Reeracoen Thailand เผยผลการสำรวจสวัสดิการองค์กร Benefits Survey 2024 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังเป็นสวัสดิการที่พนักงานพึงพอใจสูงสุด

HIGHLIGHT

  • ผลการสำรวจสวัสดิการองค์กร (Benefits Survey) พบว่า สวัสดิการที่มีการปรับใช้ในองค์กรมากที่สุดคือการลาและวันหยุด (99.36% )
  • ส่วนสวัสดิการที่สร้างความพึงพอใจมากที่คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (45.51%)
  • ขณะที่ 55% ขององค์กรต่าง ๆ มีการทำแบบสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานเป็นประจำอยู่แล้ว
  • และท้ายที่สุด สาเหตุหลักที่พนักงานไม่พึงพอใจต่อองค์กร คือ ปัญหาโอกาสในการเติบโตมีจำกัด (41.03%)

Reeracoen Thailand เผยผลการสำรวจสวัสดิการองค์กร Benefits Survey 2024 Cover

เพราะการแข่งขันทางธุรกิจเข้มข้นมากขึ้นทุกวัน องค์กรต่าง ๆ จึงพยายามสร้าง สวัสดิการ (Benefits) ที่ตอบสนองความต้องการของพนักงานให้ดีที่สุด เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานคุณภาพให้อยู่กับองค์กรต่อไป

ล่าสุดบริษัทจัดหางาน Reeracoen Thailand ร่วมกับแพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับทรัพยากรบุคคล HREX.asia ทำแบบสำรวจ Benefits Survey “แบบสอบถามตลาดทรัพยากรบุคคล: สวัสดิการพนักงาน” เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการที่พนักงานได้รับจริงจากแต่ละองค์กร

Reeracoen Thailand เผยผลการสำรวจสวัสดิการองค์กร Benefits Survey 2024 Cover

โดยผู้ตอบแบบสอบถามนี้จะเป็นบุคลากรในแผนกทรัพยากรบุคคล หรือผู้ที่รับผิดชอบด้านการสรรหาบุคลากรขององค์กรกว่า 156 คน จากหลากหลายอุตสาหกรรมอาทิ Manufacturing, Tradning หรือ Logistics ฯลฯ เปิดเผยแนวโน้มและความคาดหวังที่มีต่อสวัสดิการในองค์กรต่าง ๆ ดังนี้

สวัสดิการที่มีการปรับใช้ในองค์กรมากที่สุด คือ 

  • 99.36% การลาและวันหยุด
  • 93.59% การลาคลอดบุตร 
  • 89.74% โบนัส 
  • 89.10% ค่าล่วงเวลา (OT) 
  • 81.41% กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

ความพึงพอใจด้านสวัสดิการของการพนักงานที่ได้รับในปัจจุบัน คือ

  • 45.51% กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
  • 42.95% โบนัท
  • 39.10% ประกันสุขภาพ/ประกันชีวิต
  • 21.79% การลาป่วยและวันหยุด 

ทั้งนี้ สาเหตุที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังคงเป็นสวัสดิการที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากพนักงาน ด้วยอัตราการพึงพอใจถึง 45.51% สะท้อนให้เห็นว่า การเตรียมความพร้อมทางการเงินสำหรับอนาคตเป็นสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในยุคที่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น การมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่แข็งแกร่งไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานมีความมั่นใจในอนาคตของตนเองเท่านั้น แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานกับองค์กรอีกด้วย องค์กรต่าง ๆ ควรพิจารณานำเสนอและพัฒนาสวัสดิการประเภทนี้อย่างจริงจัง เพื่อสนับสนุนชีวิตหลังเกษียณที่มั่นคงสำหรับพนักงาน การลงทุนในสวัสดิการที่เหมาะสมไม่เพียงแต่เพิ่มความผูกพันและการรักษาพนักงานได้ดี แต่ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรในระยะยาวด้วย

 

ขณะที่สวัสดิการที่พนักงานมีความคาดหวังให้เกิดขึ้นในองค์กร มีด้วยกันหลากหลาย ทั้งด้านการเงิน, สุขภาพและความเป็นอยู่, การพัฒนาตัวเอง และเวลาในการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า 55% ขององค์กรต่าง ๆ มีการทำแบบสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานเป็นประจำอยู่แล้ว เพื่อใช้ในการปรับปรุงสวัสดิการและเพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน ซึ่งสาเหตุหลักที่พนักงานไม่พึงพอใจต่อองค์กร คือ

  • 41.03% ปัญหาโอกาสในการเติบโตมีจำกัด
  • 30.77% ปัญหากับผู้บริหารหรือเพื่อนร่วมงาน
  • 26.28% ปัญหา Work Life Balance
  • 23.08% ปัญหาการได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาด

เพราะการขาดโอกาสในการเติบโตไม่เพียงแต่ทำให้พนักงานรู้สึกหมดหวังและเหนื่อยล้าจากงาน แต่ยังลดประสิทธิภาพในการทำงาน และส่งผลเสียต่อวัฒนธรรมองค์กรโดยรวม ซึ่งสามารถนำไปสู่อัตราการลาออกที่สูงขึ้ย องค์กรที่ตระหนักถึงปัญหานี้ควรดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาอาชีพ (Career Path) และโอกาสในการเรียนรู้ใหม่ ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานมีเส้นทางการเติบโตที่ชัดเจนและมีโอกาสในการพัฒนาที่เปิดกว้าง

การลงทุนในการพัฒนาพนักงานไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและความสำเร็จขององค์กร แต่ยังช่วยให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและมุ่งมั่นที่จะเติบโตไปกับองค์กร

ฉะนั้นแล้ว องค์กรต่าง ๆ ควรพิจารณาการปรับปรุงสวัสดิการเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงานให้ดีขึ้น การสำรวจจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีค่าในการเข้าใจความต้องการของพนักงานและการปรับเปลี่ยนนโยบายในองค์กรเพื่อสนับสนุนการเติบโตของทั้งพนักงานและองค์กร

เพราะการลงทุนในสวัสดิการที่เหมาะสม สามารถนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและการรักษาพนักงานที่มีคุณภาพ สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และท้ายที่สุดคือการเพิ่มความสำเร็จขององค์กรในระยะยาวต่อไปนั่นเอง

ผู้เขียน

Sahatorn Petvirojchai

Sahatorn Petvirojchai

Manager of HREX.asia who works in media platforms for a long time. Interested in Global Culture, Marketing, and Self Development.

บทความที่เกี่ยวข้อง