11 คำแนะนำสำหรับ HR มือใหม่ให้เติบโตในสายอาชีพ (จาก HR Expert Partner)

HIGHLIGHT

  • บทความนี้สกัดเพื่อ HR มือใหม่ โดยกลั่นออกมาจากประสบการณ์ของ HREX.asia expert partner ทั้ง 11 ท่านเพื่อหาคำตอบว่าอะไรคือเคล็ดลับของความสำเร็จในการเดินทางในเส้นทางอาชีพทรัพยากรบุคคลเพื่อเป็นคำแนะนำให้ HR รุ่นใหม่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน 
  • HR ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจธรรมชาติของคน เช่น พฤติกรรม ความต้องการ วิธีคิด ลักษณะนิสัย ฯลฯ, ไม่ว่า HR จะทำอะไรก็ตามที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ ขอให้นึกไว้เสมอว่า ต้องมีคนได้มากกว่าคนเสีย, HR มี 2 ร่างเสมอในทุกเรื่องที่ต้องทำ ครึ่งหนึ่งเป็นตัวแทนนายจ้าง อีกครึ่งเป็นตัวแทนลูกจ้าง จะทำอะไรต้องมองทั้ง 2 ด้านเสมอ
  • HR เป็นงานที่ต้องอาศัย ความมีใจมาก มีใจในการช่วยเหลือผู้อื่นและทำให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข มีใจในการพัฒนาเรียนรู้ตัวเองอยู่เสมอเพราะ HR Trend เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมโลก HR ต้องไวต่อการเรียนรู้ ปรับตัว เปลี่ยนแปลงให้ทันความรู้ใหม่ๆ
  • HR เป็นงานที่มีบทบาทต่อคนจำนวนมากและเป็นสายงานที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อวงการธุรกิจอย่างคาดไหม่ถึง  HREX.asia จะพยายามทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้มาก่อนหน้าที่มีประสบการณ์เพื่อส่งต่อสิ่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับคนในแวดวง HR ต่อไป

เราเชื่อว่าหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ที่สุดคือการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ในบทความนี้เราได้รวบรวมประสบการณ์ฉบับอัดแน่นของ HREX.asia expert partner ทั้ง 11 ท่าน เพื่อตอบคำถามว่า  

“จากการทำงานมาจนถึงวันนี้ในสายอาชีพทรัพยากรบุคคล มีอะไรอยากจะบอกกับ HR ที่เพิ่งเริ่มต้นในเส้นทางสายนี้ ที่คิดว่าจะช่วยให้เติบโต และประสบความสำเร็จ”

หวังว่าทุกท่านที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นในเส้นทางนี้จะได้เคล็ดลับและมุมมองดีๆ เพื่อนำไปต่อยอดในการทำงานต่อไป

Contents

1. คุณโชติช่วง  กังวานกิจมงคล HR Business Partner ของบริษัท FMCG และเจ้าของเพจ “คุยกับ HR”

ทุกวันนี้การเป็น HR ที่แค่ดูแลพนักงาน จัดกิจกรรม จัดอบรม ตรวจเวลาทำงาน ทำเอกสาร หรืองาน HR อื่นๆ ไม่เพียงพอแล้ว สิ่งที่ HR ในวันนี้และวันข้างหน้าควรจะเป็นคือช่วยเหลือธุรกิจและองค์กรให้เติบโตก้าวหน้าหรือเป็นเหมือน Partner ให้กับผู้บริหารหรือพนักงานทุกๆคน แม้จะอยู่ Com&Ben, HRD หรือ Recruitment ทุกคนก็เป็น Partner ให้ธุรกิจได้ในแต่ละแขนง กล่าวคือเราสามารถเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่ธุรกิจ และทำให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้นในมุมของ HR

การจะเป็น Partner ที่ดีได้ สิ่งที่ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้คือ

1.เข้าใจธุรกิจของเราเองและความเป็นไปของตลาด และสร้าง Insights ให้มากที่สุด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ

2.พัฒนาทักษะที่จำเป็นในการก้าวสู่การเป็น Partner เช่น ทักษะการให้คำปรึกษา การคิดเชิงกลยุทธิ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การตั้งคำถาม เป็นต้น

3.ต้องมีความชัดเจนในการเติบโตว่าอยากก้าวสู่สายงานแบบใด ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าอยากไป HR สายไหน แต่ให้มองว่าอยากทำงาน HR ลักษณะไหน เช่น ทำงานกับข้อมูล ทำงานใกล้ชิดกับผู้บริหาร ทำงานกับการพบปะผู้คน เป็นต้น

หากใครที่พึ่งเริ่มและได้ทำงานที่อาจจะเป็นแค่งานเอกสารเล็กๆน้อยๆแต่เป็นกองพะเนิน ก็ยังสามารถพัฒนาไปสู่การเป็น Partner ของธุรกิจได้ ขึ้นอยู่กับเราที่สามารถสร้างผลงานหรือผลกระทบที่พัฒนาธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

ปิยะ วิทยาวโรจน์กิจ2. ปิยะ วิทยาวโรจน์กิจ HR Director, Sakol Energy Public Company Limited Head of HR&OD Consultant, CONSYNC Group Co., Ltd.

เรียนรู้ให้ลึก เรียนรู้ให้จริงกับงานครับ หากได้รับมอบหมายงานในตำแหน่งไหน ก็เข้าไปศึกษาตำแหน่งงาน HR ใน Role นั้นให้ชัดเจน เช่น

การสรรหา ก็ศึกษาการสรรหาตั้งแต่กระบวนการหาใบสมัคร สัมภาษณ์ การคีย์ข้อมูลประวัติ และรู้แบบการทำสัญญาจ้าง ว่าเป็นแบบไหน ทำอย่างไรของบริษัทตนเอง รวมถึงต่อยอดการทำงานด้วยการสอบถามพี่ๆ HR บริษัทอื่นถึงกระบวนการสรรหาหลายๆ ที่ หากโชคดีได้ประสานงานกับบริษัท Recruitment agency ลองแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยถึงกระบวนการ และการคัดกรองคน รวมถึงการ screen คน ซึ่งเชื่อว่าทุกคนพร้อมแนะนำและให้ความรู้ได้

การจัดฝึกอบรม ก็ศึกษากระบวนการจัดอบรม การทำแผนจัดฝึกอบรม การประสานงานวิทยากร และควรศึกษากฏหมายพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย เพื่อให้สอดคล้องกันทุกด้าน นอกจากนี้ หากมีโอกาสควรศึกษากระบวนการเป็น Facilitator ให้เต็มรูปแบบ ยิ่งมีโอกาสได้ประสานงานกับผู้บรรยายก็สามารถขอความรู้และแลกเปลี่ยนกระบวนการวางโครงสร้างหลักสูตรหรือกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นแก่นของการสร้างระบบการเรียนรู้ (Milestone) ให้กับองค์กรต่อไป

การทำเงินเดือนและสวัสดิการ หากได้รับมอบหมายในส่วนงานนี้ ก็เข้าไปศึกษาตั้งแต่ระบบการทำเงินเดือน การจ่ายเงินเดือน การคำนวนภาษีและสวัสดิการต่างๆ โครงสร้างเงินเดือน การกำหนดผลตอบแทนต่างๆ รวมถึงรู้ให้ลึกถึงการกำหนดของข้อกฏหมายและลักษณะของการจ้างแต่ละแบบ การหักภาษี การคำนวนภาษี ตั้งแต่การทำสัญญาจ้าง การทำจ่ายเกษียณอายุ ปรับเงิน โบนัส รวมถึงกระบวนการจ่ายเลิกจ้างเป็นต้น

การทำงานด้านแรงงานสัมพันธ์ หากได้รับมอบหมายเหล่านี้ ก็นอกจากการทำกิจกรรม หรือการบริหารความสัมพันธ์พนักงานกับองค์กร เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีเท่านั้น เราคงต้องเข้าไปศึกษากฏหมายแรงงานต่างๆ การทำสัญญา ข้อตกลงหรือการทำเอกสารต่างๆ ของพนักงานกับองค์กร อีกทั้งการเลิกจ้างพนักงาน หรือบริหารสหภาพแรงงาน (ถ้ามี)

การทำงานกลยุทธ์และพัฒนาองค์กร หากได้รับมอบหมายงานเหล่านี้ นอกจากทำตามแผนที่ผู้บริหารกำหนดมาหรือได้ทำงานร่วมกับที่ปรึกษา (Consultant) เราอาจต้องเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมจากสิ่งที่ถูกมอบหมายและขอความรู้จากที่ปรึกษา เช่นการทำแบบสำรวจประเมินความพึงพอใจพนักงาน เราคงต้องเข้าไปดูว่าใช้ Model อะไร วัดผลอย่างไร หรือนำวิเคราะห์อะไร แล้วเราจะแก้ไขมันได้อย่างไร หรือแม้แต่การปรับโครงสร้างองค์กร ก็ต้องดูถึงผลกระทบต่อระบบงานว่าปรับแล้วงานจะเป็นอย่างไร จะไปอยู่ที่ไหน หรือขยายโครงสร้างคนจะเยอะเกินไป งานมีพอกับจำนวนที่รับคนหรือไม่

ซึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของงาน HR เพราะบางที บางจังหวะเราอาจไม่ได้ทำทุก Role ของงาน HR หรือ โชคดีหน่อยก็ได้ทำทุก Role แต่สิ่งสำคัญของงาน HR คือ “ประสบการณ์” ที่ได้ลงมือทำจริง ไม่ใช่เพียงการอ่านหนังสือหรือสอบถามจากคนอื่นแล้วจะทำงาน HR ได้ทันทีครับ

3. คุณรังษี กอวิวัฒนาการ Head of HR Operations บริษัทค้าปลีก

อยากจะบอกน้องๆที่เริ่มเข้าสู่สายอาชีพนี้ ลองถามตัวเองก่อนว่าเรามาทำตรงนี้เพราะอะไร อยากทำเพราะ

– ใฝ่ฝัน หมายถึง เป็นคนที่จะมีความมุ่งมั่นตั้งใจ และมีความชัดเจนในชีวิตมากจึงเลือกเรียนหรือเลือกงานสายนี้ ต้องขอแสดงความยินดีกับจุดเริ่มต้นกับงานในฝัน หากน้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจนมาถึงตรงนี้ บอกได้เลยว่าไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่จะขวางน้องๆได้ ซึ่งน่าจะเป็นคนจำนวนไม่มากนักในวงการ HR ที่อยู่กลุ่มนี้

– เผลอไผล  หมายถึงมาแบบงงๆ รู้ตัวอีกทีก็เข้ามาวงการ HR แล้ว อาจจะเริ่มจากฝ่ายสรรหา ฝึกอบรม และอื่นๆ  คนกลุ่มนี้น่าจะเป็นส่วนใหญ่ในวงการ หากเรารู้สึกว่าทุกวันที่ตื่นมาทำงานแล้วมีความสุข หรือหากอยู่ต่อไปก็ไม่ได้ทุกข์อะไร ถือว่าดี แต่หากต้องการเปลี่ยนจาก Good เป็น Great ต้องเติมความรู้ ความใส่ใจในตัวงาน อาจจะมาจากการเรียนรู้ ในตำราหรือจากประสบการณ์จริง จากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจะทำให้เราลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาด ลดการเสียเวลาไป เหลือแต่ความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จให้เลือกทำ

– พลาดพลั้ง คล้ายกลุ่มที่สองแต่ทุกวันที่ตื่นมาทำงานมีแต่ความทุกข์และไม่สนุกเลย กลุ่มนี้ลองถามตัวเราที่เราทุกข์หรือไม่สนุกเป็นเพราะอะไรกันแน่ ระหว่างเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือ ลักษณะงาน หากเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน อยากให้ลองปรับทัศนคติ ไม่มีที่ไหนที่ไม่มีปัญหาเรื่องนี้แม้นแต่เราเป็นเจ้าของกิจการเอง พยายามมองว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากเพื่อนร่วมงานหรือนายแบบนี้  แต่หากเป็นเพราะลักษณะงาน รู้สึกว่าไม่ใช่ตัวเรา ก็แยกย้ายเถอะครับ ลองตาหาความฝันที่จะเหมาะกับเรา “อย่าตัดสินปลาว่าไม่เก่ง แค่ว่ามันปีนต้นไม้ไม่ได้” ลองหาความถนัดของตัวเองแล้วเลือกทำ 

ความถนัดของคนสามารถแบ่งได้ 8 อย่าง (ทฤษฎีพหุปัญญา หรือ Theory of Multiple Intelligences) ลองไปค้นหาดูนะครับว่าคุณเป็นคนถนัดปัญญาแขนงไหน เช่น งาน HR นี่จะเป็น ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ เจตนาที่ซ่อนเร้น มีความไวในการสังเกตสีหน้า ท่าทาง อารมณ์ของคนอื่น และตอบสนองสิ่งเหล่านั้นได้เหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรองเก่งและชักจูงผู้อื่นได้ดี เป็นต้น

4. ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร วิทยากรที่ปรึกษา & ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงาน HRM & HRD & Learning Development

อยากบอก HR น้องใหม่ที่เพิ่มเริ่มต้นเข้าสู่วงการ HR การที่จะเติบโตและประสบความสำเร็จ ฝากไว้ซัก 5 ข้อค่ะ

  1. ขยันและอดทนให้มากกว่าคนอื่น รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน คิดก่อนพูดเสมอ เป็นแบบอย่างที่ดีในองค์กร

2.ให้ลืมคำว่า “งานนี้ทำไม่ได้” เพราะทุกงานคือครูที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

3.ปัญหาในงาน HR มีทุกวัน ต้องสร้างภูมิคุ้มกันด้านองค์ความรู้ให้กับตัวเองอยู่เสมอ พูดง่ายๆ คือต้องสะสมอาวุธทางปัญญา และพร้อมนำออกมาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่เบื่อที่จะต้องเรียนรู้พัฒนาในทุกๆวัน

4.พร้อมอุทิศตนให้กับงานและองค์กรด้วยความจริงใจ สร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับ แม้ไม่มีคำชมเชยก็ตาม เรียกว่าปิดทองหลังพระค่ะ บุญในงานจะเกื้อหนุนให้มีความสุข ความเจริญ

5.มีน้ำใจ และวาจาดี เป็นมิตรกับทุกคน สามารถเป็นผู้นำในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในองค์กร

5. ธีรพร บุนนาค Human Resource Director

  1. HR ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจธรรมชาติของคน เช่น พฤติกรรม ความต้องการ วิธีคิด ลักษณะนิสัย ฯลฯ
  2. ไม่ว่า HR จะทำอะไรก็ตามที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ ขอให้นึกไว้เสมอว่า ต้องมีคนได้มากกว่าคนเสีย
  3. การรับฟังเรื่องราวต่างๆ จากพนักงานทุกระดับ เป็นตัวกรองที่ดีในการส่งสารไปถึงนายจ้าง
  4. ความสัมพันธ์กับพนักงาน เนื่องจาก HR ถูกมองว่าเป็นตัวแทนบริษัทฯ ดังนั้นในหลายครั้งอาจมีนโยบายบางอย่างที่ลำบากใจในการสื่อสาร/ชี้แจง แต่หากมีความสัมพันธ์ที่ดีแล้ว การพูดคุยหรืออธิบายเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะง่ายยิ่งขึ้น
  5. HR มี 2 ร่างเสมอในทุกเรื่องที่ต้องทำ ครึ่งหนึ่งเป็นตัวแทนนายจ้าง อีกครึ่งเป็นตัวแทนลูกจ้าง จะทำอะไรต้องมองทั้ง 2 ด้านเสมอ
  6. การเก็บความลับ เพราะ HR จะได้รับรู้ความลับเสมอ นอกจากเรื่องของเงินเดือน ยังมีเรื่องของปัญหาส่วนตัวต่างๆที่เกิดขึ้น

6. ชัญญชิตา ศรีชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรสถาบัน DPeoplePlus

HR ใคร ๆ ก็เป็นได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเป็น HR ที่ดีและเป็นมืออาชีพได้ อยากถามก่อนบอกว่าให้แน่ใจว่า คุณ “มีใจ”กับงาน HR นั่นคือคุณมีใจรักที่จะทำงานกับคน ทำความเข้าใจคน และชอบเห็นการพัฒนาของคน ถ้าไม่ใช่ในช่วงแรกนี้คุณได้ทดลองเข้าไปสัมผัสงานแล้ว รีบ turn ไปแนวอื่นที่คุณคิดว่าใช่มากกว่า เพราะการทำงาน HR แล้วคุณเองไม่ได้มีใจ มันมิใช่ส่งผลเสียกับคุณคนเดียว มันส่งผลเสียต่อองค์กรและสังคมโดยรวมด้วย

การทำงานเป็น HR เป็นงานที่ต้องอาศัย ความ “มีใจ” มาก มีใจในการช่วยเหลือผู้อื่นและทำให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข มีใจในการพัฒนาเรียนรู้ตัวเองอยู่เสมอเพราะ HR Trend เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมโลก HR ต้องไวต่อการเรียนรู้ ปรับตัว เปลี่ยนแปลงให้ทันความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ มีใจ ในการทำความเข้าใจผู้อื่นและชอบผลักดันให้เขาแสดงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเพื่อสามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่ความเจริญก้าวหน้าและเป้าหมายที่สำเร็จขององค์กร

สิ่งที่จะช่วยให้ HR แข็งแรง เติบโตและประสบความสำเร็จนั้นคือคุณรักการเรียนรู้อยู่เสมอ และสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเอง มี Growth mindset และ Resilience ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ไหน HR ต้องฟื้นคืนไว ที่สำคัญคุณต้องรู้จริงในงาน เป็น Professional มืออาชีพและเป็นผู้รอบรู้ที่สามารถให้คำแนะนำคำปรึกษากับผู้บริหารได้ ซึ่งการที่จะเป็น HR ที่ประสบความสำเร็จ คุณต้อง Self -learning ,Self -organized and continuous self -development อยู่เสมอในทุกยุคทุกสมัยนั่นเอง

7. ปราการ วงษ์จำรัส Assistant Chief Executive Officer Human Resources

ขอแบ่งปันจากการเติบโตในสาย HR ครับ ถ้าจะให้เห็นภาพชัดๆ ผมขอแบ่งความเป็น HR ได้ 2 แบบ คือ แบบแรก เจ้ากรมระเบียบ กลุ่มนี้จะให้ตัวเองเป็น ผู้สร้างกฎ คุมกฎ ทำตามแบบแผน มีแค่คำว่า ได้ กับ ไม่ได้ หรือ ถูก กับ ผิด สร้างทุกอย่างรองรับตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะปฏิบัติกันมายาวนานแล้ว ดีแล้ว อาจมีปรับแต่งบ้างนิดหน่อยตามที่ผู้บริหารต้องการ HR กลุ่มนี้เติบโตได้ครับ มีอยู่มากเลยในหลายบริษัท HR ใหญ่มาก ทุกคนต้องให้ความเคารพ พนักงานจะเติบโตตามเกณฑ์ที่วางไว้อย่างดีแล้ว

ส่วน HR อีกกลุ่มคือวางตัวเองเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ สร้างสรรค์ทุกอย่างเพื่อสนับสนุนหน่วยธุรกิจให้ไปถึงเป้าหมาย มีส่วนร่วมในความสำเร็จ นำเสนอแนวทางช่องทางเพื่อทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่มีคุณค่ามากที่สุด HR จะ มองพนักงาานเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ วางบทบาทของตัวเองเป็นเหมือนลมใต้ปีกเสมอครับ

8. ปราโมทย์ ลาภธนวิรุฟห์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายแรงงานและการบริหารทรัพยากรบุคคล

จากประสบการณ์ทางด้านสายงาน HR ซึ่งงาน HR ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  

จึงขอฝากไว้สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าทำงานทางด้าน HR ว่างาน HR เป็นสิ่งที่มีความท้าทาย มีความซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น HR ที่ต้องการประสบความสำเร็จจะต้องมีการปรับตัวและการเรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีการพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ครับ

– ทักษะในสายงาน HR ด้านต่าง ๆ

– ทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

– ความรู้ในธุรกิจที่สามารถสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพ

– การยอมรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวอย่างรวดเร็ว

– การสร้างหรือการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานโดยฉีกกฎการทำงานแบบเดิม ๆ

สำหรับความคิดเห็นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ

สัมภาษณ์ ณัฏฐวัฒน์ วัฒนธเนศ, สัมภาษณ์​ Jenphob, สัมภาษณ์ HR Transformation9. ณัฏฐวัฒน์ วัฒนธเนศ Founder and Executive Consultant Jenphob

สายงาน HR อาจจะมองว่าเป็นงานเฉยๆ ไม่ได้หวือหวาหรือว่าน่าตื่นเต้นอะไร คำตอบนี้อาจจะจริงเมื่อ 10-20 ปี ที่แล้ว แต่สำหรับวันนี้และอนาคต HR เป็นอีกแรงหนี่งที่สำคัญมากๆในองค์กร สามารถทำให้โตเร็วแบบ x10 ได้ หรืออาจจะทำให้ตายไวแบบ x10 ได้เช่นกัน สิ่งที่สำคัญ มากๆที่ทำให้ HR เติบโตและประสบความสำเร็จได้ในยุคนี้ก็คือ

– รอบรู้เรื่องอื่นๆรอบๆตัว เช่น ธุรกิจ Finance เบื้องต้น จิตวิทยาองค์กร ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี ดิจิตอลมาเกตติ้ง และอีกสารพัด เพราะมันจะเอามาประกอบร่างกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้

– Mindset ที่พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมเรียนรู้จากข้อที่แล้ว และพร้อมที่จะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ

– logical thinking จริงๆไม่ใช่แค่ HR สิ่งนี้คนทำงานทุกคนควรมีด้วยเช่นกัน

– พื้นฐาน Data analysis อย่าบอกว่า HR ไม่เกี่ยวกับงานดาต้า จะพาไปชม HR Metrics รับรอง เก็บข้อมูลกันมันมือ

– พื้นฐานกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายแรงงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และธุรกิจที่ตัวเองอยู่

เป็น HR ที่จะโตในอนาคต ต้องเป็น HR แบบ 360 องศา คมรอบทิศ เฉียบรอบด้าน

10. วัฒนศักดิ์ วิบูลย์ชัยกุล นักพัฒนาองค์กรและทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในบริษัทก่อสร้างชั้นนำในประเทศไทย

การเติบโตในสายอาชีพทรัพยากรบุคคลในยุคปัจจุบันที่งานด้านคนได้ถูกคาดหวังว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจ ไม่ใช่แค่ทรัพยากรอีกต่อไป ดังนั้น HR สมัยใหม่จะต้องมีความรู้ลึก คือเชี่ยวชาญในศาสตร์ HR ของตนเอง และรู้กว้างคือมีประสบการณ์ มีความเข้าใจอุตสาหกรรม ธุรกิจ และโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงควรมีลักษณะที่จะเรียนรู้เป็น T-Shaped เป็นอย่างน้อย (หรือถ้าเป็น Phi-Shaped จะยิ่งดีขึ้นอีกมาก) ซึ่งการจะเลือกเรียนรู้ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยความรู้ในโลกปัจจุบัน จะต้องวางเป้าหมายของตนเองทั้งเป้าหมายการเติบโต และเป้าหมายในการพัฒนา โดยมีข้อแนะนำ 3 ข้อ คือ

