AI-Centric Organization : HR ต้องทำอย่างไร ถ้าอยากให้องค์กรมี AI เป็นศูนย์กลาง

HIGHLIGHT

  • ปัญญาประดิษฐ์ Generative AI เช่น ChatGPT, Bard, Midjourney เติบโตขึ้นมากจนเราต้องก้าวข้ามจากยุค Digital Transformation ไปเป็น AI Transformation ได้แล้ว โดยมีเป้าหมายคือการสร้างองค์กรที่มีปัญญาประดิษฐ์เป็นศูนย์กลาง หรือ AI-Centric Organization นั่นเอง
  • AI เติบโตขึ้นเร็วมาก เทคโนโลยีบางอย่างเปลี่ยนจากเรื่องยาก เป็นเรื่องที่คนทั่วไปทำได้ในเวลาไม่กี่เดือน เช่นการวาดภาพด้วย AI ดังนั้นองค์กรที่ไม่ปรับตัวจะถูกทิ้งห่างทันที
  • การประยุกต์ใช้ AI ในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากเรานำมาใช้งานโดยไม่มีแบบแผน AI ก็จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์ซึ่งสร้างความขุ่นข้องหมองใจได้ ดังนั้นไม่ว่าเทคโนโลยีจะเติบโตแค่ไหน การนำมันมาใช้ก็ต้องผ่านความคิดที่ลึกซึ้งเข้มข้น เพื่อให้เทคโนโลยีกับพนักงานอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ 
  • HR ต้องรู้ว่าจะนำ AI มาสอดแทรกในกระบวนการทำงานแบบเดิมได้อย่างไร และควรนำสิ่งไหนมาต่อยอดเลือกใช้ในอนาคต เพื่อลงทุนให้ถูกทาง ไม่เสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น

AI-Centric Organization : HR ต้องทำอย่างไร ถ้าอยากให้องค์กรมี AI เป็นศูนย์กลาง

การเกิดขึ้นของ AI ได้ทำให้โลกการทำงานเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพราะมันไม่ได้มีสถานะเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น แต่มันได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานทั้งหมดตั้งแต่ระดับราก, ระดับปฏิบัติการเรื่อยไปจนถึงการคาดเดาความน่าจะเป็นในอนาคตด้วย

ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Generative AI) เช่น ChatGPT, Bard และ Midjourney สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมายบนโลกธุรกิจ และเทคโนโลยีนี้จะถูกเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้ หากไม่ต้องการถูกทิ้งห่างในโลกธุรกิจ กล่าวได้ว่านอกเหนือจาก Digital Transformation แล้ว การทำ AI Transformation ก็สำคัญไม่แพ้กัน

เป้าหมายสูงสุดของเรื่องนี้คือการสร้างองค์กรที่มี AI เป็นศูนย์กลางหรือ AI-Centric Organization แต่เราจะผนวกปัญญาประดิษฐ์เข้าไปในกระบวนการทำงานแบบเต็มระบบได้อย่างไร เชิญหาคำตอบไปพร้อมกับพวกเราที่ HREX

ทำไมเราถึงต้องสร้าง AI-Centric Organization

ตลอดปีที่ผ่านมาเราได้ยินโลกพูดถึงการเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของ AI อยู่ตลอดเวลา และหากเราเป็นผู้ที่ใช้สื่อโซเชียลเป็นประจำ เราก็จะเห็นว่าเรื่องของ AI ได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีความใกล้ชิดกับชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เรื่องของการใช้ AI วาดภาพซึ่งเคยเป็นเรื่องยากมากเมื่อไม่กี่เดือนก่อน แต่ผ่านไปเพียงพริบตา เราก็เห็นคนใช้วิธีนี้วาดภาพจนเกิดเป็นผลงานมากมายนับไม่ถ้วน

ซึ่งกระบวนการแบบเดียวกันนี้กำลังเกิดขึ้นกับงานเขียน, งานเพลง ตลอดจนงานฝีมืออื่น ๆ ที่เคยใช้เวลาเรียนรู้นานหลายปีจนกล่าวได้ว่าหากเราไม่ยอมปรับตัวและรู้ทันการเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ เราก็จะถูกมันช่วงชิงพื้นที่ในองค์กรไปแน่นอน

แต่เช่นเดียวกับเครื่องมืออื่น ๆ ในโลก ที่คงไม่มีประโยชน์อะไรหากเราไม่รู้จักวิธีใช้งาน เพราะการมีเทคโนโลยีชั้นยอดไม่ได้การันตีถึงความสำเร็จอะไรหากเราไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ขององค์กร ไม่รู้ว่าเป้าหมายของธุรกิจคืออะไร ที่สำคัญคือพนักงานส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีใช้ระบบ

เหตุนี้ HR จึงต้องมีการจัดอบรมเป็นระยะ เพื่อให้พนักงานรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่องค์กรเลือกใช้ โดยตระหนักเสมอว่าไม่ใช่แค่เทคโนโลยีที่ราคาแพงอย่างเดียวที่ประสิทธิภาพ แต่เทคโนโลยีที่ราคาถูกและเหมาะสมกับรูปแบบการทำงานของทีมต่างหากที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ให้กับองค์กรได้จริง ดังนั้นคำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือองค์ประกอบใดของการทำงานที่ควรนำปัญญาประดิษฐ์เข้าไปมีส่วนร่วม และเราจะสร้างรากฐานนี้ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

คนที่ไม่ใช้ AI ช่วยงาน จะถูกแทนที่ด้วยคนที่ใช้ AI อย่างเกิดประโยชน์

HR สร้าง AI-Centric Organization ได้อย่างไร

การประยุกต์ใช้ AI ในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากเรานำมาใช้งานโดยไม่มีแบบแผน AI ก็จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์ซึ่งสร้างความขุ่นข้องหมองใจได้ ดังนั้นไม่ว่าเทคโนโลยีจะเติบโตแค่ไหน การนำมันมาใช้ก็ต้องผ่านความคิดที่ลึกซึ้งเข้มข้น เพื่อให้เทคโนโลยีกับพนักงานอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยเราสามารถแบ่งระยะของการฝัง AI เข้าไปสู่องค์กรได้ดังนี้

ระยะที่ 1 : การนำ Generative AI ไปใข้กับกระบวนการทำงานแบบทั่วไป

การทำงานขององค์กรนั้น การนำปัญญาประดิษฐ์เข้าไปช่วยจะทำให้เรามีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น เริ่มจากงานรูทีนต่าง ๆ ที่เคยใช้คนและต้องมีเวลาหยุดพัก ก็เปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เหมาะมากกับงานวิจัยที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์อย่างละเอียด โดยเราสามารถยกตัวอย่างงานที่เอา AI เข้าไปใช้ได้เลยดังนี้

  1. เลือกใช้ AI มาช่วยงานที่ซ้ำ ๆ (Repetitive) : Generative AI เช่น ChatGPT สามารถถูกฝึกสอนเพื่อทำงานประจำ (Repetitive Tasks) แทนมนุษย์ได้เลย พนักงานจะได้มีเวลาเอาไปคิดเรื่องอื่น นอกจากนี้ AI ยังสามารถทำหน้าที่สรุปเนื้อหาที่ยากให้อ่านง่ายขึ้น แถมการวิเคราะห์ข้อมูล (Data) ต่าง ๆ ยังมีความแม่นยำยิ่งขึ้นด้วย เรียกว่าหากเราฝึก AI ดี ๆ เราก็จะได้เครื่องมือมาช่วยบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิมได้อย่างเป็นรูปธรรม
  2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ (Enhance Decision Making) : Generative AI เช่น ChatGPT ที่ผ่านการฝึกมาอย่างดีจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่บริษัทมีทั้งข้อมูลเชิงลึกและการคาดเดาอนาคต ทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างเฉียบคมยิ่งขึ้น และ AI จะช่วยให้กระบวนการสืบค้นข้อมูล (Researching Process) รวดเร็วยิ่งขึ้น
  3. การนำ AI มาช่วยสื่อสารกับลูกค้า : ในอดีตเวลาเราใช้เทคโนโลยีมาพูดคุยกับลูกค้า เราจะมองว่าเป็นขั้นตอนที่ไม่มีประโยชน์เพราะลูกค้าส่วนใหญ่อยากคุยกับพนักงานที่เป็นคนจริง ๆ มากกว่า แต่ปัจจุบัน Generative AI เช่น ChatGPT ได้พัฒนาขึ้นมากจนเราอาจแยกไม่ออกแล้วด้วยซ้ำว่ากำลังคุยกับคนหรือคอมพิวเตอร์ แถม Generative AI ที่ผ่านการศึกษาข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนมาดีแล้ว จะสามารถพูดคุยโดยใช้มุมมองและทัศนคติที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้เลย ช่วยให้เราสร้างความประทับใจกับอีกฝ่ายได้ดีกว่าเดิม
  4. ช่วยให้การพัฒนาศักยภาพของพนักงานดียิ่งขึ้น (Training and Development) : การเรียนรู้ของ AI จะทำให้เราสร้างสรรค์รูปแบบการอบรมแบบเฉพาะตนหรือเฉพาะแผนกได้ง่ายขึ้น เพราะเทคโนโลยีได้ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดว่าจุดแข็งกับจุดอ่อนของพนักงานเป็นอย่างไร และควรให้เวลากับเรื่องไหนเป็นอันดับแรก (Prioritize) และเมื่อเราทำให้พนักงานเห็นว่าเทคโนโลยีช่วยให้เราพัฒนาเป็นคนที่เก่งขึ้นได้จริง ก็จะยิ่งทำให้พนักงานยอมรับในการเข้ามาของ AI มากกว่าเดิม

ระยะที่ 2 : การนำ AI เข้าไปใช้กับผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์และสินค้าในท้องตลาดมีมากมาย สิ่งที่องค์กรต้องทำให้ได้ก็คือหาข้อแตกต่างที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง Generative AI ได้ทำให้การสร้างสรรค์นวัตกรรมยกระดับไปอีกขั้น โดยเฉพาะในประเด็นเหล่านี้

  1. ช่วยให้การเลือกของลูกค้าละเอียดกว่าเดิม : ในปัจจุบันเราสามารถทำเทคโนโลยีมาตรวจสอบว่าผู้ใช้เลือกดูสินค้าประเภทใดมากเป็นพิเศษ​ หรือเคยซื้อสินค้าชนิดใดมาก่อน, สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ว่าสินค้าที่ซื้อไปนั้นจะมีวันหมดอายุอยู่ในช่วงไหน และจะมีระบบที่คอยเตือนให้เราติดต่อกลับไปตามระยะเวลาดังกล่าวทันที ดังนั้นเมื่อ AI ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าแบบลึกซึ้งขึ้น ก็จะทำให้เรามีโอกาสในการค้าขายมากขึ้นตามไปด้วย
  2. การสร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าสนใจ (Content Generation) : นอกจากนวัตกรรมด้านสินค้าที่ดีแล้ว สิ่งที่จะลืมไปไม่ได้ก็คือการสร้างคอนเทนต์ที่ดีเพื่อมาส่งเสริมสินค้าดังกล่าว ซึ่ง Generative AI จะช่วยให้เราคิดเนื้อหาออกมาได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร, เพลง, วีดีโอ ตลอดจนงานออกแบบต่าง ๆ เมื่อพนักงานเห็นว่าเราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เคยต้องใช้เวลาศึกษาหลายวันในเวลาเพียงไม่กี่วินาที พนักงานก็จะเปิดใจให้กับเทคโนโลยีนี้มากกว่าเดิม
  3. ความสามารถในการคาดเดา (Predictive) : Generative AI สามารถบอกได้ว่าการตัดสินใจแบบไหนบ้างที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และการตัดสินใจแบบใดบ้างที่จะนำไปสู่ความล้มเหลวโดยอ้างอิงจากผลลัพธ์ในอดีต
  4. ใช้ AI เพื่อให้เราเข้าใจผลิตภัณฑ์ขององค์กรมากขึ้น : เราจะเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ ตราบใดที่เรารู้ว่าพวกเขามีความคิดเห็นอย่างไร (Feedback Culture) และเมื่อเรานำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ผ่าน AI เราก็จะได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ตามมา ต่างจากการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ โดยไม่มีข้อมูลไว้อ้างอิงเลย

การค่อย ๆ หลอมรวม AI เข้ากับการทำงานอย่างแนบเนียนและเป็นระบบจะทำให้เรามีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถต่อกรกับคู่แข่งอย่างได้เปรียบ (Competitive Advantage) และหากเราทำต่อไป เราก็จะก้าวนำคู่แข่งไปอย่างสบาย ๆ

ระยะที่ 3 : การนำ AI มาใช้เพื่อเป้าหมายในอนาคต

Generative AI จะช่วยให้เราสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น และมนุษย์ก็จะเริ่มใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวางแผนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ กล่าวคือ Generative AI สามารถนำมาช่วยได้ตั้งแต่ขั้นตอนการคิดไอเดีย (Ideation Stage) โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์เทรนด์การตลาด (Marketing Trends), พฤติกรรมลูกค้า (Consumer Behaviors) ฯลฯ นี่คือแผนงานแห่งอนาคตที่องค์กรควรนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความเป็นไปได้ให้กับงานของเรามากกว่าเดิม

เราสามารถยกตัวอย่างการนำ AI มาใช้ในองค์กรแห่งอนาคตได้ดังนี้

  1. การคิดค้นไอเดียใหม่ ๆ (Innovative Product Ideation) : Generative AI จะช่วยลดการถกเถียงของพนักงานว่ากลยุทธ์แบบไหนดีที่สุด เพราะการศึกษาข้อมูลจำนวนมากจะทำให้เราได้ข้อมูลที่ชัดเจน สามารถนำไปพัฒนาทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการสร้างสรรค์ผลงานแบบเฉพาะเจาะจงได้ง่ายกว่าเดิม นอกจากนี้การพัฒนาของ Generative AI ยังช่วยให้ตัวมันเองกลายเป็นธุรกิจใหม่ ๆ ได้ด้วย เช่นการนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย, เทคโนโลยีด้านการตรวจจับข้อมูล (Sensor Technology) หรือแม้แต่เทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ AI สามารถวิเคราะห์อัตราเต้นของหัวใจ, อัตราชีพจร แล้วนำไปพิจารณาผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อดูว่าร่างกายของเรากำลังมีปัญหาใด ๆ หรือไม่ เป็นต้น
  2. การทำตัวต้นแบบได้ง่ายขึ้น (Rapid Prototyping) : ในอดีตการจะนำแนวคิดมาทดลองในสถานการณ์จริงเป็นเรื่องยาก แต่ Generative AI ทำให้ขั้นตอนนี้กลายเป็นเรื่องง่ายและใช้เวลาเพียงนิดเดียวโดยไม่เปลืองงบประมาณ วิธีนี้จะช่วยให้เราเห็นสินค้าในทุกแง่มุม ทำให้ตัดสินใจผลิตได้ง่ายขึ้น 
  3. การนำ AI มาช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า (Content-Driven Products) : การขายสินค้าในปัจจุบัน คือการขายเรื่องราวด้วย ซึ่ง AI จะทำให้ขั้นตอนนี้ง่ายขึ้น ในอดีตเราจะทำแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีพนักงานที่ชำนาญเรื่องนี้โดยตรง แต่ปัจจุบัน AI สามารถสร้างสรรค์ผลงานให้เราในเวลาเพียงไม่กี่วินาที จึงทำให้เรามีช่องทางประชาสัมพันธ์ที่มากกว่าเดิม

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q&A HR Board

Q: HR จะประยุกต์ใช้ AI ยังไงได้บ้าง ?

มองไปทางไหนก็มีแต่เรื่อง AI แถมยังมีหลายตัว หลายโปรแกรมเหลือเกิน แล้ว HR จะใช้งานอย่างไรได้บ้าง​

A: สื่งที่ AI ช่วยงาน HR จะเน้นไปในเรื่องการบริหารจัดการ รวมถึงงานบริการต่าง ๆ ในองค์กร

1. AI สามารถช่วยงานด้านตรวจสอบประวัติผู้สมัคร การเก็บรวบรวมข้อมูลจากโปรไฟล์โซเชียลมีเดียต่างๆ รวมถึงประวัติงานออนไลน์ของพนักงาน

2. AI สามารถใช้ระบุทักษะ (Competency)ของพนักกงานแต่ละกลุ่มงานได้ รวมถึงทักษะที่ควรส่งเสริมเพิ่มเติมให้พนักงานแต่ละคน เป็นการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเฉพาะตัวบุคคลให้แก่พนักงาน

3. AI ช่วยงานธุรการได้ รวมถึงการสื่อสารภายในองค์กร การส่งเอกสาร การติดตามอีเมล และงานอื่นๆ ที่เป็นงานบริการในสำนักงาน

,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

บทสรุป

AI คือสิ่งที่มีพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการให้ปัญญาประดิษฐ์เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนองค์กรของคุณจะช่วยปรับมุมมองของพนักงานทุกคนให้เห็นว่าพวกเขามีศักยภาพมากกว่าที่เคย และสิ่งที่เคยเป็นเพียงจินตนาการในหัวสามารถถูกสร้างให้เกิดขึ้นจริงได้ผ่านกลไกเหล่านี้

องค์กรที่ให้ AI เป็นศูนย์กลางจะมีมุมมองต่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป จะมีความเฉียบคมในการเลือกสินค้ามากขึ้น สามารถดูแลพนักงานได้อย่างตรงจุดและสามารถพาองค์กร ไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ซึ่งไม่สามารถทำได้ในขนบธรรมเนียมแบบเดิม

เราต้องคิดเสมอว่าองค์กรกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ หากเราไม่ปรับตัว เราก็จะไม่สามารถต่อกรกับคู่แข่งได้ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศเท่านั้น แต่ได้กระจายอยู่ทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นองค์กรที่มี AI เป็นศูนย์กลาง จะถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้เรามีศักยภาพในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม

และหากคุณไม่รู้ว่าจะหาคำแนะนำดี ๆ ได้จากที่ไหน เราขอแนะนำให้ใช้บริการ HR Consulting จาก HR Products & Services แฟลตฟอร์มที่รวบรวมบริการและผลิตภัณฑ์ด้านทรัพยากรบุคคลไว้มากที่สุดในเมืองไทย จะต้องการตัวช่วยแบบไหนที่นี่มีครบ

CTA HR Consulting Firm

Sources

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง