Search
Close this search box.

บริษัทรับเข้าทำงาน แต่ผู้สมัครกลับเทเฉย ? แก้ปัญหาการปฏิเสธร่วมงาน ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ได้ตามนี้

บริษัทรับเข้าทำงาน แต่ผู้สมัครกลับเทเฉย Cover

เคยไหมกับการสัมภาษณ์ผู้สมัครงานผ่านแล้ว แต่ผู้สมัครกลับตัดสินใจไม่ตอบตกลงรับงาน

ความจริงปัญหาในลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อาทิ ผู้สมัครได้งานไปก่อน มีตัวเลือกอื่นที่น่าสนใจมากกว่า ข้อเสนอที่บริษัทยื่นมายังไม่ตรงกับความคาดหวังมากพอ หรือติดปัญหาบางอย่างจนทำให้เลือกปฏิเสธ

ดังนั้นปัญหานี้อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่ต้องย้อนกลับไปดูที่ขั้นตอนการนำเสนองานตั้งแต่ต้นด้วย

องค์กรจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากอะไร หรือปรับวิธีการนำเสนองานอย่างไรเพื่อลดอัตรา Rejection Rate ให้น้อยลง บทความนี้ Reeracoen มีคำแนะนำง่าย ๆ มาฝากกัน

Contents

อะไรคือสาเหตุที่ผู้สมัครเลือกปฏิเสธ Job Offer จากเรา

ข้อเสนอที่ยื่นไปยังไม่โดนใจมากพอ

ทั้งด้วยตัวงานยังไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือระหว่างรอเจองานที่อื่นน่าสนใจกว่า หากไม่สามารถมัดใจผู้สมัครได้ทันทีก็มีโอกาสสูงที่จะหลุดมือ

วิธีการนำเสนอตัวงานที่ไม่สามารถดึงดูดผู้สมัครได้

รูปแบบการนำเสนอของ Recruiter ก็มีผลต่อมุมมองที่มีต่องานเช่นกัน แม้ความจริงตัวงานกับองค์กรจะน่าสนใจ แต่ถ้าไม่ได้ชูจุดเด่นเหล่านั้น หรือทำให้ผู้สมัครรู้สึกถึงความ “พิเศษ” มากกว่าตัวเลือกอื่น ๆ ก็ไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้สมัครตัดสินใจตอบรับข้อเสนอได้

ได้งานจากที่อื่นไปก่อน

สาเหตุนี้อาจเกิดจากกระบวนการทำงานที่ล่าช้าของทีมงาน ซึ่งมีส่วนสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดี ประกอบกับองค์กรอื่นตัดสินใจเร็วกว่า ก็นำพาให้ผู้สมัครต้องตัดสินใจเลือกความแน่นอนมากกว่าอดทนรอต่อไป

ปัจจัยอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม 

เช่น ผู้สมัครค้นหาข้อมูลแล้วเจอว่าองค์กรมีชื่อเสียงในทางไม่ดี หรือมีความจำเป็นอื่น ๆ จนไม่สะดวกมาเริ่มงานกับบริษัทของเราแล้ว

รู้สึกไม่คลิกกับบางสิ่งบางอย่างในองค์กร 

แม้ตัวงาน ชื่อตำแหน่ง และผลตอบแทนจะดึงดูดใจแค่ไหนในตอนแรก แต่ถ้าหลังจากนั้นผู้สมัครพบว่าตัวเองยังไม่เข้ากับสไตล์การทำงาน เส้นทางการเติบโตในบริษัทไม่ตรงกับความคาดหวัง ไม่ชอบบรรยากาศ มีเป้าหมายหรือแนวคิดต่างจากองค์กร ก็เป็นเหตุผลที่ต้องปฏิเสธการร่วมงานอย่างเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

บริษัทรับเข้าทำงาน แต่ผู้สมัครกลับเทเฉย

ปรับวิธีนำเสนอเพื่อลดอัตราการปฏิเสธข้อเสนองาน

1) สอบถามสาเหตุในการย้ายงาน

ปกติแล้วกระบวนการจ้างงานจะมีการเช็กอัปผู้สมัครเบื้องต้นอยู่แล้ว เช่น ในขั้นตอน Phone Screen นอกจากถามเกี่ยวกับงานในปัจจุบัน ก็ควรถามถึงสาเหตุความต้องการในการย้ายงานด้วย

เพราะการรู้สาเหตุเชิงลึกว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้ผู้สมัครอยากเปลี่ยนงานใหม่ คือข้อมูลชั้นดีที่จะช่วยให้องค์กรได้เข้าใจเหตุผลเบื้องหลัง และนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าจากความคาดหวังเหล่านั้น องค์กรของเราจะสามารถตอบสนองกลับไปได้อย่างไรบ้าง

2) ทำความเข้าใจเป้าหมายของผู้สมัคร

เมื่อเข้าใจสาเหตุในการย้ายงานเบื้องต้นแล้ว สิ่งที่องค์กรสามารถทำการบ้านเพิ่มเติม เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้กับการเข้ามาร่วมงานในองค์กรได้มากขึ้น ก็คือ “การออกแบบข้อเสนองาน” ที่ครอบคลุมเป้าหมายของผู้สมัครได้มากที่สุด

เช่น หากสาเหตุในการย้ายงานของผู้สมัครคืออยากอัปเงินเดือน หมายความว่าเป้าหมายที่สำคัญในตอนนี้คือ “รายได้” ถ้าพิจารณาแล้วว่าไม่เกินขอบเขตเพดานโครงสร้างเงินเดือนของบริษัท ก็อาจจะให้ไปตามที่ผู้สมัครกำหนด แต่เพิ่ม Benefits ที่เกี่ยวข้องให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น 

หรือ กรณีที่สาเหตุการย้ายงานของผู้สมัครคือรู้สึกตันกับงานเดิม ก็อาจจะเน้นที่โอกาสเติบโตในองค์กร และความท้าทายของเนื้องาน เช่น ยกตัวอย่างโปรเจกต์ที่จะได้ทำ เป้าหมายที่วางไว้ข้างหน้า

ถ้าข้อเสนองานที่ยื่นไปทำได้ทั้งตอบรับกับความคาดหวัง แถมยังช่วยวางแผนต่างๆ ที่น่าสนใจให้กับอนาคตผู้สมัคร ก็มีโอกาสสูงขึ้นที่องค์กรจะประสบความสำเร็จในการจ้างงาน

สรุป 5 ลักษณะข้อเสนองานที่มีโอกาสทำให้ผู้สมัครตอบตกลงมากขึ้น

  1. ข้อเสนองานที่ดีจะต้องตอบโจทย์เป้าหมายในการเปลี่ยนงาน
  2. อย่าพยายามดึงดูดด้วยเงินเดือน หรือชื่อเสียงของบริษัทอย่างเดียว
  3. วางแผนไกลถึงอนาคต โอกาสเติบโตของผู้สมัคร
  4. นำเสนอวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่าง สร้างความรู้สึกพิเศษ
  5. ใส่ใจในรายละเอียดที่ตรงกับความคาดหวังของผู้สมัคร

3) สำรวจทิศทางตลาดอย่างสม่ำเสมอ

จุดบอดที่ทำให้หลายองค์กรล้มเหลวในการแข่งขันจ้างงาน อาจจะเป็นเพราะไม่ได้ใช้เวลาศึกษาตลาดในแต่ละสายอาชีพมากพอ เพราะบางครั้งทิศทางการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เมื่อทักษะที่จำเป็นต้องใช้เริ่มขาดแคลน หาคนมีฝีมือได้ยาก ก็จะทำให้เรทเงินเดือนที่พอจะสามารถดึงดูดได้ขึ้นสูงตามไปด้วย

4) พัฒนากระบวนการทำงานหลังบ้านให้กระบวนการจ้างงาน

วิธีการคัดกรองที่เข้มงวด มีขั้นตอนมากมาย รวมถึงรอการตัดสินใจจากหลายคน ส่งผลให้กระบวนการสมัครงานต้องใช้เวลานานขึ้น สร้างภาระให้กับผู้สมัครมากขึ้น บางครั้งผู้สมัครสัมภาษณ์เสร็จกว่าจะรอผลตอบรับจากองค์กร ก็กลายเป็นว่าได้งานจากที่อื่นไปก่อนเรียบร้อยแล้ว

ปัญหาอาจอยู่ที่ระบบการทำงานหลังบ้านยังไม่ชัดเจน ไม่กำหนดขอบเขตระยะเวลาที่ใช้พิจารณาแต่ละขั้นตอน หรือแม้แต่ภาระงานที่ HR ต้องดูแลมีมากเกินไป
ไม่สามารถบริหารเวลามาสื่อสาร และดูแลผู้สมัครได้อย่างทั่วถึง

บริษัทรับเข้าทำงาน แต่ผู้สมัครกลับเทเฉย

ลดอัตราการถูกผู้สมัครปฏิเสธร่วมงานด้วย HR Solution ที่ใช่

หนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดอัตราการปฏิเสธร่วมงานได้อย่างเห็นผล ก็คือการจ้างงานผ่าน Recruitment Agency ที่ดูแลกระบวนต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ ทั้งการสรรหาผู้สมัคร คัดกรองคุณสมบัติ นัดหมายสัมภาษณ์ ช่วยอธิบายลักษณะงาน ภาพรวมองค์กร ความคาดหวัง ให้องค์กรประสบความสำเร็จในการจ้างงานได้มากขึ้น

และนอกจากจะอำนวยความสะดวกในส่วนต่าง ๆ ได้มาก ยังมักจะได้รับฟีดแบคจากผู้สมัครอย่างสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเงินเดือน มาตรฐานการทำงาน วิธีดูแลผู้สมัคร ตลอดจนกระบวนการทำงาน ระยะเวลาที่ใช้ รวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อบริษัท แต่ไม่มีโอกาสได้รับรู้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ปรับปรุงการจ้างงานได้โดยตรง และช่วยให้องค์กรมีโอกาสแข่งขันในตลาดงานได้อย่างยั่งยืน

ไม่พลาดทุกข้อมูลสำคัญด้วยการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ด้วยเครื่องมือ Applicant Tracking System

อีกหนึ่งวิธีช่วยลดอัตราปฏิเสธร่วมงานแบบทางอ้อม คือการนำระบบจัดเก็บบันทึกข้อมูลมาใช้ประกอบการทำงานให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อไม่มีการบันทึกข้อมูลที่ดีหรือเป็นระเบียบมากพอ บางครั้งคนทำงานที่ต้องดูแลข้อมูลจำนวนมากก็อาจพลาดได้ เช่น จำตัวเลขเงินเดือนผิด ลืมใส่รายละเอียดบางข้อที่ผู้สมัครให้ความสำคัญ

โดยเฉพาะในเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ “ความคาดหวังของผู้สมัคร” โดยตรง อย่างเช่น ตัวเลขเงินเดือน ตัวงาน ชื่อตำแหน่ง หรือเงื่อนไขอื่น ๆ และเมื่อผู้สมัครไม่ได้ Job offer ที่ตรงใจอย่างที่ระบุไว้ตั้งแต่ต้น ก็มีโอกาสปฏิเสธรับข้อเสนอค่อนข้างสูงมากทีเดียว

สำหรับระบบ ATS (Applicant Tracking System) คือเครื่องมือบริหารผู้สมัครในองค์กร ช่วยจัดระเบียบข้อมูล และยกระดับกระบวนการทำงานของ HR สามารถทำให้การจ้างงานมีคุณภาพแม่นยำมากยิ่งขึ้น

จุดเด่นคือการรวมศูนย์ข้อมูลผู้สมัคร และมีฟังก์ชันให้ติดตามงาน ลดงาน Operation ที่ซ้ำซ้อนจากการใช้ Spreadsheet รวมถึงช่วยลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากบุคคล และป้องกันข้อมูลหล่นหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ค้นหาคนที่ใช่ให้ทุกตำแหน่งที่ว่าง จ้างงานผ่านมืออาชีพที่รู้ใจ หรือ ลงทะเบียนรับสิทธิใช้งาน ATS ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

All HR Solutions! มาค้นหา HR Products and Services กับ HREX กันเถอะ

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง