สรุปสิ่งที่ HR ต้องรู้จากงาน Slingshot Leadership Summit 2022 (Main Stage) : กลยุทธ์สร้างผู้นำให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก

HIGHLIGHT

  • ผู้เชี่ยวชาญมองว่าปัจจุบันเป็นช่วงที่เหมาะกับการยกระดับศักยภาพผู้นำมากที่สุด รอเป็นช่วงที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด การมีผู้นำที่ดีหมายความว่าองค์กรจะเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องตามไปด้วย
  • ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าผู้นำจากเอเชียที่มีศักยภาพอยู่ในระดับโลกมีอยู่เพียง 4% และส่วนใหญ่มาจากประเทศอินเดีย นับว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากเทียบกับศักยภาพพื้นฐานที่ผู้นำจากเอเชียมี
  • ผู้นำที่ดีต้องสามารถคาดเดาสถานการณ์ในอนาคตและเตรียมตัวรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ
  • กลยุทธ์สำคัญอย่างหนึ่งคือการเรียนรู้ใหม่เรื่อย ๆ (Relearn) ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้นำองค์กร หรือแม้แต่นโยบายจากภาครัฐ
  • การยกระดับผู้นำ ไม่ได้หมายถึงการทำให้เรากลายเป็นคนที่เก่งที่สุดในโลก แต่เป็นการเปลี่ยนให้เรากลายเป็นคนที่ดีที่สุดในแบบของเรา (The Best Version of Me)

สรุปสิ่งที่ HR ต้องรู้จากงาน Slingshot Leadership Summit 2033 (Main Stage) : กลยุทธ์สร้างสุดยอดผู้ทำให้ไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก

HREX.asia ในฐานะ Media Partner ได้เข้าร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการด้านการเป็นผู้นำ Slingshot Leadership Summit 2022 : Imagine Asia 2030 Future-Fluent Leader ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่าง Slingshot Group และพันธมิตรระดับสากลอย่าง The Center for Creative Leadership เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ.2022 ที่ผ่านมา

งานสัมมนานี้จะช่วยเปลี่ยนผู้นำทั่วไปให้กลายเป็นผู้นำระดับโลกได้อย่างไร หาคำตอบได้จากบทสรุปชิ้นนี้

IMAGINE ASIA 2023 : Future-Fluent Asia Leader

สรุปสิ่งที่ HR ต้องรู้จากงาน Slingshot Leadership Summit 2033 (Main Stage) : กลยุทธ์สร้างสุดยอดผู้ทำให้ไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก

ผู้บรรยาย : Diana Khaitova : APAC Head of Client Development Center for Creative Leadership (บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ – ถอดความและสรุปโดยทีมงาน HR NOTE.asia)

กระแสโลก (Global Trends) ในปัจจุบันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

ผู้บรรยายกล่าวว่ากระแสโลกที่สำคัญที่สุดในช่วงสิบปีที่ผ่านมาคือการเติบโตของธุรกิจในประเทศจีน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจภาพรวมของเอเชียเติบโตขึ้น รวมถึงการเกิดโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และโควิด-19 ที่ทำให้วิธีทำงานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เช่นพนักงานบางส่วนต้องไปทำงานที่บ้าน (Work From Home) ขณะที่บางส่วนต้องโดนไล่ออกเพราะเป็นสายงานที่ไม่สามารถทำงานจากบ้านได้จริง ๆ  สถานการณ์นี้นำไปสู่การลาออกครั้งใหญ่ (The Great Resignation) และยิ่งทำให้ช่องว่าง (Gap) ของช่วงวัย (Generations), คุณค่าทางสังคม (Social Status) ตลอดจนปัญหาสุขภาพที่ HR มองข้ามไปไม่ได้เด็ดขาด

ความเป็นผู้นำในปัจจุบันจึงหมายถึงคนที่สามารถมองเห็นโอกาสในสถานการณ์ที่เลวร้าย และสามารถสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ให้กับคนในทีมเพื่อผ่านเรื่องต่าง ๆ ไปด้วยกัน ประเด็นต่อมาที่น่าสนใจก็คือการเกิดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าจะมีความสำคัญกับมนุษย์ไม่น้อยไปกว่ากระแสไฟฟ้าภายในปี ค.ศ. 2030  และการเติบโตของ AI จะมาคู่กับการแลกเปลี่ยนความเห็นด้านศีลธรรม, ความกังวลเรื่องการแย่งงานของมนุษย์ และการหาแนวทางร่วมมือระหว่างมนุษย์และเทคโนยีให้เกิดประโยชน์ที่สุด เพราะไม่ว่า AI จะมีพัฒนาการแค่ไหน มนุษย์ก็ยังมีกลไกอย่างหนึ่งที่โดดเด่นกว่า นั่นคือ “ความคาดเดาไม่ได้” (Unpredictable) ดังนั้นการนำจุดเด่นของมนุษย์ไปผสานกับข้อมูล (Data) ในปัญญาประดิษฐ์ จะทำให้เกิดความเป็นไปได้อีกมากมายที่่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ในที่นี้ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่าการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่ายจะช่วยให้มนุษย์อายุยืนและทำงานได้นานขึ้น (Longetivity) ซึ่งเป็นสิ่งที่ HR กับองค์กรต้องตั้งคำถามว่าจะบริหารจัดการอย่างไร

ผู้บรรยายยกตัวอย่างจากประเทศสิงคโปร์ที่รัฐบาลสนับสนุนให้คนหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อย ๆ โดยไม่จำกัดเรื่องอายุ เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด (Rapidly Development) แต่คำถามที่ตามมาก็คือชีวิตที่ต้องหาความรู้ใหม่ ๆ (Relearn) ตลอดเวลาจะเป็นอย่างไรกันแน่ ? รัฐบาลจะสามารถสนับสนุนตรงนี้ได้แค่ไหน และคนที่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการหาความรู้เพิ่มเลยจะแตกต่างหรือถูกทิ้งเอาไว้ด้านหลังหรือไม่

ผลวิจัยโดย Center for Creative Leadership เรื่องพัฒนาการของประเทศต่าง ๆ ในระยะเวลา 30 นับจากนี้จากระบุว่าประเทศจีนจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลกได้อย่างที่ทุกคนคาดการณ์ ขณะที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน 20 อันดับแรกด้วยซ้ำ ผลวิจัยยังกล่าวอีกว่าผู้นำจากทวีปเอเชีย (Asian Leaders) ยังมีศักยภาพน้อยมากหากเทียบกับผู้นำในระดับโลกไม่ว่าจะพยายามมากแค่ไหน โดยมีผู้นำพร้อมอยู่ 6% ในปี ค.ศ. 2017 และลดลงไปอีกหลังการเกิดโควิด-19 จนเหลืออยู่เพียง 4% ในปัจจุบัน

อนึ่งจุดเด่นที่ผู้นำจากเอเชียแตกต่างจากผู้นำในระดับโลกอื่น ๆ ประกอบด้วยการมีทัศนคติของการทำงานหนัก (Strong Work Ethics), มีความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility), มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy), และมีความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง (VUCA Ready)

จุดเด่นทั้งหมดนี้ทำให้เราเห็นว่าผู้นำจากเอเชียมีรากฐานที่แข็งแรงสำหรับต่อยอดไปสู่ระดับโลกแล้ว แต่สิ่งที่ต้องมีเพิ่มเติมก็คือความทะเยอะทะยาน (Aspiration) อธิบายเพิ่มเติมเป็นหัวข้อย่อยได้ดังนี้

  • Courage : ความสามารถที่จะเผชิญหน้ากับความกลัวและความเสี่ยง

  • Curiosity : ความต้องการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นด้านความสัมพันธ์, ประสบการณ์ และวัฒนธรรม

  • Strategic Thinking : ความสามารถในการเข้าใจเป้าหมายระยะยาวขององค์กร และสามารถคิดแผนรับมืออย่างมีประสิทธิภาพได้ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น (Local), ระดับภูมิภาค (Regional), ระดับสากล (Global) ผู้นำที่ดีต้องสามารถคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคต (Predict the Future)

  • Influence : สถิติบอกว่าผู้นำในเอเชียชอบโน้มน้าวคนอื่นด้วยการใช้สถิติ (Data) แต่ผู้นำระดับโลกจะใช้วิธีสร้างความหมายให้กับการทำงาน (Meaning of Work), การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง (Lead by Example)

  • Trust : ผู้นำระดับโลกต้องทำให้อีกฝ่ายเชื่อมั่นในการทำงานของเรา และจำเป็นต้องรักษาชื่อเสียง (Credit) ให้ดีตลอดเวลา

ทรัพยากรคน (Human Resources) คือบริบทสำคัญที่สุดในการทำงาน ผู้นำที่ดีจะช่วยให้ลูกทีมปรับตัวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และการคาดเดาถึงอนาคตอย่างมีหลักการจะกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้องค์กรของคุณสามารถแข่งขันในโลกธุรกิจได้อย่างแข็งแรง

THAILAND 2030 : FROM THAI STAR TO GLOBAL LEADER

สรุปสิ่งที่ HR ต้องรู้จากงาน Slingshot Leadership Summit 2033 (Main Stage) : กลยุทธ์สร้างสุดยอดผู้ทำให้ไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก

ผู้บรรยาย : Dr. Sutisophan Chauywongyart : Partner & Group Chief Executive Officer, Slingshot Group Co., Ltd.

จุดแข็งของผู้นำจากประเทศไทยมีอะไรบ้าง

  • Exhibiting Integrity : มีความซื่อสัตย์

  • Customers Centric : พร้อมทำงานตามเป้าหมายของลูกค้าเพื่อให้บรรลุผลอย่างดีที่สุด

  • Political Savvy : เล่นการเมืองภายในเก่ง สามารถเปลี่ยนสถานการณ์ที่เลวร้าย (Transform Conflict) ให้กลายเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายได้

จุดอ่อนของผู้นำจากประเทศไทยมีอะไรบ้าง

  • Digital : ผู้นำจากไทยยังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

  • Gap : ประเทศไทยยังสร้างผู้นำรุ่นใหม่สำหรับอนาคตได้ไม่ดีพอ

  • Diversity : ผู้นำจากไทยยังให้ความสำคัญกับความแตกต่างได้ไม่ดีพอ

ผลสำรวจของ Slingshot Group ระบุว่าผู้นำไทยจะก้าวไปสู่ระดับโลกได้หากมี 5 ปัจจัยเหล่านี้

  1. เป็นผู้ริเริ่มและส่งเสริมนวัตกรรมได้ (Fostering and Initiatying Innovation) : ผู้นำไทยจะเติบโตไม่ได้เลยหากใช้วิธีจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว

  2. เป็นผู้ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ได้ (Building and Aligning Shared Vision) : ผู้นำต้องทำให้คนที่ยังไม่เห็นอนาคต เห็นโอกาสที่ผู้นำเห็นได้ เช่นต้องมีความสามารถในการโน้มน้าว (Motivation) หรือการเล่าเรื่อง (Storytelling)

  3. เป็นผู้ที่ผสานควมหลากหลายได้ (Synergizing Diversity) : ผู้นำต้องรู้จักแนวทางร่วมมือระหว่างมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์

  4. เป็นผู้รู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีเพื่อหาโอกาสได้อย่างไร (Using Technology to Reach Business Goal) : ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ชำนาญเทคโนโลยีต้องรูปแบบ แต่ต้องรู้ให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าทั้งในไทยและต่างประเทศ

  5. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและโปร่งใส (Responsible and Transparent) : ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ผู้นำไทยต้องคิดถึงความยั่งยืน (Sustainability) เสมอ

ผู้บรรยายกล่าวว่าผู้นำที่อยากก้าวไปสู่ระดับโลกจำเป็นต้องทำงานหนักกว่าคนทั่วไป เราจึงต้องมีเป้าหมาย (Purpose) ชัดเจนเพื่อคอยผลักดันให้สามารถก้าวไปสู่จุดที่ตั้งใจได้ เพราะการทำงานในระดับโลกมีความแตกต่างมากมาย เช่น เรื่องวัฒนธรรม (Cultures) และกรอบเวลา (Timezone) ที่พร้อมช่วงชิงเวลาส่วนตัวไปมากกว่าที่คิด

เมื่อตอบคำถามได้ชัดเจนว่าต้องการเป็นผู้นำระดับโลกจริง ๆ ก็สามารถทำได้โดยโฟกัสไปที่ 7 กลยุทธ์ดังต่อไปนี้

  1. Sense Making : เปลี่ยนจากคนที่เอาแต่เชื่อฟังคำสั่ง (Accept Autority) ไปเป็นคนที่สามารถปรับตัวสู่อนาคต (Adaptive Capacity)

  2. Courage : เปลี่ยนจากคนที่นำเสนอทางออก (Solutions) แบบเดิม ๆ ไปเป็นคนที่กล้าลองผิดลองถูก (Experiment) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

  3. Inspire Others : เปลี่ยนจากคนที่ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนตน (Personal Recognition) ไปเป็นคนที่สร้างประโยชน์ให้องค์กร (Organization Impact)

  4. Purpose Driven : เปลี่ยนจากคนที่ถูกจูงใจโดยเป้าหมายระยะสั้น (Purpose Driven) ไปเป็นคนที่ภาคภูมิใจกับทุกงานที่ทำ (Inspired from Within)

  5. Diversity Inclusion : เปลี่ยนจากคนที่ยินดีกับความเห็นส่วนรวม (Appreciate Harmony) ไปเป็นคนที่เคารพความแตกต่าง (Support Differences)

  6. Collaboration : เปลี่ยนจากคนที่คอยสั่งการและควบคุม (Command and Control) ไปเป็นคนที่สนับสนุนเรื่องความร่วมมือระหว่างกัน (Collabotaion)

  7. Authenticity : เราต้องเป็นผู้นำตัวจริง (Authentic) ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม  ต้องสนับสนุนการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ (Successor) และช่วยยกระดับผู้นำเดิมให้แข็งแกร่งขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

บทสรุป

คำว่าผู้นำที่ดีไม่ได้หมายถึงแค่คนที่มีความพร้อมในปัจจุบันหรือมีเป้าหมายระยะสั้นเท่านั้น แต่หมายถึงผู้ที่มีความพร้อมต่อเป้าหมายระยะยาวอีกด้วย ดังนั้น HR จากทุกองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้าง Leadership Ecosystem ที่สามารถบูรณาการทุกองค์ความรู้ให้ส่งเสริมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม

งาน Slingshot Leadership Summit 2022 ตอกย้ำให้เห็นว่าไม่มีเวลาไหนที่เหมาะกับการยกระดับผู้นำไทยให้ก้าวไปสู่ระดับโลกมากกว่านี้อีกแล้ว เพราะไม่ว่าเราจะมีวิธีทำงานแบบใด แต่สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปจะพุ่งเข้ามาหาเราอย่างรวดเร็วและบังคับให้เราต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทางเลือก ดังนั้นด้วยเวลาที่จำกัด เราจึงควรเปลี่ยนจากการมองว่าตนด้อยกว่าคนอื่นอย่างไร ไปเป็นการมองว่าจะยกระดับจุดจุดแข็ง (Strenght) ของตนอย่างไรต่างหาก

‘การเป็นผู้นำที่ดีต้องเริ่มจากตัวเอง’ (Start with Me) คือบทสรุปสุดท้ายที่ผู้บรรยายทุกท่านพยายามบอกกับเรา  การนำความรู้ของคนอื่นมาปรับใช้ไม่ต่างอะไรจากการลอกข้อสอบคนอื่นเพราะเป็นการนำความรู้มาปรับใช้โดยไม่คำนึงถึงบริบทส่วนตัว และสิ่งสำคัญที่สุดของการเป็นผู้นำระดับโลกไม่ใช่การทำตัวเองให้เก่งกว่าคนอื่น แต่เป็นแค่การทำตัวเองให้เป็น คนที่ดีที่สุดในแบบของเรา (The Best Version of Me) เท่านั้นเอง

ผู้เขียน

Pumi Boonyatud

Pumi Boonyatud

a professional daydreamer. pro-wrestling god.

บทความที่เกี่ยวข้อง