Q&A of the Month : 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนตุลาคม 2022

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนตุลาคม 2022

สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายกันแล้วในช่วงท้ายของปีค.ศ.2022 แต่โลกการทำงานของเรายังคงมีเรื่องใหม่ ๆ ให้ต้องศึกษาเรียนรู้แบบไม่มีวันจบสิ้น การเกิดขึ้นของ HR Board จึงเป็นดั่งการสร้างชุมชนกลางให้ผู้ที่ทำงานด้านทรัพยากรบุคคลได้แลกเปลี่ยนข้อมูล,​ประสบการณ์ รวมถึงตั้งคำถามแบบเฉพาะเจาะจงโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั่วประเทศคอยให้คำแนะนำ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาชุมชนแห่งนี้ได้ช่วยยกระดับ HR อย่างเป็นรูปธรรม เราจึงหวังว่ามันจะมีประโยชน์ต่อทุกคนมากขึ้นอีกในอนาคต

Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อที่เราคัดสรรมาในเดือนนี้มุ่งเน้นไปในหลากหลายหัวข้อ ทั้งด้านวัฒนธรรมองค์กร, การว่าจ้าง, เงินเดือน, การสัมภาษณ์งาน, สวัสดิการพนักงาน โดยมีคำถามที่น่าสนใจและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ดังนี้

Contents

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนตุลาคม 2022

Q1 : ควรทำอย่างไรหากหัวหน้านัดประชุมด่วนในช่วงวันหยุด ?

หัวหน้านัดประชุมด่วนในวันหยุด ซึ่งเป็นเวลาที่เราควรได้ใช้ตามสิทธิ์โดยไม่จำเป็นต้องบอกองค์กรล่วงหน้า กรณีนี้ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ และแท้จริงมารยาทในการนัดประชุมของผู้นำควรเป็นอย่างไร ?

A: โดย ดร.พลกฤต โสลาพากุล และ ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

การประชุมตามปกติควรแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันหรือ 1 เดือน หรือบางองค์กรได้ชี้แจงเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าจะมีการประชุมทุกสิ้นเดือน อย่างไรก็ตามองค์กรควรพิจารณาเรื่องการประชุมออนไลน์เช่นกันเพื่อไม่ให้กระทบวันหยุดของพนักงาน

แต่หากเป็นเรื่องเร่งด่วนซึ่งมีความจำเป็นต่องานต่อบริษัทจริง ๆ หัวหน้าอาจเรียกประชุมได้แล้วแต่กรณี ทั้งนี้พนักงานสามารถแจ้งหัวหน้าได้ตามความเป็นจริงหากติดภารกิจอื่น ๆ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Healthy Boundary : ชีวิตดีแน่แค่รู้จักตีกรอบ สร้างขีดจำกัด และกำหนดขอบเขตการทำงาน

Q2: ทำงานมาครบกำหนดช่วงทดลองงาน (Probation Period) แล้ว แต่ยังไม่ได้รับแจ้งว่าผ่านหรือไม่ ถือว่าเรามีสถานะอย่างไร ?

สัญญาระบุว่าเรามีช่วงทดลองงานทั้งสิ้น 119 วัน แต่ในช่วงวันที่ 90 หัวหน้างานเรียกไปคุยว่าเรายังมีข้อผิดพลาด จึงขอดูผลงานไปอีกสักระยะ จนปัจจุบันเลยเวลาที่กำหนดแล้วแต่ยังไม่มีใครแจ้งผลทดลองงาน ดังนั้นหากเราถูกเชิญออกจะทำอย่างไรได้บ้าง ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

เมื่อสัญญาเขียนไว้ว่าช่วงทดลองงานมีระยะเวลา 119 วัน การที่หัวหน้าไม่เรียกคุยหลังครบกำหนดก็ ถือว่าบริษัทบรรจุเป็นพนักงานประจำทันทีโดยอัตโนมัติ ดังนั้นหากจะเลิกจ้างหรือไม่ให้ผ่านทดลองงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และค่าชดเชยอีก 1 เดือน

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนตุลาคม 2022

Q3: พนักงานไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่หาความรู้เพิ่มเติม ควรทำอย่างไร ?

พนักงานทำหน้าที่ได้ดีก็จริง แต่ขาดความกระตือรือร้นที่จะหาความรู้ใหม่ ๆ ไม่ชอบอ่านหนังสือ คิดว่าทำแต่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายก็พอแล้ว นานเข้าเราก็กลัวว่าจะเป็นคนล้าสมัย ไม่สามารถออกความเห็นหรือคิดค้นอะไรใหม่ ๆ ให้กับองค์กรได้ ดังนั้นถ้าเราอยากสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในองค์กร จะทำอย่างไรได้บ้าง ?

A: โดย  ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

หากองค์กรของคุณไม่มีวัฒนธรรมการอ่าน วิธีที่ง่ายที่สุดคือการให้ผู้นำทำเป็นแบบอย่าง (Lead by Example) เพื่อให้พนักงานรู้ว่าเราให้ความสำคัญกับการหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ จากนั้น HR สามารถกระตุ้นพนักงานด้วยหลัก 3R Culture ซึ่งประกอบไปด้วย

– Read

– Re-Learn, Re-Skill, Re-Think

– Reasonability

การอ่านหนังสือมีประโยชน์กับการพัฒนาองค์กรมาก เพราะไม่ว่าพนักงานจะเก่งแค่ไหน แต่หากไม่หาความรู้เพิ่มเติม ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะตามไม่ทันกระแสโลกจนเกินผลเสียต่อการทำงานในระยะยาว

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


POWER OF READING : นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร ประโยชน์ของหนังสือกับการทำงาน

Q4: เด็กใหม่ลาออกช่วงทดลองงานโดยให้เหตุผลว่าเนื้องานไม่ตรงกับที่สมัคร  HR จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?

มีเด็กใหม่ที่ลาออกช่วงระหว่างทดลองงานเยอะ คำตอบจากการทำ Exit Interviews ระบุว่าไม่พอใจเรื่องเนื้องานที่ไม่ตรงกับ Job Description ดังนั้น HR Recruiter ที่เป็นผู้ช่วยคัดเลือกด่านแรกจะช่วยแก้ปัญหานี้อย่างไร​ ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

HR ต้องตรวจสอบว่าเนื้องานที่มอบหมายแตกต่างจากใน Job Description จริงหรือไม่ หากจริงก็ต้องยอมรับและเข้าไปแก้ไขใหม่โดยเร็ว เพราะการให้ทำงานนอกเหนือจากที่รู้เป็นปัญหาสำคัญมาก ไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ จึงไม่แปลกหากจะเกิดความเครียดจนอยากลาออกในที่สุด

การตามหาข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยอาจจะให้ HRBP คุยกับคนกลุ่มนี้ที่ออกไปแล้ว 6 เดือนแล้วดูว่าสาเหตุการออกยังเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ เพราะบางทีคุณอาจจะพบความจริงอื่น ๆ ที่เด็กไม่กล้าบอกในทีแรกก็ได้

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนตุลาคม 2022

Q5: ลาป่วยเกิน 3 วัน (รวมวันหยุด) ต้องใช้ใบรับรองแพทย์หรือไม่ ?

หากป่วยจนต้องลางานวันในวันศุกร์ เรื่อยยาวไปจนถึงวันจันทร์ เป็นเวลา 4 วันรวมวันหยุด  ต้องส่งใบรับรองแพทย์หรือไม่ ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเรื่องลาป่วยมาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาล ของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาล ของทางราชการได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

มาตรา 32 ไม่ได้ระบุไว้ว่าสามวันนับรวมวันหยุดหรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติ การลาป่วยติดเวรหยุด หากเกินสามวันขึ้นไปจะนับรวมวันหยุดด้วย นายจ้างขอให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ทั้งนี้ทางบริษัท ควรกำหนดหลักปฏิบัติไว้ใน “ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน” ให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจและป้องกันการลาป่วยเท็จ ข้อสังเกตก็คือหากพนักงานลาป่วยบ่อย ขอให้ HR สอบถามสาเหตุ พร้อมให้คำแนะนำในการแก้ไขจะดีกว่า การลาป่วยบ่อย ๆ มีผลถึงประสิทธิภาพในการทำงาน

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง