มาถึงช่วงปลายปีที่ถือเป็นโค้งสุดท้ายที่พนักงานส่วนใหญ่ต้องทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อใหองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นเวลาแห่งความละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยความใส่ใจระหว่างกันเป็นพิเศษ องค์กรที่ปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ได้ดีจะมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากกว่าองค์กรที่ไม่รู้ว่าจะรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร ดังนั้นหากเราต้องการให้องค์กรประสบความสำเร็จ การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีของผู้เชี่ยวชาญก็ถือเป็นสิ่งที่ HR ต้องรู้ โดยคุณสามารถหาคำตอบในทุกหัวข้อที่สงสัยได้จาก HR Board แพลตฟอร์มคุณภาพที่จะช่วยให้ชุมชน HR กว้างขึ้นกว่าที่เคย
Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อที่เราคัดสรรมาในเดือนนี้มุ่งเน้นไปในหลากหลายประเด็น ทั้งด้านวัฒนธรรมองค์กร, การออกใบเตือน, เงินเดือน, สวัสดิการพนักงาน โดยมีคำถามที่น่าสนใจและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ดังนี้
Contents
Q1 : การสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กร ควรทำปีละกี่ครั้ง ?
อยากทำแบบสำรวจเพื่อหาคำตอบว่าวิธีดำเนินงานขององค์กรตอบสนองความต้องการของพนักงานหรือไม่ ควรทำอย่างไร และบ่อยแค่ไหน ?
A: โดย Poonnie HR
การสำรวจความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กรควรทำปีละ 2 ครั้ง โดยครึ่งปีแรกอยากให้ทำในลักษณะของการใช้ชุดคำถามสั้น ๆ (Pulse Survey) เพื่อเป็นการวัดอุณหภูมิและทิศทางของพนักงาน จากนั้นเมื่อได้ผลมาแล้ว ให้นำมาปรับปรุงตามความเหมาะสมก่อนถึงการประเมินประจำปี
มีแบบสอบถามบุคลากรอีกประเภทที่อยากให้ทำมาก ๆ คือ Stay Interview เพื่อจะได้รู้ว่าตอนนี้เราบริหารจัดการงานและคนในองค์กรได้ดีเพียงใด
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
Q2: พนักงานในองค์กรกลายเป็นคนมีชื่อเสียงบน TikTok เราขอให้มาช่วยงานฟรีได้หรือไม่ ?
บริษัทว่าจ้างพนักงานอยู่คนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นคนมีชื่อเสียงบนโลกออนไลน์ ผู้บริหารจึงคุยกันว่าอยากให้พนักงานคนดังกล่าวช่วยประชาสัมพันธ์องค์กรให้บนแพลตฟอร์มขององค์กรเอง (ไม่ไปยุ่งกับแพลตฟอร์มส่วนตัว) แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายให้ เพราะถือว่าเขาเป็นลูกจ้างที่เราจ่ายเงินเดือนให้อย่างเหมาะสม ในที่นี้บริษัททำได้หรือไม่ อยากขอคำแนะนำเพื่อไม่ให้เป็นการเอาเปรียบ
A: โดย นภัสราพร เด่นพงศ์พันธุ์
ภาษา HR เรียกกรณีนี้ว่า “มูลค่าของพนักงานเปลี่ยนไป” หากเขาทำงานลักษณะนี้ข้างนอกก็อาจได้ค่าตอบแทนมากกว่าที่บริษัทด้วยซ้ำ ดังนั้นองค์กรควรให้คุณค่ากับความสามารถของพนักงาน และเจรจาขอบเขตงานใหม่ให้ครอบคลุมสวัสดิการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ไม่ควรขอให้ช่วยงานฟรีโดยไม่มีความสมัครใจเด็ดขาดเพราะอาจทำให้ความสัมพันธ์มีปัญหาขึ้นได้
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
Q3: อยากให้พนักงานรู้สึกรักองค์กรเหมือนกับเรา HR ควรทำอย่างไร ?
พนักงานในองค์กรไม่ค่อยใส่ใจรายละเอียดหรือความก้าวหน้าขององค์กร หากเราต้องการให้พวกเขารักองค์กรมากกว่านี้ HR ควรเข้าไปมีบทบาทอย่างไร ?
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
แนะนำให้สร้างระบบ PMS – Performance Management System (ระบบการบริหารผลงาน) จะช่วยแก้ปัญหาได้ หรือใช้วิธีต่อไปนี้
– ปรับ Mindset ทั้งหัวหน้าและลูกน้อง เน้นเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ให้ยึดผลสำเร็จขององค์กรเป็นที่ตั้ง
– หัวหน้าต้องสร้างความเป็นผู้นำให้ลูกน้องเกิดศรัทธาและยอมรับ
– สร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน พูดคุยกันบ่อย ๆ สื่อสารในสิ่งที่สร้างสรรค์
– พัฒนาลูกน้องทั้งทางด้าน Soft Skills & Hard Skills มีการประเมิน ให้ข้อแนะนำ ติดตามผลเป็นระยะ
– อาจใช้มาตรการทางวินัย มีการลงโทษที่เหมาะสม กรณีที่ลูกน้องขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
Q4: HR ต้องทำอย่างไรหากต้องการให้พนักงานเก่าและใหม่เข้าใจเรื่องฐานเงินเดือนที่แตกต่างกัน
อยากสร้างความเป็นธรรมภายในองค์กร (Internal Equality) โดยเฉพาะเรื่องฐานเงินเดือนที่พนักงานเก่าและใหม่ได้ไม่เท่ากัน มีวิธีอย่างไรบ้าง ?
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
เงินเดือนเป็นเรื่องเซนซิทิฟมาก ดังนั้น HR ต้องใช้หลักการทางด้าน Compensation Management เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมภายในองค์กร (Internal Equity) ซึ่งแม้จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 100% แต่ก็ดีกว่าการไม่ทำอะไรเลย
HR สามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้
– จัดค่าตอบแทนแบบจูงใจเพิ่มเติมจากค่าตอบแทนแบบคงที่ เช่นการจ่ายเบี้ยเลี้ยง, เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ, โบนัสตามผลงาน หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ในกรณีที่ทำผลงานได้ตามเป้าหมาย
– การจัดสวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูลต่างๆ (Welfare & Benefits) เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ค่ารักษาพยาบาลนอกเหนือจากประกันสังคม, การท่องเที่ยวประจำปี, วันลาพิเศษ, การให้หุ้นแก่พนักงาน (Profit Sharing) โดยพิจารณาจากผลงานและอายุงานเป็นหลัก
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
Q5: พนักงานทำผิดเกินจำนวนที่กำหนด สามารถไล่ออกโดยไม่จ่ายชดเชยได้หรือไม่ ?
ถ้าเราออกใบเตือนเรื่องมาสายให้พนักงานครบ 3 ครั้ง แล้วต่อมามีการทำผิดซ้ำเดิมอีก เราสามารถให้ออกเลยโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ไหม ?
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
การออกใบเตือนเรื่องมาสายให้พนักงานครบ 3 ครั้ง ให้ดูเอกสารด้วยว่าเป็น “หนังสือลงโทษทางวินัย” ที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของบริษัทรือไม่
กรณีไม่ใช่ ก็จะเป็นแค่ใบเตือนทั่วๆ ไป โทษจะเบา ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง หากเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีใช่ ก็ถือว่าเป็นความผิดทางวินัยและเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน พิจารณาเลิกจ้างได้ แต่ให้ทบทวนเพราะอาจเข้าข่าย “การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม” ทั้งนี้หนังสือลงโทษทางวินัย มีอายุความ 1 ปี นับจากวันที่กระทำผิด
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Board และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇
คุณก็สามารถเป็น HR Partner กับเราได้นะ!
เพียงเข้ามาร่วมกิจกรรมตอบคำถามกับเราที่นี่: https://bit.ly/3uvO3EA
คำตอบของคุณจะได้รับการจัดอันดับ หากคุณเป็น 1 ใน 10 ที่ร่วมกิจกรรมมากที่สุด
ทีมงานจะคัดเลือกคำตอบและหัวข้อที่โดนใจมาเผยแพร่ในเพจ HR NOTE.asia
คลิกด้านล่างเพื่อสมัครเป็น HR Partner ได้เลย!