1) การเข้าใจตัวเอง – ควรจะทบทวนทั้ง outside -in คือหา Feedback จากผู้อื่น และ inside out คือ ใช้ 5W1H ทบทวนสิ่งที่ตัวเองทำ/เรียนรู้ หรือวิธีที่เราตอบสนองต่อปัญหา คุณจะค้นพบ Pattern บางอย่างที่ซ่อนอยู่ในความต้องการของคุณ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปเป็นความต้องการในอนาคตของคุณ สไตล์การทำงานของคุณ คุณค่าที่คุณอยากยึดถือ

2) ใช้คำถามทบทวนตัวเองด้วยหลัก 3 O  – คุณต้องลองถามคำถามกับตัวเองบ้าง เพื่อเปิดภาพให้ชัดขึ้น โดยมีหลักง่ายๆคือ 3O คือ Open(คำถามปลายเปิด)/Ownership(คำถามที่สะท้อนภาพตนเองกับเป้าหมาย)/One-at-a-time (ถามทีละคำถาม ไม่ถามคำถามซ้อนคำถาม)

3) ฟัง inner coach ให้มากกว่า inner critics – ทุกๆคนก็ต่างมี inner critics ที่ทำหน้าที่เป็นนักวิจารณ์ และ inner coach ซึ่งเป็นคนที่จะให้กำลังใจเราให้ปรับปรุงตนเองเพื่อเดินทางก้าวหน้าไปในสายอาชีพ และถ้าหาก inner critics มีอำนาจเหนือคุณมาก จะทำให้คุณติดหล่ม วนคิดซ้ำๆว่าคุณทำไม่ได้ ฉะนั้นต้องเรียก inner coach ของตนเองซึ่งวิธีหนึ่งคือเรื่องใดก็ตามที่คุณได้สะท้อนหรือตอบออกมาแล้ว ลองคิดเหมือนว่าเราได้บอกเรื่องนี้กับเพื่อนสนิท และคิดว่าเขาจะตอบเราอย่างไรเพื่อเป็นการสะท้อนตัวเอง การสะท้อนตัวเองเหล่านี้จะช่วยให้เราได้มีโอกาสฟัง inner coach ของเรา และส่งเสริมให้เราได้กำลังใจที่จะปรับปรุงตนเองเพื่อไปต่อได้

สัมภาษณ์ ​พลกฤต โสลาพากุล coachphonkrit411. อ.พลกฤต โสลาพากุล Coach & HROD Mentor Certified OKR Professional by The KPI Institute, Lead Auditor ISO

จากประสบการณ์ของการทำงาน HR ของผมที่ผ่านมาหลายปี  อยากบอกกับคนที่ทำงานในสาย HR ว่าเป็นตำแหน่งงานที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว และใครมีโอกาสทำงาน HR สมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า HR ยุคดิจิตอล ถือว่าเป็นงานสำคัญอย่างยิ่งในองค์กร เพราะ HR สมัยนี้แตกต่างจาก HR สมัยก่อน อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะการที่ได้ดูแลคน ได้เห็นวิธีคิดของคนที่หลากหลาย ได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมาปรับใช้ในองค์กร เปรียบเหมือน Strategic Partner ช่วยให้พนักงานและองค์กรได้มีการปรับปรุงผลงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ร่วมคิด ร่วมปรึกษา ในฐานะผู้มีส่วนร่วม (Partnership) ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าในด้านผลงาน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญในงานของพนักงาน พัฒนาอาชีพ และพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมการสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจ

HR มือใหม่ จงสร้างเส้นทางของคุณเอง

จบไปแล้วกับคำแนะนำจาก HREX.asia Expert Partner ทั้ง 11 ท่าน ก่อนจากไปเราอยากเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่อยู่บนเส้นทางสายนี้ เพราะเราเองก็มีความเชื่อเช่นกันว่า HR เป็นงานที่มีบทบาทต่อคนจำนวนมากมายมหาศาล และเป็นสายงานที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อวงการธุรกิจอย่างคาดไหม่ถึง เราเองก็จะร่วมเดินทางไปบนเส้นทางสายนี้และจะพยายามทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้มาก่อนหน้าที่มีประสบการณ์เพื่อส่งต่อสิ่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับคนในแวดวง HR ต่อไป แล้วพบกันใหม่ 🙂

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง