Search
Close this search box.

พนักงานใหม่เข้ามาแล้วก็ลาออกไว ทำไมต้องย้อนกลับไปดูที่กระบวนการจ้างงาน

Turn over สูง Cover

เคยเจอไหมกับปัญหาพนักงานใหม่เข้ามาเริ่มงานได้ไม่ทันไร กลายเป็นว่าวันถัดไปก็ไม่มาแล้ว แจ้งลาออกแบบไม่รู้สาเหตุ จากจุดนี้ HR หรือผู้บริหารบางส่วนอาจคิดว่าเป็นเพราะคนสมัยนี้ไม่สู้งาน เจออะไรไม่ถูกใจหน่อยก็คิดแต่จะลาออก – เปลี่ยนงานอยู่เรื่อย

แต่สำหรับกรณีดังกล่าวอาจไม่เหมาะที่จะรีบด่วนสรุปแบบนั้น เนื่องจากการที่พนักงานใหม่ตัดสินใจออกแม้ว่าเพิ่งเข้ามาได้แปปเดียว อาจเป็นเพราะเจอปัญหาบางอย่างที่ “ร้ายแรง” จนถึงขั้นอยู่ไม่ได้

หรือความจริงสาเหตุอาจลึกลงไปถึง “กระบวนการจ้างงาน” เคยตั้งคำถามไหมว่าก่อนที่ผู้สมัครจะตอบตกลงเริ่มงาน องค์กรได้เตรียมความพร้อมให้กับพวกเขาไว้มากพอหรือยัง มีการแชร์ข้อมูลอย่างข้อจำกัด และอุปสรรคที่ต้องเจอ เพื่อให้มีเวลาได้วางแผนรับมือก่อนต้องทำงานจริงบ้างไหม

ดังนั้นถ้าอยากลดโอกาสเกิดปัญหาในลักษณะนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกบ่อย ๆ นอกจากวิเคราะห์ปัญหาที่แอบซ่อนอยู่ในองค์กรอย่างรอบคอบ ก็จำเป็นต้องย้อนกลับไปดูที่ “ต้นทาง” อย่างกระบวนการจ้างงานด้วย ซึ่ง Reeracoen มีคำแนะนำให้ทีมนายจ้างนำไปปรับใช้กันตามนี้

กำหนดคุณสมบัติ รายละเอียดงาน และความต้องการที่ชัดเจน

การอธิบายลักษณะงานที่ละเอียดตั้งแต่ในประกาศรับสมัครงาน ทั้งหน้าที่ ความรับผิดชอบ และความคาดหวังจากตำแหน่งนั้น ๆ จะช่วยคัดกรองให้เหลือเฉพาะผู้สมัครที่สนใจในตัวงานจริง ๆ

ประกอบกับคุณสมบัติของผู้สมัครที่นอกจากจะพูดถึงทักษะการทำงานแล้ว องค์กรยังสามารถระบุ “ลักษณะนิสัย” หรือลักษณะของประสบการณ์ จะได้เห็นภาพว่าคนแบบไหนที่เหมาะเข้ามาทำงานในบริษัทด้วย

สัมภาษณ์งานโดยให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบ

นอกจากประเมินความสามารถเชิงการทำงาน อาจมีการนำวิธีสัมภาษณ์รูปแบบอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับองค์กรในภาพรวม เช่น สร้างสถานการณ์จำลองไว้ดูวิธีจัดการปัญหาเฉพาะหน้า

หรือมีการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรมเพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์ ทำความเข้าใจแนวคิด การตัดสินใจจากการทำงานที่ผ่านมา ก็พอจะช่วยให้มองออกว่าผู้สมัครเข้ากับการทำงานจริงในองค์กรได้ไหม

สื่อสารข้อมูลให้ครบถ้วน ไม่ปกปิดปัญหา

ปกติองค์กรจะพยายามป้อนข้อมูลเชิงบวกเกี่ยวกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการต่าง ๆ หรือโครงสร้างเงินเดือนที่ดูปฏิเสธยาก เพื่อสร้างแรงดึงดูด และกระตุ้นให้ผู้สมัครตัดสินใจเข้ามาร่วมงาน โดยไม่ได้สื่อสารถึง “อุปสรรค” ที่อาจจะต้องรับมือไว้ล่วงหน้า ซึ่งนับว่าเป็นข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยในการจ้างงาน

