เริ่มต้นปีใหม่กันมาแล้ว สิ่งที่โลก HR พูดถึงกันมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ AI และความสำคัญของ HR ว่าพวกเขาควรปรับตัวอย่างไรถึงจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะโลกนับจากนี้จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่มีแนวโน้มที่จะหยุดนิ่ง จนพูดได้เต็มปากว่าเรากำลังอยู่ในยุคของ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong Learning) ดังนั้นการได้รับคำแนะนำจากคนเก่ง ๆ จะเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์และนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในลำดับต่อไป
Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อประจำเดือนมกราคม 2024 มุ่งเน้นไปในหลากหลายประเด็น ทั้งเรื่องที่เป็นพื้นฐาน และเรื่องเชิงรายละเอียดของกฎหมายแรงงาน ทั้งนี้เราอยากให้พื้นที่ของ HR Community เป็นพื้นที่สบาย ๆ ที่ทุกคนสามารถมาถามคำถามได้โดยไม่ต้องกังวลว่าสิ่งที่คิดอยู่เล็กหรือใหญ่เกินไปไหม ดังนั้นถ้าคุณมีเรื่องไม่สบายใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็หันมาหาเราได้ทุกเมื่อ !
Contents
Q1 : ลดวันทำงานพนักงาน เพื่อขอลดเงินเดือนได้หรือไม่ ?
บริษัทมีแนวคิดว่าจะลดเวลาทำงานพนักงานรายเดือนลง 25% เพื่อลดเงินเดือนลงตามมา 25% อยากทราบว่าตามกฎหมายแรงงานถือเป็นเรื่องที่ทำได้หรือไม่ ?
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
ไม่มีกฏหมายรายเดือน มีแต่กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่พอจะอ้างอิงได้ (มาตรตรา 76) การลดวันทำงาน สามารถลดได้ด้วยเหตุผลความจำเป็นของบริษัท แต่จะไม่ลดเงินเดือนค่ะ แนะนำให้เจรจาพูดคุยกับพนักงาน หากบริษัทมีเหตุผลที่เพียงพอ เช่น ประสบภาวะขาดทุน หรือกิจการมีปัญหาด้านการเงิน หรือเหตุอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย แนะนำโดยให้ใช้หลักการแรงงานสัมพันธ์ พูดคุยกันให้เข้าใจทั้งสองฝ่าย ชี้แจงกับพนักงานเพื่อให้องค์กรอยู่รอด มีงานทำดีกว่าว่างงาน ในอนาคตหากกิจการดีขึ้นก็จะพิจารณาเพิ่มงานเพิ่มเงินได้อีก และอย่าลืมว่าฐานข้อมูลเงินเดือนจะมีการหักนำส่งประกันสังคม ซึ่งทางบริษัทต้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community
Q2: การจ่ายโอทีพนักงานต้องคำนวนเวลาอย่างไร ?
การจ่ายโอทีพนักงานที่ต้องให้ไปทำงานต่างจังหวัด รวมเวลาเดินทาง 4-5 ชั่วโมง ต้องคิดโอทีโดยรวมค่าเดินทางหรือไม่ ? หรือนับเฉพาะแค่เวลาทำงาน
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
หลักปฏิบัติที่ถูกต้องคือการทำงานนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือหลังเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในการทำงานตามรายละเอียดดังนี้
1.กรณี OT วันทำงานปกติต้องจ่าย 1.5 เท่า
2.กรณี OT วันหยุดต้องจ่าย 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง
3.กรณีทำงานในวันหยุด สำหรับพนักงานรายเดือนต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มอีก 1 เท่าของค่าจ้างต่อวัน จ่ายตามจำนวนวันที่ทำเกิน
จากคำถาม ทีมช่างต้องเดินทางเข้าไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด รวมเวลาเดินทาง 4-5 ชั่วโมง ต้องจ่าย OT ค่ะ เพราะถือว่าเป็นการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ แต่องค์กรบางแห่งจะกำหนดเป็นระเบียบการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาต่อวัน กรณีไปปฏิบัติงานนอกสถานที่
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community
Q3: ออกใบเตือนให้พนักงานที่ทำงานล่าช้า แต่พนักงานมองว่าตนไม่ควรได้รับ ควรอธิบายอย่างไร
เนื่องจากเป็นงานที่พนักงานต้องว่าจ้างบริษัทภายนอกต่ออีกขั้น แต่บริษัทนั้นทำงานล่าช้า พนักงานจึงมองว่าคนทำพลาดคือคนที่รับจ้าง ไม่ใช่ความผิดของตน จึงไม่ควรได้รับใบเตือน ในฐานะ HR ควรจัดการเรื่องนี้อย่างไร
A: โดยบุษรา คุปกาญจนา
ต้องอธิบายให้พนักงานเข้าใจว่าการมอบหมายให้พนักงานทำงานบริษัท หรือหน่วยงานย่อมคาดหวังว่างานจะดำเนินไปภายใต้กรอบเวลาที่มีอย่างจำกัด โดยที่ความสำเร็จของงานส่วนหนึ่งเกิดจากพนักงานผู้ได้รับมอบหมายในงาน เช่นในงานนี้คุณได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้าหรือบริษัทให้ดำเนินการจนลุล่วงแล้วเสร็จ
ทั้งนี้การที่คุณได้รับใบเตือนให้พิจารณาดังต่อไปนี้
1. คุณรับทราบกรอบกำหนดเวลาหรือไม่ และความเร่งด่วนหรือความสำคัญของงานนี้ที่อาจจะกระทบกับบริษัทมีมากเพียงใด
2. คุณได้กำหนดแผนงาน แผนสำรองคร่าวๆของงานหรือไม่เช่น การหาผู้รับเหมาสำรองหากเจ้าแรกไม่มาตามนัดหมาย, ได้มีการพูดคุยกับผู้รับเหมาหรือไม่ว่าจะสามารถเริ่มงานเมื่อใด แล้วเสร็จเมื่อใด และมีการทำสัญญากันหรือไม่
3. คุณได้ทำการรายงานความคืบหน้าของงานนี้ ให้แก่หัวหน้าหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลง ล่าช้า หรือติดปัญหาและไม่สามารถแก้ไขได้เองหรือต้องการการตัดสินใจที่เหนือจากอำนาจตัวเอง สิ่งที่ดีที่สุดคือการนำเรื่องปรึกษากับหัวหน้างานเพื่อให้ช่วยคิดและตัดสินใจได้
ทั้งนี้เมื่อท่านได้รับใบเตือนแล้ว ไม่อยากให้มองว่าเป็นเรื่องที่แย่หรือสมควรหรือไม่ แต่แนะนำให้เอาความผิดพลาดเป็นส่วนในการช่วยพัฒนาตัวเองในข้อที่เราอาจจะมีจุดอ่อนเพื่อให้เรามีความชำนาญขึ้นต่อไปค่ะ
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community
Q4: เลื่อนตำแหน่งพนักงานแล้ว ต้องทำสัญญาจ้างใหม่หรือไม่ ?
ผู้บริหารสั่งให้คนที่ได้เลื่อนตำแหน่งทำสัญญาจ้างใหม่ เพราะมองว่าเนื้องานเปลี่ยนไป เงินเดือนก็เปลี่ยน ตำแหน่งก็เปลี่ยน จึงควรทำสัญญาใหม่ เลยอยากรู้ว่ากระบวนการที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ?
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
1. เราเรียกร้องสิทธิของเราได้แบบใดบ้าง : การจ้างงานเกิน 119 วัน หากเลิกจ้าง บริษัทต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยก่อนจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไป การเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าว บริษัทต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
2. เรา “จำเป็น” ต้องทำงานให้เค้าจนถึงอีกรอบเดือนถัดไปหรือไม่ ? : ให้สอบถามความจำเป็น ที่บริษัทให้ทำงานต่อ หากเป็นประโยชน์ต่อบริษัท ก็สามารถทำงานต่อได้ค่ะ โดยบริษัทต้องจ่ายค่าจ้างเงินเดือนตามปกติ
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community
Q5: คนเข้าใหม่ในแผนก แต่เงินเดือนเยอะกว่าหัวหน้าแผนก
สถานการณ์แบบนี้ถือว่าปกติไหม และเราจะสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรได้อย่างไร
A: โดยบุษรา คุปกาญจนา
ในบริษัทที่ไม่มีโครงสร้างเงินเดือน และไม่มีการวิเคราะห์ค่างานอาจะพบปัญหาเหล่านี้ได้อันเนื่องมาจาก หัวหน้างานเติบโตจากภายในบริษัทจึงปรับเงินเดือนขึ้นตามเปอร์เซ็นต์ โดยลืมคำนึงถึงโครงสร้าง และเมื่อกำลังคนขาดและไม่มีบุคลากรที่จะมาแทนในตำแหน่งที่ว่างลง ก็ตกลงรับคนจากภายนอกเข้ามา และพิจารณาจ่ายเงินเดือนตามความคาดหวังของผู้สมัครจึงเกิดปัญหานี้ค่ะ