Data Driven Culture ความท้าทายของการสร้างวัฒนธรรมที่ “คน” เห็นคุณค่าของการใช้ข้อมูล

Data Driven Culture ความท้าทายของการสร้างวัฒนธรรมที่ “คน” เห็นคุณค่าของการใช้ข้อมูล

ต้องบอกว่ากระแสเทคโนโลยียังมาแรงไม่หยุด โดยเฉพาะในปีนี้ที่ทั้ง AI และ Data เป็นประเด็นที่กำลังมาแรง และหนึ่งในเรื่องที่หลายองค์กรต้องการผลักดันมาก ๆ ก็คือการสร้างวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หรือ Data Driven Culture ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย

Slingshot Group มีโอกาสทำงานในโครงการ Business Transformation กับผู้นำองค์กรหลายโครงการ เราทุกคนต่างเห็นร่วมกันว่าวันนี้ ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่กลยุทธ์ด้านข้อมูลหรือเทคโนโลยี แต่กลับอยู่ที่การสร้างวัฒนธรรมที่ “คน” เห็นคุณค่าของการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจต่างหาก

สำหรับหลักการ 6 ข้อในการสร้าง Data Driven Culture ให้ประสบความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้

  1. ทำให้คน “อยากใช้” ข้อมูลมากกว่า“ต้องใช้” การสื่อสารที่ทำให้คนอยากใช้นั้นต่างกับต้องใช้ การสื่อสารผ่านการสร้างความหวัง (Hope) ให้ผลดีในระยะยาวกว่าการสร้างความกลัว (Fear) ซึ่งแม้จะได้ผลดีแต่เพียงระยะสั้น เช่น เราต้องทำเพราะเป็นนโยบาย เราต้องเข้าทำ 1, 2, 3, 4 ไม่เช่นนั้นจะไม่สำเร็จตาม KPI และที่แน่นอนที่สุด มันอาจจะสำเร็จในระยะสั้น เมื่อเลิกวัดก็เลิกทำ   
  2. การสื่อสารถึง “ประโยชน์ต่อตัวผู้ใช้งาน” มากกว่าเพียงแค่ “ประโยชน์องค์กร” เช่น ข้อมูลจะมาช่วยให้งานของพวกเขาง่ายขึ้นอย่างไร ช่วยลดงานของเขาได้อย่างไร ช่วยให้เขาสบายขึ้นมีเวลาเหลือไปทำเรื่องอื่น ๆ ที่อยากทำมากกว่าได้อย่างไร
  3. นอกจากการวัดผลความสำเร็จจาก “KPI” ต้องวัดผลสำเร็จด้าน “พฤติกรรม” ด้วย ผู้นำโครงการมักวัดผลความสำเร็จจากหลากหลายมิติ อาทิ อัตราการใช้ข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล เวลาในการเข้าถึงข้อมูล ความเร็วของการตัดสินใจ ผลตอบแทนจากการลงทุน เป็นต้น แต่หัวใจสำคัญของ Data Driven Culture คืออยากให้คนใช้จนเป็นนิสัยหรือเกิดพฤติกรรมใหม่นั่นเอง แน่นอนว่านิสัยใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงข้ามคืน หากไม่ผ่านการชื่นชม สนับสนุน ให้กำลังใจ  ที่สำคัญผู้นำต้องช่วยขจัดอุปสรรคที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
  4. เปิดโอกาสให้คนที่ทำสำเร็จได้เฉิดฉาย การเปิดโอกาสให้คนที่ให้ความร่วมมือในการลองทำและสามารถนำข้อมูลไปใช้จนเป็นนิสัยใหม่ได้สำเร็จได้พูดถึงประสบการณ์ ความรู้สึก ความภาคภูมิใจ เป็นระยะ ๆ นอกจากจะเป็นการแสดงความชื่นชม เฉลิมฉลองความสำเร็จระยะสั้นแล้ว ยังช่วยรักษาบรรยากาศเชิงบวกให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร
  5. อย่าเริ่มพร้อมกันทั้งองค์กร ให้ทดลองทำกับทีมที่มีแนวโน้มจะทำสำเร็จก่อน เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จ และจะสร้างขวัญกำลังใจให้ทีมอื่น ๆ ที่ยังไม่เชื่อได้กลับใจว่าคนที่ทำสำเร็จ ชีวิตเขาดีจะตาย แล้วทำไมเราจะไม่อยากทำล่ะ
  6. สร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety) เพื่อให้คนแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสานงานซึ่งกันและกัน คนรู้สึกปลอดภัยในการให้และรับ Feedback เพื่อพัฒนาความถูกต้องของข้อมูลในระยะยาว โดยไม่ใช่เพียงในระดับทีม แต่ต้องทั่วทั้งองค์กรอย่างยั่งยืน

และหากทำเช่นนี้ได้ Data Driven Culture ที่องค์กรวาดฝันไว้จะค่อย ๆ กลายเป็นความจริงอย่างแน่นอน

โดย

Dr. Sutisophan Chuaywongyart

CEO and Partner at Slingshot Group

All HR Solutions! มาค้นหา HR Products and Services กับ HREX กันเถอะ

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง