เราจำเป็นต้องทำ Career succession planning ให้กับ First jobber หรือไม่ ? [CareerVisa]

เป็น HR บริษัทขนาดกลางที่มีการรับ First jobber เข้ามาเรื่อยๆ เลยอยากรู้ว่าเราจำเป็นที่จะต้องทำ Career succession planning ให้กับเด็กกลุ่มนี้หรือไม่ จะสื่อสารให้พวกเขารู้ได้อย่างไร และถ้าไม่ทำจะเป็นอย่างไร

—————————-

ถ้าอนาคตของบริษัทคุณขึ้นอยู่กับผลงานของ First Jobber เหล่านี้ล่ะก็ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำ Career Planning และ Succession Planning ให้ดี ถามว่าต้องทำให้กับทุกตำแหน่งและทุกคนมั้ย? ถ้าทำได้ก็ดี แต่เพราะองค์กรก็มีเวลาและงบประมาณจำกัด โดยเฉพาะองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดกลางด้วยแล้ว แค่นี้ก็งานล้นมือมากๆ ดังนั้น HR หรือหัวหน้างานก็คงไม่ผิดที่ต้องเลือกเฉพาะบางกลุ่ม แต่จะเลือกกลุ่มไหนล่ะ อยากมาชวนคิด 3 เรื่องนี้

1. โฟกัสที่ตำแหน่งงาน มากกว่าความเป็น First Jobber

ก่อนเอื่น ถ้าเราตัดตัวบุคคลออกไปก่อน มองที่ตำแหน่งงานที่ First Jobber เหล่านี้เข้ามาทำงานอยู่ ถามว่า ฟังก์ชั่นงานนั้นๆสำคัญกับบริษัทมากน้อยแค่ไหน หลายคนรับ First Jobber ก็จริง แต่ให้เข้ามาทำงานที่สำคัญมากๆกับอนาคตขององค์กร เช่น หน่วยงาน Innovation ที่ต้องการไอเดียและเทคโนโลยีใหม่ๆ

คำว่า “ตำแหน่งงานที่สำคัญ” ฟังแล้วอาจจะเจ็บปวด แต่มันเป็นความจริงของโลกธุรกิจที่ต้องอยู่รอดและเติบโต บริษัทไม่รอดก็ไม่มีการจ้างงาน ข่าวดีคือตำแหน่งที่สำคัญนี้ เปลี่ยนแปลงได้เสมอตามองค์กรและสถานการณ์ของธุรกิจช่วงนั้น แถมในยุคดิจิทัลนี่เปลี่ยนเร็วด้วย ขอยกตัวอย่างงานที่หลายบริษัทมักละเลย คือหน่วยงานหลังบ้าน เช่นงานแอดมิน หรือธุรการ ที่มักได้รับความสนใจน้อยโดยทั่วไป แต่งานแอดมินเดียวกันนี้อาจจะกลายเป็นงานหลักที่สำคัญในอีกองค์กรหนึ่งที่ทำธุรกิจให้บริการงานธุรการก็ได้ หรือหากธุรกิจเดิมกำลังอยู่ในช่วงการ Transform เรื่องการจัดการภายใน แอดมินนี่แหละที่จะกลายเป็นฮีโร่ในการช่วยให้องค์กรก้าวไปอีกขั้นนึง ดังนั้นการวางแผน Career และ Succession Plan สำหรับตำแหน่งงานนั้น ก็จำเป็นต้องทำ ไม่ว่าผู้ที่ทำงานในตำแหน่งนั้นจะเป็น First Jobber หรือพี่ๆ Generation ไหนก็ตาม

2.ดูที่ศักยภาพของคน มากกว่าตำแหน่งงานที่สำคัญ

ในเมื่อยุค New Eco  nomy นี้ “ตำแหน่งที่สำคัญ” มันเปลี่ยนแปลงได้เร็วเหลือเกิน เมื่อวานสำคัญมาก พรุ่งนี้อาจเป็นตำแหน่งแรกที่จะหายไปก็ได้ องค์กรหลายแห่งจึงเลือกที่จะให้ความสำคัญกับ “ศักยภาพของตัวบุคคล” มากกว่าตำแหน่งงาน หรือ คำว่า First Jobber เพราะคนที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในงานตำแหน่งไหนก็มีโอกาสจะสร้างผลงานได้

HR หรือหัวหน้างานทุกท่านคงจะมีน้องๆ First Jobber หลายคน ที่มีแววที่จะสร้างผลงานและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรได้อย่างมาก บางคนเล็งกันมาตั้งแต่ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เคยพบกันตามงาน Networking ต่างๆ กว่าจะชักชวนให้เข้ามาทำงานไม่ใช่เรื่องง่าย คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เราไม่ควรละเลย

 3. สร้างความประทับใจแรก เปลี่ยน First Jobber เป็น Mid-Career ของคุณ

หลายบริษัทลังเลที่จะพัฒนาและวางแผน Career ให้กับ First Jobber เพราะกลัวเสียเวลา กลัวเขาลาออก ยังไม่มั่นใจในศักยภาพ แต่ถ้าเรามองแบบพลิกมุมว่า หาก HR หรือ หัวหน้างาน สร้างประสบการณ์ที่ดี (Employee Experience) ให้กับ First Jobber แล้ว เขาก็สามารถกลายเป็น Mid-Career หรือ Talent ที่สร้างผลงานชั้นดีให้กับองค์กรได้ แถมเป็นหน้าเป็นตาว่าองค์กรเราให้ความสำคัญและเปิดโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่อีกด้วย

การสื่อสาร Career Planning สำหรับ First Jobber

การสื่อสารออกไปว่าที่นี่ให้ความสำคัญกับ First Jobber สมัยนี้ต้องทำควบคู่กันทั้ง Online และ Offline ทั้ง Mass Communication ผ่านการทำแบรนด์นายจ้างหรือสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆในวงกว้าง และ Personalized Communication คือการสื่อสารแบบเฉพาะตัว ไม่ใช่ว่าสื่อสารออกไปแต่หัวหน้าหรือ HR ไม่เคยคุยกับพนักงานเลยก็ไม่ได้

เทคนิคการวางแผน Career Planning & Succession Planning

การวางแผน Career ที่ดีนั้น ทาง CareerVisa ใช้โมเดลชื่อ 5 Shades of Life เป็นตัวช่วยวางแผนอาชีพให้กับนักศึกษาและคนทำงานรุ่นใหม่ใน Community ของเราผ่านมุมมอง 5 ด้านของชีวิตของพนักงาน ได้แก่

1) Skills การดึงทักษะและความสนใจของพนักงานที่จะสร้างผลงานให้กับองค์กรได้ออกมาพัฒนาต่อ

 2) People and Team คนแบบไหนที่พนักงานทำงานด้วยแล้วจะทำให้ได้พัฒนาตัวเองไปอีกขั้น

3) Working Conditions กำหนดนโยบายในการทำงาน เวลาเข้างาน สถานที่ทำงาน ฯลฯ ที่สร้างความสุขทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัว

4) Lifestyle เงินเดือนและสวัสดิการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ให้พนักงานได้ใช้ชีวิตที่อยากเป็น

5) Personal Core Values มอบหมายงานที่มีความหมายและคุณค่ากับชีวิตพนักงาน

เพราะเราเชื่อว่าคนเราเลือกที่จะทำงานกับองค์กรนึงไม่ใช่แค่เพราะตัวงาน แต่เขาเลือกรูปแบบการใช้ชีวิตที่มาพร้อมกับงานนั้นๆด้วย ไม่ว่าจะอยู่ใน Generation ไหนก็ตาม ดังนั้น HR หรือหัวหน้างานต้องช่วยวางแผนร่วมกับพนักงานให้ครบทั้ง 5 ด้านนี้ และนิยามคำว่า ‘Career’ ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การเลื่อนตำแหน่งอีกต่อไป แต่หมายถึงการเติบโตทั้งตัวตน งาน และชีวิตไปพร้อมๆกัน

—————————-

ผู้ตอบ :

วสุธร หาญนภาชีวิน – ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท CareerVisa Thailand

CareerVisa Thailand เป็น Community สำหรับนักศึกษาและคนทำงานรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังเป็นพาร์ทเนอร์ให้กับ HR บริษัทชั้นนำในการนำ Creative & Digital Solutions มาสร้าง Employer Branding, Candidate Experience, และ Inbound Recruiting ผ่าน Social Media อีกด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ CareerVisa Thailand ได้ที่ https://www.careervisathailand.com/

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง