HIGHLIGHT
|
ในยุคสมัยที่โลกเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด องค์กรส่วนใหญ่ล้วนเต็มไปด้วยความหลากหลายและความวุ่นวาย ปัญหานี้ได้นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยยกระดับความสามารถพร้อมกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อพนักงานโดยตรง
สิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับผลประกอบการในภายหลังทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กรที่จะประสบความสำเร็จในปัจจุบัน คือองค์กรที่รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง และสามารถคิดค้นนโยบายให้พนักงานทุกระดับอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ ไม่ว่าจะด้วยการใช้เครื่องมือ, การอบรม หรือมีแพลตฟอร์มในรูปแบบใดก็ตามที่ทุกคนมีส่วนร่วม
ประสบการณ์ที่ดีจะนำไปสู่ “ความเป็นเจ้าของ” (Sense of Ownership) ซึ่งถือเป็นรากฐานที่ทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนต้องยกระดับตัวเองขึ้น, อยากพัฒนางานที่ได้รับมอบหมายให้ดีขึ้น, อยากมีคุณค่าต่อองค์กรมากขึ้น นี่คือแนวคิดสำคัญของสังคมทำงานในปัจจุบันที่พนักงานถูกดึงความสนใจ (Distraction) ได้ตลอดเวลา
บทความนี้เราจะพาผู้อ่านไปรู้จักกลยุทธ์เพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานที่ดี ตลอดจนคุณประโยชน์ของการใช้แพลตฟอร์มอย่าง TeamLink ที่พร้อมช่วยให้ทุกองค์กรปรับตัวในโลกดิจิทัลได้ในแบบเฉพาะองค์กรของคุณ ช่วยให้งานของ HR ง่ายขึ้น และทำให้พนักงานได้ประสบการณ์ทำงานที่ดีกว่าเดิม อ่านรายละเอียดไปพร้อมกับเราได้ที่นี่
Contents
Sense of Ownership คืออะไร สำคัญกับองค์กรในปัจจุบันอย่างไร ?
“ความเป็นเจ้าของ” คือการที่พนักงานรู้สึกว่าต้องทำหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจะสร้างขึ้นมาได้นั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งเพื่อนร่วมงาน, หัวหน้าทีม และฝ่ายบุคคล (HR) โดยองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งคือการทำให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายที่สุด ผ่านแพลตฟอร์มประเภท Corporate Portal ที่รวมทุกอย่างเอาไว้ที่เดียว เพราะเมื่อการทำงานคล่องตัว พนักงานก็จะใช้เวลากับหน้าที่ของตนได้มากขึ้น เห็นพัฒนาการได้มากขึ้น และทำให้รู้สึกผูกพันกับองค์กร
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เราสามารถอธิบายถึงประโยชน์ของ Sense of Ownership ได้ดังนี้
- Sense of Ownership ช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงาน : ความรู้สึกเป็นเจ้าของกระตุ้นให้เราอยากเรียนรู้มากขึ้น (Upskill), อยากศึกษาหาข้อมูลมากขึ้น (Research) เพื่อยกระดับการทำงาน ไม่จำเป็นต้องรอรับคำสั่งจากหัวหน้าฝ่ายเดียว
- Sense of Ownership ช่วยให้เราทำงานตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรมากขึ้น : วิสัยทัศน์องค์กร (Company Vision) คือกลไกที่ขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งความเป็นเจ้าของจะส่งเสริมเรื่องนี้ได้มาก เพราะกระบวนการทำงานของทุกคนจะตรงกัน ไม่มีใครหลุดกรอบ แต่ก็ต้องมาควบคู่กับการวัดผลและตรวจสอบ (Monitoring) ที่ยอดเยี่ยมด้วย แพลตฟอร์มที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการเฉพาะขององค์กรจะช่วยให้กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพขึ้น
- Sense of Ownership ช่วยกระชับความสัมพันธ์ภายในทีม : ความเป็นเจ้าของจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากความเป็นทีม ทุกฝ่ายจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสาร ต้องสามารถช่วยเหลือกัน (Supporting), ทำอย่างไรถึงจะไม่ทำร้ายอีกฝ่าย, ต้องมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy), ทำอย่างไรถึงจะออกความเห็นได้ (Feedback Culture) ฯลฯ
- Sense of Ownership ช่วยให้เราเก่งขึ้น : ความเป็นเจ้าของยังช่วยให้เราหันมาตรวจสอบตัวเองว่าเราเก่งพอที่จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ทำให้เราอยากที่จะพัฒนาความสามารถ (Competence) และทักษะ (Skill) ใหม่ ๆ มากขึ้น เพื่อปิดช่องว่างทางทักษะ (Skill Gap) และต่อยอดตามแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล Individual Development Plan (IDP)
- Sense of Ownership ช่วยรักษาพนักงาน (Retention) และดึงดูดพนักงานใหม่ (Recruiting) : หากเราเห็นเพื่อนร่วมงานที่ให้ความสำคัญกับงานและหน้าที่ตลอดเวลา ให้ความร่วมมือ และช่วยกันผลักดันให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย เราย่อมเกิดคำถามตามมาว่า องค์กรนั้นมีอะไรดีจึงสร้างทัศนคติที่ดีดังกล่าวภายในทีมได้ สิ่งเหล่านี้จะถูกบอกต่อกลายเป็นแบรนด์นายจ้าง (Employer Branding) ช่วยดึงดูดให้คนอยากเข้ามาร่วมงาน ลดต้นทุนในการหาพนักงานใหม่ ส่วนพนักงานปัจจุบันก็อยากอยู่กับองค์กรไปนานๆ
Sense of Ownership หรือความเป็นเจ้าของไม่ได้มีประโยชน์แค่กับการทำงานเท่านั้น แต่นำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิต หากเรานึกถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ เราก็จะมีความตระหนักรู้ และสามารถรับมือกับทุกเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของความเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง
เหตุผลที่ต้องสร้าง Sense of Ownership ด้วย Personalization
ผลสำรวจองค์กรในประเทศไทยจาก WTW กล่าวว่าในปี 2023 มีคนที่ลาออกจากงานโดยสมัครใจอยู่ที่ 10.9% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูง และทำให้องค์กรไทยต้องหันมาใส่ใจเรื่องการเสนอค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น Digital Marketing, Data Scientist รวมถึงนักพัฒนาแอปพลิเคชัน เป็นต้น พนักงานรุ่นใหม่ที่ก้าวเข้าสู่วัยทำงานมักคาดหวังอิสรภาพและความยืดหยุ่น (Flexible) ในการทำงานสูง โดยหากการทำงานบริษัทไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต พวกเขาก็มีทางเลือกอื่นในการพิจารณาเสมอ
สาเหตุสำคัญของปัญหาคือองค์กรส่วนใหญ่ยังใช้ระบบของนโยบายกลางที่คิดว่า ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แบบเดียวกันหมด (One Size Fit All) จึงทำให้นโยบายต่างๆ ตอบโจทย์คนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น คนที่ไม่มีปากเสียงจะถูกมองข้ามไปโดยไม่รู้ตัวหากไม่มีโอกาสได้ลุกขึ้นพูด โดยคุณ แจ็คเกอลีน เน็ดวิน (Jacqlyn Nedvin) จาก Forbes Human Resources Council ได้ยืนยันว่าโลกหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้นไม่มีทางทำงานแบบ One Size Fits All ได้อีกแล้ว แต่ต้องมีการปรับปรุงแบบเฉพาะตัวบุคคลมากขึ้น หากต้องการให้พนักงานเห็นคุณค่าและอยากทุ่มเทเวลากับงานมากกว่าเดิม
ประเด็นนี้คือปัญหาของหลายองค์กรที่ต้องแก้กันตั้งแต่ราก เช่น เรื่องของการสื่อสาร (Communication), เรื่องความอาวุโสในองค์กร (Hierarchical), การหาผู้สืบทอด (Succession Plan) ตลอดจนรูปแบบการอบรมพัฒนาทักษะพนักงาน (Employee Development) เป็นต้น
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ หากองค์กรของเรามีพนักงานจากหลายช่วงอายุ, หลากหลายองค์ความรู้ พนักงานเหล่านั้นก็ย่อมต้องการเครื่องมือสื่อสารที่แตกต่างกัน เช่น พนักงานฝ่ายปฏิบัติการอาจเหมาะกับการสื่อสารบนบอร์ดพนักงาน หรือใช้ Traditional Intranet, เด็กรุ่นใหม่ที่สะดวกรับข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน , พนักงานที่ชอบออกกำลังกายและคุ้นเคยกับการสื่อสารผ่าน Watch Application เป็นต้น
กล่าวได้ว่าวิธีสื่อสารในโลกธุรกิจมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากองค์กรรู้จักสร้างแพลตฟอร์มที่ตอบสนองวิถีชีวิตของคนทุกรูปแบบ ประสิทธิภาพในการสื่อสารขององค์กรก็จะเพิ่มขึ้นแน่นอน
สร้าง Sense of Ownership ในองค์กรได้ง่าย ๆ ด้วย Personalization
แม้องค์กรส่วนใหญ่จะพยายามสร้างสรรค์แนวทางการทำงานแบบเฉพาะบุคคล แต่ก็ไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะประสบความสำเร็จ เพราะการออกแบบประสบการณ์จำเป็นต้องมีข้อมูลที่แข็งแรงรอบด้าน ต้องผ่านการพูดคุยกับพนักงาน สอดคล้องกับ Segment ที่ได้เผยสถิติที่น่าสนใจว่า แม้องค์กรถึง 85% จะมองว่าตนได้มอบประสบการณ์ทำงานแบบเฉพาะบุคคลแล้ว แต่ความจริงมีพนักงานราว 60% ที่มองว่าสิ่งที่องค์กรทำไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย ข้อมูลนี้คือการพิสูจน์ว่า Personalization ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำร่วมกัน
ฉะนั้น HR ต้องตั้งเป้าหมายและทำงานโดยใช้ความเห็นของพนักงานเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
เพราะมีสถิติที่น่าสนใจอีกมากมายที่บ่งบอกว่า Personalization ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดแนวคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ McKinsey กล่าวว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จะมีผลประกอบการดีกว่าองค์กรทั่วไป 10-15% สอดคล้องกับ Google ที่ระบุว่า Personalization ส่งผลโดยตรงกับผลกำไรของบริษัทถึง 90% และปิดท้ายด้วย Hubspot ที่กล่าวว่า Call to Action ที่ผ่านการปรับปรุงให้สอดคล้องกับผู้ใช้งานแต่ละรายจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้มากสุดถึง 202% เลยทีเดียว
เหตุนี้หากคุณสัมผัสว่าพนักงานของคุณยังไม่มี Sense of Ownership ก็ได้เวลามาตั้งคำถามแล้วว่านโยบายและกระบวนการทำงานของคุณ เป็นแบบเลือกปฏิบัติเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นหรือเปล่า
กล่าวโดยสรุปได้ว่าการมีแพลตฟอร์มที่ดีจะทำให้พนักงานโฟกัสกับงานได้อย่างเต็มที่ เกิดเป็นความผูกพัน, รู้สึกเป็นเจ้าของงาน และต้องการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยกระดับการทำงานของตนและคนในทีมไปอีกขั้น นี่คือรากฐานของการสร้าง Sense of Ownership ที่สมบูรณ์ จึงเป็นเรื่องดีไปอีกหาก HR สามารถหาแพลตฟอร์มกลางที่คนทุกรูปแบบได้ประโยชน์เท่า ๆ กัน
ยกระดับ Sense of Ownership ในองค์กร ด้วย TeamLink แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อองค์กรของคุณโดยเฉพาะ
TeamLink มาพร้อมแนวคิด “All Together in One Corporate App” มีเป้าหมายเพื่อสร้าง Corporate Hub เอาไว้ยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานให้ดีขึ้นด้วยแพลตฟอร์มเดียว ผ่านระบบ Employee Self-Service ที่ใช้งานได้ตลอดเวลาจากทั่วทุกมุมโลก
เราสามารถเรียก TeamLink ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังขององค์กร เพราะสามารถเข้าถึงได้ทั้งบนหน้าเว็บไซต์ และบนโทรศัพท์มือถือ ครอบคลุมทั้งด้านการพัฒนาระบบสื่อสารในองค์กร (Communication), สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Engagement), ส่งเสริมการเรียนรู้ (Learning) และดูแลด้านการพัฒนาทีม (Development) โดยจุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้คือการสร้างแอปพลิเคชั่นที่มีอัตลักษณ์ ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับแต่ละองค์กรโดยเฉพาะผ่านกระบวนการ Design Employee Experience Journey
แพลตฟอร์มของ TeamLink แบบ Standard Package ประกอบด้วย 13 ฟีเจอร์ที่ช่วยเสริม 4 ด้านหลักในยุค HR 5.0 ให้กับองค์กร ดังนี้
- ด้านการสื่อสาร (Communication) : TeamLink สามารถยกระดับการสื่อสารภายในองค์กรได้เลย ทั้งด้านการประกาศข่าวสาร, การชี้แจงกฎระเบียบข้อบังคับ, การแจ้งเตือน, การรายงานความเคลื่อนไหวขององค์กร โดยสามารถจัดรูปแบบการสื่อสารให้เหมาะกับคนแต่ละกลุ่ม ฟีเจอร์ในส่วนนี้ได้แก่ ALL ABOUT, NEWS & ANNOUNCEMENT, POLICY & GUIDELINE, INBOX, LINKS
- ด้านการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการ (Learning & Development) : TeamLink จะช่วยให้พนักงานมีความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของงานตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้ามาสู่องค์กร เพราะสามารถดูแลได้ตั้งแต่วันปฐมนิเทศ เรื่อยไปจนถึงการอบรมพนักงานในปัจจุบันให้เก่งขึ้นและอยากมีส่วนร่วมกับองค์กรยิ่งขึ้น โดยมีการสะสมเหรียญเพื่อแลกของรางวัลเป็นตัวโน้มน้าวใจ ฟีเจอร์ในส่วนนี้ได้แก่ ON-BOARDING, LEARN, ACTIVITIES, PUZZLE
- ด้านการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Engagement) : ทีม HR สามารถใช้แพลตฟอร์ม TeamLink เพื่อสร้างกิจกรรมร่วมกับพนักงานได้ โดยกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เกิดความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ (Small Wins) ซึ่งการทำกิจกรรมเหล่านี้ระหว่างทาง จะช่วยส่งเสริมความสุขในการทำงาน, ได้กระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ฟีเจอร์ในส่วนนี้ได้แก่ EMPLOYEE DIRECTORY, PROFILE, SCANNER, SURVEY, COIN, PHOTO GALLERY
- ด้านเครื่องมือที่มีประโยชน์อื่น ๆ (Enhancement) : องค์กรที่ดีคือองค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นแพลตฟอร์มหลักขององค์กรก็ต้องพร้อมปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงด้วย TeamLink จึงมีฟังก์ชั่นที่ช่วยให้การทำงานคล่องตัว (Workflow) รวมถึงการประเมินและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยแก้โจทย์ที่ท้าทายใหม่ ๆ ในการทำงาน (Digital Transformation) ฟีเจอร์ในส่วนนี้ได้แก่ EMPLOYEE SELF-SERVICE, APPROVAL WORKFLOW, INTERNAL SYSTEM INTEGRATION
TeamLink จะช่วยให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็ว (Quick Action), มอบประสบการณ์ Smart Intranet เพิ่มการเข้าถึงอินทราเน็ตบนโทรศัพท์มือถือให้กับพนักงาน เพื่อช่วยพัฒนาการสื่อสารให้ประสานกันง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม สอดคล้องกับการทำงานแบบ Hybrid Workplace ที่ไม่จำเป็นต้องทำงานที่โต๊ะทำงาน (Deskless) รวมถึงพนักงานที่จำเป็นต้องเดินทางตลอดเวลา แพลตฟอร์มนี้จะช่วยขจัดทุกปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม
บทสรุป
Sense of Ownership คือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องมี เพราะต้องยอมรับว่าพนักงานในยุคนี้มีสิ่งที่พวกเขาสนใจหลายอย่าง และไม่แปลกหากพวกเขาจะพยายามมองหาช่องทางเติบโตในโลกธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากการทำงานในองค์กรของเราควบคู่ไปด้วย แปลว่าหากเราต้องการให้พนักงานอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ เราก็ต้องตอบให้ได้ว่าองค์กรจะช่วยให้พวกเขาเก่งขึ้นอย่างไร, ส่งเสริมเป้าหมายตาม Career Path ที่วางไว้ได้ไหม
นอกจากนี้ก็ต้องไม่ลืมตั้งคำถามเสมอว่าการบริหารจัดการที่ HR กำลังทำอยู่สามารถสนับสนุนให้พนักงานโฟกัสกับหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มที่หรือไม่ โดยวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันและถูกพิสูจน์โดยองค์กรระดับโลกก็คือการปรับแพลตฟอร์มให้เหมาะกับคนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะ (Personalization) ซึ่ง TeamLink คือตัวช่วยแบบครบวงจรที่ HR สามารถเลือกใช้บริการได้เลย