Search
Close this search box.

พนักงานเป็นลมบนรถไฟฟ้า: สัญญาณอันตรายเรื่อง Wellness ที่ HR ต้องรู้

HIGHLIGHT

  • การเป็นลมระหว่างเดินทางหรือในที่ทำงานไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ ๆเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาด้านสุขภาพ ฉะนั้น HR ควรสังเกตและรับมือกับสัญญาณนี้่อย่างใกล้ชิด
  • สาเหตุพนักงานเป็นลมบนรถไฟฟ้ามีได้หลายประการ เช่น ความเครียดสะสมจากงานและการเดินทาง, การพักผ่อนไม่เพียงพอจากการทำงานหนัก ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง หรือกระทั่งการบริโภคอาหารที่ไม่เพียงพอหรือไม่ถูกสุขลักษณะ
  • บทบาทของ HR ในการดูแลสุขภาพพนักงาน จึงต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุน Wellness เช่น การออกกำลังกายและการพักผ่อนที่เหมาะสม จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและป้องกัน Burnout เสนอโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี
  • แนวทางที่ HR ควรดำเนินการคือกำหนดช่วงเวลาหยุดพักระหว่างวัน การให้สิทธิวันหยุดพักร้อนอย่างเพียงพอ และสนับสนุนการหยุดพักเมื่อตรวจพบอาการเหนื่อยล้าหรือป่วย เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการพักผ่อน

fainting on public transport

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายบริษัทเริ่มลดการทำงานแบบ Hybrid Work กันแล้ว พร้อมเรียกพนักงานกลับมาเข้าออฟฟิศมากขึ้น ทำให้การเดินทางมาทำงานตอนเช้ากลายความท้าทายอีกครั้ง โดยเฉพาะคนเมืองที่ต้องใช้บริการรถไฟฟ้าในสภาพแออัด แน่นขนัดและเบียดเสียดในช่วงเวลาเร่งด่วน นำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม 

หนึ่งในเหตุการณ์ที่พบเห็นบ่อยครั้งคือ พนักงาน “เป็นลม” ระหว่างเดินทางมาทำงาน เนื่องจากการไม่ได้ดูแลตัวเองอย่างเพียงพอ บางคนอาจไม่ได้ทานอาหารเช้า หรืออาจพักผ่อนไม่เพียงพอ

แม้ว่าเหตุการณ์พนักงานเป็นลมบนรถไฟฟ้าอาจไม่มีสถิติที่ชัดเจน แต่กลับเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในโซเชียลมีเดีย ทำให้ HR และผู้บริหารองค์กรควรตระหนักถึงปัญหานี้ 

เพราะปัญหาเช่นนี้ ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานโดยตรง แต่ยังสะท้อนถึงความท้าทายในการดูแล Wellness ของพนักงานอีกด้วย

ในฐานะที่ HR มีบทบาทสำคัญในการดูแลพนักงาน จะมีการรับมือและป้องกันปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง ? อ่านได้จากบทความนี้

Wellness กับบทบาทของ HR: สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

เพราะ HR เป็นด่านแรกที่ต้องสังเกตและรับมือกับสัญญาณเหล่านี้ การที่พนักงานเป็นลมรพอะหว่างเดินทางหรือแม้แต่ในที่ทำงานควรเป็นจุดเริ่มต้นให้ทีมบริหารหันกลับมาประเมินว่าสุขภางค์รวมของพนักงานนั้นดีพอไหม ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาเหล่านี้ได้

  1. สภาวะ Burnout: Burnout คือภาวะหมดไฟที่เกิดจากความเครียดสะสม ทั้งจากงานที่ล้นมือหรือขาดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance) HR ควรมีมาตรการที่ชัดเจนในการติดตามสภาพจิตใจของพนักงาน เช่น การทำแบบสำรวจความพึงพอใจ หรือเปิดช่องทางให้พนักงานสามารถร้องขอความช่วยเหลือหรือแสดงความคิดเห็นได้
  2. การส่งเสริมสุขภาพทางกายและจิต: การจัดโปรแกรม Wellness ไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย แต่ควรรวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการพักผ่อน อาหารที่มีประโยชน์ และการบริหารจัดการความเครียด การให้พนักงานเข้าร่วมการฝึกสติ (Mindfulness) หรือกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เช่น โยคะ หรือการฝึกหายใจ จะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตและกาย
  3. สนับสนุนการทำงานแบบยืดหยุ่น: การปรับเวลาทำงานให้ยืดหยุ่น หรือการอนุญาตให้พนักงานทำงานจากบ้านในบางวัน จะช่วยลดความเครียดจากการเดินทางและช่วยให้พนักงานมีเวลาในการดูแลตัวเองมากขึ้น HR ควรส่งเสริมและให้การสนับสนุนการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตพนักงาน

สาเหตุที่ทำให้พนักงานเป็นลมบนรถไฟฟ้า

  1. ความเครียดสะสม: การทำงานหนักหรือต้องทำงานล่วงเวลาบ่อย ๆ สามารถนำไปสู่ความเครียดสะสม ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ทำให้ร่างกายอ่อนแอและเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่ายขึ้น
  2. การพักผ่อนไม่เพียงพอ: ในยุคที่เทคโนโลยีและการทำงานจากที่บ้านทำให้พนักงานสามารถทำงานได้ตลอดเวลา หลายคนจึงประสบปัญหา Burnout จากการที่ไม่สามารถพักผ่อนอย่างเต็มที่
  3. สภาพร่างกายที่อ่อนแอ: พนักงานที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือภาวะโลหิตจาง มักมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอาการเป็นลมเมื่อร่างกายรับแรงกดดันจากความเครียดหรือการเดินทางที่ยาวนาน
  4. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม: การที่พนักงานบางคนขาดการทานอาหารเช้า หรือเลือกบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาจทำให้ร่างกายขาดพลังงานและเกิดอาการวิงเวียนหรือเป็นลมได้
fainting on public transport

ทางรถไฟฟ้า BTS SkyTrain เคยเขียนข้อความผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลของตัวเองว่า หากมีอาการหน้ามืดเวียนหัว คล้ายจะเป็นลม บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่ต้องกังวลไป รถไฟฟ้าบีทีเอสมีห้องปฐมพยาบาลให้บริการทุกสถานี

  • สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้ทันที
  • ภายในสถานีหรือชั้นจำหน่ายตั๋ว แจ้งเจ้าหน้าที่ หรือ รปภ.
  • บนชั้นชานชาลา ให้ผู้ป่วยถอยออกจากเส้นเหลือง หรือนั่งลงกับพื้น แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
  • ในขบวนรถไฟฟ้า กด”ปุ่มกระดิ่ง” แจ้งเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้าผ่านทางชุดอุปกรณ์สื่อสาร จะมีเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในสถานีถัดไป

ทั้งนี้บีทีเอสมีการอบรมพนักงานในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้การปฐมพยาบาล และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน สามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายได้อย่างถูกต้อง

fainting on public transport

บทบาทของ HR ในการสนับสนุนด้าน Wellness ของพนักงาน

เมื่อ Wellness หรือสุขภาพองค์รวมของพนักงานกลายเป็นประเด็นสำคัญในที่ทำงาน HR ต้องทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและผลักดันเรื่องสุขภาพองค์รวมของพนักงาน ผ่านการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น

  • การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้น Wellness: องค์กรควรเน้นการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย หรือการให้เวลาพนักงานพักผ่อนเพียงพอ
  • การให้ข้อมูลและการอบรมเกี่ยวกับสุขภาพ: HR สามารถจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การเลือกทานอาหาร การจัดการความเครียด และวิธีป้องกัน Burnout
  • โปรแกรมสุขภาพเชิงรุก: องค์กรควรมีโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี และส่งเสริมให้พนักงานดูแลสุขภาพของตนเอง เช่น การจัดกิจกรรมเดินวิ่งในองค์กร การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการออกกำลังกาย หรือการมีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในด้านโภชนาการ

HR ควรให้พนักงานหยุดพักไหม ? คำตอบคือ “ควร” เป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากการหยุดพักเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมทั้งสุขภาพกายและจิตใจของพนักงาน ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นในระยะยาว

ทำไมการหยุดพักถึงสำคัญ?

  1. ป้องกันการเกิด Burnout: การทำงานต่อเนื่องโดยไม่มีเวลาพักสามารถนำไปสู่ภาวะ Burnout หรือการหมดไฟในการทำงานได้ การให้พนักงานหยุดพักจะช่วยให้พวกเขาฟื้นฟูพลังงาน ลดความเหนื่อยล้า และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและส่งเสริมความยั่งยืนในงาน
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า การหยุดพักสั้น ๆ ระหว่างการทำงานช่วยให้พนักงานกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานเกินไปอาจทำให้สมองล้าและประสิทธิภาพการคิดลดลง
  3. ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม: การหยุดพักช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือปัญหาด้านสุขภาพจิต พนักงานที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอจะมีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้นตามมา
  4. สร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance): การให้เวลาหยุดพักหรือพักร้อนจะช่วยให้พนักงานมีเวลาใช้ชีวิตส่วนตัวมากขึ้น ลดความเครียดและความกดดันในการทำงาน รวมถึงช่วยรักษาความสุขในชีวิตส่วนตัวและการทำงานไปพร้อม ๆ กัน

แนวทางที่ HR ควรดำเนิน หากต้องการให้พนักงานหยุดพัก

  1. กำหนดช่วงเวลาหยุดพักระหว่างวัน: การสนับสนุนให้พนักงานหยุดพักสั้น ๆ ระหว่างวัน เช่น การพักช่วงกลางวัน หรือการให้มีช่วงเบรกทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง จะช่วยให้พนักงานผ่อนคลายและกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่
  2. ให้สิทธิวันหยุดพักร้อนและการลาหยุดที่เพียงพอ: HR ควรจัดให้มีสิทธิวันหยุดพักร้อนอย่างน้อยปีละ 10-15 วัน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท เพื่อให้พนักงานสามารถวางแผนการพักผ่อนได้ตามความต้องการของตนเอง
  3. สนับสนุนการหยุดพักเมื่อพนักงานมีอาการป่วยหรือเหนื่อยล้า: หากพบว่าพนักงานมีสัญญาณของการเหนื่อยล้าหรือสุขภาพไม่ดี HR ควรสนับสนุนให้พนักงานหยุดพักหรือลางานเพื่อรักษาสุขภาพ ไม่ควรกดดันให้พนักงานทำงานในสภาพที่ไม่พร้อม
  4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการพักผ่อน: องค์กรควรสร้างวัฒนธรรมที่ไม่เน้นการทำงานหนักเกินไป แต่เน้นการพักผ่อนและฟื้นฟูร่างกายอย่างเหมาะสม เช่น การจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพ การฝึกโยคะ หรือการสร้างพื้นที่พักผ่อนภายในสำนักงาน

เพราะ Wellness เป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย

การเป็นลมของพนักงานบนรถไฟฟ้าเป็นมากกว่าปัญหาสุขภาพเฉพาะหน้า แต่เป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาด้าน Wellness ที่ HR ต้องเร่งมือในการจัดการ เพราะเมื่อสุขภาพของพนักงานได้รับการดูแลที่ดี ทั้งสุขภาพจิตและกาย ผลงานและประสิทธิภาพการทำงานจะตามมาอย่างเป็นธรรมชาติ

หาก HR สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ใส่ใจสุขภาพพนักงานได้ดี จะช่วยให้องค์กรสามารถรักษาพนักงานที่มีคุณภาพและป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่อาจนำไปสู่การขาดงานหรือประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง

หาก HR ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้วย Wellness สามารถเข้ามาค้นหาได้ที่ HREX

ผู้เขียน

Picture of Sahatorn Petvirojchai

Sahatorn Petvirojchai

Manager of HREX.asia who works in media platforms for a long time. Interested in Global Culture, Marketing, and Self Development.

บทความที่เกี่ยวข้อง