต่พนักงานบางคน รายรับ ลบ รายจ่าย แล้วติดลบ ทำให้มีปัญหาการเงิน โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการที่ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น พนักงานจะปรับรายจ่ายเพิ่มขึ้น ให้ใกล้เคียงกับรายได้เป็นประจำ และไม่มีการบริหารค่าใช้จ่ายที่ดีพอ เมื่อรายจ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บางเดือนบวกบ้างลบบ้าง จนเริ่มติดลบในที่สุด  

แนวทางที่ HR ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพการเงิน (Financial Health)

ปลูกฝังให้พนักงานมีการเก็บออมมากขึ้น รู้จักลดภาระค่าใช้จ่าย ไม่สิ้นเปลือง 

มีการเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาทางด้านการเงินในอนาคต

2. การจัดการหนี้สิน

จากการตรวจสุขภาพการเงินองค์กร พบว่าค่าเฉลี่ยแล้วมีพนักงานในองค์กรประมาณ 5-10% ที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน ถึงเป็นส่วนน้อยแต่ถ้าไม่รีบรักษาก็อาจส่งผลลุกลามบานปลาย เกิดปัญหาในที่ทำงานได้ เช่น คนที่มีหนี้ยืมเงินเพื่อนร่วมงาน แล้วไม่คืน เกิดเป็นปัญหาความสัมพันธ์ในองค์กร

แนวทางที่ HR ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพการเงิน (Financial Health)

ต้องหาทางให้คำปรึกษาแก้หนี้สำหรับผู้มีปัญหา อาจพาไปหาผู้เชี่ยวชาญ

หาหนทางปลดหนี้ และปรับทัศนคติเรื่องการเงินให้มีสติในการบริหารเงิน ไม่กลับมาเป็นหนี้อีกปัญหาการเงินของพนักงาน (Financial Problem of Employee) เรื่องชวนปวดหัวที่ HR ไม่ควรมองข้าม

3. การจัดการความเสี่ยง

ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ถือเป็นเรื่องโชคร้ายที่เกิดขึ้น

แต่การไม่เตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า ถือเป็นความประมาท

พนักงานสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ หากมีการจัดการความเสี่ยงที่ดีพอ

หากพนักงานคนนั้นเกิดเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ ต้องเข้าโรงพยาบาล พนักงานอาจใช้ประกันกลุ่มที่บริษัทมีให้เพื่อทำการรักษาตัว แต่หากเกิดโรงร้ายแรงอย่าง เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งต้องใช้ค่ารักษาหลักล้าน ซึ่งประกันกลุ่มไม่ครอบคลุม ส่งผลให้ภาระตกอยู่ในการรับผิดชอบของพนักงาน

แนวทางที่ HR ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพการเงิน (Financial Health)

สื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเจ็บป่วย ค่ารักษาโรคร้ายแรง รวมถึงการจากไปก่อนวัยอันควร สื่อสารสิทธิประกันกลุ่มที่บริษัทมี และให้พนักงานวางแผนรับมือกับความเสี่ยง

4. การจัดการภาษี

ภาษีถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่ลดได้ด้วยความรู้ คนที่ไม่รู้เรื่องภาษี ก็ต้องจ่ายภาษีเยอะ

ในทางกลับกัน คนที่มีการวางแผนภาษีจึงลดค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ มีเงินออมมากขึ้น การสื่อสารให้พนักงานเข้าใจเรื่องภาษี ช่วยทำให้พนักงานมีการจัดการวางแผนการเงินที่ดี เงินคงเหลือนำไปใช้ประโยชน์อย่างเรื่องค่าลดหย่อน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กองทุนลดหย่อนภาษี SSF RMF

นำไปช่วยเหลือในการวางแผนสุขภาพการเงินด้านต่าง ๆ ได้อีก

แนวทางที่ HR ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพการเงิน (Financial Health)

สื่อสารให้พนักงานทราบเรื่องการวางแผนภาษี การวางแผนภาษีช่วยลดค่าใช้จ่ายมีเงินออมมากขึ้น ช่วยการวางแผนในด้านอื่น ๆ ของชีวิต

5. การวางแผนเกษียณ

การเกษียณเป็นบั้นปลายในการใช้ชีวิตของพนักงาน ซึ่งปัญหาส่วนมากคือ ไม่มีเงินเหลือเก็บเพียงพอหลังเกษียณ ระหว่างที่เราทำงาน ไม่ได้คิดถึงช่วงบั้นปลายเท่าไรนัก คนเรามีช่วงเวลาหาเงินอยู่ประมาณ 40 ปี (อายุ 60 – อายุ 20) แต่เรามีช่วงเวลาการใช้จ่ายประมาณ 60 ปี (อายุขัย 80 – อายุ 20 ) เป็นความไม่สมดุลของชีวิต ถ้าหากไม่มีการวางแผนที่ดีพอ สุดท้ายเราจะไม่มีความสุขในช่วงเกษียณ

แนวทางที่ HR ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพการเงิน (Financial Health)

สื่อสารให้พนักงานตระหนักในเรื่องของการวางแผนเกษียณ เริ่มต้นวางแผนเกษียณตั้งแต่ทำงาน สบายกว่า เริ่มวางแผนตอนใกล้เกษียณ

บทสรุป

สุขภาพการเงินของพนักงานที่ HR ควรรู้

การตรวจสุขภาพการเงิน นอกจากช่วยให้พนักงานมีความสุขในการใช้ชีวิตแล้ว ยังช่วยให้คนรอบข้าง มีความสุขตามไปด้วย ทั้งเพื่อนร่วมงาน และครอบครัว ในการเป็นองค์กรปลอดหนี้ ไม่ใช่เงินเดือนชนเดือน รอบรู้ในเรื่องภาษี มีการป้องกันความเสี่ยงอย่างดี บั้นปลายมีทุนเกษียณ เพราะฉะนั้นนอกจากการตรวจสุขภาพร่างกายแล้ว ควรต้องมีการตรวจสุขภาพการเงินด้วย

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง