Getlinks โต้คลื่นอย่างเฉิดฉาย ไม่ยอมจมหายไปในคลื่นเทคโนโลยีที่ถาโถมไปกับชุมชนคนสายพันธุ์ดิจิตอลที่เจ๋งที่สุดในไทย

ทำไม HR ถึงต้องสนใจ Talent สายเทคโนโลยี…คำตอบอย่างสั้นก็คือพวกเขาคืออนาคต

อ้างอิงจาก Emerging job report 2020 ที่จัดทำโดยหนึ่งในแพลตฟอร์มรวมคนทำงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั่นก็คือ Linkedin พบว่าอาชีพผุดใหม่มาแรงในปี้นี้ไม่ว่าจะดูเป็นประเทศไหน เราจะพบว่า 10 อันดับแรกล้วนเป็นอาชีพสายเทคโนโลยีเกือบส่วนใหญ่ ข้อมูลเหล่านี้กำลังสะท้อนอะไรถึงภาพของตลาดแรงงานระดับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป(ดู Report ได้ที่นี่)

HREX.asia จึงอยากชวนทุกท่านไปพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับคุณ พลภัทร ทรงธัมจิตติ  Co-Founder และ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (CMO) ของบริษัทสตาร์ทอัพที่นิยามตัวเองว่าเป็น “Opportunity match maker” ที่จะช่วยให้คนไทยมีโอกาสมากขึ้นที่จะก้าวเข้ามามีส่วนร่วมกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ผ่าน Platform สำหรับการจัดหาบุคลากรสาย Technology โดยเฉพาะ รวมถึงเป็น Community ที่จะช่วยให้คนในวงการและผู้ที่สนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และคุณค่าผ่านงาน Event ที่จัดอยู่เป็นประจำอีกด้วย

มื่ออ่านบทความนี้จบลงคุณจะเข้าใจทิศทางของตลาดแรงงานว่ากำลังขับเคลื่อนไปในทิศทางไหน ทำไมคนทำงานสายเทคโนโลยีจึงเป็นหนึ่งในสายงานที่ Sexy เร้าใจอย่างมากในศตวรรษนี้ และคนที่ทำงานในแวดวง HR ควรจะต้องมีวิธีคิดอย่างไรต่อการสรรหาและดึงดูด Talent กลุ่มนี้เข้ามา (แค่โต๊ะปิงปองกับสวัสดิการอาหารกลางวันฟรีมันไม่พอหรอกนะ)

สุดท้ายเราจะพูดถึง Mindset และวิธีการขั้นสุดยอดที่ Getlinks ใช้สร้างกลุ่มสังคมของคนสายเทคที่บริษัทของคุณสามารถนำไปประยุกต์ในการทำ ‘Digital Talent Transformation’ เพื่อติดจรวดให้กับคนในองค์กรของคุณ ก่อนจะแชร์เทคนิคปิดท้ายด้วยปรากฎการณ์แรงงานยุคใหม่ที่มีศักยภาพอย่างน่าเหลือเชื่อในการฉวยไว้ซึ่งโอกาส พวกเขาไม่จมหายไปกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงแห่งเทคโนโลยี ทว่าเลือกที่จะโต้คลื่นอย่างสง่างามแล้วบินร่อนไปยังอนาคตที่สดใส ซึ่งเป็นส่วนที่ทุกคนสามารถนำวิธีคิดเหล่านี้ไปใช้กับตัวเองได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะเป็น HR ผู้จัดการ ผู้นำขององค์กร หรือแม้กระทั่งคนทั่วไป บทความนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นปรากฎการณ์นี้อย่างรอบด้าน…เพื่อให้ทุกคนนั้นพร้อมที่จะโต้คลื่นไปด้วยกัน…Let’s Surf!

จาก Geek หัวฟูสู่คนสุดคูลที่ใครๆ ก็แย่งตัว

ช่วยอธิบายวิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานสายเทคโนโลยีในช่วงหลังมานี้ให้ฟังหน่อยครับ

ถ้าพูดในแง่ของลำดับความสำคัญ ตอนแรกในกลุ่มTechnology  เมื่อก่อนเราจะถูกเรียกว่า IT หรือถ้าหนักๆ หน่อยอาจจะถูกเรียกเป็น IT Support  แล้ววิวัฒนาการของมันก็คือจากเดิมที่เราเป็นกลุ่มที่เราเรียกว่า Minority คือไม่ได้เป็นกลุ่มส่วนใหญ่ประเทศไทยให้ความสำคัญมากนัก ก็กลายมาเป็นกลุ่มที่เป็น Majority มากขึ้น  เพราะฉะนั้น Demand มันจะสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ในมุมของ Supply ผมว่ามันมี Growth ในระดับที่ไม่เยอะมาก สองอย่างนี้มันเติบโตไม่ทันกัน ทำให้เกิดการแย่งตัวของคนทำงานกลุ่มนี้ขึ้นมา

อีกมุมหนึ่งในแง่ของโครงสร้างองค์กร เรามองว่าจากเดิม IT เป็นแค่ 1 ใน Vertical ของ Department ในองค์กร อย่างในบริษัทก็อาจจะแบ่งเป็น CEO, Marketing, HR, Operation แล้วก็เป็น IT…ทีนี้ IT ก็จะไป Support ทุกคน แต่ในปัจจุบันสิ่งที่เห็นก็คือตำแหน่ง IT มันเปลี่ยนแกนมาอยู่แนวนอน ความหมายคือมันจะเริ่มมี Impact กับทุกภาคส่วนขององค์กรอย่างแท้จริง แปลว่าทุกแผนกในปัจจุบันต้องเข้าถึง IT และมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองไป  ยกตัวอย่างเช่น Marketing เองก็ต้องกลายเป็น Digital marketing, HR เองก็ต้องเข้าใจใน Talent ให้มากขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนฝ่าย Operation เองก็ต้องใช้ Technology ในการบูรณาการเข้าไปสู่ Operation process

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจว่าบริษัททุกวันนี้ต้องการคนที่มีความสามารทางด้านเทคโนโลยีหรือดิจิตอลมากขึ้นไปเป็นเงาตามตัวเนื่องจากแทบทุกภาคส่วนขององค์กรต้องพึ่งพาทักษะด้านนี้มากขึ้นไม่มีข้อยกเว้น แม้แต่บริษัทที่เคยคิดว่าธุรกิจตัวเองไม่ได้อยู่ในธุรกิจเทคโนโลยีก็ตาม และจะเป็นใครล่ะที่จะทำหน้าสำคัญในการที่จะเสาะหาคนกลุ่มนี้มาร่วมงานด้วย…บุคคลนั้นก็คือ HR นั่นเอง…ทว่ามันก็ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายอย่างที่คิด

หวานเป็นลม ขมเป็นยา: กับคนสายเทคที่เป็นความท้าทายของ HR มาทุกยุคสมัย

คนกลุ่มนี้เป็นที่ต้องการอยู่แล้ว แต่กลับกลายเป็นว่า Recruiter เมื่อก่อนจะค่อนข้างลำบากใจที่จะส่งพนักงาน IT ไปสัมภาษณ์ เหตุผลด้วย 2-3 อย่าง อย่างแรกคือเค้าไม่รู้ว่าภาษาที่เค้าพูดน่ะ พูดอะไร เช่น คุณพูดหรือเขียนภาษาโปรแกรม Swift, C++, .net ซึ่ง Recruiter ส่วนใหญ่มีทักษะเป็น Sales ที่จะชวนคนมาร่วมงานกับองค์กร แต่เค้าจะไม่เข้าใจในเนื้องานว่าคนกลุ่มนี้ทำอะไรเป็นบ้างในเชิงเทคนิค เพราะฉะนั้นการที่เค้าส่งคนที่เค้าไม่รู้ว่าเก่งอะไรกันแน่ไปสัมภาษณ์เป็นความเสี่ยงสูงที่จะส่งคนผิดๆ ไปแล้วไม่ผ่านการสัมภาษณ์ อีกอย่างคือ Character ของกลุ่มคน IT  เมื่อก่อนมันดูแล้วจะรู้สึกไม่ Cool คือเค้าจะสัมภาษณ์ไม่เก่งแต่จะไปเก่งในเรื่องเชิงเทคนิค เพราะฉะนั้นมันเป็น Opportunity ของเราในการเห็น Weakness ของบริษัท HR เดิมที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเข้าถึงหรือเชี่ยวชาญในการเข้าใจกลุ่มบุคลากรที่เป็น Minority กลุ่มนี้ บริษัทเราก็เลยเห็น Opportunity เมื่อ 5 ปีที่แล้วว่า ทำไมไม่มีคนส่งบุคลากรที่เราคิดว่าเป็นอนาคตขนาดนี้ไปเลย เราก็เลยสร้าง Platform ที่ไม่ใช่แค่การจัดหาบุคลากรแต่สร้าง Community ของกลุ่มนี้ด้วย เพราะเราเชื่อว่ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สร้างอนาคต

จนมีช่วงนึงที่เราใช้ Slogan ของบริษัทว่า “Geek is a new sexy” เพราะว่าคนที่เป็นคนใส่แว่น ใส่กระเป๋าเป้ แต่งตัวไม่ค่อยจะเป็น อะไรแบบนี้ พวกเขาจะกลายเป็นคนที่มี Demand เยอะที่สุดใน Generation หน้า ถ้าเราเข้าใจอนาคตแล้วเห็นว่ามันน่าจะถูกต้อง อนาคตก็ถูกดึงดูดเข้ามาหาเรา มันเริ่มจาก Insight ตรงนั้นแล้วก็ค่อยๆ ต่อยอดมาเป็น Getlinks ที่เห็นในปัจจุบัน

ในมุมของบริษัท คนกลุ่มนี้เป็นเหมือนทองคำในพ.ศ.นี้อยู่แล้ว นั่นทำให้หลายๆ คนที่ทำงานอยู่สายงานนี้ได้ค่าตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยและหางานได้ง่ายกว่าอุตสาหกรรมอื่น ทั้งนี้จากประสบการณ์ของคุณพลภัทรที่ได้พบมามากเห็นมามาก สิ่งหนึ่งที่ผลักดันเขาอย่างมากคือการที่เขาเขาได้เห็น ‘ช่องว่าง’ ของแรงงานกลุ่มนี้ในไทยที่(น่าจะ)สามารถพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้

อัพสกิลอีกนิด คิดพัฒนาอีกสักหน่อย จะกลายเป็นทองคำแท้ที่ใครๆ ต่างต้องการ

อยากจะพูดสะท้อนกลับไปหา Talent เพราะพวกเขาเป็นขุมกำลังที่ชัดเจนที่สุดแล้วในอุตสาหกรรมนี้…สำหรับ Talent ในไทยเท่าที่ผมมีโอกาสได้สังเกตมา อาจจะต่างจากเวียดนาม คือเวียดนามเค้ามีคนเกรด C หรือไม่ก็เกรด A+ ไปเลย จะไม่ค่อยมี Gap ตรงกลาง แต่ประเทศไทยในมุมที่สะท้อนกลับมาจะมีบุคลากรในระดับ B และ B+ เยอะมากซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพระดับ Mid-level ถ้าหันไปดูเวียดนามในระดับ C คือพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เขียนโปรแกรมได้ระดับหนึ่ง แต่ถือว่ายังไม่เก่ง ส่วน A+ คือ ภาษาอังกฤษได้ ทำงานระดับ International สามารถเขียนโปรแกรมระดับ Silicon valley แล้วก็มีสกิลที่ค่อนข้างสูง

ส่วนของไทยที่บอกว่าเป็นกลุ่ม B และ B+ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่เก่งในระดับหนึ่งแล้วก็ใช้โอกาสในการขายตัวเองจากเทรนด์ที่เป็นสายงานที่มีความต้องการสูงในช่วงที่ผ่านมา แต่ว่าสุดท้ายแล้วคนกลุ่มนี้อาจจะยังไม่ได้ถึงกับเป็นระดับที่จะสามารถพัฒนาไปเป็นผู้บริหารแล้วก็กลายเป็น Leader ในสาย Technology ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากบอก Talent ในปัจจุบันก็คืออยากให้คุณพัฒนาศักยภาพให้สุดไปเลย

Gap ตรงนั้นคืออะไรบ้าง แล้วเค้าจะพัฒนาตัวเองเพื่อไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร

อย่างแรกเลย คือภาษาอังกฤษ ประเทศไทยมองว่าถ้าคนเป็น Developer, Designer อาจจะไม่ต้องพูดเยอะก็ได้แต่จริงๆ แล้วถ้าคุณอยากจะทำงานในระดับอินเตอร์มันเป็นสิ่งจำเป็น

อันที่สอง เป็นเรื่องสกิล เราอยากให้เพิ่ม Gap ไปเลยจนกลายเป็นระดับที่เราเรียกว่า Regional level player คือเป็นคนที่สามารถทำ Application หรือว่ามีสกิลด้านนี้ที่ไปแข่งกับประเทศหลายๆ ประเทศได้

อันที่สาม จะเป็นเรื่อง Communication skill  คือเราต้องมีการสื่อสารกับคนภายในองค์กร เช่น ถ้าผมเจอ Developer ในยุคปัจจุบัน ผมอาจจะ Expect skill ที่คุณสามารถเป็น Product management ได้ด้วย (ความหมายคือความสามารถที่จะดูตัวโปรดักทางสายดิจิตอลได้อย่างครบลูปทั้งหมด) ไม่ใช่ว่าคุณทำได้แค่เขียนโปรแกรมตามคำสั่งสั่ง

คุณพลภัทรเล่าต่อว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามสามารถผลิตคนที่มีความสามารถในสายเทคโนโลยีออกมาได้มากถึงปีละประมาณ 80,000-100,000 คน เมื่อเทียบกับไทยเราที่ผลิตได้แค่ 20,000-30,000 จึงเกิดคำถามที่น่าสนใจตามมาว่าในตลาดแรงงานที่มีความเข้มข้นในการใฝ่หา Digital Talent เช่นนี้ ฟากฝั่งนายจ้างจะมีวิธีการอย่างไรที่จะดึงดูดคนกลุ่มนี้ให้เข้ามาร่วมงานด้วย

Talent War: สงครามด้านการแย่งชิงบุคลากร (ไม่แตกต่างก็แพ้ไป)

แรงงานสายดิจิตอลขึ้นชื่อว่ามีการแย่งตัวเกิดขึ้นรุนแรงที่สุด บริษัทจะมีวิธีอย่างไรที่จะได้คนเก่งๆ สายเทคโนโลยีมาทำงานด้วย

ผมเชื่อในเรื่องของ Golden hand ซึ่งมันคือหลักเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายไว้ว่าทุกอย่างจะปรับเข้าสู่จุดสมดุล ในปัจจุบันมันมีกับดักของ Entrepreneur อยู่เรื่องหนึ่งคือมันมีข่าวดีแล้วข่าวร้ายอยู่ในข่าวเดียวกัน ข่าวดีก็คือทุกวันนี้เราเริ่มสร้างบริษัทง่ายกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้วมากเลย ถ้าเราอยากจะเริ่มทำบริษัทซักบริษัทหนึ่ง  ถ้าเอาจริงๆ อาจจะใช้เวลาประมาน 1 วัน มาถึงก็สร้าง Facebook page ขายของวันนี้ได้เลย เทียบกับเมื่อก่อนมันยากกว่านี้เยอะ กว่าจะหาฐานลูกค้า กว่าจะไปกินข้าวกัน กว่าจะรู้จัก Network ลูกค้านู่นนี่ แต่ในอีกแง่มันก็เป็น Bad news เช่นกันเพราะว่าธุรกิจหลายๆ อันสร้างโดยที่ไม่ได้คิดอะไรเลย เช่น ยุคใหม่เปิดร้านกาแฟ อาจจะคิดว่าง่ายดี มีเงินซักแสนนึง เช่าที่เปิดร้านได้เลย ซึ่งก็เป็น Passion อยู่แล้ว พอเป็นธุรกิจที่เข้าง่ายส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างหรือสร้าง Vision หรือ Mission ที่แตกต่างของกลุ่มธุรกิจตั้งแต่ Day 1 พอไม่สร้างความแตกต่างมันไม่มีการดึงดูด Talent เลยทันที

มันก็จะเป็นแค่ 1 ในร้านกาแฟ, เป็นแค่ 1 ใน Startup, เป็นแค่ 1 ใน Application, เป็นแค่ 1 ใน Whatever ตั้งแต่จุดตั้งต้นเลย

ทำไมความแตกต่างของธุรกิจถึงไปเกี่ยวข้องกับการดึงดูด Talent

ผมเชื่อเรื่องแก่นเพราะสุดท้ายเราต้องกลับไปที่ตัวบนสุดของ Pyramid เสมอว่าบริษัทเราเนี่ย Actually ทำอะไรแค่ 1 ประโยค เช่น ทำไมผมพูดให้คุณฟังก่อนว่า Getlinks คืออะไร เพราะว่าเราชัดเจนว่า Differentiation ของเราคือเก่งเรื่อง Tech มาก เป็น Number 1 แม้ว่ามันจะเป็น Sub-segment ที่เล็กกว่าธุรกิจ Hiring ใหญ่ก็ตาม แต่มันชัดเจนว่าอันนี้เราสร้างมันตั้งแต่ Day 1

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ Talent war มันจะถูกเบาบางลงเพราะว่าความแตกต่างของกลุ่มธุรกิจเราชัดเจนขึ้น มันก็จะดึงดูดกล่มบุคลากรที่แตกต่างอย่างเช่น กลุ่มของเราเนี่ยก็จะมีกลุ่มบุคลากรที่ไหลมาจากองค์กรเก่าทางด้าน Hiring ค่อนข้างเยอะ แต่มี Mindset ที่ค่อนข้างเร็วกว่าองค์กรเก่า แล้วก็เป็นเด็กยุคใหม่ที่เขาชอบความท้าทายในการช่วยเหลือบุคลากร เพราะอย่างนั้นถ้าคุณมาทำที่นี่คุณจะไม่ได้ทำแค่การจัดจ้างบุคลากร แต่คุณจะเป็น Coach ไปในตัวด้วยในการช่วยเหลือแนะนำเพื่อเตรียมตัวเขาให้พร้อมที่สุดในการสัมภาษณ์ เพราะฉะนั้นถ้าคุณจับ  Nich และมี positioning ของตัวเองที่ชัดเจนมาตั้งแต่ต้น มันจะช่วยให้เราสร้างวิธีการดึงดูด Talent ที่เรามีโอกาสที่จะชนะได้ คำตอบโดยสรุปของผมคือ Talent war จะเกิดขึ้นมากเฉพาะในกลุ่มที่บริษัทที่ไม่มีความแตกต่าง

แล้วในมุมของบริษัทที่ไม่ได้ออกแบบหรือมีวัฒนธรรมแบบนั้นมาตั้งแต่ต้นจะสามารถสื่อสารออกไปภายนอกเพื่อให้ดึงดูด Talent ได้อย่างไรบ้าง

ผมว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับการสื่อสารโดยตรงขนาดนั้น สิ่งที่ผมเชื่อก็คือคนในองค์กรปัจจุบันก็เหมือนกับ Product นะ คือถ้า Product มันดีมันก็ดึงดูดอะไรบางอย่างเข้ามาโดยตัวมันเอง เพราะฉะนั้นในการปรับมันต้องเริ่มจากคนภายในก่อน โดยเริ่มจากการปรับ Vision เลย เช่น สมมติคุณเป็นบริษัทมีเดีย มันไม่มีใครที่อยากทำบริษัทมีเดียที่เป็น Offline แล้วไง ต่อให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่นี้ถ้าคุณไม่เปลี่ยน Vision หรือคุณไม่มี Business unit ที่เปลี่ยน Vision ให้ Sync กับอนาคตได้ โอกาสที่จะได้ดึงดูดมันหมดตั้งแต่ต้นละ คุณไม่มีโอกาสตั้งแต่ต้นแล้วไม่ว่าคุณจะการตลาดดีแค่ไหน หรือจะจ่ายเงินให้คนมา Interview มันไม่มีโอกาสเลยนะ ผมเชื่อเรื่องแก่น คือถ้าสมมติว่าคุณลงไปถึงแก่นได้จริงๆ  มันสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าคุณบอกว่าเราจะต้องทำ PR ผมว่ามันเป็นการเสแสร้งที่ได้ผลไม่ยั่งยืน

เมื่อพูดถึงเรื่องของการดึงดูด Talent ทำให้เราหวนคิดไปถึงนิยามคุณพลภัทรบอกเราไว้ตั้งแต่ตอนต้นของการสัมภาษณ์ที่ว่า “Getlinks เป็น Community ของบุคลากรของสาย Technology” ซึ่งเอาเข้าจริงก็น่าสนใจว่าเหตุใดบริษัทจัดหางานสายเทคโนโลยีถึงเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับคำว่า Community แล้วมันเกี่ยวข้องอย่างไรกับการดึงดูด Talent
ซึ่งคุณพลภัทรก็ได้อธิบายต่อไปถึงเหตุผลที่  Getlinks ให้ความสำคัญกับการสร้าง Community  เป็นอย่างมาก เพราะสายตาที่เล็งเห็นแล้วสถานการณ์ตลาดในประเทศไทยตอนนี้สิ่งที่กำลังเป็นปัญหาไม่ใช่เรื่องของ Demand ซึ่งโตขึ้นตลอดเวลา ทว่าเป็นเรื่องของ Supply ของตัว Talent ที่ยังมีอยู่น้อยซึ่งหนึ่งในวิธีการที่เลือกใช้คือการพยายาม ‘สร้างพื้นที่’ ให้กับคนกลุ่มนี้ได้มารวมตัวและส่งต่อคุณค่าให้แก่กันและกัน

Community is the way.

ตลาดแรงงานแม้ว่าอาจจะดู Uncertainty คือไม่แน่ใจว่าจะไปทางไหน แต่ว่าถ้าถามว่าบุคลากรสาย Tech ยังเป็นที่ต้องการอยู่มั้ย คำตอบคือความต้องการแทบจะโตขึ้น 20, 30, 40% ทุกปี และถ้าความต้องการมันมากขึ้นเรื่อยๆ ความท้าทายที่เราเจอมันกลายเป็นเรื่องของการหา Supply ให้เพียงพอมากกว่า  เพราะฉะนั้นมันเหมือนว่าเรามีบริษัทที่ต้องการบุคลากรเยอะแต่ว่าเราผลิตไม่ทัน สำหรับผมมันเป็นปัญหาที่ท้าทาย และดีมากๆ ในการช่วยสร้างบุคลากรยุคใหม่ด้วย เพราะฉะนั้นในปีที่แล้วเนี่ยมันอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่โอเคกับการจับ Match ระหว่าง Talent กับองค์กร แต่ในปีนี้เราต้องมาพัฒนาด้าน Academy ที่มีการ Reskill กับ Upskill ให้มากขึ้น เพื่อให้บุคลากรทั้งภายในและภายนอกเกิด Supply ที่เพียงพอ

เราก็เลยมุ้งเน้นธีม Community มากขึ้นในปีนี้เพื่อให้ความรู้บุคลากรเพื่อ Inspire พวกเค้า อย่างอาทิตย์ที่แล้วเพิ่งจัด UX/UI ไป โดยจะเป็น Workshop Free เลย โดยที่เรา Co กับทางด้านองค์กรเอกชน เค้าก็อยากจัดให้ฟรีเหมือนกัน เค้า Provide สถานที่ทั้งหมด เราชวนคนทั้งหมดของเรามาเกิดเป็น Community ที่น่าสนใจ แล้วเราก็แค่บอกให้เรารู้ว่าเรามี Service ในเรื่องของการจับ Match บุคลากรอย่างคุณซึ่งเป็นผู้มีทักษะที่ยอดเยี่ยม แล้วก็ตรงนั้นเนี่ยเราให้บริการฟรีเพราะว่าคุณมีคุณค่าเพียงพอที่บริษัทจะมีค่า Fee และส่งมาให้เรา เพื่อที่จะจัดบุคลากรที่ดีที่สุดอย่างคุณออกไปให้เค้า เพราะฉะนั้นในมุมบุคลากรเค้าจะได้กับได้ทุกอย่างแบบฟรีๆ ไม่เสียอะไรเลย เพราะผมเชื่อว่าคุณค่าของ Tech talent ในปัจจุบันและอนาคตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มันเคยมีถึงจุดนึงที่ มีคนเคยจ่ายเงินให้ Candidate ไปสัมภาษณ์ พอเข้าใจใช่มั้ยเพราะว่ามันขาดแคลนมากๆ

เพราะฉะนั้นในภาวะแบบนี้ เราชัดเจนว่าเราให้เกียรติ Talent ของเราใน Platform มากที่สุด ก็เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเรามี Positioning เป็น Community แล้วก็มีการจัดสอนเป็น Academy ด้วย เพราะเราเชื่อเรื่อง Supply ที่ขาด แล้วสุดท้ายเผื่อว่าวันหนึ่งเค้ากลับมาเจอเราใน Platform ก็จะได้ Match กับงานที่ใช่และเป็นงานในฝันของเค้า ซึ่งแบบนี้มันเป็นธุรกิจในฝันเลยนะ เพราะเรามีโอกาสได้ช่วยคนอื่นด้วย มีโอกาสได้สร้าง Community ที่เราสามารถทำกำไรและก็ช่วยคนไปด้วยพร้อมๆ กัน

การที่ Getlinks เองได้สร้างรวงรังแห่งโอกาสผ่านงานอีเวนท์ต่างๆ ทำให้มีคนจำนวนหนึ่งที่คุณพลภัทรเรียกว่า Adaptive talent…คนกลุ่มนี้คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูงและมีความสามารถในการปรับตัวเป็นยอดซึ่งได้ก้าวข้ามวุฒิการศึกษาที่ตัวเองเรียนจบมา พวกเขาข้ามเส้นแบ่งที่สังคมเคยบอกไว้เพื่อไขว่คว้าโอกาสทางอาชีพที่เป็นอนาคตของโลกและตัวเขาเอง…ผมจึงตัดสินใจเลือกคำถามที่อ้างอิงมาจากตัวเองซึ่งก็ถือว่าเป็นหนึ่งคนที่สนใจงานในสายเทคโนโลยีเช่นกัน

Adaptive Talent: นักรบกระโดดข้ามสาย (จบไม่ตรงแล้วยังไง)

สมมติว่าผมเป็นคนที่เห็นโอกาสว่าตอนนี้สาย Tech มันมาแล้วจริงๆ แล้วก็อยากจะเอาตัวเองเข้าไปในวงการ Tech แม้ไม่ได้จบสายนี้มาโดยตรง…คิดอย่างไรกับคนที่เห็นโอกาสตรงนี้แล้วพยายามอยากเข้ามามีส่วนร่วมบ้างครับ

ผมเชื่อในเรื่องของ Adaptive talent ผมไม่เชื่อเรื่อง Disruptive เพราะมันเหมือนมองออกไปตรงนี้แล้วทุกอย่างโดนโค่น แล้วก็ปลูกต้นไม้ใหม่ขึ้นมา คือมันเหมือนหุ่นยนต์บุกโลกล้างโลกแล้วทำใหม่ แตผมเชื่อเรื่องการปรับตัวมากกว่า เป็นการเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้ากับสีที่กำลังจะมา เป็นการ Ride the wave เป็นการเห็นอนาคตแล้วบอกว่านี่คืออนาคต จากนั้นก็ทำใจ, เข้าใจ, Aware แล้วก็วิ่งตามอนาคต

เพราะฉะนั้น Adaptive talent เป็นเรื่องหนึ่งที่เราสนใจและอยู่ในหัวผมมาตลอด ถ้าให้สรุปอย่างง่าย Adaptive talent ก็คือกลุ่มบุคลากรที่ไม่ว่าจะมาจากสายไหนก็ตาม แต่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์และอนาคต รู้จักการเปลี่ยนแปลงในทุกเชิง ไม่ว่าจะเป็น เชิง Skill เชิง Industry เชิง Environment หรือเชิงเศรษฐกิจก็ตาม เพื่อให้ตนเองสามารถอยู่รอดได้อย่างมีคุณค่ามากที่สุด

ผมขอยกตัวอย่างแล้วกันนะครับ จะมีน้อง Intern เข้ามาฝึกงาน เริ่มต้นจากการเป็น Operation manager ทำทุกอย่าง แล้วก็เริ่มมาจัด Events สาย Tech แล้วก็เริ่มผันตัวมาเรียนรู้ Digital marketing แล้วตอนสุดท้าย ถ้าคนที่รู้ Digital marketing ลึกๆ เค้าจะต้องทำในเรื่องของข้อมูล Data ค่อนข้างเยอะ สุดท้ายเค้าจบในทีม Data แล้วเป็นคนที่รัน Dashboard หลังบ้านทุกอย่างทั้งหมด ซึ่งความรู้ที่เค้าได้เกิดจาก On the job training ที่เรียนรู้จากคนภายใน แล้วทุกอย่างเกิดขึ้นภายใน 2 ปีครึ่ง มันก็เลยเป็นการปรับตัวที่น่าสนใจมาก แล้วด้วยความที่น้องก็น้องเรียนสถิติมาก่อน ก็ทำให้สามารถประยุกต์ใช้พื้นฐานความรู้ตรงนั้นมาได้เป็นอย่างดี

ที่นี้ในมุมของบุคลากรที่ยังเฉื่อยอยู่ แล้วยังไม่มีโอกาสได้เริ่มต้นในปรับตัวเข้าสู่ หรือทำให้ตัวเองเป็น Adaptive talent  ผมแนะนำว่าให้เอาขาข้างนึงจุ่มไปก่อน มันไม่มีอะไรเสียสำหรับ Tech หรอก แต่หลายคนมันจะมีนิยามในหัวสั้นๆว่า Tech เท่ากับยาก เท่ากับ Complicated เท่ากับ Complex ผมว่านิยามเหล่านั้นต้องเอาออกไปได้แล้ว คุณต้องลองเอาตัวเองเข้าไปจุ่มใน Community ลอง Learn skills ใหม่ๆ ลองไปเจอคนใหม่ๆ แล้วคุณจะถูก Adapt ไปเองด้วยพันธนาการของการที่อยู่ใน Community นั้นๆ

Zero to one: What is important truth do very few people agree with you on ?

อ้างอิงจากหนังสือเรื่อง Zero to one จะมีคำถามเพื่อใช้ค้นหาความเชื่อที่สดใหม่ถอดด้ามที่อาจจะเปลี่ยนโลกได้ด้วยคำถามที่ว่า “คุณเห็นอะไรในตอนนี้ที่คนในสังคมยังไม่ค่อยคิดหรือเชื่อว่ามันเป็นความจริง แต่เราเห็นแล้วว่ามันคือโอกาส แม้จะขัดกับคนอื่นๆ” อยากทราบว่าในมุมของ Getlinks ความเชื่อนั้นคืออะไร

คือเราเห็นมา 5 ปีแล้วนะ คือเราเห็นว่า Technology จะสร้างโลกใบใหม่นะครับ เพราะงั้นเราก็เลยเชื่อว่ากลุ่มบุคลากรยุคใหม่ที่เป็น Geek เนี่ย is the new sexy.  แต่ว่าสิ่งที่เราพยายามจะเชื่อแล้วก็พยายามที่จะสร้าง based ตามความเชื่อนี้คือการที่เราสร้างหน่วยขยายและสร้างความชัดเจนในคำที่เรียกว่าโอกาส ว่าจริงๆ แล้วเราคือ Opportunity match maker โดยเราเริ่มอย่างชัดเจนจากเรื่องของการ Match งานให้คนก่อน เมื่อคุณได้รับงานนั่นคือการที่คุณได้รับโอกาส จากนั้นเราก็มาเริ่ม Match ในเรื่องของการเรียนรู้และความรู้ผ่าน Community ผ่าน Academy ของเรา แล้วตอนนี้เราก็เริ่มพัฒนามา Match ในเรื่องของการ Networking มาเจอเพื่อนใหม่ๆ สังคมใหม่ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนคุณค่าให้แก่กัน

จะเห็นว่าสุดท้ายทั้งหมดนี้ก็จะถูกโยงกลับมาที่คำว่า โอกาส เพราะเราเชื่อว่าโอกาสจะมีค่ามากขึ้นในโลกอนาคต เราเชื่อว่ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีพลังมากขึ้นเรื่อยๆ จนวันนึงมันอาจจะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ไป…สรุปอย่างง่ายก็คือเราเป็นนักสร้างโอกาสให้กับบุคลากรทาง Technology ยุคใหม่เท่านั้นเอง

ในมุมเรา…เราเชื่อในเรื่องของ ‘ต้นน้ำ’ ว่าถ้าเราสามารถให้ Value มากที่สุดกับสิ่งที่เป็นต้นน้ำซึ่งก็คือ Human Resource หรือตัวคนได้  เราเชื่อว่าสิ่งที่เป็น ‘ปลายน้ำ’ ที่อยู่ใน Supply chain ต่อๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น บริษัท หรือ Consumer ก็จะได้ Value ที่ไหลมาจากจากต้นน้ำตามไปด้วยในที่สุด

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง