HIGHLIGHT
|
อิคิไก (Ikigai) คำคำนี้ เป็นอีกคำที่เป็นที่รู้จักและกว้างขวางในวงการ ของคนญี่ปุ่นและคนที่มีประสบการณ์การการทำงานกับคนญี่ปุ่น คำนี้หมายถึง คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ที่แท้จริง ที่มาจากคำว่า อิกิ (iki) ที่แปลว่า การมีชีวิต และ ไก (gai) ที่แปลว่า คุณค่า ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ จุดประสงค์ของการมีชีวิตอยู่ โดยอิคิไก คือ ปรัชญาเซน ที่ต้องการให้มนุษย์ชื่นชมความงามของสิ่งรอบตัว ด้วยการสร้างความสุขทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ ผ่านการรู้ สึกตัวและค้นพบตัวตน
แต่ในโลกสังคมปัจจุบัน เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน และทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง ผู้คนส่วนมากมักจะหมดไฟ (Burnout) ในการทำงาน แล้วทฤษฎี ikigai จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างไร ลองอ่านบทความนี้แล้วจะพบกับคำตอบ
หลักการของอิคิไก (ikigai)
หลักการของอิคิไก ikigai คือการตอบคำถาม 4 ข้อพื้นฐาน เพื่อตอบคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ในแต่ละวัน มีดังต่อไปนี้
พื้นฐานทั้ง 4 ข้อนี้เปรียบเสมือนนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังก้าวเข้าสู่ วัยทำงาน ที่จะต้องตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ทั้ง 4 ข้อ เป็นพื้นฐานเพื่อนำไปสู่คุณค่าของการมีชีวิตอยู่
1. อะไรคือสิ่งที่เรารัก (What you love)
คือ สิ่งใดที่ทำแล้วทำให้เกิดความสุข อยากทำสิ่งนั้น เพื่อจะได้พัฒนาศักยภาพในตัวเราให้ดียิ่งขึ้น และยังทำให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ก่อนสมัครงานเราสามารถพิจารณาถึง สิ่งที่เรารักและอยากจะทำก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อนำไปสู่การเลือกงานที่เหมาะสมกับตัวเราจริง ๆ และจะทำให้สามารถอยู่ในองค์กรนั้นได้นาน และใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่
2. อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดี (What you are good at)
คือ สิ่งใดที่เรามีความสามารถทำได้ดีกว่าสิ่งอื่น หรือจะเรียกว่า Hard skill ทักษะความรู้ความสามารถที่ใช้ในการทำงาน เกิดจากการฝีกฝนจนชำนาญ จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญ เช่น ความสามารถที่เป็นทักษะเฉพาะตัวต่าง ๆ ที่เราสามารถนำเสนอต่อผู้สัมภาษณ์งานเพื่อให้ได้งานนั้น โดยบางครั้งทักษะที่เรามีความสามารถไม่จำเป็นต้องตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมาโดยตรง อาจเกิดจากการฝึกฝนของตนเอง จนเกิดความชำนาญ ถ้าเราค้นพบว่าเรามีความสามารถในเรื่องใด เราก็จะพบ อิคิไก ikigai ของชีวิตเราง่ายขี้น
3. สิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ (What you can be paid for)
คือ สิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้เรา สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น การหางานที่เราชอบและถนัดจะนำไปสู่รายได้ ทั้งงานประจำ และงานนอกเวลาอื่น ๆ จากวิชาหรือสาขาที่เรียนจบมาทำให้เรารู้ถึงความชอบ ความถนัดของตนเองแล้ว ก็จะนำไปสู่การสมัครงานที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของเรา เพื่อก่อให้เกิดรายได้ในรูปแบบงานประจำ เป็นต้น
4. สิ่งที่สังคมต้องการ (What the world needs)
คือ สิ่งที่โลกหรือสังคมต้องการและเป็นประโยชน์ต่อโลก สังคม ตลอดจนบริษัทที่ทำงานอยู่ เช่นทักษะของการทำงานที่เรามีอยู่ สามารถช่วยเหลือสังคมในอนาคตได้หรือไม่ เมื่อมองเห็นงานหรือทักษะที่เป็นที่ต้องการขององค์กรแล้ว แสดงว่าเราค้นพบ อิคิไก ikigai ของตนเองในข้อหนึ่ง
ทฤษฎีของอิคิไก (Ikigai)
เพื่อให้เข้าใจในทฤษฎีของอิคิไก (Ikigai) มากขึ้น ลองพิจารณาจากภาพวงกลมด้านล่าง
จะเห็นว่ามีวงกลม 4 วงด้วยกันวางทับกันอยู่ เมื่อเราพิจารณา 4 ข้อพื้นฐาน เพื่อตอบคุณค่าของการมีชีวิตแล้ว เราจะสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ 4 ข้อ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนผลของการทำงาน
1. สิ่งที่เรารัก (What you love) + สิ่งที่เราทำได้ดี (What you are good at) = แรงผลักดัน Passion
เช่น เมื่อเรารู้ว่าเราชอบทำงานอะไรและงานอะไรที่เราทำได้ดี ก็จะกลายเป็นแรงผลักดัน ให้งานนั้นสำเร็จ ดี และมีประสิทธิภาพมากขี้น อย่างบางคนไม่มี Passion หรือ ไม่เคยพิจารณาถึงข้อนี้ ก็จะไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน หรือแม้แต่ตื่นขึ้นมาในวันจันทร์ตอนเช้าก็ไม่อยากตื่นขึ้นมาเสียแล้ว เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญข้อแรกที่ควรจะพิจารณาก่อนเริ่มลงมือทำงาน เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนของงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป อย่างกรณีบางคนอาจไม่มีโอกาสเลือกทำงานที่รัก แต่เลือกในสิ่งที่เราทำได้ดี แรงจูงใจอาจจะน้อยกว่าการเลือกทำสิ่งที่เรารัก ฉะนั้น เราต้องสร้างแรงผลักดันและรักษาสมดุลของของตัวเองให้ดี เพื่อให้เกิด Passion ในการทำงาน โดยอาจต้องลองเปิดใจเปลี่ยนจากสิ่งที่เราทำได้ดี ให้เป็นสิ่งที่เรารักด้วย เพื่อสร้างความสุขในการทำงาน สร้างความภูมิใจเล็กๆในการทำงานเพื่อให้เกิดแรงผลักดันต่อไป
2. สิ่งที่เรารัก (What you love) + สิ่งที่โลกต้องการ (What the world needs) = หน้าที่ Mission
เช่น เราได้ทำงานที่เรารักแถมงานนั้นก็ยังมี Demand สูงในตลาดแรงงาน เป็นงานที่บริษัทต้องการงานนั้นก็จะกลายเป็นหน้าที่ ที่เราต้องทำเป็นประจำ และเมื่อเรานึกถึงภาระความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่ต้องทำในเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและคนอื่น ๆ เราจะเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น เพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อสร้างความสุขให้กับคนรอบข้าง ถ้าเราสามารถหาสร้างอิคิไก (Ikigai) ข้อนี้ได้ เราก็จะยิ่งสรรสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ยิ่งถ้ามีคนต้องการความช่วยเหลือจากสิ่งที่เรารักที่จะทำ นอกจากจะได้เป็นผู้ให้แล้ว ยังได้เป็นผู้รับจากสิ่งที่ทำอีกด้วย สิ่งที่ได้รับนั้นก็คือ ความสุข นั่นเอง
3. สิ่งที่โลกต้องการ (What the world needs) + สิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ (What you can be paid for) = ทักษะวิชาชีพ (Vocation)
เช่น งานที่ทำนอกจากเป็นงานที่คนส่วนใหญ่ต้องการ หรือที่เรียกว่า high demand แล้ว งานนั้นอาจจะสร้างรายได้ให้อย่างมหาศาล นอกจากเป็นรายได้จากงานประจำอาจเป็นรายได้เสริม ถ้าให้ยกตัวอย่างในปัจจุบันเช่น นักเขียนโปรแกรมต่าง ๆ เนื่องจากเทรนด์ของโลกยุคใหม่ ธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องลดต้นทุนการผลิต ผู้ที่สามารถเขียนโปรแกรมก็สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าเรามองหาจุดเชื่อมต่อ ระหว่าง 2 ข้อนี้ได้งานที่เป็นที่ต้องการและทักษะที่เกิดรายได้ ก็จะสร้างความภูมิใจให้กับสิ่งที่เราทำแม้แค่สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ในการแก้ปัญหาการทำงานในที่ทำงาน การตอบแทนองค์กรและสังคมจากงานที่เราทำ ย่อมส่งผลให้องค์กรดีขึ้น นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอิคิไก (Ikigai) ได้อีกด้วย
4. สิ่งที่เราทำได้ดี (What you are good at ) + สิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ (What you can be paid for) = อาชีพ (Profession)
เช่น จากการที่เรามีประสบการณ์ทำงานมาหลากหลายที่แล้ว รู้ถึงความสามารถของตัวเอง งานที่เราทำได้ดีคือการเขียนโปรแกรม เราสามารถนำสิ่งที่มีอยู่นี้มาสร้างรายได้ ด้วยการสมัครงานที่ตรงกับความสามารถของเราอย่างแท้จริง จนกลายเป็นอาชีพของเรา คงไม่มีใครอยากทำงานที่ตนไม่ได้รัก ทุกคนอยากจะมีความสุขจากการทำงาน เพราะฉะนั้น อิคิไก (Ikigai) ก็เป็นจุดเชื่อมต่อสิ่งที่เรารักให้กลายเป็นอาชีพได้
อิคิไก (Ikigai) เป็นปรัชญาของชาวญี่ปุ่นที่สามารถนำมาประยุกต์กับการทำงานได้ รวมถึงนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน แค่เพียงการตระหนักรู้ คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ และนำมาประยุกต์ใช้ ว่าในทุก ๆ วันที่ตื่นขึ้นมาทำงาน เราสามารถตอบตัวเองได้หรือไม่ว่า “อะไรคือสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราทำได้ดี สิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ และ สิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่สังคมต้องการหรือไม่”
จาก 4 ส่วน ประกอบนี้ ตามแผนภาพวงกลมที่ซ้อนกัน อิคิไก (Ikigai) ของคนเราก็คือ จุดตรงกลางที่มีส่วนของวงกลมทั้ง 4 ซ้อนกัน ในมุมมองปรัชญาของชาวญี่ปุ่นได้กล่าวไว้ว่า “การเจอเส้นทางชีวิตหรือเป้าหมายที่มีส่วนประกอบทั้ง 4 อย่างนี้หรือเจอ อิคิไก Ikigai ของชีวิตแล้ว คือ ข้อพิสูจน์ได้ว่า ชีวิตของเรามีความหมาย”
ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเราเจองานที่มีองค์ประกอบทับซ้อนกันทั้ง 4 ข้อแล้ว แสดงว่า งานนั้นคือกุญแจสู่ชีวิตที่มีความสุขและความยั่งยืน
อิคิไก (Ikigai) กับการทำงาน
อิคิไก หรือ อิกิไก เป็นปรัชญาที่ใช้ กับการทำงานได้ดี คนทุกคนมักเกิดมาพร้อมกับ อิคิไก (Ikigai) เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะก็สามารถค้นพบตัวตนและเจอ อิคิไก ในการทำงานได้เร็วกว่ากัน ซึ่งจุด ๆ นี้เป็นจุดเล็ก ๆ ที่สร้างความสุขและกำลังใจในการทำงานในแต่ละวัน ทำให้ลืมวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเลย ใครที่พบเจออิกิไกแล้ว ก็จะสามารถสร้างสมดุลให้กับชีวิต และทุก ๆ วันที่ตื่นมาก็จะรู้สึกว่าชีวิตเต็มไปด้วยคุณค่าและความหมาย
ถ้าไม่มีอิคิไก (Ikigai) แล้วจะเกิดอะไรขึ้น?
ในยุคสมัยปัจจุบัน หลายคนกำลังเบื่อหน่ายกับงานที่ตนเองทำ หรือบางคนเอาแต่ทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว โดยไม่เคย พิจารณาถึงอิคิไกของตัวเอง “ความสุขและแรงผลักดันก็จะไม่เกิด” ความสุขจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดจากความสำเร็จในการทำงานก็จะไม่มี ไม่สามารถตอบตัวเองได้ว่า เป้าหมายชีวิตของการทำงานเป็นอย่างไร จึงไม่สามารถเดินไปตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ได้ หรือแม้แค่กระทั่งความสำเร็จที่ยังรอคอยก็ยังคงมองไม่เห็นหนทาง
บทสรุป
ดังนั้น เมื่อเราเจอ อิคิไก ikigai แล้ว ความสุขในการทำงานก็จะเกิดขี้น ทัศนคติแง่บวกในการทำงานก็จะตามมา แรงผลักดันในการทำงานก็จะเกิด และผลงานก็จะออกมาดี เมื่อผลงานออกมาดี รายได้ที่ดีก็จะตามมา ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการได้ทำงานที่เรารัก ถนัด มีรายได้ และตอบแทนองค์กรที่ราทำอยู่ โดยเราสามารถนำ ทฤษฎีอิคิไก ikigai มาใช้ในการทำงานได้ในทุก ๆ วันที่ตื่นขึ้นมา
อยากรู้จัก คุณอ้อ – เอื้อมพร วรรณยิ่ง มากกว่านี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทสัมภาษณ์ของเราได้เลย |
ข้อมูลอ้างอิง