หากผู้สมัครตัดสินใจมาร่วมงานด้วย “ด้านดี” ขององค์กรเพียงอย่างเดียว แต่พอมาทำงานจริงแล้วกลับเจอปัญหาต่างๆ มากมายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ก็จะทำให้เกิดสภาวะ Shift Shock เพราะงานใหม่ไม่ได้ดีแบบที่คิด และเมื่อ “งานไม่ตรงปก” การตัดสินใจออกก็เพื่อเซฟอนาคตของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องอยู่ต่อแล้วรอเจอกับเซอร์ไพรซ์ที่หนักกว่าเดิม

สำหรับวิธีแก้ปัญหา องค์กรควรสื่อสารข้อมูลอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความคาดหวังที่มีต่อพนักงาน เป้าหมายในการทำงาน โดยไม่ลืมอธิบายข้อจำกัดในการทำงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้สมัครมีภูมิคุ้มกันและได้ใช้เวลาหาวิธีรับมือไว้ก่อน ก็จะช่วยลดโอกาสเกิด Shift Shock เพราะเป็นข้อมูลที่รับรู้อยู่แล้ว

ปรับปรุงคุณภาพการ Onboarding พนักงานใหม่

ในช่วงแรกที่พนักงานใหม่เข้ามาก็จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ให้พวกเขาได้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ในองค์กร โดยทยอยให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ตามความเหมาะสม ได้แก่

1 – เคลียร์ทุกข้อสงสัย

ไม่แปลกถ้าพนักงานใหม่จะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับที่ทำงานใหม่ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับงาน เพื่อนร่วมทีม สภาพแวดล้อม หรือวัฒนธรรม และถ้าองค์กรปล่อยให้พวกเขาหาตอบด้วยตัวเองก็อาจเกิดความเข้าใจผิดได้ ดังนั้นเราต้องช่วยเคลียร์ข้อสงสัย สร้างมุมมองที่ดีต่อบริษัทให้ได้

2 – สร้างมาตรฐานที่ดีก่อนเริ่มงาน

พนักงานใหม่จะคอยสังเกตทุกอย่างที่เกิดขึ้นเพื่อปรับตัวเข้าหา ซึ่งรวมถึง “มาตรฐานการทำงาน” ของเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นหากปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจรักษาระดับคุณภาพ ก็อาจทำให้สมาชิกที่เพิ่งเข้ามาไม่ประทับใจและตัดสินใจลาออกไป

3 – ป้องกันทัศนคติแง่ลบจากคนในบริษัท

ไม่มีใครอยากเอาตัวเองไปอยู่ในที่ที่ไม่มีความสุข วัฒนธรรมและพื้นฐานความคิดของคนในองค์กร จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยกำหนดทิศทางของพนักงานใหม่ เมื่อได้รับรู้ปัญหาต่าง ๆ แต่ไม่มีคำอธิบายตามหลัง ก็จะทำให้พวกเขามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อบริษัทได้ง่าย

4 – วางแผนสอนงานแบบค่อยเป็นค่อยไป

บางครั้งเวลาองค์กรอยากให้พนักงานใหม่เป็นงานเร็ว ๆ ก็จะพยายามป้อนข้อมูลทุกอย่างให้จบตั้งแต่วันแรก ซึ่งทำให้พวกเขาปรับตัวได้ยากเพราะไม่มีเวลาทำความเข้าใจ ควรสอนงานแบบค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับความสำคัญ จะได้มีพื้นที่ของให้เรียนรู้ เกิดการถามแล้วต่อยอดพัฒนา

การจ้างงานที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้วัดกันที่ว่าได้ผู้สมัครเข้ามาเริ่มงานหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าเข้ามาทำงานแล้วจะสามารถปรับตัว สร้างคุณค่าให้กับองค์กร และเข้าใจเป้าหมายร่วมกันเพื่อต่อยอดความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

ลดความกังวลใจในทุกการจ้างงาน ด้วยพาร์ทเนอร์ที่รู้ใจ “คน” และเข้าใจ “เป้าหมายองค์กร” ค้นหาคนที่ใช่ให้ทุกตำแหน่งที่ว่าง จ้างงานผ่านมืออาชีพที่รู้ใจ

หรือยกระดับคุณภาพการจ้างงานภายในองค์กร ลดภาระงานซ้ำซ้อน ด้วยเครื่องมือจัดเก็บ ติดตาม และจัดการข้อมูลผู้สมัคร ลงทะเบียนรับสิทธิใช้งาน ATS ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

All HR Solutions! มาค้นหา HR Products and Services กับ HREX กันเถอะ

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง