Humblebrag อวดเก่งบ้างก็ดี แต่ต้องมีชั้นเชิง !

HIGHLIGHT

  • เดิมทีมนุษย์ถูกสอนให้มีมารยาทและหลีกเลี่ยงการโอ้อวด แต่มีผู้เชี่ยวชาญสำรวจมาแล้วว่าการโอ้อวดแบบมีชั้นเชิงจะช่วยให้เรามีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น เพราะแท้จริงมันเกิดจากความภูมิใจในงานและมั่นใจในศักยภาพของตนเอง
  • แต่การอวดแบบตรงไปตรงมาอาจทำให้ผู้พูดรู้สึกผิด จึงพยายามพูดถ่อมตัวเสริมเข้าไปเพื่อหวังให้ดูเป็นมิตรมากขึ้น วิธีนี้เรียกว่า Humblebrag หรือการแกล้งถ่อมตัว
  • แต่รู้ไหมว่าการแกล้งถ่อมตัวมีข้อเสียมากกว่าการอวดแบบตรง ๆ ด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นเครื่องหมายของความไม่จริงใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการทำงานเป็นทีม
  • คนส่วนใหญ่มักอายเกินกว่าจะโอ้อวดความสำเร็จของตัวเอง นิสัยนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า The Qualified Quiet แปลง่าย ๆ ว่า คนเก่งที่ไม่มีใครรู้จัก
  • มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงไม่ควรอวดโดยกดให้คนอื่นต่ำลง ควรเน้นแค่เรื่องที่อ้างอิงจากความเป็นจริง ไม่ขี้โม้และไม่ทำให้ใครเจ็บช้ำน้ำใจ

Humblebrag อวดเก่งบ้างก็ดี แต่ต้องมีชั้นเชิง ! HIGHLIGHTS เดิมทีมนุษย์ถูกสอนให้มีมารยาทและหลีกเลี่ยงการโอ้อวด แต่มีผู้เชี่ยวชาญสำรวจมาแล้วว่าการโอ้อวดแบบมีชั้นเชิงจะช่วยให้เรามีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น เพราะแท้จริงมันเกิดจากความภูมิใจในงานและมั่นใจในศักยภาพของตนเอง แต่การอวดแบบตรงไปตรงมาอาจทำให้ผู้พูดรู้สึกผิด จึงพยายามพูดถ่อมตัวเสริมเข้าไปเพื่อหวังให้ดูเป็นมิตรมากขึ้น วิธีนี้เรียกว่า Humblebrag หรือการแกล้งถ่อมตัว แต่รู้ไหมว่าการแกล้งถ่อมตัวมีข้อเสียมากกว่าการอวดแบบตรง ๆ ด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นเครื่องหมายของความไม่จริงใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการทำงานเป็นทีม คนส่วนใหญ่มักอายเกินกว่าจะโอ้อวดความสำเร็จของตัวเอง นิสัยนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า The Qualified Quiet แปลง่าย ๆ ว่า คนเก่งที่ไม่มีใครรู้จัก มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงไม่ควรอวดโดยกดให้คนอื่นต่ำลง ควรเน้นแค่เรื่องที่อ้างอิงจากความเป็นจริง ไม่ขี้โม้และไม่ทำให้ใครเจ็บช้ำน้ำใจ ใคร ๆ ก็ถูกสอนให้มีมารยาท และต่างรู้กันอยู่แก่ใจว่าการโอ้อวดนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งการอวดแบบที่คนทำกันมากและคิดว่าไม่เป็นเรื่องเสียหายก็คึอการโอ้อวดปลอม ๆ หรือ Humblebrag ที่เป็นการพูดแบบอ้อม ๆ และตบท้ายด้วยการถ่อมตัวเพื่อไม่ให้คนอื่นมองว่าการอวดของตนโจ่งแจ้งเกินไป สิ่งนี้คือความเข้าใจผิด เพราะแท้จริงการอวดแบบนี้สร้างความไม่สบายใจมากกว่าการอวดแบบตรง ๆ ด้วยซ้ำ อธิบายก่อนว่าในแง่มุมของการทำงานแล้ว การอวดที่ดีคือการรู้จักนำเสนอตัวเองอย่างมีชั้นเชิงซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่สะท้อนถึงความภูมิใจและเชื่อมั่นในองค์กร ซึ่งหากทำอย่างมีชั้นเชิงและมีมารยาทก็จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ เราจะใช้ประโยชน์จากเรื่องที่ดูขัดแย้งกับคำสอนที่เข้าใจมาตลอดได้อย่างไร และการโอ้อวดที่ไม่ทำให้คนอื่นรำคาญหรือเป็น Humblebrag ต้องมีวิธีการแบบไหน ? หาคำตอบได้ในบทความนี้ <!--TOC--> รู้จัก Humblebrag หรือการแกล้งถ่อมตน “เฮ้อ… เหนื่อยจังเลย หัวหน้าเพิ่งส่งงานมาให้ 4 ตัว ลูกค้าใหญ่ ๆ ทั้งนั้น อิจฉาเธอนะ ได้นั่งพักสบาย ๆ ทั้งวัน” นี่คือตัวอย่างของการแกล้งถ่อมตน เพราะหากเรามองเข้าไปถึงประโยคข้างต้นดี ๆ ก็จะเข้าใจว่าเป้าหมายของผู้พูดไม่ใช่การบอกว่าตัวเองเหนื่อย แต่เป็นการบอกว่าตนเพิ่งได้รับงานใหญ่จากหัวหน้ามาต่างหาก ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่พนักงานออฟฟิศหลายคนทำผิดพลาดและไม่มีการให้ความรู้มากนัก บางคนจึงคิดว่าการถ่อมตัวเป็นเรื่องดีกว่าการโอ้อวดแบบตรงไปตรงมา เพราะอย่างน้อยมันก็ถือเป็นการอวดที่ดูมีจริยธรรมมากกว่า มีการวิจัยโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์โอวัล เซเซอร์ (Ovul Sezer) จาก Kenan-Flagler Business School ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Personality and Social Psychology ระบุว่าพนักงานบริษัทถึง 70% ได้เห็นการแกล้งถ่อมตนจนเป็นเรื่องปกติ ในที่นี้เราสามารถแบ่งการแกล้งถ่อมตนออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่ การแกล้งถ่อมตนแบบคนขี้บ่น (Complaint) : คือการแสดงความไม่พอใจกับสิ่งที่ได้รับเพื่อโยงเนื้อหามาสนับสนุนสิ่งที่ต้องการจะโอ้อวด เช่น “ถูกเลื่อนตำแหน่งมาเป็นหัวหน้า งานหนักจังเลย” การแกล้งถ่อมตนแบบคนนอบน้อมเป็นพิเศษ (Humility) : คือการถ่อมตนที่ยกยอคนรอบข้างเพื่อลดคุณค่าของตนเองลงนิดหนึ่ง เช่น “ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเพื่อนร่วมงานจะสนับสนุนให้ฉันได้รับรางวัลนี้” ผลวิจัยยังระบุอีกว่าการแกล้งถ่อมตนมักเกิดขึ้นในช่วงสัมภาษณ์งานและ HR มักพบกับคำตอบในลักษณะนี้เป็นประจำ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อผู้สัมภาษณ์ถามว่า “จุดอ่อนของคุณคืออะไร” ผู้สมัครบางรายมักนิยมตอบว่า “จุดอ่อนของผมคือการเป็นคนสมบูรณ์แบบเกินไป” ซึ่งเจตนาของผู้ตอบมักออกมาในแง่ของการฉวยโอกาสใช้คำถามที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการรู้จริง ๆ ไปเป็นเครื่องมือเสริมคุณค่าให้ตนเอง ซึ่งไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไร การแกล้งถ่อมตนยังทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่า “ไม่จริงใจ” ซ้ำร้ายยังสร้างความหงุดหงิดมากกว่าการฟังคนที่มีนิสัยโอ้อวดอย่างตรงไปตรงมาเป็นประจำด้วยซ้ำ เพราะท้ายสุดแล้วสิ่งที่มนุษย์ในฐานะสัตว์สังคมชอบที่สุดก็คือความสบายใจในการอยู่ร่วมกัน ไม่มีใครอยากมานั่งคิดว่าสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออกมามีความหมายแอบแฝง หรือตนกำลังถูกข่มอยู่หรือไม่ ดังนั้นการแกล้งถ่อมตนจึงมักทำให้คนรอบตัวไม่ต้องการร่วมงานด้วยจนส่งผลเสียต่อความก้าวหน้าในสาขาอาชีพอย่างน่าเสียดาย https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/personnelsys/220819-perfectionist-in-workplace/ อยากอวดเก่งแบบมีชั้นเชิงต้องทำอย่างไร ? คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าการอวดไม่ว่าจะเป็นแบบถ่อมตัว (Humblebrag) หรือแบบตรงไปตรงมามีแต่ข้อเสีย แต่หากเรามองในแง่ของกระบวนการแล้ว กว่าคน ๆ หนึ่งจะกล้าอวดอย่างหมดหน้าตัก มันต้องเกิดจากความภูมิใจในเนื้องานว่าความสำเร็จตรงนี้สามารถสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตของตนได้ นั่นหมายความว่าหากองค์กรสามารถนำทัศนคติตรงนี้มาตีกรอบให้อยู่ในรูปรอยที่ถูกต้อง สิ่งที่ดูเหมือนเสียมารยาทก็จะกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยผลักดันองค์กรไปข้างหน้าได้เช่นกัน รู้จัก The Qualified Quiet : เมื่อคุณเก่งแต่ไม่มีใครรู้ ถ้าคุณเป็นคนเก่งที่ตั้งใจทำงาน แต่ไม่กล้านำเสนอตัวเอง คุณคือกลุ่มคนที่เรียกว่า The Qualified Quiet ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงการทำงานเก่งอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไปโดยเฉพาะในสายงานที่มีการแข่งขันกันสูง The Qualified Quiet คือกลุ่มคนที่คิดว่าตนควรจะได้รับการยกย่องหรือได้เสียงตอบรับจากคนอื่นที่ดีกว่านี้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะพาตัวเองไปอยู่ในจุดดังกล่าวได้อย่างไร อนึ่งต้องเข้าใจว่าการทำงานหนักแต่พูดไม่เก่งไม่ใช่ “จุดอ่อน” แต่เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งที่ทำให้สังคมสวยงามขึ้น ลองนึกดูว่าหากสังคมมีแต่คนเก่งที่โอ้อวดตลอดเวลาก็คงเป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่เช่นกัน ดังนั้นเราต้องหาพื้นที่ตรงกลางให้เจอ Business Insider กล่าวว่าท้ายสุดนั้นสิ่งสำคัญของการทำงานก็คือเราต้องรู้ว่าควรโอ้อวดหรือนำเสนอตัวเองเมื่อใด เราไม่สามารถโฟกัสแค่การทำงานตามที่ถูกมอบหมายให้เต็มที่และคาดหวังว่าคนอื่นจะมอบโอกาสให้เรื่อย ๆ อีกแล้ว ดังนั้นการที่พนักงานไม่คิดอวดผลงานออกมาเลยจะทำร้ายอาชีพการงานของเราในทางอ้อม เนื่องจากการรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองทำได้เป็นแค่เรื่องธรรมดาจะทำให้เรามองข้าม “ความพิเศษ”​ ของงานที่กำลังทำอยู่ตามไปด้วย ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่มั่นใจในศักยภาพของตนและองค์กรแต่รู้สึกว่าลูกค้ามองข้ามเราไปครั้งแล้วครั้งเล่า นี่อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณควรหันมาเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของตัวเองบ้าง เพราะปัจจุบันมีวิธีมากมายที่ดูไม่น่าเกลียด ขอเพียงเลือกใช้ให้ถูกที่ถูกเวลาเท่านั้น ผู้ที่สนใจ สามารถทำตาม 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ให้ความสำคัญกับการทำงานหนัก : ให้หลีกเลี่ยงการพูดว่างานที่ทำอยู่ง่ายมากหรือการบอกว่างานดังกล่าวสำเร็จโดยที่เราไม่ต้องลงแรงอะไรเลย เพราะประโยคข้างต้นจะทำให้เราดูทะนงตนมากเกินไป ให้เปลี่ยนไปใช้คำพูดว่าการตั้งใจทำงานหนักในช่วงที่ผ่านมาคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คำพูดแบบนี้จะทำให้ผู้อื่นเห็นที่มาที่ไปของงาน และให้ค่ากับความพยายามของเรา หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบในทุกกรณี : การโอ้อวดจะกลายเป็นเรื่องเสียมารยาททันทีหากเราพูดว่าเราเอาชนะเพื่อนร่วมงานคนอื่นขึ้นมา ทั้งนี้อย่าลืมว่าทุกคนทำงานหนักเช่นกันไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร สิ่งที่เราต้องแข่งด้วยที่สุดจริง ๆ คือเดดไลน์ของงาน หากเราทำงานสำเร็จตามเป้าหมายนั้นเป็นคนแรก เรามีสิทธิ์ชื่นชมตัวเองว่าทำงานได้ดี แต่ก็ไม่จำเป็นต้องไปเน้นย้ำว่ามีคนอื่นทำงานแย่กว่าเรา เพราะทำให้คนอื่นรู้สึกว่าเรากำลังดูถูก ให้เครดิตเพื่อนร่วมงานเสมอ : ทุกคนย่อมอยากได้ยินว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จโดยเฉพาะจากคนที่เคารพ อย่างไรก็ตามเราควรพูดอย่างจริงใจว่าเพื่อนร่วมงานมีส่วนช่วยอย่างไร และเรารู้สึกตื้นตันใจอย่างไร อย่าพูดแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ จนรู้สึกว่าเอาเรื่องคนอื่นมาพูดเพื่อเสริมคุณค่าให้ตัวเองเท่านั้น เพราะจะกลายเป็นการแกล้งถ่อมตนหรือ Humblebrag ไปเสียแทน เลือกใช้คำพูดที่เหมาะสม : การโอ้อวดจะมีชั้นเชิงหรือไม่ขึ้นอยู่กับทักษะในการใช้คำพูด ยกตัวอย่าง แทนที่จะพูดว่า “ฉันเป็นคนเก่งที่สุดในองค์กร” เราสามารถเปลี่ยนเป็น “เห็นได้ชัดเจนว่าหลังจากที่ผมก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ ยอดขายขององค์กรดีขึ้นอย่างชัดเจน” เพราะถึงแม้จะทำให้คนหมั่นไส้อยู่บ้าง แต่ก็เถียงได้ยากตราบใดที่เป็นข้อมูลที่เกิดจากความสามารถของผู้พูดจริง ๆ นำเสนอความกตัญญู : ความกตัญญูเป็นสิ่งที่คนมองในแง่บวกเสมอ ดังนั้นขณะที่เราต้องพูดถึงผลงานของตัวเอง เราควรเน้นย้ำไปด้วยว่านอกจากทักษะและความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานแล้ว โอกาสจากผู้บริหารก็เป็นสิ่งที่ลืมไปไม่ได้ เพราะต่อให้เป็นคนเก่งแค่ไหนหากปราศจากโอกาสก็ไม่มีทางที่จะฉายแสงออกมาได้เลย การพูดถึงคนในระดับผู้นำอย่างจริงใจจะช่วยให้หน้าที่การงานของเราเติบโตขึ้นเนื่องจากทุกคนได้เห็นว่าเราไม่เคยลืมความช่วยเหลือจากผู้อื่นเลย อย่าออกตัวล่วงหน้า : บางคนจะคิดว่าการออกตัวล่วงหน้าจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น เช่น “ผมไม่อยากจะอวดนะ แต่ว่า…” เพราะเมื่อคนได้ยินประโยคข้างต้นแล้ว ก็จะปิดใจไม่อยากรับฟังเนื้อหาที่จะตามมาทันที ดังนั้นแทนที่จะออกตัวแบบไม่มีชั้นเชิง เราควรใช้ประโยคในแง่บวกเพื่อโยงเข้าสู่ข้อเท็จจริง (Fact) มากกว่า เช่น “ผมมีข่าวดีจะแจ้งให้ทุกคนทราบ คือว่าผม…” คิดล่วงหน้าว่าการชมตัวเองจะทำให้ใครดูแย่หรือไม่ : การชมตัวเองควรทำเมื่อมีความสำเร็จเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ไม่ใช่การขี้โม้ คุยโว โดยปราศจากข้อเท็จจริงมารองรับ นอกจากนี้เรายังไม่ควรโอ้อวดในจังหวะที่จะทำให้เพื่อนร่วมงานอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากโดยไม่จำเป็น ให้เน้นไปที่การนำเสนอว่าเราทำอะไรมาบ้าง มากกว่าชี้ให้เห็นปัญหาของคนอื่น เพราะหากเราประสบความสำเร็จด้วยการชี้ข้อเสียของเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้เราใช้ชีวิตในออฟฟิศลำบากขึ้น https://qath.hrnote.asia/questions/1121 บทสรุป การโอ้อวดเป็นศาสตร์ที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ อย่างเช่นในแง่ของการนำไปใช้ภายในองค์กร หากเราโอ้อวดในบริบทที่ไม่ถูกต้อง แม้เราจะมีโอกาสได้ดีจากคำพูดเหล่านั้น แต่มันก็อาจส่งผลกระทบในแง่ลบต่อเพื่อนร่วมงานจนทำให้เกิดบรรยากาศที่ย่ำแย่ อย่าลืมว่าการทำงานทุกประเภทนั้น การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราจึงควรเรียนรู้วิธีพูดเรื่องความสำเร็จโดยไม่ทำร้ายจิตใจของใครเด็ดขาด ในแง่ของการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นในระดับพนักงานที่ต้องทำผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ของผู้บังคับบัญชา หรือในระดับสูงที่องค์กรต้องหาจุดเด่นไปสู้กับคู่แข่งรายอื่น ๆ การโอ้อวดอย่างมีชั้นเชิงโดยอ้างอิงจากข้อเท็จจริงคือกลไกสำคัญที่จะทำให้เราครอบครองตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าการโอ้อวดเป็นเพียงวิธีการอีกหนึ่งอย่างเท่านั้น ไม่ใช่หนทางเดียวที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จ ดังนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและ HR ว่ามีวิสัยทัศน์หรืออยากผลักดันวัฒนธรรมองค์กร (Company Cultures) ออกไปในรูปแบบใด Sources https://bit.ly/3dCYqnh https://bit.ly/3dvBczn https://bit.ly/3ABFQoN https://bit.ly/3bVSq8N

ใคร ๆ ก็ถูกสอนให้มีมารยาท และต่างรู้กันอยู่แก่ใจว่าการโอ้อวดนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งการอวดแบบที่คนทำกันมากและคิดว่าไม่เป็นเรื่องเสียหายก็คึอการโอ้อวดปลอม ๆ หรือ Humblebrag ที่เป็นการพูดแบบอ้อม ๆ และตบท้ายด้วยการถ่อมตัวเพื่อไม่ให้คนอื่นมองว่าการอวดของตนโจ่งแจ้งเกินไป สิ่งนี้คือความเข้าใจผิด เพราะแท้จริงการอวดแบบนี้สร้างความไม่สบายใจมากกว่าการอวดแบบตรง ๆ ด้วยซ้ำ

อธิบายก่อนว่าในแง่มุมของการทำงานแล้ว การอวดที่ดีคือการรู้จักนำเสนอตัวเองอย่างมีชั้นเชิงซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่สะท้อนถึงความภูมิใจและเชื่อมั่นในองค์กร ซึ่งหากทำอย่างมีชั้นเชิงและมีมารยาทก็จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เราจะใช้ประโยชน์จากเรื่องที่ดูขัดแย้งกับคำสอนที่เข้าใจมาตลอดได้อย่างไร และการโอ้อวดที่ไม่ทำให้คนอื่นรำคาญหรือเป็น Humblebrag ต้องมีวิธีการแบบไหน ? หาคำตอบได้ในบทความนี้

รู้จัก Humblebrag หรือการแกล้งถ่อมตน

Humblebrag อวดเก่งบ้างก็ดี แต่ต้องมีชั้นเชิง !

“เฮ้อ… เหนื่อยจังเลย หัวหน้าเพิ่งส่งงานมาให้ 4 ตัว ลูกค้าใหญ่ ๆ ทั้งนั้น อิจฉาเธอนะ ได้นั่งพักสบาย ๆ ทั้งวัน” นี่คือตัวอย่างของการแกล้งถ่อมตน เพราะหากเรามองเข้าไปถึงประโยคข้างต้นดี ๆ ก็จะเข้าใจว่าเป้าหมายของผู้พูดไม่ใช่การบอกว่าตัวเองเหนื่อย แต่เป็นการบอกว่าตนเพิ่งได้รับงานใหญ่จากหัวหน้ามาต่างหาก ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่พนักงานออฟฟิศหลายคนทำผิดพลาดและไม่มีการให้ความรู้มากนัก บางคนจึงคิดว่าการถ่อมตัวเป็นเรื่องดีกว่าการโอ้อวดแบบตรงไปตรงมา เพราะอย่างน้อยมันก็ถือเป็นการอวดที่ดูมีจริยธรรมมากกว่า 

มีการวิจัยโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์โอวัล เซเซอร์ (Ovul Sezer) จาก Kenan-Flagler Business School ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Personality and Social Psychology ระบุว่าพนักงานบริษัทถึง 70% ได้เห็นการแกล้งถ่อมตนจนเป็นเรื่องปกติ  ในที่นี้เราสามารถแบ่งการแกล้งถ่อมตนออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่

  • การแกล้งถ่อมตนแบบคนขี้บ่น (Complaint) : คือการแสดงความไม่พอใจกับสิ่งที่ได้รับเพื่อโยงเนื้อหามาสนับสนุนสิ่งที่ต้องการจะโอ้อวด เช่น “ถูกเลื่อนตำแหน่งมาเป็นหัวหน้า งานหนักจังเลย”  
  • การแกล้งถ่อมตนแบบคนนอบน้อมเป็นพิเศษ (Humility) : คือการถ่อมตนที่ยกยอคนรอบข้างเพื่อลดคุณค่าของตนเองลงนิดหนึ่ง เช่น “ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเพื่อนร่วมงานจะสนับสนุนให้ฉันได้รับรางวัลนี้” 

Humblebrag อวดเก่งบ้างก็ดี แต่ต้องมีชั้นเชิง !

ผลวิจัยยังระบุอีกว่าการแกล้งถ่อมตนมักเกิดขึ้นในช่วงสัมภาษณ์งานและ HR มักพบกับคำตอบในลักษณะนี้เป็นประจำ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อผู้สัมภาษณ์ถามว่า “จุดอ่อนของคุณคืออะไร” ผู้สมัครบางรายมักนิยมตอบว่า “จุดอ่อนของผมคือการเป็นคนสมบูรณ์แบบเกินไป” ซึ่งเจตนาของผู้ตอบมักออกมาในแง่ของการฉวยโอกาสใช้คำถามที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการรู้จริง ๆ ไปเป็นเครื่องมือเสริมคุณค่าให้ตนเอง ซึ่งไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไร

การแกล้งถ่อมตนยังทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่า “ไม่จริงใจ” ซ้ำร้ายยังสร้างความหงุดหงิดมากกว่าการฟังคนที่มีนิสัยโอ้อวดอย่างตรงไปตรงมาเป็นประจำด้วยซ้ำ เพราะท้ายสุดแล้วสิ่งที่มนุษย์ในฐานะสัตว์สังคมชอบที่สุดก็คือความสบายใจในการอยู่ร่วมกัน ไม่มีใครอยากมานั่งคิดว่าสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออกมามีความหมายแอบแฝง หรือตนกำลังถูกข่มอยู่หรือไม่ ดังนั้นการแกล้งถ่อมตนจึงมักทำให้คนรอบตัวไม่ต้องการร่วมงานด้วยจนส่งผลเสียต่อความก้าวหน้าในสาขาอาชีพอย่างน่าเสียดาย

อยากอวดเก่งแบบมีชั้นเชิงต้องทำอย่างไร ?

คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าการอวดไม่ว่าจะเป็นแบบถ่อมตัว (Humblebrag) หรือแบบตรงไปตรงมามีแต่ข้อเสีย แต่หากเรามองในแง่ของกระบวนการแล้ว กว่าคน ๆ หนึ่งจะกล้าอวดอย่างหมดหน้าตัก มันต้องเกิดจากความภูมิใจในเนื้องานว่าความสำเร็จตรงนี้สามารถสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตของตนได้ นั่นหมายความว่าหากองค์กรสามารถนำทัศนคติตรงนี้มาตีกรอบให้อยู่ในรูปรอยที่ถูกต้อง สิ่งที่ดูเหมือนเสียมารยาทก็จะกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยผลักดันองค์กรไปข้างหน้าได้เช่นกัน

รู้จัก The Qualified Quiet : เมื่อคุณเก่งแต่ไม่มีใครรู้

ถ้าคุณเป็นคนเก่งที่ตั้งใจทำงาน แต่ไม่กล้านำเสนอตัวเอง คุณคือกลุ่มคนที่เรียกว่า The Qualified Quiet ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงการทำงานเก่งอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไปโดยเฉพาะในสายงานที่มีการแข่งขันกันสูง 

The Qualified Quiet คือกลุ่มคนที่คิดว่าตนควรจะได้รับการยกย่องหรือได้เสียงตอบรับจากคนอื่นที่ดีกว่านี้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะพาตัวเองไปอยู่ในจุดดังกล่าวได้อย่างไร อนึ่งต้องเข้าใจว่าการทำงานหนักแต่พูดไม่เก่งไม่ใช่ “จุดอ่อน” แต่เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งที่ทำให้สังคมสวยงามขึ้น ลองนึกดูว่าหากสังคมมีแต่คนเก่งที่โอ้อวดตลอดเวลาก็คงเป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่เช่นกัน ดังนั้นเราต้องหาพื้นที่ตรงกลางให้เจอ

Business Insider กล่าวว่าท้ายสุดนั้นสิ่งสำคัญของการทำงานก็คือเราต้องรู้ว่าควรโอ้อวดหรือนำเสนอตัวเองเมื่อใด เราไม่สามารถโฟกัสแค่การทำงานตามที่ถูกมอบหมายให้เต็มที่และคาดหวังว่าคนอื่นจะมอบโอกาสให้เรื่อย ๆ อีกแล้ว ดังนั้นการที่พนักงานไม่คิดอวดผลงานออกมาเลยจะทำร้ายอาชีพการงานของเราในทางอ้อม เนื่องจากการรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองทำได้เป็นแค่เรื่องธรรมดาจะทำให้เรามองข้าม “ความพิเศษ”​ ของงานที่กำลังทำอยู่ตามไปด้วย 

ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่มั่นใจในศักยภาพของตนและองค์กรแต่รู้สึกว่าลูกค้ามองข้ามเราไปครั้งแล้วครั้งเล่า นี่อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณควรหันมาเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของตัวเองบ้าง เพราะปัจจุบันมีวิธีมากมายที่ดูไม่น่าเกลียด ขอเพียงเลือกใช้ให้ถูกที่ถูกเวลาเท่านั้น

Humblebrag อวดเก่งบ้างก็ดี แต่ต้องมีชั้นเชิง !

ผู้ที่สนใจ สามารถทำตาม 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ให้ความสำคัญกับการทำงานหนัก : ให้หลีกเลี่ยงการพูดว่างานที่ทำอยู่ง่ายมากหรือการบอกว่างานดังกล่าวสำเร็จโดยที่เราไม่ต้องลงแรงอะไรเลย เพราะประโยคข้างต้นจะทำให้เราดูทะนงตนมากเกินไป ให้เปลี่ยนไปใช้คำพูดว่าการตั้งใจทำงานหนักในช่วงที่ผ่านมาคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คำพูดแบบนี้จะทำให้ผู้อื่นเห็นที่มาที่ไปของงาน และให้ค่ากับความพยายามของเรา

2. หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบในทุกกรณี : การโอ้อวดจะกลายเป็นเรื่องเสียมารยาททันทีหากเราพูดว่าเราเอาชนะเพื่อนร่วมงานคนอื่นขึ้นมา ทั้งนี้อย่าลืมว่าทุกคนทำงานหนักเช่นกันไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร สิ่งที่เราต้องแข่งด้วยที่สุดจริง ๆ คือเดดไลน์ของงาน หากเราทำงานสำเร็จตามเป้าหมายนั้นเป็นคนแรก เรามีสิทธิ์ชื่นชมตัวเองว่าทำงานได้ดี แต่ก็ไม่จำเป็นต้องไปเน้นย้ำว่ามีคนอื่นทำงานแย่กว่าเรา เพราะทำให้คนอื่นรู้สึกว่าเรากำลังดูถูก

3. ให้เครดิตเพื่อนร่วมงานเสมอ : ทุกคนย่อมอยากได้ยินว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จโดยเฉพาะจากคนที่เคารพ อย่างไรก็ตามเราควรพูดอย่างจริงใจว่าเพื่อนร่วมงานมีส่วนช่วยอย่างไร และเรารู้สึกตื้นตันใจอย่างไร อย่าพูดแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ จนรู้สึกว่าเอาเรื่องคนอื่นมาพูดเพื่อเสริมคุณค่าให้ตัวเองเท่านั้น เพราะจะกลายเป็นการแกล้งถ่อมตนหรือ Humblebrag ไปเสียแทน

4. เลือกใช้คำพูดที่เหมาะสม : การโอ้อวดจะมีชั้นเชิงหรือไม่ขึ้นอยู่กับทักษะในการใช้คำพูด ยกตัวอย่าง แทนที่จะพูดว่า “ฉันเป็นคนเก่งที่สุดในองค์กร” เราสามารถเปลี่ยนเป็น “เห็นได้ชัดเจนว่าหลังจากที่ผมก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ ยอดขายขององค์กรดีขึ้นอย่างชัดเจน” เพราะถึงแม้จะทำให้คนหมั่นไส้อยู่บ้าง แต่ก็เถียงได้ยากตราบใดที่เป็นข้อมูลที่เกิดจากความสามารถของผู้พูดจริง ๆ

ประโยชน์ของการจดบันทึก เคล็ดลับความสำเร็จที่ใช้แค่สมุดและปากกา

5. นำเสนอความกตัญญู : ความกตัญญูเป็นสิ่งที่คนมองในแง่บวกเสมอ ดังนั้นขณะที่เราต้องพูดถึงผลงานของตัวเอง เราควรเน้นย้ำไปด้วยว่านอกจากทักษะและความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานแล้ว โอกาสจากผู้บริหารก็เป็นสิ่งที่ลืมไปไม่ได้ เพราะต่อให้เป็นคนเก่งแค่ไหนหากปราศจากโอกาสก็ไม่มีทางที่จะฉายแสงออกมาได้เลย การพูดถึงคนในระดับผู้นำอย่างจริงใจจะช่วยให้หน้าที่การงานของเราเติบโตขึ้นเนื่องจากทุกคนได้เห็นว่าเราไม่เคยลืมความช่วยเหลือจากผู้อื่นเลย

6. อย่าออกตัวล่วงหน้า : บางคนจะคิดว่าการออกตัวล่วงหน้าจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น เช่น “ผมไม่อยากจะอวดนะ แต่ว่า…” เพราะเมื่อคนได้ยินประโยคข้างต้นแล้ว ก็จะปิดใจไม่อยากรับฟังเนื้อหาที่จะตามมาทันที ดังนั้นแทนที่จะออกตัวแบบไม่มีชั้นเชิง เราควรใช้ประโยคในแง่บวกเพื่อโยงเข้าสู่ข้อเท็จจริง (Fact) มากกว่า เช่น “ผมมีข่าวดีจะแจ้งให้ทุกคนทราบ คือว่าผม…”

7. คิดล่วงหน้าว่าการชมตัวเองจะทำให้ใครดูแย่หรือไม่ : การชมตัวเองควรทำเมื่อมีความสำเร็จเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ไม่ใช่การขี้โม้ คุยโว โดยปราศจากข้อเท็จจริงมารองรับ นอกจากนี้เรายังไม่ควรโอ้อวดในจังหวะที่จะทำให้เพื่อนร่วมงานอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากโดยไม่จำเป็น ให้เน้นไปที่การนำเสนอว่าเราทำอะไรมาบ้าง มากกว่าชี้ให้เห็นปัญหาของคนอื่น เพราะหากเราประสบความสำเร็จด้วยการชี้ข้อเสียของเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้เราใช้ชีวิตในออฟฟิศลำบากขึ้น

บทสรุป

การโอ้อวดเป็นศาสตร์ที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ อย่างเช่นในแง่ของการนำไปใช้ภายในองค์กร หากเราโอ้อวดในบริบทที่ไม่ถูกต้อง แม้เราจะมีโอกาสได้ดีจากคำพูดเหล่านั้น แต่มันก็อาจส่งผลกระทบในแง่ลบต่อเพื่อนร่วมงานจนทำให้เกิดบรรยากาศที่ย่ำแย่ อย่าลืมว่าการทำงานทุกประเภทนั้น การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราจึงควรเรียนรู้วิธีพูดเรื่องความสำเร็จโดยไม่ทำร้ายจิตใจของใครเด็ดขาด

ในแง่ของการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นในระดับพนักงานที่ต้องทำผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ของผู้บังคับบัญชา หรือในระดับสูงที่องค์กรต้องหาจุดเด่นไปสู้กับคู่แข่งรายอื่น ๆ การโอ้อวดอย่างมีชั้นเชิงโดยอ้างอิงจากข้อเท็จจริงคือกลไกสำคัญที่จะทำให้เราครอบครองตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าการโอ้อวดเป็นเพียงวิธีการอีกหนึ่งอย่างเท่านั้น ไม่ใช่หนทางเดียวที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จ ดังนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและ HR ว่ามีวิสัยทัศน์หรืออยากผลักดันวัฒนธรรมองค์กร (Company Cultures) ออกไปในรูปแบบใด

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง