Peer Bonus ระบบคะแนนกับการรักษาพนักงานในองค์กร

ย้อนกลับไปในงานประชุม HR ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจัดขึ้นที่เมืองลาสเวกัสในปี 2017 ได้มีการจัดงาน “Discovering the Next Great HR Technology Company” และในงานได้มีการจัดการแข่งขันขึ้น ซึ่งผู้ชนะในงานได้แก่ Blueboard

Blueboard ก่อตั้งในแคลิฟอร์เนีย และพวกเขากำลังพัฒนาบริการ “Reward platform” โดยในบทความนี้ จะพูดถึงจุดเด่น หรือสิ่งที่ควรระวังของระบบ Points-Based Peer Bonus รวมไปถึงสิ่งที่สำคัญในการประเมินผล

Author: Kevin Yip
Original message: The Problem With Points-Based Rewards Systems

ระบบ Peer Bonus คืออะไร

“Points-Based Peer Bonus” คือระบบการให้รางวัลแก่พนักงานที่ทำงานดี หรือมีผลงานยอดเยี่ยม

ระบบนี้แตกต่างจากระบบการประเมินผลเพื่อขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนขั้น เพราะบริษัทส่วนใหญ่ใช้ระบบนี้เพื่อเป็นการเพิ่ม Engagement กับพนักงาน

รางวัลของระบบ Peer Bonus คืออะไร ?

ระบบนี้บริษัทสามารถสร้างรางวัลของบริษัทขึ้นมาเองได้ โดยส่วนใหญ่บริษัทจะจัดให้มีการแลกเป็นสิ่งของ บัตรส่วนลดมากกว่าแลกเป็นเงิน เช่น บัตรส่วนลดในการช้อปปิ้งที่ห้องสรรพสินค้า หรือแลกคะแนนเป็นการเข้าร่วมอีเวนท์หรือไปเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น

Peer Bonus จะมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ?

แต่จากความเห็นของคุณ Kevin Yip ผู้เขียนบทความที่เราได้นำเสนอ ได้ตอบคำถามที่ว่า เราควรนำระบบนี้เข้ามาใช้ในองค์กรหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ NO

เพราะมีผลการสำรวจออกมาว่า ระบบ Peer Bonus จะมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นนั้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบริษัท
ในสหรัฐอเมริกามีจำนวนรางวัลที่มอบให้แก่พนักงานที่ทำงานได้ดี (รวมบัตรของขวัญ แพคเกจท่องเที่ยว ฯลฯ) มูลค่าเกินกว่า 90 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
แต่ Deloitte บริษัทตรวจสอบบัญชี ได้เปิดเผยว่า 87% ของค่าใช้จ่ายที่ใช้เป็นของรางวัลไม่ได้มีผลอะไรต่อ ประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน หรือการสร้าง Engagement กับพนักงานรวมไปถึงอัตราการลาออกเลย ซึ่งอาจจะคิดได้ว่าการใช้ระบบ Peer Bonus ให้มีประสิทธิภาพได้นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบริษัท

จุดเด่นของระบบ Peer Bonus

ประเมินโบนัส (Bonus Evaluated) อย่างไรให้ถูกใจทุกฝ่าย

คุณ Yip ได้พูดไว้ว่า ก่อนจะหาคำตอบของคำถาม เราควรเข้าใจจุดเด่นของระบบ Peer Bonus ก่อน ซึ่งมีดังนี้

1. การบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่อการจัดการ

หลายบริษัทในสหรัฐอเมริกาได้นำระบบ Peer Bonusเข้ามาใช้ เพราะว่าง่ายต่อการจัดการ

ด้วยการใช้บริการด้านไอทีและใช้ระบบ Peer Bonus ในแพลตฟอร์มเดียว จะทำให้พนักงานสามารถให้คะแนนซึ่งกันและกันบนแพลตฟอร์มได้อย่างง่ายดาย และทราบได้ว่าใครเป็นผู้ให้คะแนน

2. ราคาถูกและใช้งานง่าย

โดยทั่วไปในระบบ Peer Bonus พนักงานสามารถให้คะแนนแก่ เพื่อนร่วมงานได้อย่างอิสระ

ระบบ Peer Bonus เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นในการให้คะแนน นอกจากนีเพื่อให้ใช้งานได้สะดวก ระบบยังรองรับการใช้งานหลายๆระดับ ไม่ว่าจะใช้งานบ่อยหรือไม่

หากใช้ระบบ Peer Bonus ไม่ถูกต้อง จะทำให้ประสิทธิภาพลดลง

ไล่ออกอย่างไรไม่ให้รู้สึกผิด ! ปัญหาของเขา แต่ดันเป็นเรื่องเศร้าของ HR

คุณ Yip ได้กล่าวเอาไว้ว่า ระบบ Peer Bonus จะมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นนั้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบริษัท ส่วนผลลัพธ์ที่ได้จะลดลงและไม่มีความต่อเนื่อง

คุณ Yip ได้ยกปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ Peer Bonus เอาไว้ ดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบ Peer Bonus กับเป้าหมายขององค์กรไม่ชัดเจน

คุณ Yip ได้ชี้ให้เห็นว่าความเกี่ยวข้องระหว่าง “ระบบ Peer Bonus” กับ “เป้าหมายขององค์กร” ยังไม่ชัดเจน

พนักงานมีแนวโน้มที่จะเก็บคะแนนไว้ เพื่อแลกกับของรางวัลที่ดี หรือมีมูลค่าสูง ทำให้เป้าหมายเปลี่ยนไปกลายเป็นการเก็บสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัลแทนการสร้างความผูกพันกับบริษัท

ดังนั้นปัญหานี้จึงเปรียบเสมือนดั่งหลุมพรางที่ทำให้เราไม่สามารถแยกระบบ Peer Bonus ออกจากระบบเก็บสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัลทั่วไปได้

ปัญหาที่มักจะเกิดกับพนักงานที่ชอบสะสมคะแนน

คุณ Yip ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดกับพนักงานที่ชอบสะสมคะแนนไว้ดังนี้

ลืมคะแนนที่เก็บสะสมไว้

เรื่องแรกคือการที่พนักงานสะสมคะแนนเอาไว้เพื่อจะได้แลกรางวัลสุดพิเศษในอนาคต แต่เมื่อสะสมไปเรื่อยๆก็ลืมใช้คะแนนเหล่านั้น สุดท้ายแล้วพบว่ามีคะแนนสะสมที่ไม่ถูกนำไปแลกมากถึงหนึ่งล้านดอลลาร์ ทำให้ใช้งบประมาณตรงส่วนนี้ไปอย่างสูญเปล่า

ดังนั้นเพื่อให้พนักงานหันมาแลกคะแนนสะสมมากขึ้น ทางผู้ให้บริการหรือบริษัทอาจจะต้องคิดค้นวิธีการใหม่ๆเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการใช้คะแนนที่สะสมไว้

ไม่ใช้บัตรกำนัล

ในระบบนี้สามารถแลกคะแนนสะสมเป็นบัตรกำนัลมูลค่า 50 ดอลลาร์ได้ แต่จากความเห็นของคุณ Yip ที่ว่า การแลกแบบนี้จะทำให้ทางบริษัทมีโอกาสขาดทุนสูง

ข้อมูลจากการสำรวจในบทความที่ได้นำเสนอไปข้างต้นพบว่า บัตรกำนัลที่ถูกแลกไปหนึ่งในสามส่วนนั้นไม่ได้ถูกใช้งาน ซึ่งสาเหตุหลักๆ อาจมาจากพนักงานคนนั้นลืมใช้ หรือว่าทำบัตรกำนัลหายไป

และข้อมูลจากการสำรวจเดียวกันพบว่า ในปี 2008 มีบัตรกำนัลที่ไม่ได้ถูกใช้มูลค่ามากกว่า 21 พันล้านดอลลาร์

พนักงานปฏิสัมพันธ์กันเพียงเพื่อสะสมคะแนนเท่านั้น

คุณ Yip มีข้อสงสัยว่า ระบบ Peer Bonus เป็นระบบที่ทำให้พนักงานได้แสดงความขอบคุณจริงๆหรือไม่

กล่าวอีกนัยหนึ่งคืออาจมีพนักงานบางคนที่ใช้ระบบนี้ด้วยแรงจูงใจ “เพียงเพื่อสะสมคะแนน” เท่านั้น

นอกจากนี้ อาจจะความกังวลเกี่ยวกับเจตนาไม่บริสุทธิ์ของพนักงานเพื่อารสะสมคะแนน เช่น พนักงานอาจจะคิดหาวิธีในการสะสมคะแนนให้ได้มากๆ เป็นต้น

จากข้อมูลของ Capgemini Consulting พบว่า 97% ของระบบเพิ่มความผูกพันให้กับพนักงานเป็นวิธีการสะสมคะแนนแลกของรางวัล และ 77% ล้มเหลวในปี สองปีแรก

ระบบ Peer Bonus มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างไร

8 วิธีพัฒนา Employee Experience ในระยะยาว

คุณ Yip กล่าวว่า นอกจาก ระบบ Peer Bonus แล้ว ควรหาระบบอื่นๆเข้ามาปรับใช้ด้วย อย่างเช่น ระบบรับรองพนักงาน ซึ่งการนำระบบอื่นๆมาปรับใช้จะให้ผลลัพธ์ที่ดีแก่บริษัท

ซึ่งสามารถให้เหตุผลได้ดังนี้

1. พนักงานที่มีความสุขจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับพนักงานที่มีความสุขในการทำงาน จะทำงานโดยมีการคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก ทำให้ผลลัพธ์ในการทำงานออกมาดี

การลงทุนสร้างระบบรับรองพนักงานเพื่อทำให้พวกเขามีความสุขในการทำงานมากขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่คุ้มค่า เพราะในท้ายที่สุดแล้วบริษัทจะเป็นผู้ได้ประโยชน์

2. ระบบการประเมินผลที่ดีจะทำให้ความสนใจในบริษัทเพิ่มขึ้น

ระบบรองรับพนักงานเป็นระบบที่จะทำให้คนที่กำลังมองหางานสนใจที่จะเข้ามาสมัครงานกับบริษัทของคุณมากขึ้น เพราะระบบนี้จะทำให้พนักงานที่อยู่ในบริษัทสามารถคุ้นเคยกับวัฒนธรรมขององค์กรได้ง่ายขึ้น
และกิจกรรมต่างๆนั้นจะถูกเขียนลงใน Glassdoor เว็บไซต์ที่ทำให้คุณสามารถเข้าใจการทำงานในบริษัท หรือวัฒนธรรมในบริษัทต่าง ๆ ได้

3. ระบบการประเมินผลที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลกระทบต่อองค์กร

หากใช้ระบบประเมินไม่มีประสิทธิภาพมากพอเป็นเวลาหลายๆปี อาจจะส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจในการทำงานหรือการรักษาคนเก่งไว้กับบริษัทได้
เราอาจะต้องมาพิจารณาว่าระบบไหนที่เคยใช้ได้ดีในอดีตแต่ปัจจุบันไม่เกิดผลแล้ว ก็ควรจะเลิกใช้แล้วหาระบบใหม่ ๆ ที่จะมาช่วยงานเราได้มากขึ้น

บทสรุป

ในความคิดของคุณ Yip ไม่ได้คิดว่าระบบ Peer Bonus จะมีแต่ข้อเสียอย่างเดียว การจะใช้ได้ผลดีกับบริษัทและพนักงานของเราหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถนำเอาระบบนี้มาปรับใช้กับบริษัทและพนักงานได้มากแค่ไหน

ทั้งนี้อย่าลืมว่าการให้โบนัทนักงาน ไม่จำเป็นต้องใช้รางวัลที่เป็นรูปตัวเงินเพียงอย่างเดียว เคล็ดลับก็คือการทำอย่างต่อเนื่อง ยุติธรรม และจริงใจ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลดีต่อประสิทธิภาพพนักงาน และประสิทธิผลขององค์กรต่อไป

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง