จะส่งท้ายปีเก่าหรือเตรียมตัวรับปีใหม่ โลกของ HR ก็ยังคงมีเรื่องให้เราเรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่ง HR Board เว็บบอร์ดถาม-ตอบ (Q&A Forum) คือแพลตฟอร์มที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ HR ทุกคนมีชุมชนไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันง่ายขึ้น เพราะนี่แหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญจากทุกสายที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลต้องรู้ แถมยังถูกกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้อ้างอิงได้จริง
Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อประจำเดือนธันวาคม 2022 ที่เราคัดสรรมานี้มุ่งเน้นไปในหลากหลายหัวข้อ ทั้งด้านจริยธรรม, การวางแผนงาน, การสร้างวัฒนธรรมองค์กร, การแลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีคำถามที่น่าสนใจและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ดังนี้
Q1 : บังเอิญเจอหัวหน้าจู๋จี๋อยู่กับพนักงานที่มีแฟนแล้ว รู้สึกหมดศรัทธา ทำยังไงถึงจะร่วมงานกันต่อไป
บังเอิญว่าไปทานอาหารซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่เจอหัวหน้างานอยู่กับพนักงานที่มีแฟนแล้ว ท่าทางสนิทสนมกันเป็นพิเศษ มุมนึงมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่อีกมุมหนึ่งเราก็รู้สึกหมดศรัทธาเพราะเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ตอนนี้รู้สึกว่าไม่อยากทำงานด้วย ไม่สบายใจ แต่ก็ไม่อยากพูดเหตุผลนี้โดยตรงเพราะดูก้าวก่ายเรื่องส่วนตัว ควรรับมืออย่างไร ทั้งในแง่ความรู้สึก และในแง่ความเหมาะสมในฐานะของ HR
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
เหตุการณ์ลักษณะนี้มีเกิดขึ้นบ้างในหลายองค์กร เป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยาก ยิ่งถ้าเป็น HR ด้วยแล้วบอกได้ว่าในอนาคตมีแต่ความถดถอย กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไป ถือว่าเป็นผู้ที่ขาดความละอายต่ออกุศล ที่สุดผลร้ายจะเกิดกับบุคคลผู้นั้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง
ในแง่ความรู้สึก หากไม่สบายใจจริง ๆ ก็คงต้องหาที่ทำงานใหม่ หรือหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับบุคคลสองคนนี้
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
Q2: เคล็ดลับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ใช้งานได้จริง
ได้รับโจทย์มาให้ปรับแก้วัฒนธรรมองค์กร เราต้องคิดถึงองค์ประกอบใดบ้างก่อนเอาไปสร้างเป็นนโยบาย
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
วัฒนธรรมองค์กรที่ดีคือวัฒนธรรมที่สามารถช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ สามารถทำได้โดยขั้นตอนเหล่านี้
1. Workshop ชี้แจง ทำความเข้าใจ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ต้องการให้องค์กรของเรามี charactor อย่างไร
วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่ควรกำหนดร่วมกัน วัฒนธรรมองค์กรที่ดีต้องแสดงออกได้ในเชิงพฤติกรรมหรือการกระทำที่ดี ๆ
2. Kick Off วัฒนธรรมองค์กร จัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ เป็นระยะ มีแผนปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน
3. ติดตามและประเมินผล โดยเน้นเรื่องพฤติกรรมที่แสดงออก พนักงานรับรู้ได้หรือไม่ว่าวัฒนธรรมองค์กรกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
Q3: กระบวนการ ADKAR คืออะไร ช่วยเหลือเรื่องการทำงานได้อย่างไร ?
บริษัทเป็นองค์กรขนาดกลางที่เริ่มก่อตั้งจากธุรกิจครอบครัวในอดีต แต่ตอนนี้เริ่มเติบโตจึงพยายามเอาระบบต่าง ๆ เข้ามาทำให้เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น แต่ติดตรงที่วิถีปฎิบัติหลายอย่างของที่บริษัทยังไม่ค่อยทันสมัย ได้ทราบว่าแนวทาง ADKAR สามารถช่วยได้ จึงอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม
A: โดยดร.พลกฤต โสลาพากุล
หลัก ADKAR คือกระบวนการที่ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดได้ง่ายขึ้น คล่องตัวขึ้น และทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปรับตัวได้ง่ายขึ้น มีขั้นตอนดังนี้
- A : Awareness หรือ ตระหนักรู้ในความจำเป็นของความเปลี่ยนแปลงว่าจะได้อะไร
- D : Desire อะไรบ้างที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
- K : Knowledge องค์ความรู้ที่มีอยู่ขององค์กรจะเปลี่ยนอะไรได้บ้าง
- A : Ability ความสามารถในการเปลี่ยน
- R : Reinforcement การเสริมแรงที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
Q4: ผู้บริหารให้จัดกิจกรรมทุกเดือน แต่ไม่รู้ว่าจะออกแบบอย่างไรดี อยากได้คำแนะนำครับ
ทำหน้าที่เป็น HRD และได้รับโจทย์จากบริษัทให้จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ของคนในทีมที่แปลกใหม่ มีประสิทธิภาพ สับเปลี่ยนกันไปในแต่ละเดือน เราควรเริ่มต้นคิดกิจกรรมโดยคำนึงถึงสิ่งใดก่อน ?
A: โดย Poonnie HR
แนะนำให้ทุกองค์กรทำ Knowledge Sharing เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยสามารถเริ่มจากการเชิญผู้บริหารมาเล่าความรู้ ทั้งในเรื่องงานหรือเรื่องทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องวิธีทำงาน (How To) และทัศนคติของผู้นำ (Mindset) และสร้างบรรยากาศสบาย ๆ ให้เพื่อนพนักงานมารับฟังความรู้ อาจจะวัดความสำเร็จของโครงการจากจำนวนผู้เข้าฟังเป็น X% ของพนักงานทั้งหมด หรือวัดความพึงพอใจในโครงการเป็น X% เป็นต้น
โครงการนี้สามารถจัดทุกเดือนและหาสวัสดิการตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นให้พนักงานที่เข้ารับฟังสูงสุด 3 ท่านรับรางวัลจากผู้บริหาร เป็นต้น
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
Q5: เราสามารถให้พนักงานเขียนชื่อตัวเองในแบบสอบถามได้หรือไม่ ?
หัวหน้าอยากรู้ว่าพนักงานแต่ละคนทำงานด้วยความรู้สึกอย่างไร และอยากรู้ว่าผู้ตอบมาจากหน่วยงานใดบ้าง จึงเสนอให้ผู้ตอบเขียนชื่อลงในแบบสอบถามโดยตรง กรณีนี้ส่งผลเสียอย่างไรหรือไม่ ?
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
โดยทั่วไป “แบบสอบถามความพึงพอใจ” ผู้ตอบแบบสำรวจไม่ต้องระบุชื่อ ผู้ตอบจะได้สบายใจในการให้ข้อมูล เพราะหากเราให้ระบุชื่อผู้ตอบ พวกเขาก็อาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเมื่อเจอคำถามที่ละเอียดอ่อน
ดังนั้นคำตอบที่ได้ก็จะไม่ใช่ข้อมูลจริง ไม่สามารถเอาไปแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
คุณก็สามารถเป็น HR Partner กับเราได้นะ!
เพียงเข้ามาร่วมกิจกรรมตอบคำถามกับเราที่นี่: https://bit.ly/3uvO3EA
คำตอบของคุณจะได้รับการจัดอันดับ หากคุณเป็น 1 ใน 10 ที่ร่วมกิจกรรมมากที่สุด
ทีมงานจะคัดเลือกคำตอบและหัวข้อที่โดนใจมาเผยแพร่ในเพจ HR NOTE.asia
คลิกด้านล่างเพื่อสมัครเป็น HR Partner ได้เลย!