Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2022

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2022

ถ้าคุณคือฝ่าย HR ที่กระตือรือร้นในการหาข้อมูลใหม่ ๆ มาใช้ในที่ทำงาน และมีคำถามมากมายที่ต้องการคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง HR Community เว็บบอร์ดถาม-ตอบ (Q&A Forum) คือสิ่งที่เราอยากให้ HR ทุกคนนึกถึง เพราะนี่คือแพลตฟอร์มแรกของไทยที่จะมากระชับช่องว่างของ HR และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ที่ถูกกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้อ้างอิงได้จริง

เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) คือพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยให้ HR ทุกคนก้าวผ่านอุปสรรคในทำงานและก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ขึ้นมาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

การสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน (Employee Experience)

โดยไม่ทันตั้งตัว เราก็ผ่านครึ่งปี 2022 กันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นปีที่โลกการทำงานเปลี่ยนแปลงไวกว่าที่เคย จึงเป็นหน้าที่ของ HR ที่ต้องหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางมาสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กร และ HR Board ก็คือช่องทางที่มีคนจากแผนกทรัพยากรมนุษย์ หรือ ทรัพยากรบุคคลเข้ามาใช้งานอยู่เรื่อย ๆ

Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อประจำเดือนมิถุนายน 2022 ที่เราคัดสรรมานี้มุ่งเน้นไปในหลากหลายหัวข้อ ทั้งด้านงานเอกสาร, การว่าจ้าง, การบริหารองค์กร, นโยบายองค์กร, สิทธิประโยชน์ของพนักงาน โดยมีคำถามที่น่าสนใจและคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ดังนี้


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2022

Q1 : พนักงานลาป่วยบ่อยแต่ยังไม่เกินสิทธิ์ และมีใบรับรองแพทย์เสมอเมื่อลาป่วยเกิน 3 วัน เราสามารถออกใบเตือนได้หรือไม่ ?

พนักงานประจำใช้สิทธิ์ลาป่วยบ่อยแต่ยังอยู่ในสิทธิ์ 30 วัน บางครั้งลา 1 วัน บางครั้งลา 2 วัน บางครั้งลา 3 วัน ซึ่งทุกครั้งที่ลาเกิน 3 วัน จะมีใบรับรองแพทย์แนบมาเสมอ อย่างไรก็ตามในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา พนักงานท่านนี้ใช้สิทธิ์ลาป่วยไปแล้ว 12 วัน กรณีนี้หากเราออกใบเตือนและให้พนักงานเซ็นรับรองการรับหนังสือแจ้งเตือนจะดูเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุหรือไม่

A: โดย New Kanittha

ควรตรวจสอบการป่วยที่เกิดขึ้นก่อนว่าป่วยจริงหรือไม่ เพราะพนักงานมีสิทธิ์ลาป่วยเท่าที่ป่วยจริง แต่หากป่วยไม่จริงและสามารถพิสูจน์ได้ ก็สามารถลงโทษตามระเบียบของบริษัท โดยเฉพาะเมื่อเกิดผลกระทบต่อการทำงาน หรือบางกรณีพนักงานป่วยจริงแต่ไม่รู้สาเหตุ ก็ควรเสนอให้ไปตรวจสอบร่างกายเพื่อหาสาเหตุเลยดีกว่า เพราะการลาป่วยบ่อยอาจจะเรียกว่าหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2022

Q2: ขอทราบวิธีปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับ PDPA

เนื่องจากการรับสมัครงาน ต้องให้ผู้สมัครกรอกประวัติและแนบเอกสารเพื่อสมัครงาน จึงขอทราบวิธีการว่าบริษัทต้องปรับเปลี่ยนข้อความหรือเพิ่มเอกสารแนบใดหรือไม่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA

A: โดย ณัฐวุฒิ หนูหมื่น

เดี๋ยวนี้ PDPA กำลังฮิตและเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงในวงกว้าง HR ควรเขียนพารากราฟสุดท้ายเอาไว้เพื่ออธิบายว่าจะนำข้อมูลที่ได้ไปทำอะไรบ้าง และจะเก็บข้อมูลนี้เอาไว้นานเพียงใด

ควรขอข้อมูลเท่าที่ใช้ ข้อมูลไหนที่ไม่จำเป็นต้องถามก็ควรตัดออกไป เช่น ศาสนา, ชื่อคนในครอบครัว

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2022

Q3: HR ควรมีวิธีจัดเก็บเอกสารอย่างไร

อยากสอบถามเกี่ยวกับการจัดเก็บแฟ้มเอกสารของฝ่ายบุคคลว่าควรจะมีแฟ้มเอกสารอะไรบ้าง และในแต่ละแฟ้มต้องมีเอกสารหรือวิธีการจัดเก็บอย่างไร ?

A: โดย ณัฐวุฒิ หนูหมื่น

อันดับแรกแนะนำให้ทบทวนก่อนว่า HR ของบริษัทเรามีหน้าที่อะไรบ้าง แล้วค่อยมาย่อยว่าการทำงานแต่ละอย่างมีกระบวนการอย่างไร ต้องบันทึก แก้ไข ตรวจสอบ ทำลาย หรือส่งต่อข้อมูลอะไรบ้าง นอกจากนี้อาจมีเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาหากหน่วยงานดูแลส่วนที่นอกเหนือจากงาน HR เช่นงานด้านความปลอดภัย, งานธุรการทั่วไปของบริษัท เป็นต้น

เมื่อเราได้รายละเอียดครบถ้วนแล้ว ก็ต้องมาจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน เป็นกลุ่ม 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม 3 ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานต่อไป

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2022

Q4: เป็น HR มือใหม่ อยากได้คำแนะนำเรื่องการหาพนักงาน

อยากรู้ว่า HR มือใหม่ต้องเริ่มหาพนักงานด้วยวิธีใด เช่นพวกเว็บไซต์ประกาศงาน , บริษัทจัดหางาน หรือวิธีอื่น ๆ ก็ได้ อยากได้คำแนะนำตรงนี้ ขอบคุณค่ะ

A: โดย Ponlawat (Gap) Lapwanich

มี platform หาพนักงาน ชื่อ Sourcedout ที่จะใช้เครือข่ายของ Freelance HR Recruiter ซึ่ง Service นี้จะคล้ายกับการใช้บริการ Head Hunter เลยครับ แต่เค้าจะมี HR หรือ Recruiter network อยู่เยอะมาก น่าจะหลายร้อยคน ข้อดีคือสามารถระบุคุณสมบัติผู้สมัครที่ต้องการได้ ช่วยนัดสัมภาษณ์ ช่วยออฟเฟอร์งาน แต่ราคาจะถูกกว่า อาจจะใช้เวลามากกว่านิดหน่อย แต่ผู้สมัครก็จะถูกคัดมาให้แล้ว ช่วยลดภาระของ HR ในองค์กรลงได้มาก และถ้าเราไม่ได้พนักงานที่ต้องการก็ไม่ต้องเสียค่าบริการ เข้าไปดูรายละเอียดได้ทาง https://www.sourcedout.asia/th/client

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇


Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2022

Q5: มีพนักงานเสียชีวิตในออฟฟิศ HR ควรทำอย่างไร ?

เนื่องจากมีพนักงานป่วยและเสียชีวิตภายในออฟฟิศ ตอนนี้งานเอกสารและพิธีทางศาสนาได้จัดการเรียบร้อยแล้ว แต่ติดปัญหาใหญ่คือพนักงานไม่กล้ากลับเข้าออฟฟิศเพราะกลัวผี บางส่วนที่กล้าเข้าก็ไม่กล้าทำ OT ล่วงเวลา บริษัทไม่สามารถทำงานแบบ Hybrid ได้ด้วยลักษณะงาน สามารถแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

A: โดย นภัสราพร เด่นพงศ์พันธุ์

  1. หากพนักงานส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ให้ถือโอกาสทำบุญบริษัทและจัดเป็นประเพณีปเลยในช่วงเวลาเดียวกันของทุกปี ในช่วงแรกอาจจะถี่ตามเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หากไม่สะดวกก็ให้หากิจกรรมอื่น ๆ มาทำเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน
  2. จัดกิจกรรมสวดมนต์และปฏิบัติธรรม  ฝึกสมาธิ  ฝึกเจริญสติ ตามความเหมาะสมในสำนักงาน  หรือในสถานที่ที่จัดเอาไว้
  3. ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตหลังความตายตามความเชื่อของแต่ละศาสนา

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community และอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคำถามได้ที่นี่ 👇

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง