รวมคำถามเด่น Q&A by HREX ประจำเดือน พฤษภาคม

วันนี้เราจะรวมคำถามคำตอบเด่นๆ ที่คัดเลือกมาจากโปรเจก Q&A by HREX ที่เราเปิดรับคำถามจากคนทำงาน HR เข้ามาในลิงค์นี้ ซึ่งเราก็ได้นำคำถามเหล่านี้เข้าไปสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ และนำคำตอบออกมาแชร์บนเพจ HREX.asa 

ซึ่งถ้าหากผู้อ่านทุกท่านอยากจะส่งคำถามเข้ามาก็สามารถทำได้ทันทีเลยนะครับ แต่ว่าเราจะคัดเลือกเฉพาะคำตอบที่มาจากฝั่งนายจ้างหรือฝั่ง HR เท่านั้นนะครับ

1. ตลาดแรงงานตอนนี้ใครง้อใคร ตอบโดย ScoutOut

เชื่อว่าหลายๆ คนก็สงสัยในคำถามนี้เช่นกัน เพราะมันเป็นคำถามที่กระทบกับคนทำงานทุกคน พูดให้ง่ายคือ ถ้าเราจะหางานช่วงนี้ มันหายากหรือง่ายมากน้อยแค่ไหน คำตอบในใจของคุณอาจจะเกิดจากการคาดคะเนและประสบการณ์ส่วนบุคคล…เพื่อที่จะไม่ต้องเดา
.
เราจึงติดต่อไปขอข้อมูลจาก ScoutOut บริษัทผู้ให้บริการระบบสรรหาบุคคลากรระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่เบื้องหลังระบบสมัครงานของบริษัทน้อยใหญ่มากกว่า 2 หมื่นกว่าบริษัท ที่มีผู้สมัครงานเข้าไปใช้บริการแล้วกว่า 1.5 ล้านคน มีประกาศตำแหน่งงานกว่าครึ่งแสนตำแหน่งพร้อมรอคนทำงาน
.
ด้วยเหตุนี้ข้อมูลชุดนี้จึงสามารถสะท้อนความจริงของตลาดแรงงานในขณะนี้ได้ในระดับหนึ่ง และจากข้อมูลเผยว่าในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัทต่างๆที่ได้รับผลกระทบก็มีการเปิดรับสมัครงานลดลงจริงๆ โดยมีอัตราการลดลงมากถึง 53.10% ในขณะเดียวกันในฝั่งของผู้ที่เข้าไปใช้งานระบบหางานกลับเพิ่มขึ้นมากถึง 68.64%
.
โดยสรุปช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ต้องยอมรับว่าตลาดแรงงานเป็นช่วงขาลงของผู้หางานจริงๆ การแข่งขันที่สูงขึ้นเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เมื่อเราได้ภาพที่ตรงกับความเป็นจริง เราก็จะปรับความหวังได้อย่างเหมาะสม และสำหรับคนที่กำลังหางานเรากำลังจะได้ข้อมูลชุดใหม่มาอัพเดทว่าแล้วอาชีพไหนล่ะที่เปิดรับสมัครมากขึ้น และอาชีพไหนที่เปิดรับลดลง
.
แนะนำให้กดติดตามเพจของเราไว้แบบ See first เพื่อที่จะได้ไม่พลาด Insight เชิงลึกที่หาที่ไหนไม่ได้แบบนี้อีก ในระหว่างนี้สำหรับแฟนๆ ที่กำลังหางานเราแนะนำให้ลองเข้าไปใช้ Plattform ของ ScoutOut ดูได้โดยเฉพาะตัว JobNow หนึ่งในระบบที่รวมงานไว้มากถึง 29 ประเภท ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 77 จังหวัด (เราแปะลิงค์ไว้ให้ข้างล่าง)
.
และสำหรับ HR ที่กำลังหาคนเราแนะนำให้ไปลองลงงานกันที่นี่ มีโอกาสที่จะได้คนอย่างว่องไวมากๆ เลยล่ะครับ
Link: https://job.jobnow.work/jobs

2. ตลาดแรงงานตอนนี้งานไหนมาแรง ตอบโดย ScoutOut

จากตอนที่แล้วเราได้นำสถิติมาเผยให้แล้วว่าช่วงนี้เป็นเรื่องจริงที่ตลาดแรงงานอาจไม่ได้เข้าข้างผู้หางานมากนักเนื่องจากฟากฝั่งนายจ้างมีการเปิดรับสมัครงานน้อยลงกว่าครึ่งในขณะที่ฟากฝั่งหางานกลับมีคนที่เข้าเว็บไซต์เพื่อหางานมากขึ้นถึง สองเท่า ถ้าคิดจากตัวเลขล้วนๆ ก็อาจบอกได้ว่าอัตราการแข่งขันในการหางานอาจมากขึ้นถึง 4 เท่า
.
ในสภาวะแบบนี้ ตลาดแรงงานช่างไม่เข้าข้างผู้หางานเอาเสียเลย
.
หลังจากที่เราติดต่อไปข้อข้อมูลชุดที่สองกับ Scoutout สตาร์ตอัพที่ช่วยออกแบบระบบหลังบ้านให้กับบริษัทน้อยใหญ่ในไทยกว่าหมื่นแห่งในการรับสมัครงาน
.
ข้อมูลทางสถิติพบว่าประเภทของงานที่มีการค้นหาเพิ่มขึ้นมากถึงสองเท่าคืองานในกลุ่ม Part time โดยตำแหน่งงานที่มีการค้นหาเพิ่มขึ้นมากขึ้นที่สุดสามตำแหน่งคือ
หนึ่ง งานขนส่งสินค้า (delivery)
สอง งานคลังสินค้า
สาม งานแคชเชียร์
.
และงานที่มีการค้นหาลดลงมากที่สุดสามตำแหน่งได้แก่
หนึ่ง งานธุรการ
สอง งานบริการลูกค้า
สาม งานขาย
.
จุดที่น่าสังเกตคือข้อมูลเหล่านี้เป็นการสะท้อนภาพความต้องการทางฟากฝั่งพนักงาน สำหรับตำแหน่งงานที่มีการค้นหาสูงเราอาจตีความได้ในสองทิศทางคือมีความต้องการงานในตำแหน่งงานนั้นมาก หรือเราจะตีความว่าผู้ค้นหางานมีความเชื่อว่าตำแหน่งงานนั้นกำลังเป็นที่ต้องการ ทำให้มีการค้นหาตำแหน่งงานมากขึ้นก็ได้
.
สำหรับนายจ้างการที่เรา ‘ทำการบ้าน’ ให้มากขึ้นว่าสภาวะการณ์ต่างๆ ทำให้ ‘ความรับรู้’ ของผู้สมัครเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างก็จะทำให้เราสามารถวางแผนเพื่อสร้างกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้สมัครได้ดีขึ้น ส่วนฝั่งผู้หางาน บางทีการที่เราไปสมัครงานที่ทุกคนคิดว่าเป็นงานที่น่าทำในช่วงเวลาแบบนี้ก็อาจจะมีอัตราการแข่งขันสูงมากกว่าที่คิด
.
โปรดติดตามสถิติจาก scoutout อื่นๆ ได้ในเร็วๆนี้ สำหรับใครที่อยากรู้สถิติเบื้องหลังอะไรเป็นพิเศษสามารถ comment ถามใต้โพสนี้หรือส่ง inbox เข้ามาถามได้โดยตรงกับทางเพจ Facebook ของ HREX

3. การนำข้อมูลส่วนตัวพนักงานไปใช้ ตอบโดย คุณอ้อ-เอื้อมพร วรรณยิ่ง

Question : ตอนนี้มีราชกิจจาออกมาให้บริษัทที่ประสบปัญหาจากโควิดหยุดส่งเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้. หากบริษัทดำเนินการจำเป็นต้องขอคำยินยอมจากพนักงานเป็นรายบุคคลหรือไม่ หรือบริษัทดำเนินการได้เลย

#Q&A By HREX
===
การหยุดหรือเลื่อนการนำส่งเงินเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพเป็นการชั่วคราวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่สมาชิก โดยคะแนนเสียงที่ใช้เป็นมติที่ประชุมนั้นจะต้องเป็นไปตามที่กำหนด ในข้อบังคับกองทุน หรือต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม หากไม่ได้กำหนดในข้อบังคับกองทุนและในกรณีที่ไม่สามารถจัดประชุมใหญ่สมาชิกได้ ให้กรรมการในคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ความเห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์ให้หยุดหรือเลื่อนส่งเงินสะสมได้
.
แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถมีอำนาจเซ็นเอกสารแทนพนักงานในบริษัทได้ หลังจากได้รับความยินยอมจากสมาชิกในกองทุน สอดคล้องกับ หลักการของ PDPA คือ การใช้และเปิดเผยข้อมูล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสมอ (Consent)
.
เพราะก่อนทำการเซ็นเอกสารหยุดหรือเลื่อนการนำส่งเงินเข้ากองทุน พนักงานบริษัทในกองทุนทุกคนจะต้องให้ความยินยอมและยอมรับในเรื่องดังกล่าว และ ทางบริษัท จะต้องให้กรรมการบริษัทเซ็น รับทราบในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย
.
สรุปคือ คณะกรรมการกองทุนของบริษัทต้องได้รับความยินยอม (Consent) และมีการจัดประชุมสมาชิกกองทุนในบริษัทก่อน จึงสามารถเซ็นเอกสารแทนพนักงานทั้งหมดได้

4. สวัสดิการองค์กรขนาดเล็กในช่วงโควิค ตอบโดย คุณอ้อ-เอื้อมพร วรรณยิ่ง

ขอตอบในฐานะที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก ทางบริษัทมีมาตรการ การจัดให้พนักงานใช้สวัสดิการได้ตามปกติ โดยเน้นจัดสรรสวัสดิการที่ไม่กระทบต่อ Cost ของบริษัท ในช่วงสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว และ เป็นสวัสดิการที่ส่งเสริมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ของคนรุ่นใหม่ อาทิเช่น
.
1.ทำงานที่บ้าน (Work from home)
เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ให้พนักงานปลอดภัย และลดความตึงเครียดจากสถานการณ์โควิดระบาด
.
2.ใช้เวลาทื่ยืดหยุ่นในการทำงาน (Flextime)
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยให้พนักงานเลือก และจัดสรรเวลาในการทำงานได้ และสามารถเลือกว่าจะทำงานที่บ้าน หรือ ที่ออฟฟิศได้ โดยทางบริษัทมีการใช้ Application การบันทึกการเข้างานที่มีประสิทธิภาพ
.
3.สวัสดิการลาพักร้อน (Annual leave)
ทางบริษัท ยังคงให้พนักงาน สามารถลาพักร้อนได้ตามปกติ แต่เน้นให้พนักงานอยู่บ้าน งดการเดินทาง
.
4.สวัสดิประกันสุขภาพกลุ่ม (Health insurance group)
ทางบริษัทมีการให้ทำบัตรประกันสุขภาพ กับพนักงานเมื่อผ่านการทดลองงาน และยังคงให้ใช้สวัสดิการนี้ได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทางบริษัทมองว่า เป็นสวัสดิการที่สำคัญในการทำให้พนักงานสามารถทำงานให้กับบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าพนักงานมีการเจ็บป่วยก็ยังคงสามารถลางานไปพบแพทย์ได้

5. พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ตอบโดย คุณอ้อ-เอื้อมพร วรรณยิ่ง

นับถอยหลังอีก 16 วันก่อนที่พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ ( Personal Data Protection Act ) จะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบวันที่ 27 พ.ค.2563 นี้แล้ว

ซึ่งกฎหมายนี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่จะมีส่วนเข้าไปบริหารจัดการพนักงานอย่างแน่นอน

วันนี้ HREX จึงได้นำหนึ่งในคำถามที่ถูกส่งเข้ามาจาก HR ไปถามกับ คุณอ้อ-เอื้อมพร วรรณยิ่ง Administration Manager ของบริษัท ABROADERS Co., Ltd. ซึ่งมีประสบการณ์ตรงในการดูแลโปรเจกที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายตัวนี้

และต่อไปนี้คือพื้นฐาน 5 ข้อที่เธอบอกว่าเป็นสิ่งที่ HR อย่างเราควรจะต้องคำนึงเอาไว้ในการในการทำงานหลังจากนี้ไป

===
1.การจัดเตรียมฐานข้อมูลของพนักงาน
ลูกค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยที่ฝ่าย HR เป็นคนรวบรวมฐานข้อมูลพนักงานตั้งแต่ มีการสัมภาษณ์ เข้าบรรจุเป็นพนักงาน จนกระทั่งลาออกจากการเป็นพนักงาน เช่น ชื่อ นามสกุล, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่, อีเมล, หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน , รูปถ่าย, ประวัติการทำงาน, อายุ ( หากเป็นเด็ก จะต้องระบุผู้ปกครองได้ และรับ consent จากผู้ปกครอง ), เชื้อชาติ
.
2.การใช้และเปิดเผยข้อมูล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสมอ
.
3.การเข้าถึงและแก้ไข ต้องมีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง และแก้ไขได้
.
4.การโอนข้อมูลไปต่างประเทศ ปลายทางจะต้องมีมาตรฐานการคุ้มครองที่เพียงพอ และมีแหล่งการเก็บข้อมูลที่แน่นอน เช่น cloud sever
.
5. มีมาตรการการรักษาความปลอดภัย ต้องจัดให้มีระบบป้องกันข้อมูลที่ได้มาตรฐาน และหากพบว่ามีการรั่วของข้อมูล จะต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลภายใน 72 ชม.จากที่ทราบเหตุ และจำเป็นต้องจัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม รวมไปถึงจัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ
.
5 ข้อนี้เป็นเพียงข้อควรระวังโดยทั่วไปอย่างกว้าง สำหรับรายละเอียดเชิงลึกโปรดติดตาม content ที่เราจะเสนอต่อไป
===
สามารถอ่านบทสัมภาษณ์และประสบการณ์การทำงานของคุณอ้อได้ในบทความนี้ของ HREX https://bit.ly/2WdSYMn

6. คำแนะนำสำหรับคนที่อยากทำงานตำแหน่งผู้นำในอนาคต ตอบโดย คุณเก๋ ดร.สิรยา คงสมพงษ์

จะขอรีเฟอร์ถึงพวกงานวิจัยและเทรนด์ต่างๆ ซึ่งโดยปกติ SEAC ก็จะศึกษาในเรื่องเหล่านี้เยอะเหมือนกัน อย่างของ World Economic Forum มีพูดถึงเรื่องของ Future skill มันก็จะมีกลุ่มของ Skill ที่แตกต่างกัน
.
กลุ่มแรกจะเป็นเรื่องของ Thinking เพราะอย่างที่บอกว่า Information ยุคนี้ใครๆ ก็มี เดี๋ยวนี้มันไม่ได้วัดกันที่ใครมีข้อมูล แต่ Thinking จะเปลี่ยนข้อมูลเป็น Insight และจะเปลี่ยนเป็น Action
.
กลุ่มที่สอง เป็นเรื่องของทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับคน พวก Soft skill ต่างๆ เช่นการ Influence การบริหารจัดการด้านอารมณ์ของเรา สิ่งพวกนี้ถือว่ามีความสำคัญเพราะว่าสมัยนี้ถือว่า High tech อย่างเดียวไม่พอต้อง High touch ด้วยนะ นั่นคือจะสร้างความต่าง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Technical หลายคนเติบโตขึ้นเป็น Leader ได้ ก็เพราะเค้ามีในสิ่งเหล่านี้
.
กลุ่มที่สาม จะเป็นเรื่องของ Digital skill เช่นด้านการเขียนโปรแกรม ด้านการทำดีไซน์ ด้านการทำมีเดีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันจะกลายเป็น Technical skill ในยุคหน้า
.
ซึ่งเราแต่ละคนจะต้องไปวิเคราะห์ตัวเองว่าเป้าหมายที่เราอยากจะไปนั้นมันต้องการทักษะด้านไหน แล้วแต่ละคนก็อาจจะเข้าไปดูเจาะรายละเอียดแต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่ม Thinking ก็จะมี Critical thinking, ideation หรือ Creativity หรือถ้าเป็นสายที่เป็นพวก People หรือ Soft skill เช่น เราต้องไปเรียนเรื่อง storytelling ไหม เราจะได้เชื้อเชิญคนเป็น หรือเราต้องพัฒนาเรื่องของ EQ เพื่อจะได้มีการตระหนักรู้ในตัวเองเองเพื่อพัฒนาการ Interact กับคนได้ถูก
.
ทั้งหมดนี้มันก็จะเป็นการถอดลงมาเป็นวิชาว่าเราควรจะไปเรียนอะไร ทั้งหมดนี้ก็คือกลุ่มทักษะที่คิดว่า ถ้าในอนาคตเราคิดว่าเราอยากจะเป็น leader เราหาให้เจอว่าเราจะโฟกัสตัวไหน เพราะมันไม่สามารถเรียนทุกอย่างบนโลกนี้ได้ แต่ให้จับหลักให้ได้ว่าการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเป็นการเรียนรู้ที่ หนึ่ง focus สอง specific และ สาม มีความ relavant กับเป้าหมายของเรา
.
ผู้ตอบ: คุณเก๋ ดร.สิรยา คงสมพงษ์ ที่ปรึกษา, วิทยากร และโค้ชด้านพัฒนาบุคลากร พัฒนาทีมและสร้างการเปลี่ยนแปลง จาก SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน

สามารถส่งคำถามมาหาเราได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนได้ที่นี่

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง