กลยุทธ์เชิงปฎิบัติการแห่งอนาคตที่มีประสิทธิภาพสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (The Future of Strategy Execution in Human Resource Management)

HIGHLIGHT
  • กลยุทธ์เชิงปฎิบัติการนั้นสามารถที่จะทำให้เราเห็นถึงวัตถุประสงค์ได้ชัดเจน รวมไปถึงชี้แนวทางในการปฎิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม
  • กลยุทธ์เชิงปฎิบัติการสำหรับฝ่าย HR นั้นควรคำนึงถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพของงาน HRM ตลอดจนคำนึงถึงผลประโยชน์ของบุคลากรอย่างแท้จริง
  • กลยุท์เชิงปฎิบัติการที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี และเพิ่มศักยภาพขึ้นได้

ยุคดิจิตอล (Digital Age) นี้ฝ่ายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวอย่างมากเป็นฝ่ายแรกๆ เลยก็คือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) นั่นเอง หนึ่งในสิ่งที่ฝ่าย HR ใส่ใจมากขึ้นนั้นก็คือการวางกลยุทธ์ในการปฎิบัติงาน แต่การไม่คุ้นเคยกับการทำงานในลักษณะนี้มาก่อนก็อาจทำให้ฝ่าย HR ส่วนใหญ่ได้แต่มีการคิดและวางกลยุทธ์ที่สวยหรู แต่เอาไปปฎิบัติจริงได้ไม่เป็น หรือไม่นำไปปฎิบัติตามหลักการที่วางไว้เลย

กลยุทธ์เชิงปฎิบัติการแห่งอนาคตที่มีประสิทธิภาพสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (The Future of Strategy Execution in Human Resource Management)

ยุคนี้ฝ่าย HR ต้องลุกขึ้นมาเป็นฝ่ายรุกมากกว่าฝ่ายรับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) แตกต่างไปจากเมื่อก่อน แถมยังมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ด้วย เพราะทรัพยากรมนุษย์นั้นถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร และหลายองค์กรต่างก็พยายามแข่งขันเพื่อดึงคนที่มีศักยภาพให้มาร่วมงานกับองค์กรให้ได้มากที่สุด ดังนั้นการที่ฝ่าย HR ไม่พร้อม หรือมีกลยุทธ์ในการทำงานที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งมีกลยุทธ์ที่สวยหรูแต่ไม่นำไปปฎิบัติการ ก็เปล่าประโยชน์กับองค์กรเสียเปล่า ดังนั้นเทรนด์ของ HR ในยุคใหม่ที่กำลังได้รับการใส่ใจมากขึ้นเรื่อยๆ นี้ก็คือการต้องวางกลยุทธ์เชิงปฎิบัติการที่นำไปสู่การใช้งานได้จริง มีทิศทางในการลงมือปฎิบัติ ที่สำคัญมีกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์แตกต่างไม่เหมือนใคร เพื่อสร้างให้องค์กรมีจุดเด่นที่แตกต่าง มีศักยภาพที่เพิ่มขึ้นในการสรรหาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมงานกับองค์กร ตลอดจนมีการดูแลพนักงานให้มีความสุขกับการทำงานในองค์กรให้มากที่สุดอีกด้วย

กลยุทธ์เชิงปฎิบัติการแห่งอนาคตที่มีประสิทธิภาพสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (The Future of Strategy Execution in Human Resource Management)

การสร้างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้นก็คือการสร้างกลยุทธ์เชิงปฎิบัติการที่สามารถนำไปปฎิบัติใช้ได้จริง และประสบผลสำเร็จได้ แล้วกลยุทธ์นั้นอาจต้องเป็นเชิงลึกที่เจาะจงในรายละเอียดและทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นด้วย ซึ่งนั่นถือเป็นการวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ มาลองดูกลยุทธ์เชิงปฎิบัติการที่น่าสนใจสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่กัน

กลยุทธ์การประเมินเงินเดือนให้กับพนักงานอย่างเป็นแบบแผน (Salary Evaluation Strategy)

หลายองค์กรมักจะบอกพนักงานใหม่ในตอนเซ็นสัญญาว่าองค์กรจะมีการขึ้นเงินเดือนให้แน่นอน แต่เอาเข้าจริงแล้วมันไม่มีหลักการใดๆ ที่ชัดเจนเลย หรือบางครั้งก็ละเลยและมีข้ออ้างมากมายในการเลื่อนการขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงาน นั่นทำให้พนักงานจะรู้สึกไม่ดีกับองค์กรในที่สุด หรือบางองค์กรก็มีแผนการขึ้นเงินเดือนปีละครั้งตามเรตอัตราเงินเฟ้อ (ที่คิดดูแล้วเป็นการขี้นเงินเดือนเพียงน้อยนิด) เพื่อที่จะได้ชื่อว่าได้ขึ้นเงินเดือนแล้ว ทำเป็นมาตรฐานที่ไม่ใส่ใจผลงานหรือความสามารถของพนักงาน นั่นก็ทำให้พนักงานเกิดความท้อหรือเฉยชากับการทำงานเพราะไม่ว่าจะทำดีแค่ไหนหรือแม้แต่ไม่ทำดีเลยก็ได้ขึ้นเงินเดือนตามระบบ นั่นเป็นผลเสียต่อองค์กรได้เช่นกัน

กลยุทธ์ยุคใหม่เริ่มมีการนำการประเมินเงินเดือนตามผลงานและความสามารถในการทำงานมาใช้ในรูปแบบที่เป็นแบบแผนและเป็นทางการมากขึ้น เช่น ประเมินผลทุก 3 เดือน หรือประเมินผลทุก 6 เดือน และประเมินผลตามความสามารถจริงๆ กลยุทธ์นี้จะทำให้เกิดการพัฒนาในการทำงานเป็นอย่างมาก หรือองค์กรขนาดเล็กบางองค์กรอาจมีระบบการพิจารณาเงินเดือนเป็นแบบเฉพาะตัวของตัวเอง อย่างเช่น มีอัตราก้าวหน้าเพิ่มเงินเดือนให้ทุกเดือน (จากการคำนวนอัตราโดยรวมที่เหมาะสม) โดยอาจมีฐานเงินเดือนในอัตราคงที่ แต่ใช้วิธีการเพิ่มด้วยอย่างอื่นแทน เพื่อลดความยุ่งยากในการจัดการเรื่องภาษี เป็นต้น

สิ่งสำคัญของกลยุทธ์ในการประเมินเงินเดือนนี้คือองค์กรจะต้องมีความจริงใจต่อบุคลากร มีความตั้งใจที่จะขึ้นเงินเดือนให้อย่างแท้จริง ไม่ใช่สักแต่จะพูด หรือพูดเพียงลมปาก หรือปฎิบัติตามกฎแบบไม่คำนึงถึงเนื้องานที่แท้จริง เรื่องเงินเดือนถือเป็นปัจจัยสำคัญหลักอย่างหนึ่งของการทำงาน หากมีการพิจารณาเงินเดือนที่เหมาะสม ชัดเจน มีแบบแผนที่พนักงานสามารถรู้ได้ว่าจะทำอย่างไรให้พนักงานสามารถเพิ่มเงินเดือนของตนเองได้ ก็จะเป็นการกระตุ้นการทำงานที่ดี และทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในงานและองค์กรได้ด้วย

กลยุทธ์ด้านสวัสดิการใหม่ๆ (New Benefit Strategy)

กลยุทธ์นี้น่าจะเป็นกลยุทธ์เชิงปฎิบัติการที่เห็นผลได้ชัดเจนที่สุดในยุคนี้ ซึ่งหลายองค์กรทั้งองค์กรใหม่ๆ และองค์กรเก่าแก่ที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการสร้างองค์กรใหม่และสร้างสวัสดิการให้เหมาะสมกับยุคสมัยและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลง หลายองค์กรพยายามสร้างสรรค์สวัสดิการแปลกใหม่ที่มีประโยชน์กับพนักงานที่แท้จริงเพื่อดึงดูดให้พนักงานอยากมาร่วมทำงานด้วย แล้วในยุคนี้สวัสดิการที่สร้างสรรค์ได้ยอดเยี่ยมยังสามารถเผยแพร่เพื่อใช้ดึงดูดให้คนมีคุณภาพมาสมัครงานให้เพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการ Recruitment อย่างมาก และผลพลอยได้ที่ตามมาอีกอย่างคือการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดี ไปจนถึงสร้างแบรนด์องค์กรให้ติดตลาดเป็นที่รู้จักและยอมรับได้ในคราวเดียวกันด้วย

เทรนด์ของสวัสดิการยุคใหม่

สวัสดิการยุคใหม่อาจไม่ใช่เรื่องสวัสดิการพื้นฐานแบบเมื่อก่อน อย่างประกันสังคม, ประกันสุขภาพ, วันลา, ค่ารถ, ค่าโอที, หรือแม้แต่โบนัส แต่สวัสดิการยุคใหม่นั้นเน้นการที่บุคลากรจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง เรามาลองดูกันดีกว่าว่ามีการสร้างสรรค์แนวไหนที่น่าสนใจกันบ้าง

  • สวัสดิการที่สามารถช่วยลดค่าครองชีพได้ : สวัสดิการในกลุ่มนี้กำลังมาแรงและได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ ตัวอย่างสวัสดิการดังกล่าวก็เช่น การมีอาหารกลางวัน (ที่มีคุณภาพ) ให้พนักงานทานฟรี ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็ฯอย่างดีและมีประสิทธิภาพ หรือ การมีฟิตเนสในที่ทำงาน ที่จะทำให้พนักงานไม่ต้องไปเสียเงินค่าสมาชิกรายเดือน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างยอดเยี่ยม
  • สวัสดิการส่งเสริมสุขภาพที่ดี : เทรนด์การดูแลสุขภาพกำลังเป็นที่นิยม นั่นทำให้หลายองค์กรมีสวัสดิการด้านนี้มารองรับพนักงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การมีฟิตเนสในออฟฟิศ ไปจนถึงการให้สิทธ์ใช้บริการฟรีตามฟิตเนสต่างๆ ซึ่งการส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีนั้นนอกจากพนักงานจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็ยังช่วยให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย และเป็นสวัสดิการที่ดูงดูดใจได้ดีทีเดียวในยุคปัจจุบัน
  • สวัสดิการที่เอื้อประโยชน์ต่อบุคคลในครอบครัว : ในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูง ค่าใช้จ่ายมากมาย แถมอัตราเงินเดือนยังต่ำ สวัสดิการหนึ่งที่พนักงานมักมองหาก็คือสวัสดิการที่เอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัวของตนเองเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวไปในตัว อย่างเช่น สวัสดิการศูนย์รับเลี้ยงเด็กสำหรับองค์กรใหญ่ที่ต้องการช่วยเหลือบุคลากรที่เป็นแม่, สวัสดิการท่องเที่ยวประจำปีที่สามารถพาครอบครัวไปด้วยได้, สวัสดิการสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ให้กับคนในครอบครัวด้วย อย่างเช่น องค์กรสายการบิน ที่ให้สิทธิ์บินฟรีหรือในราคาถูกกับครอบครัวของพนักงานด้วย เป็นต้น
  • สวัสดิการเชิงสันทนาการ : สวัสดิการนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในองค์กรคนรุ่นใหม่ หรือองค์กรที่เน้นความสร้างสรรค์ ทำธุรกิจรูปแบบใหม่ แต่ก็เริ่มมีองค์กรยุคเก่าที่ปรับตัวให้ทันยุคทันสมัยใส่ใจในสวัสดิการนี้เช่นกัน สวัสดิการเชิงสันทนาการนี้บางออฟฟิศก็มองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เสียเวลาในการทำงาน แต่บางออฟฟิศก็มองว่าเป็นการพักผ่อน สร้างความสุข คลายเครียด และทำให้พนักงานรีเฟรชเพื่อกลับไปทำงานใหม่ได้เป็นอย่างดี สวัสดิการเชิงสันทนาการนี้ก็ได้แก่ ห้องเล่นเกม, ห้องกีฬาในร่ม, ห้องดูหนังฟังเพลง, ห้องเล่นดนตรี, หรือแม้แต่กระทั่งการมีบาร์อยู่ในออฟฟิศให้ผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึง Party Time ที่หลายองค์กรมักมีการจัดปาร์ตี้ให้ออฟฟิศให้พนักงานได้สนุกสนานกันด้วย
  • สวัสดิการอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย : ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานในทุกสาขาอาชีพ และอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานไปแล้ว หลายองค์กรจัดสรรอุปกรณ์ทันสมัยและเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อเป็นสวัสดิการให้กับพนักงานในการทำงาน นอกจากจะได้ใช้ประโยขน์ในการทำงานแล้วก็ยังได้ใช้ส่วนตัวไปด้วย ที่สำคัญทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรเวลาออกไปติดต่องานนอกองค์กรด้วย และนี่ก็เป็นสวัสดิการที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีทีเดียว ทั้งยังเป็นการลงทุนที่องค์กรได้ประโยชน์ไปพร้อมกับบุคลากร
  • สวัสดิการสร้างสรรค์ในรูปแบบอื่นๆ : ปัจจุบันมีการสร้างสรรค์สวัสดิการแปลกๆ ขึ้นมามากมาย ทั้งสวัสดิการที่ไม่เคยมีมาก่อน ไปจนถึงการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากสวัสดิการเก่าๆ ให้คุ้มค่า สวัสดิการในรูปแบบนี้ก็เช่น ห้องสำหรับนอนกลางวัน (โดยไม่ผิดกฎบริษัท), สวัสดิการนวดคลายเครียด, สวัสดิการลาคลอดได้ 1 ปี, สวัสดิการวันหยุดให้ไปท่องเที่ยวพร้อมเงินติดกระเป๋า, สวัสดิการตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวต่างประเทศ, สวัสดิการให้โรงแรมที่พักฟรี, สวัสดิการทำงานที่ออฟฟิศ 4 วันต่อสัปดาห์ + การทำงานที่ไหนก็ได้ 1 วัน เป็นต้น

กลยุทธ์บริหารงานบุคคลด้วยเทคโนโลยี (HR Tech for HRM)

การบริหารงานแบบดั้งเดิมของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ล่าช้า คร่ำครึ หรือแม้แต่ใช้ระบบคำนวณโดยมนุษย์นั้นอาจทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น HR ยุคใหม่จึงลุกขึ้นมาปฎิวัติตนเอง หันไปใช้เทคโนโลยีทันสมัยต่างๆ ที่สามารถช่วยประโยชน์ในด้านงาน HRM ได้ เพื่อให้การทำงานบริหารงานบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น กลยุทธ์นี้นอกจากจะสร้างประสิทธิภาพในการทำงานที่ยอดเยี่ยมให้กับ HR แล้ว ก็ยังสามารถสร้างความสุขให้กับบุคลากรไปในตัวได้ด้วย เพราะเทคโนโลยีหลายอย่างนั้นนำมาช่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์กับบุคลากรและองค์กรนั่นเอง นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และทำให้คนคุณภาพอยากมาร่วมสร้างสรรค์องค์กรต่อไปอีกด้วย ฝ่าย HR อาจลองหาเทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำงานของตนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำเวลาที่เหลือไปพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป ก็จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ลองเข้าไปดู Tech ที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ในการทำงานของ HR ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้

กลยุทธ์ด้านการสรรหาบุคลากรที่เก่งฉกาจและมีพรสวรรค์ (Genius Scout & Talent Recruiting)

ยุคปัจจุบันองค์กรต่างก็แข่งขันกันมากมายในการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานกับบริษัทของตน หลายองค์กรพัฒนาการสรรหาเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพเพื่อที่จะดึงให้คนทำงานที่มีศักยภาพมาร่วมงานกับองค์กรของตน การสรรหาคนจากความสามารถในการทำงานอาจเป็นเรื่องพื้นฐานไปแล้ว เพราะ HR ยุคใหม่จะมีกลยุทธ์ในการสรรหาที่ก้าวหน้ากว่าเก่าอย่างเช่นการสรรหาเชิงรุกเพื่อตามหาบุคลากรที่เก่งฉกาจม่าร่วมงานด้วย อาจเป็นการเข้าไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อติดต่อข้อเสนอกับนิสิตนักศึกษาที่มีศักยภาพก่อนเรียนจบ หรือแม้แต่การที่ HR ใช้เครือข่าย Social Media อย่าง LinkedIn เพื่อติดต่อไปยังผู้มีศักยภาพต่างๆ เพื่อยื่นข้อเสนอโดยตรง นอกจากนี้ก็ยังมีการคัดสรรคนที่มีพรสวรรค์ด้านต่างๆ มาร่วมงานด้วย ซึ่งอาจเป็นขั้นตอนที่ใส่ใจและให้ความสำคัญกับศักยภาพในเชิงลึกของแต่ละคนเพิ่มขึ้น

Social Media Recruitment

หนึ่งในช่องทางสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในยุคนี้ก็คือการสรรหาบุคลากรผ่านทาง Social Media โดยเฉพาะบุคลากรคนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีโปรไฟล์การทำงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเราสามารถค้นหาบุคลากรที่มีศักยภาพได้ดีทีเดียว ลองเข้าไปอ่านรายละเอียดของบทความเพิ่มเติมได้ตามด้านล่างนี้

การสรรหาพนักงานผ่าน Social Media

กลยุทธ์ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น (Flexible Working System)

พฤติกรรมมนุษย์ในยุคดิจิตอลเปลี่ยนไป พฤติกรรมการทำงานของคนทำงานยุคใหม่ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน หลายองค์กรต่างปรับระบบการทำงานให้ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการทำงานให้เหมาะสมกับแรงงานแต่ละคนให้มากที่สุด ระบบการทำงานแบบนั่งประจำออฟฟฟิศเริ่มลดความจำเป็นและปรับเปลี่ยนไปตามโลกยุคใหม่ ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นการช่วยลดงบประมาณออฟฟิศได้ด้วย และอีกส่วนคือการปรับตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง แต่สามารถช่วยให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นนี้อาจมีตั้งแต่การทำงานแบบ Work from Home หรือ Remote Working ที่สามารถให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้บนโลก เพียงแต่ทำงานให้สำเร็จทันตามกำหนด ซึ่งวิธีการนี้จะเหมาะกับการจ้างงานบุคลากรที่มีศักยภาพแต่ไม่ชอบระบบการทำงานที่ประจำหรือจำเจ ตลอดจนไม่สะดวกในการเดินทางมาทำงาน แล้วก็ยังรวมไปถึงการจ้างงานข้ามประเทศโดยที่ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานไปไหนอีกด้วย

นอกจากนี้ก็ยังมีการผสมผสานระบบเก่าและระบบใหม่ให้เข้ากันอย่างลงตัว อย่างเช่น การทำงานประจำที่ออฟฟิศ 4 วัน ควบกับการทำงานแบบ Work from Home 1 วัน หรือการทำงานแบบ Work from Home 4 วัน และเข้ามาออฟฟิศ 1 วัน เพื่อสรุป ประชุม พูดคุยต่างๆ ประจำสัปดาห์ อีกกรณีหนึ่งก็คือเรื่องระบบ Freelance ที่ทั้งแบบประจำและแบบตามแต่ละงาน ไปจนถึงการจ้างงานในวันหยุด กรณีคนทำงานประจำแล้วอยากได้รายได้เสริมและองค์กรอยากให้เข้ามาช่วยเหลือ ก็สามารถจ้างงานนอกเวลาปกติ หรือวันปกติได้เช่นกัน เป็นต้น

กลยุทธ์การสร้างสรรค์ตำแหน่งใหม่ (New Position Creating)

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในยุคนี้ก็คือการสร้างสรรค์ตำแหน่งการทำงานใหม่ขึ้นมาในองค์กร ทั้งแบบตำแหน่งที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลก ตำแหน่งที่ปรับปรุงรายละเอียดการทำงานเดิมใหม่ หรือแม้แต่ชื่อตำแหน่งใหม่แต่ทำงานในลักษณะเดิม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ ไม่จำเจ ไม่เบื่อหน่าย และสร้างความสนใจให้กับคนที่อยากสมัครงานเข้าร่วมงานกับองค์กรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ทั้งหลาย รวมถึงอาจเป็นการสร้างองค์ความรู้ขององค์กรขึ้นมาใหม่ สร้างวิธีการบริหารที่ไม่เหมือนใคร และสร้างเอกลักษณ์จนกลายเป็นที่จับตาและองค์กรอื่นนำไปปฎิบัติตาม

New Things and Creative Position
  • VP of Employee Experience : หนึ่งในองค์กรที่มีการปฎิวัติในหลากหลายด้านในการทำงานมากที่สุดก็คือ Airbnb ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการปฎิวัติแผนก Human Resource ให้เป็นแผนก Employee Experience แต่มีหัวเรื่อใหญ่สุดเป็นตำแหน่ง VP of Employee Experience เพื่อที่จะโฟกัสในการใส่ใจประสบการณ์การทำงานของพนักงานอย่างจริงจังและเต็มที่ขึ้นนั่นเอง
  • Talent Acquisition : ตำแหน่งของการสรรหาบุคลากรของยักษ์ใหญ่อย่าง Apple ที่ไม่ใช้คำเดิมๆ แต่เปลี่ยนมาเป็น Talent Acquisition เพื่อสร้างความแตกต่างในตลาด และเพิ่มขอบเขตของการทำงานการสรรหาเชิงรุกขึ้น เพื่อให้การสรรหามีคุณค่ามากขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้น
  • Netflix Tagger : เชื่อว่าคงไม่มีใครเคยได้ยินตำแหน่งนี้มาก่อน นั่นเป็นการสร้างสรรค์ตำแหน่งใหม่ให้เหมาะสมกับงานเฉพาะตัวขององค์กร ซึ่งชื่อก็บ่งบอกแล้วว่าเป็นตำแหน่งงานขององค์กรบันเทิงยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix ที่จ้างพนักงานมานั่งดูซีรี่ส์และรายการของ Netflix เฉลี่ยไม่ตำกว่าสัปดาห์ละ 20 ชม. เพื่อที่จะทำหน้าที่ใส่ tag ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายการหรือภาพยนตร์ต่างๆ ของ Netflix ซึ่งจะช่วยทำให้คนเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย

กลยุทธ์การช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Benefit)

นอกจากสวัสดิการปกติธรรมดาแล้วในยุคนี้หลายองค์กรสร้างสรรค์กลยุทธ์สวัสดิการอื่นๆ เพิ่มเติมอีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในการสร้างกลยุทธ์เชิงปฎิบัติการที่น่าสนใจและช่วยเหลือบุคลากรในยามจำเป็นได้จริงๆ ก็คือกลยุทธ์ช่วยเหลือยามฉุกเฉินต่างๆ ตั้งแต่ การให้เงินกู้ฉุกเฉิน, การให้ประกันอุบัติเหตุ, การให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินเมื่อมีสมาชิกครอบครัวเสียชีวิต, ไปจนกระทั่งการให้บริการสวัสดิการยุคใหม่ด้านการเงินที่เข้ามาช่วยยามฉุกเฉินอย่างการเบิกเงินเดือนล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นมีส่วนช่วยให้เกิดการตัดสินใจร่วมงานกับองค์กรได้ดีทีเดียว และยังเป็นการช่วยเหลือพนักงานในยามยากที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับองค์กรได้อีกด้วย

Salary Advance

หนึ่งใน Fin Tech ที่กำลังได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ เป็นอย่างมากในยุคนี้ก็คือบริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าซึ่งองค์กรสามารถจัดสวัสดิการเสริมให้กับพนักงานได้มีสิทธิ์เบิกเงินเดือนล่วงหน้าของตนเองไปใช้ยามฉุกเฉินได้ โดยที่องค์กรไม่ต้องแบกรับภาระเงินไปก่อน และพนักงานก็ไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย ซึ่งสวัสดิการนี้ทางองค์กรจะต้องทำสัญญาร่วมกับบริษัทที่ให้บริการเพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอนุมัติตลอดจนเป็นสวัสดิการเสริมให้พนักงานนั่นเอง App ที่กำลังได้รับความสนใจในช่วงนี้ก็ได้แก่ Ultra Tech ที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุดจากญี่ปุ่นที่กำลังเข้ามาบริการในเมืองไทย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามบทความด้านล่างนี้

บริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้ารูปแบบใหม่ ตัวช่วยที่จะทำให้บริษัทสบายใจ พนักงานยิ้มได้อย่างไร้กังวล

บทสรุป The Future of Strategy Execution in Human Resource Management

กลยุทธ์ต่างๆ หากตั้งขึ้นมาเพื่อความสวยงามโดยไม่ได้นำมาปฎิบัติจริงก็ดูเหมือนเป็นกลยุทธ์ที่ไร้ค่า กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้นก็คือกลยุทธ์ในเชิงปฎิบัติการที่นำมาใช้ได้จริง มีทิศทางชัดเจน มีแนวทางปฎิบัติที่นำไปใช้งานได้จริง และสามารถเห็นวัตถุประสงค์ได้ทันทีจากกลยุทธ์นั้น ที่สำคัญมันสามารถทำให้เกิดผลสำเร็จได้จริง และสร้างศักยภาพให้กับองค์กรได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด หลายองค์กรจึงเริ่มใส่ใจในกลยุทธ์เชิงปฎิบัติการมากขึ้น รวมไปถึงกลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนใครเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรและสร้างศักยภาพในรูปแบบตลอดจนทิศทางอื่นๆ แล้วหนึ่งในฝ่ายที่ต้องใช้กลยุทธ์ในเชิงรุกในยุคปัจจุบันนี้ก็คือฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั่นเองที่ต้องสร้างสรรค์กลยุทธ์ขึ้นให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร รวมถึงสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับบุคลากรได้อย่างดีที่สุดเช่นกัน

CTA Employee Benefit

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง