ค่าแรงปรับขึ้น แล้ว HR ต้องปรับตัวอย่างไร หลังค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ

ปีใหม่เพิ่งผ่านมาไม่นาน แต่หนึ่งในข่าวใหญ่ และส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ที่นาย ไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณากำหนด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 375 บาทต่อวัน ซึ่งแม้จะเป็นประโยชน์ต่อพนักงาน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการเงินของบริษัทโดยตรง ดังนั้น HR ต้องรู้จักปรับตัวหากต้องการให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเดิม ส่วนจะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น หาคำตอบไปพร้อมกับเราได้เลยที่ HREX

รายละเอียดการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด

1) จังหวัดภูเก็ต อัตราค่าจ้าง 370 บาท
2) กลุ่มจังหวัดภาคกลางและปริมณฑล (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 6 จังหวัด อัตราค่าจ้าง 363 บาท ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
3) จังหวัดชลบุรี และระยอง อัตราค่าจ้าง 361 บาท
4) จังหวัดนครราชสีมา อัตราค่าจ้าง 352 บาท
5) จังหวัดสมุทรสงคราม อัตราค่าจ้าง 351 บาท
6) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ขอนแก่น และเชียงใหม่ อัตราค่าจ้าง 350 บาท
7) จังหวัดลพบุรี อัตราค่าจ้าง 349 บาท
8) จังหวัดสุพรรณบุรี นครนายก และหนองคาย อัตราค่าจ้าง 348 บาท
9) จังหวัดกระบี่ และตราด อัตราค่าจ้าง 347 บาท
10) จังหวัดกาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา พังงา จันทบุรี สระแก้ว นครพนม มุกดาหาร สกลนคร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี เชียงราย ตาก พิษณุโลก อัตราค่าจ้าง 345 บาท
11) จังหวัดเพชรบุรี ชุมพร สุรินทร์ อัตราค่าจ้าง 344 บาท
12) จังหวัดยโสธร ลำพูน นครสวรรค์ อัตราค่าจ้าง 343 บาท
13) จังหวัดนครศรีธรรมราช บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และเพชรบูรณ์ อัตราค่าจ้าง 342 บาท
14) จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี พัทลุง ชัยภูมิ และอ่างทอง อัตราค่าจ้าง 341 บาท
15) จังหวัดระนอง สตูล เลย  หนองบัวลำภู  อุดรธานี  มหาสารคาม ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน ลำปาง  สุโขทัย  อุตรดิตถ์  กำแพงเพชร   พิจิตร  อุทัยธานี และราชบุรี  อัตราค่าจ้าง 340 บาท
16) จังหวัดตรัง น่าน พะเยา   แพร่  อัตราค่าจ้าง 338 บาท
17) จังหวัดนราธิวาส  ปัตตานี และยะลา  อัตราค่าจ้าง  330  บาท

HR ควรปรับตัวกับค่าแรงงานขั้นต่ำที่สูงขึ้นอย่างไร

แน่นอนว่า HR ในฐานะมือขวาของผู้บริหาร และเป็นเพื่อนคู่คิดที่ต้องผลักดันธุรกิจ (Business Driven) ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์แบบไหน การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็คือสิ่งที่องค์กำหนดอะไรไม่ได้ เพราะมาจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย, ผู้คน หรือแม้แต่การเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ในที่นี้การปรับขึ้นเงินเดือนต้องไม่ใช่แค่เฉพาะกับพนักงานใหม่เท่านั้น แต่พนักงานเก่าก็ควรได้รับการพิจารณาเช่นกัน

สิ่งที่ HR ต้องทำความเข้าใจเป็นลำดับแรกมีดังนี้

  1. HR ต้องปรับค่าจ้างรายวันให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ เตรียมนำเสนองบประมาณให้ชัดเจน ซึ่งหากต้องการให้แข่งขันได้ในตลาดแรงงาน ก็ควรปรับให้มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 4-6 % ขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิภาค และให้พิจารณาความสามารถในการจ่ายของนายจ้างด้วย
  2. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะกระทบกับพนักงานเก่าทั้งประเภทการจ้างแบบรายวัน และรายเดือน ซึ่งมีอัตราค่าจ้างใกล้เคียงกับพนักงานที่รับใหม่  ดังนั้น HR ต้องทบทวนโครงสร้างเงินเดือน (โครงสร้างค่าตอบแทน) ให้เหมาะสมกับแต่ละ Job Level , Job Position และ Job Grade

ขั้นตอนการดำเนินงานของ HR มีลำดับดังนี้

  1. เสนอแนวทาง สรุปนโยบาย กรอบงบประมาณในการปรับ
  2. สรุปข้อมูลค่าใช้จ่ายในมิติต่าง ๆ แล้วเทียบกับรายได้องค์กรก่อนการปรับ
  3. จะลองตัวเลขการปรับทั้งแบบรายบุคคลและในภาพรวม
  4. นำเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติ

HR ต้องสามารถแยกเงินเดือน, ค่าใช้จ่าย Fix Cost และเปรียบเทียบรายได้กับหน่วยงานอื่น ๆ ในสายงานเดียวกันให้ชัดเจน รวมถึงการสรุปตำแหน่งกับขอบเขตที่ได้รับผลกระทบในเบื้องต้น โดยคิดว่ายิ่งสามารถแยกหมวดหมู่ให้ละเอียดมากขึ่้นเท่าใด เราก็จะยิ่งวิเคราะห์ข้อมูลได้ละเอียดมากขึ้นเท่านั้น

แนวคิดของการปรับคือเงินเดือนน้อย ปรับมาก, เงินเดือนสูงขึ้น ปรับน้อยลง และเงินเดือนอยู่จุดสิ้นสุดการปรับ จะไม่มีการปรับ ซึ่งหากมีจุดที่ HR มองว่าทำแล้วส่งผลเสียต่อโครงสร้างขององค์กรในอนาคต ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือตัดงบประมาณที่ไม่จำเป็นด้านอื่น ๆ ออกไป เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q&A HR Board

Q: การปรับค่าแรงขั้นต่ำมีผลกับพนักงานอย่างไรบ้าง ?

หากต้องมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจริงตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อน ๆ HR คิดว่าจะส่งผลดี หรือมีผลกระทบอย่างไรต่อการทำงานของพนักงาน และการบริหารงานขององค์กรบ้างคะ?

A: ในแง่พนักงานนั้นมีผลน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีผลเลย

ถ้าพูดถึงการทำงานของพนักงาน ผมว่ามีผลน้อยหรือไม่น่ามีเลยครับ เหตุผลเพราะการขึ้นลักษณะนี้เป็นการขึ้นทั้งกระดานมันไม่ได้เป็นการสร้าง incentiveให้ผู้ปฏิบัติงานเลย ผมกลัวผลกระทบทางออ้มมากกว่าเพราะที่ผ่านมาค่าแรงขึ้นทีไร ค่าของและค่าครองชึพจะขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่า สุดท้ายเงินไม่พอใช้เหมือนเดิมครับ ส่วนเรื่องการบริหารองค์กรอันนี้มีผลกระทบแรงแต่นอนครับ หลายอุตสาหกรรมยังไม่มีเครื่องจักรทบแทน เช่นพวกก่อสร้าง และอุตสหกรรมต้นน้ำ เมื่อต้นทุนค่าแรงขึ้นขนาดนี้down sizingคงจะมีให้เห็นเยอะ สุดท้ายก็จะมีแรงงานตกงานเยอะครับ หรือไม่บริษัทที่ปรับตัวไม่ทัน(ผมว่าเยอะเพราะขึ้นราคาสินค้าไม่ได้เนื่องจากตลาดโลกมีทางเลือกอื่นเยอะ)อาจจะต้องปิดกิจการหากไม่มีมาตรการช่วย

,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง