Work without Jobs อนาคตการทำงานยุคใหม่ที่กำลังมาแรง

HIGHLIGHT

  • ดร.จอห์น บูโดรว (Dr. John Boudreau) นักวิทยาศาสตร์การวิจัยอาวุโสและศาสตราจารย์กิตติคุณด้านการจัดการองค์กร จาก Marshall School of Business ได้กล่าวในงาน ETHRWorld NexTech Middle East Summit 2022 เกี่ยวกับ Work without Jobs ว่า “Work without Jobs นั้นมีความยืดหยุ่น ไร้กรอบ และถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นไปทั่วโลก”
  • Work without Jobs หรือการทำงานแบบที่ไม่มีงานให้ทำนั้น ไม่ใช่ว่าไม่มีงานให้ทำ แต่สิ่งที่เราต้องทำคือการช่วยให้ผู้บริหารได้คิดเรื่องงานแบบมองการณ์ไกลให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่แค่คิดถึงแต่งานตรงหน้า และกระตุ้นให้พวกเขามีวิธีการคิดอย่างยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น
  • Work without Jobs นำเราไปสู่โจทย์ใหม่ของการทำงาน ดังนั้นระบบการทำงานแบบใหม่นี้มีหลักการ 4 ประการ คือ เริ่มด้วยการกำหนดงาน รวมมนุษย์เข้ากับระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ พิจารณาการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับงานที่เกิดจากมนุษย์ และสุดท้ายคือปล่อยให้พนักงานที่มีความสามารถหลั่งไหลเข้ามาทำงานกันให้ได้มากที่สุด

ว่ากันว่าสามสิ่งที่หล่อเลี้ยงระบบการทำงานแบบเดิม ๆ มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ได้แก่ ตัวงาน (The work itself) คนทำงาน (Those who work) และสถานที่ทำงาน (Where the work is done) ซึ่ง “คนทำงาน” ที่มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูงมักเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ส่วนกำลังอื่น ๆ จะต้องมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในการส่งเสริมความสำเร็จขององค์กรด้วย จึงจะถือได้ว่าองค์กรนั้นประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

ทุกวันนี้ องค์กรต่าง ๆ ดูเหมือนจะได้ปลดล็อกโอกาสมากมายในการกำหนดอนาคตของการทำงาน ซึ่งถึงเวลาแล้วที่องค์กรต้องทบทวนหน้าที่ของตนเพื่อสร้างสรรค์และออกแบบกลยุทธ์ใหม่ที่จะมาปรับเปลี่ยนการทำงานและทำให้เกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนต่อไปได้

ดร.จอห์น บูโดรว (Dr. John Boudreau) นักวิทยาศาสตร์การวิจัยอาวุโสและศาสตราจารย์กิตติคุณด้านการจัดการองค์กร จาก Marshall School of Business ได้กล่าวในงาน ETHRWorld NexTech Middle East Summit 2022 เกี่ยวกับ Work without Jobs เอาไว้ และเขาได้อภิปรายถึงกลยุทธ์ที่จะช่วยลดการสร้างงานและการปรับโครงสร้างการทำงานขึ้นมาใหม่ วิธีที่ผู้นำองค์กรสามารถสร้างสรรค์ ‘งาน’ ในแง่มุมใหม่ ๆ การกำหนดกฎเกณฑ์คุณค่าของงาน และการตัดสินใจที่จะทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

Work without Jobs คืออะไร

ดร.จอห์น บูโดรว เล่าว่า “Work without Jobs นั้นคล่องตัว ยืดหยุ่น ไร้ขอบเขต และถูกรังสรรค์ขึ้นมาใหม่เพื่อให้การทำงานและออฟฟิศทั่วโลกดีขึ้น หากพวกเราคิดว่าการทำงานในแบบเดิม ๆ นั้นหยุดนิ่งอยู่กับที่ รวมถึงการจ้างงานที่มีสัญญาจ้างงานแบบเดิม ๆ และมีค่าจ้างคงที่ไปเรื่อย ๆ นั้นน่าเบื่อและควรมีการเปลี่ยนแปลงสักที COVID-19 นี่แหละจะมาช่วยพวกเราให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้เพียงสองปีไม่มีใครคาดคิดเลยว่าเทรนด์การทำงานแบบใหม่หลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้จะเกิดขึ้นมาได้จริง ๆ และตอนนี้เรามองเห็นได้ชัดเจนขึ้นมาก และเร็วขึ้นด้วย 

“หลายคนอาจสงสัยว่า Work without Jobs หรือการทำงานแบบที่ไม่มีงานให้ทำนั้นมันคืออะไรกันแน่? ไม่ใช่ว่าไม่มีงานให้ทำ แต่สิ่งที่เราต้องทำคือการช่วยให้ผู้บริหารได้คิดเรื่องงานแบบมองการณ์ไกลให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่แค่คิดถึงแต่งานตรงหน้า และกระตุ้นให้พวกเขามีวิธีการคิดอย่างยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น”

หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดของ Work without Jobs คือการสร้างวิธีการทำงานแบบใหม่ ๆ เพราะการทำงานเกิดขึ้นตลอดเวลา และผู้นำมีทางเลือกมากมายว่าจะใช้วิธีไหนในการมีส่วนร่วมและสนับสนุนกระบวนการทำงานต่าง ๆ 

การปฏิเสธไอเดียใหม่ ๆ หรือ hold ไว้ก่อนนั้นไม่มีประโยชน์อันใดเลย ทางเลือกของผู้นำองค์กรที่ทำให้ทำงานร่วมกับพนักงานและ HR ได้ ก็เพื่อที่จะตรวจสอบว่างานแต่ละงานเหมาะกับทุกคนมากน้อยเพียงใด

สำหรับผู้นำทุกคนโดยเฉพาะผู้นำจากฝ่าย HR ถือเป็นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะเริ่มต้นกำหนดค่านิยม หลักการ และกรอบการตัดสินใจในกลุ่มพนักงานที่อยู่ภายใต้การปกครองที่พวกเขาต้องรับผิดชอบ

ระบบการทำงานแบบหลัก 4 ประการของ Work without Jobs มีอะไรบ้าง

ดร.จอห์น บูโดรว ยังอธิบายอีกว่าว่า Work without Jobs นำเราไปสู่โจทย์ใหม่ๆ ดังนั้นระบบการทำงานแบบใหม่นี้คืออะไร มีหลักการ 4 ประการดังนี้

  • เริ่มด้วยการกำหนดงาน (ชิ้นงานหรือโครงการต่าง ๆ)
  • รวมการทำงานของมนุษย์เข้ากับระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ
  • พิจารณาการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับงานที่เกิดจากมนุษย์ (เช่น การจ้างงาน ฟรีแลนซ์ การเซ็นสัญญา หรืออาสาสมัคร)
  • ปล่อยให้พนักงานที่มีความสามารถหลั่งไหลเข้ามาทำงานกันให้ได้มากที่สุด

เขากล่าวเสริมให้ละเอียดยิ่งขึ้นว่า “ผมสามารถพูดได้ว่า การเริ่มงานควรเริ่มจากชิ้นงานหนึ่ง ๆ แทนที่จะคิดว่าต้องอยู่ในงานประจำที่เป็นงานหลักแบบภาพใหญ่ อย่าคิดเอาเองว่าการใช้ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติจะหมายถึงการเอาคนออก เพราะ AI หรือหุ่นยนต์ไม่สามารถทำงานทั้งหมดได้อยู่แล้ว แต่ระบบแบบใหม่นี้จะเป็นการรวมกันระหว่างมนุษย์กับระบบอัตโนมัติ เมื่องานมาถึง ทีมหรือพนักงานควรมีกลไกในการทำงานนั้นอย่างชัดเจน เราต้องก้าวข้ามวิธีเดิม ๆ ได้แล้ว”

บูโดรวเชื่อว่าถึงเวลาที่ต้องแยกโครงสร้างของงานได้แล้ว และเขากล่าวว่า “เมื่อผมพูดว่า Destruction Job สิ่งที่ผมหมายถึงคือ เราจำเป็นต้องออกจากกรอบความคิดแบบเดิม ๆ และแบ่งงานออกเป็นระบบปฏิบัติการใหม่ได้อย่างไร งาน (Job) ในปัจจุบันจำเป็นต้องเปลี่ยนไปเป็นเพียงชิ้นงาน (Task) และโปรเจกต์ที่สามารถดำเนินการได้และให้ผลลัพธ์ที่ต้องการสำหรับองค์กร ซึ่งเราจำเป็นต้องก้าวไปไกลกว่าแค่ ‘คนจ้างงาน’ เพื่อค้นหาความสามารถที่แต่ละคนมี พร้อมทั้งช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น 

การจ้างงานตามในแบบที่เรารู้จักกันนั้นขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษา แต่ตอนนี้ต้องก้าวไปไกลกว่านั้น ไม่เพียงแต่ต้องอาศัยใบปริญญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเรียนรู้และความถนัดด้วย โปรไฟล์ของแต่ละคนก็จะต้องดูในลักษณะที่แตกต่างกัน ฝ่าย HR และพนักงานมีอิสระที่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับแต่ละองค์ประกอบของการจ้างงาน ซึ่งเราอาจจับคู่ความสามารถบางอย่างกับบุคคลที่ได้เรียนรู้ความสามารถนี้ผ่านประสบการณ์การทำงาน จากนั้นก็รวบรวมผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นทั้งหมดเพื่อปรับคุณสมบัติของการทำงานในแบบใหม่”

หลักการของ Work without Jobs

เน้นการทำงานแบบเป็นชิ้นงานหรือโปรเจกต์

เปลี่ยนจากการเน้นการทำงานแบบเป็นภาพรวมใหญ่ ๆ ที่เราเรียกว่า Job ซึ่งหมายถึงงานตาม Job Description เป็นการทำงานที่รับผิดชอบเฉพาะชิ้นงานชิ้นเดียวหรือโปรเจกต์งานโปรเจกต์เดียว เพื่อลดการที่พนักงานคนหนึ่งจะต้องรับผิดชอบงานใหญ่ ๆ คนเดียวทั้งหมด

เพิ่มการจ้างพนักงานฟรีแลนซ์

คนส่วนใหญ่คิดว่าการจ้างพนักงานประจำจะทำให้องค์กรเกิดความก้าวหน้ามากกว่า เมื่อเทียบกับระบบการจ้างงานที่ไม่มีขอบเขตและสะเปะสะปะ เช่น เหล่าฟรีแลนซ์ แต่ในปัจจุบันนี้องค์กรมีโอกาสที่จะเลือกสรรทรัพยากรบุคคลได้เองนอกเหนือจากการใช้แรงงานที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็คือพนักงานประจำ ดังนั้นองค์กรสามารถจ้างฟรีแลนซ์และที่ปรึกษาพิเศษเพิ่มได้เพื่อดูแลโปรเจกต์และงานต่าง ๆ ขององค์กร ไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานประจำเพียงอย่างเดียว เพื่อเพิ่มความหลากหลายของความสามารถให้มากขึ้นและเพื่อพัฒนาระบบการจ้างงานแบบเดิม ๆ ที่ต้องเป็นงานที่มั่นคง มีสัญญาจ้าง ก็เป็นการเริ่มต้นหาแหล่งการจ้างงานแบบใหม่ ๆ คือฟรีแลนซ์ หรือที่ปรึกษาพิเศษ

ใช้ระบบการทำงานอัตโนมัติแทนที่พนักงาน

การใช้ระบบอัตโนมัติทำงานแทนก็เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น เหมาะแก่การนำมาใช้ในหลาย ๆ ภาคส่วนหรือมีความสำคัญกับบางแผนก แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อมีระแบบอัตโนมัติแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีคน เพราะระบบต่าง ๆ ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพก็ไม่สามารถแทนที่การทำงานของมนุษย์ได้

เปลี่ยนค่านิยมในการทำงานแบบใหม่

ประการสุดท้าย คือค่านิยมและนโยบายทางสังคมที่เชื่อว่าการจ้างงานแบบเดิม ๆ ก็เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สิทธิ และการไม่แบ่งแยกของพนักงาน ซึ่งกำลังค่อย ๆ เปลี่ยนไปใช้ค่านิยมที่ช่วยให้สามารถจัดเตรียมงานได้อย่างราบรื่นและความสามารถของพนักงานแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ความคิดเห็น ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยกของผู้ปฏิบัติงาน 

บทสรุป

คำถามหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนระบบการทำงานที่มีอยู่เดิมให้กลายเป็นระบบแบบ Work without Jobs ว่าจะเปลี่ยนด้วยวิธีไหน หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งหมดหรือไม่? คำตอบคือ เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดในครั้งเดียวก็ได้ เพราะสามารถพัฒนากระบวนการไปเรื่อย ๆ ได้ เปลี่ยนด้วยวิธีที่เหมาะสมตามแต่ละทีมหรือองค์กรจะสะดวกก็ได้ 

ท้ายที่สุดแล้ว HR แต่ละองค์กรควรตอบคำถามให้ได้ว่า ผู้บริหารมีทางเลือกอะไรบ้างเกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนระบบงานจากแบบเดิมให้เป็นแบบ Work without Jobs จะต้องใช้ค่านิยม หลักการ กรอบงาน และกฎการตัดสินใจแบบไหนที่ HR คิดว่าเหมาะกับองค์กรของตน เพื่อที่จะทำให้องค์กรจะได้พัฒนาไปอีกขั้นอย่างยั่งยืน

Sources

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง