โค้ชชิ่ง (Coaching) ช่วยยกระดับผลงานได้อย่างไร

Highlight

  • โค้ชชิ่งเครื่องมือในการช่วยยกระดับผลการทำงาน
  • 4 ของขั้นตอนสำคัญของระบบการบริหารผลงาน (Performance Management System)
    • การทำ Performance Planning 
    • การทำ Performance Coaching & Feedback
    • การทำ Performance Evaluation
    • การให้ Performance Rewarding

โค้ชชิ่ง (Coaching) ช่วยยกระดับผลงาน ได้อย่างไร

โค้ชชิ่ง (Coaching) ช่วย ‘ยกระดับผลงาน’ อย่างไร

โค้ชชิ่งเป็นเครื่องมือในการช่วยยกระดับผลการทำงานจริงได้หรือ?

คำตอบคือจริงครับ!

โค้ชชิ่งเป็นเครื่องมือในการช่วยยกระดับผลการทำงานของพนักงานและของหน่วยงานโดยรวมด้วย

ผู้บริหารทุกคนต่างรู้ดีว่า ตัวเองมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบผลงานโดยรวมทั้งหมดของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และแม้ความรับผิดชอบทั้งหมดจะอยู่ที่ท่าน แต่ท่านก็ไม่ได้ทำงานทั้งหมดด้วยตัวเอง ท่านต้องกระจายงานให้กับลูกน้อง ดังนั้นท่านจะมั่นใจได้ยังไงว่าลูกน้องแต่ละคนทำผลงานได้ตามที่ท่านคาดหวัง

จึงไม่มีทางเลือก ท่านต้องลงไปติดตามดูการทำงานของพวกเขาเหล่านั้น ถ้าลูกน้องคนไหนทำได้ดี ท่านก็อยากจะสนับสนุนให้เขาทำได้ดีขึ้นไปอีก ถ้าลูกน้องคนไหนยังทำได้ไม่ดี ท่านก็ต้องเข้าไปสนับสนุนให้เขารู้ตัวและช่วยให้เขาแก้ปัญหานั้นให้ได้ และไม่ว่าท่านจะช่วยให้เขาต่อยอดสิ่งที่ดีอยู่แล้ว หรือแก้ไขสิ่งที่ยังทำได้ไม่ดี เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ท่านจะเอามาใช้คือโค้ชชิ่ง เพราะโค้ชชิ่งเป็น 1 ใน 4 ของขั้นตอนสำคัญของระบบการบริหารผลงาน หรือ Performance Management System

โดยปกติแล้ว ระบบการบริหารผลงานจะเริ่มจาก 

ขั้นตอนที่ 1 คือการทำ Performance Planning 

เป็นกำหนดให้พนักงานวางแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรในแต่ละปี ถ้านับตามปีปฏิทินพนักงานจะทำ Performance Planning ตั้งแต่ปลายปีก่อนเพื่อใช้แผนที่วางไว้มาเป็นแนวทางในการทำงานในปีนี้

ขั้นตอนที่ 2 ของการบริหารผลงานคือการทำ Performance Coaching & Feedback

โดยหัวหน้าจะทำการติดตามผลการทำงานของลูกน้อง เพื่อดูว่าผลงานของลูกน้องแต่ละคนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ โดยการเข้าไปให้คำแนะนำ สนับสนุนให้ผลการทำงานที่ดีอยู่แล้วเดินหน้าต่อไป ถ้าผลการทำงานมีอุปสรรคระหว่างทางก็จะช่วยให้พนักงานแก้ปัญหาเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

ขั้นตอนที่ 3 คือการทำ Performance Evaluation

เป็นการวัดและประเมินผลงานของพนักงานที่เกิดขึ้นตามตัวชี้วัดหรือ KPI ที่กำหนดไว้ในแต่ละงาน

ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการบริหารผลงาน คือ Performance Rewarding 

เป็นการนำผลจากการประเมินไปปรับปรุงระบบการบริหารบุคลากรในด้านต่าง ๆ เช่น การปรับขั้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง  การวางแผนพัฒนา การหมุนเวียนสับเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน เป็นต้น

ดังนั้นเราจะเห็นว่าในขั้นตอนที่ 2 นี้แหละครับ คือขั้นตอนที่หัวหน้าจะนำ โค้ชชิ่งมาชวนลูกน้องคิดแก้ปัญหาในกรณีที่ลูกน้องมีผลงานไม่ดี หรือเกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผลงานดีขึ้น เพราะหากหัวหน้าไม่เข้าไปสนับสนุนเพื่อให้เค้าหาทางออกของปัญหา ผลกระทบที่ตามมาก็จะเกิดกับผลการทำงานของพนักงานโดยตรง และสุดท้ายก็จะกระทบกับผลงานโดยรวมของหน่วยงาน

โค้ชชิ่ง (Coaching) ช่วยยกระดับผลงาน ได้อย่างไร

โค้ชชิ่ง (Coaching) จึงเป็นเครื่องมือในการช่วยยกระดับผลการทำงานของพนักงาน ซึ่งท่านต้องทำหน้าที่เป็นโค้ช และถ้าท่านโค้ชสำเร็จ ผลงานของพนักงานแต่ละคนจะดีขึ้น และจะนำมาซึ่งผลงานโดยรวมของหน่วยงาน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการบริหารผลงานของท่านจริงไหมครับ

บทความโดย
Dr. Chakkapan Chantarasmee
Consulting Partner
Slingshot Group

CTA - HR Consulting

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง