Disneyland สวนสนุกระดับโลกมีวิธีสรรหาและบริหารคนอย่างไร

HIGHLIGHT 

  • ดิสนีย์แลนด์คือสวนสนุกระดับโลกที่ได้ชื่อว่าเป็น​ “ดินแดนแห่งความฝัน” มีพนักงานรวมกว่า 130,000 คน กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ทำให้เกิดคำถามว่าดิสนีย์สามารถบริหารทรัพยากรบุคคลที่มากขนาดนี้ให้มีทัศนคติเดียวกัน และทำสวัสดิการให้คนส่วนมากพอใจได้อย่างไร
  • ดิสนีย์เชื่อว่าคนคือผู้สร้างสถานที่และไม่ว่าผู้บริหารจะมีมุมมองที่สวยหรูเพียงใด แต่ถ้าคนไม่มีความพร้อมในการนำเสนอแผนงานนั้น ดิสนีย์แลนด์ก็จะไม่มีวันเป็นจริง ดังนั้นดิสนีย์จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนอย่างเข้มข้นโดยตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้เหนือกว่าที่คนทั่วไปคาดหวังเท่านั้น
  • ดิสนีย์แลนด์ต้องการให้คนรู้ว่าแม้ภาพแสดงภายนอกจะสวยงามแค่ไหน แต่จริง ๆ ดิสนีย์แลนด์ก็คือองค์กรหนึ่งที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และสิ่งที่บางคนชอบ อาจเป็นสิ่งที่อีกคนไม่ชอบก็ได้ ดังนั้นดิสนีย์จะชี้ให้ผู้สมัครงานเห็นองค์กรในทุกแง่มุมเพื่อป้องกันการผิดหวังซึ่งอาจนำไปสู่การลาออกและทำให้บริษัทต้องเสียทรัพยากรเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
  • บริษัททั่วไปสามารถนำมุมมองของดิสนีย์แลนด์มาปรับใช้ได้เลย เพราะที่นี่ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่การเป็นสวนสนุกเท่านั้น แต่เป็นเหมือน “เมืองตัวอย่าง” ที่ตอบเราว่าการบริหารคนให้ดีจะทำให้เกิดความสุขได้อย่างไร

Disneyland สวนสนุกระดับโลกมีวิธีสรรหาและบริหารคนอย่างไร HIGHLIGHTS ดิสนีย์แลนด์คือสวนสนุกระดับโลกที่ได้ชื่อว่าเป็น​ “ดินแดนแห่งความฝัน” มีพนักงานรวมกว่า 130,000 คน กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ทำให้เกิดคำถามว่าดิสนีย์สามารถบริหารทรัพยากรบุคคลที่มากขนาดนี้ให้มีทัศนคติเดียวกัน และทำสวัสดิการให้คนส่วนมากพอใจได้อย่างไร ดิสนีย์เชื่อว่าคนคือผู้สร้างสถานที่และไม่ว่าผู้บริหารจะมีมุมมองที่สวยหรูเพียงใด แต่ถ้าคนไม่มีความพร้อมในการนำเสนอแผนงานนั้น ดิสนีย์แลนด์ก็จะไม่มีวันเป็นจริง ดังนั้นดิสนีย์จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนอย่างเข้มข้นโดยตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้เหนือกว่าที่คนทั่วไปคาดหวังเท่านั้น ดิสนีย์แลนด์ต้องการให้คนรู้ว่าแม้ภาพแสดงภายนอกจะสวยงามแค่ไหน แต่จริง ๆ ดิสนีย์แลนด์ก็คือองค์กรหนึ่งที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และสิ่งที่บางคนชอบ อาจเป็นสิ่งที่อีกคนไม่ชอบก็ได้ ดังนั้นดิสนีย์จะชี้ให้ผู้สมัครงานเห็นองค์กรในทุกแง่มุมเพื่อป้องกันการผิดหวังซึ่งอาจนำไปสู่การลาออกและทำให้บริษัทต้องเสียทรัพยากรเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น บริษัททั่วไปสามารถนำมุมมองของดิสนีย์แลนด์มาปรับใช้ได้เลย เพราะที่นี่ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่การเป็นสวนสนุกเท่านั้น แต่เป็นเหมือน “เมืองตัวอย่าง” ที่ตอบเราว่าการบริหารคนให้ดีจะทำให้เกิดความสุขได้อย่างไร ถ้าพูดถึงคำว่าสวนสนุกระดับโลกที่ใคร ๆ ก็ฝันอยากจะไปเยือนสักครั้ง เราเชื่อว่าชื่อของดิสนีย์แลนด์ (Disneyland) สวนสนุกที่ได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งความฝัน” ย่อมถูกพูดถึงเป็นชื่อแรก ๆ แน่นอน ทั้งด้วยความแข็งแรงของตัวละครอย่างมิกกี้ เมาส์, มินนี่ เมาส์, โดนัลด์ ดั๊ก และอีกมากมายที่เติบโตมาพร้อมกับวัยเด็กของเรา ตลอดจนเครื่องเล่นระดับโลกที่ถ่ายทอดออกมาอย่างตื่นเต้นเร้าใจจนถูกนำไปต่อยอดเป็นภาพยนตร์อย่าง The Pirates of the Caribbean เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เราต้องมาตั้งคำถามว่าดิสนีย์สามารถเปลี่ยนสวนสนุกที่ดูเป็นเรื่องของเด็กให้กลายเป็นชุมชนของคนทุกเพศทุกวัยได้อย่างไร ตลอดจนมีเคล็ดลับใดบ้างที่ถูกนำมาใช้เพื่อคงความพิเศษของดินแดนแห่งนี้ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ดิสนีย์แลนด์คือธุรกิจที่แตกต่างจากองค์กรที่เราเห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาด ดังนั้นการศึกษากลยุทธ์ของพวกเขาจึงเป็นประโยชน์ต่อทีม HR ที่อยากหากฎเกณฑ์, สวัสดิการ รวมถึงนโยบายใหม่ ๆ มาปรับใช้ภายในองค์กร ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเคยสัมผัสเสน่ห์ของสวนสนุกระดับโลกนี้ด้วยตัวเองหรือไม่ เราก็ขอชวนคุณมาร่วมเดินทางไปสู่โลกของดิสนีย์แลนด์พร้อม ๆ กัน ณ บัดนี้ ! <!--TOC--> ดิสนีย์แลนด์ (Disneyland) มีวิธีสรรหาบุคลากรอย่างไร มีคำกล่าวว่า “คนคือผู้สร้างสถานที่” ซึ่งประโยคนี้เหมาะสมกับดิสนีย์แลนด์เป็นอย่างยิ่ง เพราะปกติแล้วเป้าหมายของคนที่มาสวนสนุกคือการปลดปล่อยความเครียดให้มากที่สุด ดังนั้นทุกคนจึงคาดหวังการบริการที่ดีชนิดที่หาไม่ได้จากแหล่งอื่น ซึ่งแปลว่าหากพนักงานของดิสนีย์แลนด์ไม่สามารถทำได้ตามที่ถูกคาดหวัง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้คนจะหันไปใช้ทางเลือกเพื่อสร้างความสุขจากที่อื่น ไม่จำเป็นต้องเสียเงินแพง ๆ กับบริการที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ดิสนีย์แลนด์เข้าใจถึงความต้องการข้อนี้ดีจึงให้ความสำคัญกับการสรรหาบุคลากรอย่างเข้มข้น ซึ่งเราแบ่งหัวข้อการเรียนรู้ได้เป็น 4 ประเด็นดังต่อไปนี้ ดิสนีย์แลนด์จะให้ความสำคัญกับตัวตนของพนักงานมากที่สุด บริษัทระดับโลกส่วนใหญ่มักใช้คำถามยาก ๆ เพื่อให้พนักงานได้แสดงฝีมือออกมามากที่สุด แต่ที่ดิสนีย์นั้นพวกเขาให้ความสำคัญกับความเป็นตัวของตัวเองของพนักงานมากที่สุด เพราะแม้ทักษะจะเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่หากบุคคลดังกล่าวไม่รู้วิธีถ่ายทอดความสามารถออกมาอย่างถูกวิธีจนทำให้บรรยากาศในภาพรวมเสียหาย ทักษะเหล่านั้นก็จะหมดความสำคัญลงทันที เหตุนี้ถ้าคุณจะไปสมัครงานกับดิสนีย์แลนด์ ก่อนที่จะเข้าไปถึงคำถามยาก ๆ แบบเฉพาะเจาะจงจริง ๆ ในช่วงแรกนั้นคำถามแบบโหดที่สุดที่คุณจะได้เจอคือการถามว่า “ตัวละครของดิสนีย์ที่ชอบที่สุดคืออะไร” คำถามนี้อาจฟังดูไม่ยากสำหรับคนที่ติดตามผลงานของพวกเขาอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำการบ้านและไม่ได้ชอบดิสนีย์แต่เพียงสมัครเข้ามาเพราะผลประโยชน์บางอย่าง คำถามนี้จะช่วยคัดคนเหล่านั้นออกไปโดยปริยาย เพราะดิสนีย์มีแนวคิดว่าพนักงานในทุกระดับตั้งแต่ล่างสุดจนถึงผู้บริหารจำเป็นต้องเจ้าใจภาพรวมด้านปรัชญาและวัฒนธรรมองค์กรอย่างเข้มข้นเพื่อให้แผนงานทั้งหมดลื่นไหลอย่างแข็งแรง https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-organizational-culture-210604/ นอกจากนี้หากคุณมาสมัครในตำแหน่งงานที่ต้องพูดคุยเจรจากับแขกมากหน้าหลายตา ดิสนีย์จะพยายามใช้คำถามที่อยู่นอกเหนือจากบริบทการสัมภาษณ์งานทั่วไปเพื่อดูว่าทักษะการเลือกใช้คำและแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าของคุณเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะทำให้พนักงานลืมคำตอบที่เตรียมมาและเผยด้านที่เป็นตัวเองออกมาอย่างเป็นอิสระมากขึ้น ทำให้ทีม HR ได้คำตอบที่ซื่อสัตย์ จริงใจมากกว่าเดิม ดิสนีย์แลนด์จะบอกคุณทั้งข้อดีและข้อเสียขององค์กร ธุรกิจส่วนมากจะให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์องค์กร (Employees Branding) เป็นพิเศษโดยเฉพาะเมื่อต้องแข่งขันแย่งชิงพนักงานมากฝีมือกับบริษัทอื่น ๆ เหตุนี้พวกเขาจึงพยายามนำเสนอแต่ด้านบวกเพื่อโน้มน้าวให้คนรู้สึกประทับใจและตัดสินใจเลือกทำงานกับองค์กร อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจทำให้พนักงานมองเนื้องาน “สวยงามกว่าที่ควรจะเป็น” เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่าไม่มีที่ทำงานใดหรอกที่มีแต่ความสุขโดยปราศจากปัญหา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่องค์กรในลักษณะนี้จะมีพนักงานหน้าใหม่ลาออกเป็นระยะด้วยเหตุผลว่าองค์กรจริง ๆ ไม่ได้สวยงามเหมือนที่พวกเขาถูก​ “ขายฝัน”​เมื่อครั้งมาสมัครงาน แต่ที่ดิสนีย์แลนด์นั้นต่างไป พวกเขารู้ดีว่าสิ่งสำคัญที่รักษาพนักงานเอาไว้กับองค์กร (Retention) คือการเปิดโอกาสให้พวกเขาเตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะต้องเจอ และวิธีรับมือที่ดีที่สุดก็คือการชี้แจงตั้งแต่ต้นว่าหากเลือกมาทำงานกับดิสนีย์ ปัญหาทั้งหมดที่ต้องเจอหรือมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และองค์กรมีวิธีช่วยเหลืออย่างไร ควบคู่ไปกับการนำเสนอสวัสดิการในด้านบวกเข้าไปด้วย การนำเสนอองค์กรแบบนี้จะเป็นการดึงพนักงานลงมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง อย่างเช่นหากเราเอาแต่นำเสนอว่าดิสนีย์เป็นบริษัทแรก ๆ ที่มีสวัสดิการดีมาก ให้พนักงานเข้างานได้ตามเวลาที่สะดวกและไม่มีการบังคับเรื่องเครื่องแต่งกาย (เป็นสวัสดิการที่มีมานานก่อนที่องค์กรส่วนใหญ่จะทำในยุคหลังโควิด-19) แต่ถ้าองค์กรไม่บอกว่านโยบายดังกล่าวอาจทำให้เส้นแบ่งระหว่างการทำงานกับเวลาพักผ่อนหายไป หรืออาจทำให้วินัยของการทำงานลดหย่อนลง พนักงานก็จะไม่มีกลไกรับมือกับเรื่องนี้อย่างที่ควรจะเป็น https://qath.hrnote.asia/questions/1117 กล่าวโดยสรุปว่าการปล่อยให้คนเข้าใจเพียงข้อดีอย่างเดียว จะทำให้คุณค่าขององค์กรลดลงเช่นกัน ดิสนีย์จึงเน้นย้ำว่าในการทำธุรกิจนั้นเราต้องสอนให้พนักงานมองเห็นข้อดี-ข้อเสียแบบรอบด้านเสมอ หากไม่อยากเสียทรัพยากรเพิ่มเติมอย่างไม่จำเป็น ดิสนีย์จะเข้าร่วม Job Fairs และมีปฏิสัมพันธ์กับเหล่านักศึกษาเสมอ นิตยสารชื่อดังอย่าง Cosmopolitan กล่าวว่าดิสนีย์คือขาประจำของอีเวนท์หางาน (Job Fair) เสมอ เพื่อรับสมัครเด็กฝึกงาน ตลอดจนพนักงานพาร์ทไทม์เพื่อวางรากฐานให้กับองค์กรในระยะยาว วิธีนี้นอกเหนือจากจะเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ในชุมชนใกล้เคียงดิสนีย์แลนด์มีโอกาสทำงานแล้ว ความใส่ใจตรงนี้ยังช่วยให้ดิสนีย์เข้าถึงนักศึกษาระดับหัวกะทิได้ไวกว่าองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยโดยตรง ดิสนีย์เชื่อมั่นว่าคนรุ่นเก่าต้องฟังจากเด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งเรียนจบซึ่งเป็นช่วงวัยที่เต็มไปด้วยมุมมองและไอเดียที่น่าสนใจ ความรู้เหล่านี้อาจนำไปสู่กลยุทธ์ที่พลิกแพลงผลประกอบการในโลกธุรกิจได้เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นการเข้าร่วมกิจกรรมจัดหางานไม่ว่าเล็กหรือใหญ่จึงเป็นวิธีเบื้องต้นที่ทำให้เราเข้าถึงบุคล ากรที่มีศักยภาพได้โดยตรงและรวดเร็วกว่าวิธีอื่น ที่สำคัญยังสามารถทำการสัมภาษณ์เบื้องต้นภายในงานซึ่งเป็นการลดทรัพยากรที่สิ้นเปลืองได้เป็นอย่างดี ดิสนีย์แลนด์จะให้ข้อมูลกับผู้สมัครแบบมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เคยไหมที่คุณเปิดรับสมัครงานไปแต่ได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติขัดแย้งกับสิ่งที่ต้องการ ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นที่ดิสนีย์ เพราะพวกเขาจะระบุ Job Describtion อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนหนึ่งเพราะดิสนีย์เป็นองค์กรระดับโลกที่มีผู้สมัครเข้ามาจำนวนมาก การเขียนสิ่งที่ต้องการให้ชัดเจนจึงเป็นขั้นตอนแรกที่จะช่วยให้ HR คัดเลือกคนที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่นหากดิสนีย์ต้องการรับสมัครพนักงานมารับบทเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงในดิสนีย์แลนด์ แทนที่พวกเขาจะเขียนภาพรวมกว้าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนมาทดลองคว้าโอกาส ดิสนีย์จะเลือกใช้วิธีระบุไปเลยว่าต้องการคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีเท่านั้น, พูดได้หลายภาษาเท่านั้น, มีส่วนสูงมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น หรือต้องส่งภาพถ่ายที่ปราศจากการแต่งหน้ามาเท่านั้น วิธีนี้จะช่วยลดอัตราของใบสมัครที่ไม่ตรงโจทย์ได้ดี เราสามารถสรุปรูปแบบการสรรหาบุคลากรของดิสนีย์ได้ว่าพวกเขาเน้นย้ำไปที่การให้ข้อมูลแบบครบวงจร ใส่ใจรายละเอียด และต้องการทราบข้อมูลในลักษณะเดียวกันกลับมาจากผู้สมัครเช่นกัน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับองค์ประกอบอื่น ๆ ภายในองค์กรจนออกมาเป็นกลไกที่ส่งผลดีต่อทั้งผู้สมัครซึ่งอาจเป็นพนักงานในอนาคต และผู้บริหารเองในภาพรวม ดิสนีย์แลนด์ (Disneyland) มีวิธีบริหารจัดการคนอย่างไร เมื่อผ่านขั้นตอนการสรรหามาแล้ว สิ่งที่ดิสนีย์ต้องให้ความสำคัญตามมาทันทีก็คือการบริหารจัดการพนักงานในมือที่มีรวมกว่าแสนคนกระจายตัวอยู่ทั่วโลก ดิสนีย์ต้องการทำให้พนักงานทุกคนอยู่ด้วยความสุข เพราะความสุขคือรากฐานสำคัญที่จะทำให้ดิสนีย์ในฐานะสื่อบันเทิงสามารถถ่ายทอดพลังบวกออกไปได้อย่างที่ทุกคนคาดหวัง UK Essays ได้ทำการศึกษาเรื่องระบบพัฒนาบุคลากรของดิสนีย์และพบว่าดิสนีย์ให้ความสำคัญกับการเพิ่มทักษะให้พนักงานมากเป็นพิเศษ สอดคล้องกับอัตราการเลื่อนตำแหน่งที่เน้นสร้างคนในมากกว่าจ้างคนนอก ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดของวอล์ท ดิสนีย์ (Walt Disney) ผู้ก่อตั้งที่กล่าวว่า “คุณสามารถฝันถึงการสร้างสถานที่ที่สวยงามที่สุดในโลก แต่มันจะเป็นจริงได้ก็ด้วยน้ำมือของมนุษย์เท่านั้น” เหตุนี้จึงไม่แปลกหากดิสนีย์จะมีแนวทางพัฒนาบุคคลที่เข้มข้นเกินกว่าที่คนทั่วไปจะนึกถึง ลูกจ้างทุกคนในดิสนีย์แลนด์จะถูกเรียกว่า Cast (ตัวละคร) ซึ่งบริษัทมีกระบวนการสร้างพนักงานตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาสัมภาษณ์ โดยผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนจะต้องดูคลิปวีดีโอขนาดสั้นเพื่อให้เข้าใจว่าปรัชญาของดิสนีย์คืออะไรและพวกเขาคาดหวังถึงสิ่งใด จากนั้นหากผู้ถูกสัมภาษณ์ได้รับเลือกเข้ามาเป็นพนักงาน ก็ต้องเข้าร่วมการฝึกเบื้องต้นเป็นเวลา 1 วันครึ่งภายใต้ชื่ออบรมว่า Traditions จากนั้นก็จะเข้าสู้ขั้นตอนการศึกษาทักษะพื้นฐาน เช่นวิธีพูดจากับลูกค้า, พฤติกรรมของตัวละคร ตลอดจนวิธีแต่งกายภายใต้ชื่ออบรมว่า Disney Look ซึ่งระบุข้อมูลละเอียดมาก เช่น ขนาดของต่างหูที่ตัวละครสามารถใส่ได้ (ห้ามใหญ่กว่าที่กำหนดเด็ดขาด), สีทาเล็บที่ตัวละครสามารถทาได้ เป็นต้น ทุกคนจะถูกฝึกให้ยิ้มตลอดเวลา เพราะอย่าลืมว่าแม้ไม่มีมนุษย์คนไหนที่สดใสตลอดเวลา แต่ในเมื่องานของเราคือการสร้างความสุขให้คนดู การฝืนอารมณ์ตรงนี้ก็เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ภายหลังถูกเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า Disney Smile และทีม HR จะเน้นย้ำกับทีมเสมอว่า “ความสำเร็จของดิสนีย์อ้างอิงอยู่ด้วยสองปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่การใส่ใจรายละเอียด และการทำทุกอย่างให้เกินกว่าที่อีกฝ่ายคาดหวัง” ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท พนักงาน (หรือในที่นี้ถูกเรียกว่า “ตัวละคร”) จะต้องทำหน้าที่มากกว่า 40 ชั่วโมงต่อวัน แต่ก็มีสวัสดิการมาสนับสนุนแบบเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ด้านการดูแลสุขภาพแบบรอบด้าน, สิทธิ์เข้าสวนสนุกและซื้อสินค้าในราคาถูก, ทุนการศึกษาและหลักสูตรพัฒนาตนเอง, แผนดูแลหลังเกษียณ รวมถึงพื้นที่พิเศษสำหรับพนักงานโดยเฉพาะซึ่งประกอบไปด้วยทะเลสาป, สระว่ายน้ำ, สนามกีฬา ฯลฯ โดยหลักสูตรพัฒนาทักษะที่มีชื่อเสียงของดิสนีย์ถูกเรียกว่า “มหาวิทยาลัยดิสนีย์” (Disney University) ที่ทำหน้าที่สอนพนักงานในทุกหัวข้อที่จำเป็นด้วยกลวิธีแบบมืออาชีพ https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/220308-the-future-of-employee-experience/ ดิสนีย์ยังถือเป็นองค์กรที่สนับสนุนเรื่องการทำดีต้องได้รับผลตอบแทน มีรายงานว่าสวัสดิการของพนักงานในดิสนีย์แลนด์นั้นมีมากกว่า 50 แบบ และยังมีการมอบรางวัลพนักงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง โดยปีค.ศ.2021 ที่ผ่านมาดิสนีย์ได้มีมติปรับเงินค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับพนักงานที่วอลต์ดิสนีย์ เวิลด์ (Walt Disney World) เป็น 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง (ไม่รวมทิป) ซึ่งมากกว่าเงินเดือนขั้นต่ำที่รัฐกำหนดถึง 50% ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ทำให้พนักงานของดิสนีย์แลนด์มีอัตราการลาออกที่ต่ำหากเทียบกับธุรกิจอื่น ผู้บริหารมองเรื่องการสรรหาและบริหารคนในดิสนีย์แลนด์อย่างไร Cosmopolitans ได้สัมภาษณ์คุณโจดี้ สวีท (Jody Sweet) รองประธานฝ่ายบุคคลของดิสนีย์เพื่อหาคำตอบว่าทำไมดิสนีย์แลนด์ถึงได้รับฉายาว่า “ดินแดนที่มีความสุขที่สุดในโลก”​ และได้คำตอบว่าใครก็ตามที่มีโอกาสทำงานกับดิสนีย์จะต้องมาด้วยทัศนคติเดียวเท่านั้นคือการสร้างช่วงเวลาอันน่าจดจำให้กับผู้มาเยือนทุกคน ดังนั้นดิสนีย์แลนด์จะให้ความสำคัญกับทักษะในด้านการสื่อสารและงานบริการเป็นพิเศษ ดิสนีย์แลนด์ให้ความสำคัญกับเรื่องการเช็คประวัติ (Background Check) เพราะตัวละครต่าง ๆ ในดิสนีย์แลนด์มีจุดเด่นตรงที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับแขกได้โดยตรง ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องดีหากพนักงานในบริษัทเคยมีประวัติอาชญากรรมหรือล่วงละเมิดทางเพศซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อภัยอันตรายรวมถึงภาพลักษณ์ของดิสนีย์โดยรวม นอกจากนี้ดิสนีย์ยังไม่กำหนดว่าคนที่มาทำงานกับองค์กรจะต้องเป็นคนที่เก่งที่สุดเท่านั้น ดิสนีย์เชื่อมั่นในความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ, องค์ความรู้, เพศ และมั่นใจว่าองค์ประกอบเหล่านี้จะเกื้อหนุนให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้ เพราะปัจจุบันความรู้มาจากผู้คนได้ทุกรูปแบบ ส่วนทางดิสนีย์เองก็มีระบบพัฒนาบุคลากรเป็นประจำ ดังนั้นตราบใดที่ทุกคนยังมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน ภายใต้ปรัชญาเดียวกัน การก้าวเดินไปกับดิสนีย์ก็จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่เก่งขึ้นได้แน่นอน https://th.hrnote.asia/personnel-management/improve-employee-experience/ เธอกล่าวว่าโดยปกติแล้วคำถามที่ HR ของดิสนีย์แลนด์ใช้เพื่อสัมภาษณ์พนักงานใหม่คือคำถามที่เน้นให้ผู้สมัครเล่าประสบการณ์ในชีวิตของตนเอง เพราะดิสนีย์เชื่อว่าพวกเขาเป็นองค์กรแห่งการเล่าเรื่อง (Storytelling Culture) การตอบคำถามเหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้สมัครมีความมุ่งมั่นที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในแง่งามและสนุกสนานที่สุดได้อย่างไร ซึ่งแม้มันจะดูเป็นคำถามธรรมดา ๆ แต่ดิสนีย์พิสูจน์แล้วว่าคำถามแบบนี้จะทำให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นตัวตนที่แท้จริงของผู้สมัครได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันดิสนีย์ก็หวังว่าผู้สมัครจะถามคำถามกลับมาที่ HR เช่นกัน โดยเฉพาะคำถามที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร หรือเรื่องอื่น ๆ ที่จะทำให้เข้าใจดิสนีย์ในแง่มุมที่นอกเหนือจากภาพแสดงทางสื่อต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานในดิสนีย์จะตอบโจทย์ทางอาชีพ (Career Path) ที่วางเอาไว้จริง ๆ ซึ่งเธอมองว่าการถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ใครที่เลือกอยู่เฉย ๆ หรือปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านไปถือเป็นข้อผิดพลาดและอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าพวกเขาไม่ได้สนใจตำแหน่งที่สมัครเข้ามามากเท่าที่ควร ท้ายสุดนี้เธอแนะนำว่าแม้ดิสนีย์จะขึ้นชื่อเรื่องความยืดหยุ่นในการทำงานและเปิดโอกาสให้พนักงานแต่งตัวได้ตามสบาย แต่ผู้สมัครก็ควรแต่งกายแบบให้เกียรติสถานที่มากที่สุด รวมถึงแสดงออกอย่างจริงใจว่าสนใจงานของดิสนีย์จริง ๆ โดยอาจส่งอีเมลหรือข้อความมาขอบคุณทีม HR หลังจากที่การสัมภาษณ์จบลง วิธีนี้จะทำให้พนักงานโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ หากมีการแข่งขันเกิดขึ้นนั่นเอง บทสรุป ดิสนีย์แลนด์ (Disneyland) คือองค์กรที่ตอกย้ำให้เห็นว่าแม้ทีมบริหารจะมีภาพฝันในหัวที่สวยงามเพียงใด แต่สิ่งที่จะกำหนดว่าภาพนั้นกลายเป็นจริงได้หรือไม่ก็คือทรัพยากรคนที่จะต้องให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนของการสรรหา, บริหาร เรื่อยไปจนถึงการดูแลเมื่อพนักงานลาออกไป เพราะความสุขจะส่งต่อไปได้ก็ต่อเมื่อตัวพนักงานมีความรู้สึกแบบเดียวกันเป็นที่ตั้งเท่านั้น หลายคนมักตั้งคำถามว่าในฐานะคนทำงานแล้ว เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่าระหว่างผลประกอบการและความสุข และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการค้นหาคำตอบนั้นอย่างเคร่งเครียด แต่จริง ๆ แล้วทั้งสองอย่างนี้ต้องเดินไปพร้อมกัน เพราะแม้ความเครียดจะทำให้งานเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด แต่สิ่งที่สูญเสียไปแน่นอนก็คือคุณค่าทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าจะกลายเป็นเราเองที่ต้องถอยออกมาโดยไม่ได้อะไรเลย ดิสนีย์แลนด์ทำให้เรากลับมานึกถึงความสุขในการทำงานอีกครั้ง และหวังว่าจะมีองค์กรอีกมากมายที่นำองค์ความรู้และทัศนคติดี ๆ จาก “ดินแดนที่มีความสุขที่สุดในโลก” แห่งนี้ไปปรับใช้เพื่อสร้างบรรยากาศที่สวยงามในบริษัทของคุณ Sources https://bit.ly/3QyaCEq https://bit.ly/3ptLxyx https://bit.ly/3A5C7OA https://bit.ly/3STyGDc

ถ้าพูดถึงคำว่าสวนสนุกระดับโลกที่ใคร ๆ ก็ฝันอยากจะไปเยือนสักครั้ง เราเชื่อว่าชื่อของดิสนีย์แลนด์ (Disneyland) สวนสนุกที่ได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งความฝัน” ย่อมถูกพูดถึงเป็นชื่อแรก ๆ แน่นอน ทั้งด้วยความแข็งแรงของตัวละครอย่างมิกกี้ เมาส์, มินนี่ เมาส์, โดนัลด์ ดั๊ก และอีกมากมายที่เติบโตมาพร้อมกับวัยเด็กของเรา ตลอดจนเครื่องเล่นระดับโลกที่ถ่ายทอดออกมาอย่างตื่นเต้นเร้าใจจนถูกนำไปต่อยอดเป็นภาพยนตร์อย่าง The Pirates of the Caribbean เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ทำให้เราต้องมาตั้งคำถามว่าดิสนีย์สามารถเปลี่ยนสวนสนุกที่ดูเป็นเรื่องของเด็กให้กลายเป็นชุมชนของคนทุกเพศทุกวัยได้อย่างไร ตลอดจนมีเคล็ดลับใดบ้างที่ถูกนำมาใช้เพื่อคงความพิเศษของดินแดนแห่งนี้ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา

ดิสนีย์แลนด์คือธุรกิจที่แตกต่างจากองค์กรที่เราเห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาด ดังนั้นการศึกษากลยุทธ์ของพวกเขาจึงเป็นประโยชน์ต่อทีม HR ที่อยากหากฎเกณฑ์, สวัสดิการ รวมถึงนโยบายใหม่ ๆ มาปรับใช้ภายในองค์กร ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเคยสัมผัสเสน่ห์ของสวนสนุกระดับโลกนี้ด้วยตัวเองหรือไม่ เราก็ขอชวนคุณมาร่วมเดินทางไปสู่โลกของดิสนีย์แลนด์พร้อม ๆ กัน ณ บัดนี้ !

ดิสนีย์แลนด์ (Disneyland) มีวิธีสรรหาบุคลากรอย่างไร

มีคำกล่าวว่า “คนคือผู้สร้างสถานที่” ซึ่งประโยคนี้เหมาะสมกับดิสนีย์แลนด์เป็นอย่างยิ่ง เพราะปกติแล้วเป้าหมายของคนที่มาสวนสนุกคือการปลดปล่อยความเครียดให้มากที่สุด ดังนั้นทุกคนจึงคาดหวังการบริการที่ดีชนิดที่หาไม่ได้จากแหล่งอื่น ซึ่งแปลว่าหากพนักงานของดิสนีย์แลนด์ไม่สามารถทำได้ตามที่ถูกคาดหวัง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้คนจะหันไปใช้ทางเลือกเพื่อสร้างความสุขจากที่อื่น ไม่จำเป็นต้องเสียเงินแพง ๆ กับบริการที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ

ดิสนีย์แลนด์เข้าใจถึงความต้องการข้อนี้ดีจึงให้ความสำคัญกับการสรรหาบุคลากรอย่างเข้มข้น ซึ่งเราแบ่งหัวข้อการเรียนรู้ได้เป็น 4 ประเด็นดังต่อไปนี้

ดิสนีย์แลนด์จะให้ความสำคัญกับตัวตนของพนักงานมากที่สุด

Disneyland สวนสนุกระดับโลกมีวิธีสรรหาและบริหารคนอย่างไร

บริษัทระดับโลกส่วนใหญ่มักใช้คำถามยาก ๆ เพื่อให้พนักงานได้แสดงฝีมือออกมามากที่สุด แต่ที่ดิสนีย์นั้นพวกเขาให้ความสำคัญกับความเป็นตัวของตัวเองของพนักงานมากที่สุด เพราะแม้ทักษะจะเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่หากบุคคลดังกล่าวไม่รู้วิธีถ่ายทอดความสามารถออกมาอย่างถูกวิธีจนทำให้บรรยากาศในภาพรวมเสียหาย ทักษะเหล่านั้นก็จะหมดความสำคัญลงทันที 

เหตุนี้ถ้าคุณจะไปสมัครงานกับดิสนีย์แลนด์ ก่อนที่จะเข้าไปถึงคำถามยาก ๆ แบบเฉพาะเจาะจงจริง ๆ ในช่วงแรกนั้นคำถามแบบโหดที่สุดที่คุณจะได้เจอคือการถามว่า “ตัวละครของดิสนีย์ที่ชอบที่สุดคืออะไร” คำถามนี้อาจฟังดูไม่ยากสำหรับคนที่ติดตามผลงานของพวกเขาอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำการบ้านและไม่ได้ชอบดิสนีย์แต่เพียงสมัครเข้ามาเพราะผลประโยชน์บางอย่าง คำถามนี้จะช่วยคัดคนเหล่านั้นออกไปโดยปริยาย

เพราะดิสนีย์มีแนวคิดว่าพนักงานในทุกระดับตั้งแต่ล่างสุดจนถึงผู้บริหารจำเป็นต้องเจ้าใจภาพรวมด้านปรัชญาและวัฒนธรรมองค์กรอย่างเข้มข้นเพื่อให้แผนงานทั้งหมดลื่นไหลอย่างแข็งแรง 

นอกจากนี้หากคุณมาสมัครในตำแหน่งงานที่ต้องพูดคุยเจรจากับแขกมากหน้าหลายตา ดิสนีย์จะพยายามใช้คำถามที่อยู่นอกเหนือจากบริบทการสัมภาษณ์งานทั่วไปเพื่อดูว่าทักษะการเลือกใช้คำและแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าของคุณเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะทำให้พนักงานลืมคำตอบที่เตรียมมาและเผยด้านที่เป็นตัวเองออกมาอย่างเป็นอิสระมากขึ้น ทำให้ทีม HR ได้คำตอบที่ซื่อสัตย์ จริงใจมากกว่าเดิม

ดิสนีย์แลนด์จะบอกคุณทั้งข้อดีและข้อเสียขององค์กร

ธุรกิจส่วนมากจะให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์องค์กร (Employees Branding) เป็นพิเศษโดยเฉพาะเมื่อต้องแข่งขันแย่งชิงพนักงานมากฝีมือกับบริษัทอื่น ๆ เหตุนี้พวกเขาจึงพยายามนำเสนอแต่ด้านบวกเพื่อโน้มน้าวให้คนรู้สึกประทับใจและตัดสินใจเลือกทำงานกับองค์กร อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจทำให้พนักงานมองเนื้องาน “สวยงามกว่าที่ควรจะเป็น” เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่าไม่มีที่ทำงานใดหรอกที่มีแต่ความสุขโดยปราศจากปัญหา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่องค์กรในลักษณะนี้จะมีพนักงานหน้าใหม่ลาออกเป็นระยะด้วยเหตุผลว่าองค์กรจริง ๆ ไม่ได้สวยงามเหมือนที่พวกเขาถูก​ “ขายฝัน”​เมื่อครั้งมาสมัครงาน

Disneyland สวนสนุกระดับโลกมีวิธีสรรหาและบริหารคนอย่างไร

แต่ที่ดิสนีย์แลนด์นั้นต่างไป พวกเขารู้ดีว่าสิ่งสำคัญที่รักษาพนักงานเอาไว้กับองค์กร (Retention) คือการเปิดโอกาสให้พวกเขาเตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะต้องเจอ และวิธีรับมือที่ดีที่สุดก็คือการชี้แจงตั้งแต่ต้นว่าหากเลือกมาทำงานกับดิสนีย์ ปัญหาทั้งหมดที่ต้องเจอหรือมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และองค์กรมีวิธีช่วยเหลืออย่างไร ควบคู่ไปกับการนำเสนอสวัสดิการในด้านบวกเข้าไปด้วย

การนำเสนอองค์กรแบบนี้จะเป็นการดึงพนักงานลงมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง อย่างเช่นหากเราเอาแต่นำเสนอว่าดิสนีย์เป็นบริษัทแรก ๆ ที่มีสวัสดิการดีมาก ให้พนักงานเข้างานได้ตามเวลาที่สะดวกและไม่มีการบังคับเรื่องเครื่องแต่งกาย (เป็นสวัสดิการที่มีมานานก่อนที่องค์กรส่วนใหญ่จะทำในยุคหลังโควิด-19) แต่ถ้าองค์กรไม่บอกว่านโยบายดังกล่าวอาจทำให้เส้นแบ่งระหว่างการทำงานกับเวลาพักผ่อนหายไป หรืออาจทำให้วินัยของการทำงานลดหย่อนลง พนักงานก็จะไม่มีกลไกรับมือกับเรื่องนี้อย่างที่ควรจะเป็น 

กล่าวโดยสรุปว่าการปล่อยให้คนเข้าใจเพียงข้อดีอย่างเดียว จะทำให้คุณค่าขององค์กรลดลงเช่นกัน ดิสนีย์จึงเน้นย้ำว่าในการทำธุรกิจนั้นเราต้องสอนให้พนักงานมองเห็นข้อดี-ข้อเสียแบบรอบด้านเสมอ หากไม่อยากเสียทรัพยากรเพิ่มเติมอย่างไม่จำเป็น

ดิสนีย์จะเข้าร่วม Job Fairs และมีปฏิสัมพันธ์กับเหล่านักศึกษาเสมอ

Disneyland สวนสนุกระดับโลกมีวิธีสรรหาและบริหารคนอย่างไร

นิตยสารชื่อดังอย่าง Cosmopolitan กล่าวว่าดิสนีย์คือขาประจำของอีเวนท์หางาน (Job Fair) เสมอ เพื่อรับสมัครเด็กฝึกงาน ตลอดจนพนักงานพาร์ทไทม์เพื่อวางรากฐานให้กับองค์กรในระยะยาว วิธีนี้นอกเหนือจากจะเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ในชุมชนใกล้เคียงดิสนีย์แลนด์มีโอกาสทำงานแล้ว ความใส่ใจตรงนี้ยังช่วยให้ดิสนีย์เข้าถึงนักศึกษาระดับหัวกะทิได้ไวกว่าองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยโดยตรง 

ดิสนีย์เชื่อมั่นว่าคนรุ่นเก่าต้องฟังจากเด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งเรียนจบซึ่งเป็นช่วงวัยที่เต็มไปด้วยมุมมองและไอเดียที่น่าสนใจ ความรู้เหล่านี้อาจนำไปสู่กลยุทธ์ที่พลิกแพลงผลประกอบการในโลกธุรกิจได้เลยด้วยซ้ำ

ดังนั้นการเข้าร่วมกิจกรรมจัดหางานไม่ว่าเล็กหรือใหญ่จึงเป็นวิธีเบื้องต้นที่ทำให้เราเข้าถึงบุคลากรที่มีศักยภาพได้โดยตรงและรวดเร็วกว่าวิธีอื่น ที่สำคัญยังสามารถทำการสัมภาษณ์เบื้องต้นภายในงานซึ่งเป็นการลดทรัพยากรที่สิ้นเปลืองได้เป็นอย่างดี

ดิสนีย์แลนด์จะให้ข้อมูลกับผู้สมัครแบบมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

เคยไหมที่คุณเปิดรับสมัครงานไปแต่ได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติขัดแย้งกับสิ่งที่ต้องการ ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นที่ดิสนีย์ เพราะพวกเขาจะระบุ Job Description อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนหนึ่งเพราะดิสนีย์เป็นองค์กรระดับโลกที่มีผู้สมัครเข้ามาจำนวนมาก การเขียนสิ่งที่ต้องการให้ชัดเจนจึงเป็นขั้นตอนแรกที่จะช่วยให้ HR คัดเลือกคนที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น

ยกตัวอย่างเช่นหากดิสนีย์ต้องการรับสมัครพนักงานมารับบทเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงในดิสนีย์แลนด์ แทนที่พวกเขาจะเขียนภาพรวมกว้าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนมาทดลองคว้าโอกาส ดิสนีย์จะเลือกใช้วิธีระบุไปเลยว่าต้องการคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีเท่านั้น, พูดได้หลายภาษาเท่านั้น, มีส่วนสูงมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น หรือต้องส่งภาพถ่ายที่ปราศจากการแต่งหน้ามาเท่านั้น วิธีนี้จะช่วยลดอัตราของใบสมัครที่ไม่ตรงโจทย์ได้ดี

เราสามารถสรุปรูปแบบการสรรหาบุคลากรของดิสนีย์ได้ว่าพวกเขาเน้นย้ำไปที่การให้ข้อมูลแบบครบวงจร ใส่ใจรายละเอียด และต้องการทราบข้อมูลในลักษณะเดียวกันกลับมาจากผู้สมัครเช่นกัน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับองค์ประกอบอื่น ๆ ภายในองค์กรจนออกมาเป็นกลไกที่ส่งผลดีต่อทั้งผู้สมัครซึ่งอาจเป็นพนักงานในอนาคต และผู้บริหารเองในภาพรวม

ดิสนีย์แลนด์ (Disneyland) มีวิธีบริหารจัดการคนอย่างไร

เมื่อผ่านขั้นตอนการสรรหามาแล้ว สิ่งที่ดิสนีย์ต้องให้ความสำคัญตามมาทันทีก็คือการบริหารจัดการพนักงานในมือที่มีรวมกว่าแสนคนกระจายตัวอยู่ทั่วโลก ดิสนีย์ต้องการทำให้พนักงานทุกคนอยู่ด้วยความสุข เพราะความสุขคือรากฐานสำคัญที่จะทำให้ดิสนีย์ในฐานะสื่อบันเทิงสามารถถ่ายทอดพลังบวกออกไปได้อย่างที่ทุกคนคาดหวัง

Disneyland สวนสนุกระดับโลกมีวิธีสรรหาและบริหารคนอย่างไร

UK Essays ได้ทำการศึกษาเรื่องระบบพัฒนาบุคลากรของดิสนีย์และพบว่าดิสนีย์ให้ความสำคัญกับการเพิ่มทักษะให้พนักงานมากเป็นพิเศษ สอดคล้องกับอัตราการเลื่อนตำแหน่งที่เน้นสร้างคนในมากกว่าจ้างคนนอก ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดของวอล์ท ดิสนีย์ (Walt Disney) ผู้ก่อตั้งที่กล่าวว่า “คุณสามารถฝันถึงการสร้างสถานที่ที่สวยงามที่สุดในโลก แต่มันจะเป็นจริงได้ก็ด้วยน้ำมือของมนุษย์เท่านั้น” เหตุนี้จึงไม่แปลกหากดิสนีย์จะมีแนวทางพัฒนาบุคคลที่เข้มข้นเกินกว่าที่คนทั่วไปจะนึกถึง

ลูกจ้างทุกคนในดิสนีย์แลนด์จะถูกเรียกว่า Cast (ตัวละคร) ซึ่งบริษัทมีกระบวนการสร้างพนักงานตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาสัมภาษณ์ โดยผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนจะต้องดูคลิปวีดีโอขนาดสั้นเพื่อให้เข้าใจว่าปรัชญาของดิสนีย์คืออะไรและพวกเขาคาดหวังถึงสิ่งใด จากนั้นหากผู้ถูกสัมภาษณ์ได้รับเลือกเข้ามาเป็นพนักงาน ก็ต้องเข้าร่วมการฝึกเบื้องต้นเป็นเวลา 1 วันครึ่งภายใต้ชื่ออบรมว่า Traditions จากนั้นก็จะเข้าสู้ขั้นตอนการศึกษาทักษะพื้นฐาน เช่นวิธีพูดจากับลูกค้า, พฤติกรรมของตัวละคร ตลอดจนวิธีแต่งกายภายใต้ชื่ออบรมว่า Disney Look ซึ่งระบุข้อมูลละเอียดมาก เช่น ขนาดของต่างหูที่ตัวละครสามารถใส่ได้ (ห้ามใหญ่กว่าที่กำหนดเด็ดขาด), สีทาเล็บที่ตัวละครสามารถทาได้ เป็นต้น

ทุกคนจะถูกฝึกให้ยิ้มตลอดเวลา เพราะอย่าลืมว่าแม้ไม่มีมนุษย์คนไหนที่สดใสตลอดเวลา แต่ในเมื่องานของเราคือการสร้างความสุขให้คนดู การฝืนอารมณ์ตรงนี้ก็เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ภายหลังถูกเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า Disney Smile และทีม HR จะเน้นย้ำกับทีมเสมอว่า “ความสำเร็จของดิสนีย์อ้างอิงอยู่ด้วยสองปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่การใส่ใจรายละเอียด และการทำทุกอย่างให้เกินกว่าที่อีกฝ่ายคาดหวัง” ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท

พนักงาน (หรือในที่นี้ถูกเรียกว่า “ตัวละคร”) จะต้องทำหน้าที่มากกว่า 40 ชั่วโมงต่อวัน แต่ก็มีสวัสดิการมาสนับสนุนแบบเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ด้านการดูแลสุขภาพแบบรอบด้าน, สิทธิ์เข้าสวนสนุกและซื้อสินค้าในราคาถูก, ทุนการศึกษาและหลักสูตรพัฒนาตนเอง, แผนดูแลหลังเกษียณ รวมถึงพื้นที่พิเศษสำหรับพนักงานโดยเฉพาะซึ่งประกอบไปด้วยทะเลสาป, สระว่ายน้ำ, สนามกีฬา ฯลฯ โดยหลักสูตรพัฒนาทักษะที่มีชื่อเสียงของดิสนีย์ถูกเรียกว่า “มหาวิทยาลัยดิสนีย์” (Disney University) ที่ทำหน้าที่สอนพนักงานในทุกหัวข้อที่จำเป็นด้วยกลวิธีแบบมืออาชีพ 

ดิสนีย์ยังถือเป็นองค์กรที่สนับสนุนเรื่องการทำดีต้องได้รับผลตอบแทน มีรายงานว่าสวัสดิการของพนักงานในดิสนีย์แลนด์นั้นมีมากกว่า 50 แบบ และยังมีการมอบรางวัลพนักงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง

โดยปีค.ศ.2021 ที่ผ่านมาดิสนีย์ได้มีมติปรับเงินค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับพนักงานที่วอลต์ดิสนีย์ เวิลด์ (Walt Disney World) เป็น 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง (ไม่รวมทิป) ซึ่งมากกว่าเงินเดือนขั้นต่ำที่รัฐกำหนดถึง 50% ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ทำให้พนักงานของดิสนีย์แลนด์มีอัตราการลาออกที่ต่ำหากเทียบกับธุรกิจอื่น

ผู้บริหารมองเรื่องการสรรหาและบริหารคนในดิสนีย์แลนด์อย่างไร

Cosmopolitans ได้สัมภาษณ์คุณโจดี้ สวีท (Jody Sweet) รองประธานฝ่ายบุคคลของดิสนีย์เพื่อหาคำตอบว่าทำไมดิสนีย์แลนด์ถึงได้รับฉายาว่า “ดินแดนที่มีความสุขที่สุดในโลก”​ และได้คำตอบว่าใครก็ตามที่มีโอกาสทำงานกับดิสนีย์จะต้องมาด้วยทัศนคติเดียวเท่านั้นคือการสร้างช่วงเวลาอันน่าจดจำให้กับผู้มาเยือนทุกคน ดังนั้นดิสนีย์แลนด์จะให้ความสำคัญกับทักษะในด้านการสื่อสารและงานบริการเป็นพิเศษ

ดิสนีย์แลนด์ให้ความสำคัญกับเรื่องการเช็คประวัติ (Background Check) เพราะตัวละครต่าง ๆ ในดิสนีย์แลนด์มีจุดเด่นตรงที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับแขกได้โดยตรง ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องดีหากพนักงานในบริษัทเคยมีประวัติอาชญากรรมหรือล่วงละเมิดทางเพศซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อภัยอันตรายรวมถึงภาพลักษณ์ของดิสนีย์โดยรวม

นอกจากนี้ดิสนีย์ยังไม่กำหนดว่าคนที่มาทำงานกับองค์กรจะต้องเป็นคนที่เก่งที่สุดเท่านั้น ดิสนีย์เชื่อมั่นในความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ, องค์ความรู้, เพศ และมั่นใจว่าองค์ประกอบเหล่านี้จะเกื้อหนุนให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้ เพราะปัจจุบันความรู้มาจากผู้คนได้ทุกรูปแบบ ส่วนทางดิสนีย์เองก็มีระบบพัฒนาบุคลากรเป็นประจำ ดังนั้นตราบใดที่ทุกคนยังมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน ภายใต้ปรัชญาเดียวกัน การก้าวเดินไปกับดิสนีย์ก็จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่เก่งขึ้นได้แน่นอน

เธอกล่าวว่าโดยปกติแล้วคำถามที่ HR ของดิสนีย์แลนด์ใช้เพื่อสัมภาษณ์พนักงานใหม่คือคำถามที่เน้นให้ผู้สมัครเล่าประสบการณ์ในชีวิตของตนเอง เพราะดิสนีย์เชื่อว่าพวกเขาเป็นองค์กรแห่งการเล่าเรื่อง (Storytelling Culture) การตอบคำถามเหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้สมัครมีความมุ่งมั่นที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในแง่งามและสนุกสนานที่สุดได้อย่างไร

ซึ่งแม้มันจะดูเป็นคำถามธรรมดา ๆ แต่ดิสนีย์พิสูจน์แล้วว่าคำถามแบบนี้จะทำให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นตัวตนที่แท้จริงของผู้สมัครได้อย่างชัดเจน

Disneyland สวนสนุกระดับโลกมีวิธีสรรหาและบริหารคนอย่างไร

ขณะเดียวกันดิสนีย์ก็หวังว่าผู้สมัครจะถามคำถามกลับมาที่ HR เช่นกัน โดยเฉพาะคำถามที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร หรือเรื่องอื่น ๆ ที่จะทำให้เข้าใจดิสนีย์ในแง่มุมที่นอกเหนือจากภาพแสดงทางสื่อต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานในดิสนีย์จะตอบโจทย์ทางอาชีพ (Career Path) ที่วางเอาไว้จริง ๆ

ซึ่งเธอมองว่าการถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ใครที่เลือกอยู่เฉย ๆ หรือปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านไปถือเป็นข้อผิดพลาดและอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าพวกเขาไม่ได้สนใจตำแหน่งที่สมัครเข้ามามากเท่าที่ควร

ท้ายสุดนี้เธอแนะนำว่าแม้ดิสนีย์จะขึ้นชื่อเรื่องความยืดหยุ่นในการทำงานและเปิดโอกาสให้พนักงานแต่งตัวได้ตามสบาย แต่ผู้สมัครก็ควรแต่งกายแบบให้เกียรติสถานที่มากที่สุด รวมถึงแสดงออกอย่างจริงใจว่าสนใจงานของดิสนีย์จริง ๆ โดยอาจส่งอีเมลหรือข้อความมาขอบคุณทีม HR หลังจากที่การสัมภาษณ์จบลง วิธีนี้จะทำให้พนักงานโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ หากมีการแข่งขันเกิดขึ้นนั่นเอง

บทสรุป 

Disneyland สวนสนุกระดับโลกมีวิธีสรรหาและบริหารคนอย่างไร

ดิสนีย์แลนด์ (Disneyland) คือองค์กรที่ตอกย้ำให้เห็นว่าแม้ทีมบริหารจะมีภาพฝันในหัวที่สวยงามเพียงใด แต่สิ่งที่จะกำหนดว่าภาพนั้นกลายเป็นจริงได้หรือไม่ก็คือทรัพยากรคนที่จะต้องให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนของการสรรหา, บริหาร เรื่อยไปจนถึงการดูแลเมื่อพนักงานลาออกไป เพราะความสุขจะส่งต่อไปได้ก็ต่อเมื่อตัวพนักงานมีความรู้สึกแบบเดียวกันเป็นที่ตั้งเท่านั้น 

หลายคนมักตั้งคำถามว่าในฐานะคนทำงานแล้ว เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่าระหว่างผลประกอบการและความสุข และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการค้นหาคำตอบนั้นอย่างเคร่งเครียด แต่จริง ๆ แล้วทั้งสองอย่างนี้ต้องเดินไปพร้อมกัน เพราะแม้ความเครียดจะทำให้งานเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด แต่สิ่งที่สูญเสียไปแน่นอนก็คือคุณค่าทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าจะกลายเป็นเราเองที่ต้องถอยออกมาโดยไม่ได้อะไรเลย

ดิสนีย์แลนด์ทำให้เรากลับมานึกถึงความสุขในการทำงานอีกครั้ง และหวังว่าจะมีองค์กรอีกมากมายที่นำองค์ความรู้และทัศนคติดี ๆ จาก “ดินแดนที่มีความสุขที่สุดในโลก” แห่งนี้ไปปรับใช้เพื่อสร้างบรรยากาศที่สวยงามในบริษัทของคุณ

CTA HR Products & Services

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง