Search
Close this search box.

Leadership Zero to one : ผู้นำในยุควิกฤตต้องยอมทิ้ง EGO และกล้าโง่เพื่อที่จะฉลาด

Leadership Zero to one

HIGHLIGHT

  • การประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งอาจเป็นกับดักของ EGO ที่ทำให้เราไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ในยุค New Normal สิ่งที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่ความไม่แน่นอน แต่มันคือสิ่งที่เรียกว่า Comfort Zone เพราะมันจะทำให้เราไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
  • วันนี้องค์กรต้องถามตัวเองว่า เรายังเป็นที่ต้องการของลูกค้าอยู่หรือไม่ ? เพราะ Disruption ที่น่ากลัวที่สุดวันนี้ ไม่ใช่คู่แข่งที่จะมาแย่งลูกค้าเรา แต่คือการที่ลูกค้าไม่ต้องการเราอีกต่อไป
  • คำว่า Leader zero to one มันก็คือการเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ 0 แล้วไป 1 และที่สำคัญต้อง “ฉลาดพอที่จะโง่” ด้วย เพราะถ้าคิดว่าตัวเองฉลาดแล้วเมื่อไหร่ มันคือจุดเริ่มต้นที่เราจะโง่ในยุคถัดไป
  • ในฐานะที่เป็นผู้นำ ให้ระลึกไว้ว่าคุณมีหมวกอยู่ 3 ใบ และต้องเลือกสวมหมวกตามแต่ละสถานการณ์ให้ได้อย่างถูกต้อง หมวกใบแรกคือ Lead หมวกใบที่สองคือ Manage และหมวกใบที่สามคือ Coach
  • ปัจจุบันเราไม่มีทางรู้ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะแย่ลงกว่านี้อีกมั้ย แต่ Worst case scenario นั้นไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะไปโฟกัส

ต้องบอกว่าหลายๆองค์กรในช่วงนี้ต่างได้รับผลกระทบที่เกิดจากวิกฤติโควิดมากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉพาะ SMEs ที่น่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างเยอะ จนทำให้เราได้คุ้นเคยกับวิถีชีวิตใหม่ หรือที่เรียกกันว่า New Normal ซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบใหม่ขึ้น สิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน แต่โควิดก็ได้ทำให้พฤติกรรมการทำงานรูปแบบใหม่เกิดขึ้นจริง เช่น คำว่า Work From Home ที่เคยเป็นกระแสใหม่ในอดีต ปัจจุบันอาจไม่ต้อง Work From Home อย่างเดียวแล้ว เพราะเราสามารถ Work From Anywhere ได้ ในเชิงธุรกิจนี่ก็ถือเป็นโอกาสใหม่ในการหา Talent และลดต้นทุนของบริษัท หรือแม้แต่ในเรื่องของ Online Gourmet ก่อนหน้านี้เราก็บริการ Delivery แต่มันก็ยังเป็นกระแสรอง เมื่อโควิดเข้ามา ทำให้สิ่งนี่กลายเป็น Main Stream แม้กระทั่งช่วงที่โควิดซาลงไป ตัวเลขของการใช้บริการก็ยังคงสูงขึ้น ซึ่งต้องบอกว่าองค์กรใกที่มีผู้นำที่สามารถมองเห็นโอกาสในวิกฤต ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูกหรือไปต่อไม่เป็น องค์กรนั้นถือว่าได้เปรียบในทางธุรกิจมากทีเดียว

บทความชิ้นนี้จะสรุปประเด็นจากงานสัมนาที่จัดขึ้นโดย Future Trends : Skillforce Virtual Conference 2021 ในหัวข้อ Leadership Zero to one : ผู้นำจัดการอย่างไรในภาวะ Crisis โดย Speaker คือ คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer at SCG , CBM

เมื่อสถานการณ์ปัจจุบันเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง บทบาทของผู้นำควรเปลี่ยนไปในทิศทางไหนบ้าง ?

ต้องเริ่มเปลี่ยนที่ “ใจ” ก่อน เพราะสิ่งแรกสำหรับ Leader เมื่อได้ขึ้นมาเป็น Leader แล้วจะตกอยู่ใน Comfort Zone ที่เชื่อว่า “เราก็มีความสามารถในระดับหนึ่ง” ถึงสามารถมาอยู่ตรงนี้ได้ แต่เราต้องไม่คิดแบบนั้นเด็ดขาด การประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งอาจเป็นกับดักของ EGO ที่ทำให้เราไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ในยุค New Normal สิ่งที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่ความไม่แน่นอน แต่มันคือสิ่งที่เรียกว่า Comfort Zone เพราะมันจะทำให้เราไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

วันนี้องค์กรต้องถามตัวเองว่า เรายังเป็นที่ต้องการของลูกค้าอยู่หรือไม่ ? เพราะ Disruption ที่น่ากลัวที่สุดวันนี้ ไม่ใช่คู่แข่งที่จะมาแย่งลูกค้าเรา แต่คือการที่ลูกค้าไม่ต้องการเราอีกต่อไป ยกตัวอย่าง การที่เรายังคงยืนกรานจะทำธุรกิจแบบ Offline ต่อไป ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการแล้ว เราต้องหมั่นถามตัวเองบ่อยๆว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการแล้ว แล้วเราจะทำสิ่งนั้นต่อไปอีกไหม ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือวิธีการนำเสนอสินค้าก็ตาม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้นำองค์กรมีความสามารถที่จะทำ คิดและเปลี่ยนได้ แต่แค่ไม่มี “ใจ” ที่จะทำเท่านั้น บางครั้งอาจเพราะเคยชินกับความสำเร็จในอดีตไปแล้ว แต่ไม่ชินกับการเริ่มใหม่ คิดใหม่ เพราะฉะนั้นคำว่า Leader zero to one มันก็คือการเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ 0 แล้วไป 1 และที่สำคัญต้อง “ฉลาดพอที่จะโง่” ด้วย เพราะถ้าคิดว่าตัวเองฉลาดแล้วเมื่อไหร่ มันคือจุดเริ่มต้นที่เราจะโง่ในยุคถัดไป

การโง่เพื่อที่จะฉลาดมี 3 Steps คือ
1. Generalizes skills to knowledge, generalizes knowledge to wisdom
2. Consistently gets rid of obsolete skills and knowledge
3. Always makes room to learn

หากเปรียบเป็นแก้วน้ำหนึ่งใบ Skills คือสิ่งที่ผิวเผิน อยู่ขอบข้างบนของแก้ว และ Knowledge คือสิ่งที่อยู่ตรงกลางแก้ว สิ่งที่เริ่มซึมซับมากขึ้น และสิ่งที่อยู่ก้นแก้วคือ Wisdom หรือองค์กความรู้ ที่จะติดตัวไปตลอด ติดอยู่ใต้ก้นแก้วไปตลอด ที่สำคัญคือ เราต้องหมั่นเทน้ำออกจากแก้วบ้าง มันก็คือการ Learn , Unlearn และ Relearn นั่นเอง

จากนั้นก็ต้องเติมน้ำเข้าไป ซึ่งก็คือ :
– Revolutionary insights and ideas : เข้าใจคนอย่างลึกซึ้ง
– Exponential Business Model : เข้าใจธุรกิจใหม่ๆ
– Disruptive Technology : เข้าใจเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน และการเติบโตขององค์กรอย่างรวดเร็ว

Tools ที่สำคัญคือ Design Thinking สิ่งที่ทำให้เราโฟกัส People/Business/ Technology  การหา Solutions อย่างรวดเร็ว รวมถึงการได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาที่ตรงจุด แต่ Design Thinking อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Futures Thinking การคิดต่อยอดไปอีกขั้น เพิ่มโฟกัสไปที่ Social/Economics/Political และ Environmental เข้าไปด้วย เป็นการ Define Trend ไว้ก่อน Address ปัญหาในปัจจุบัน และทำต่อยอด ซึ่งจะต่างจาก Design Thinking ที่เริ่มกว้างๆ Diverge แล้วค่อย Converge ปัญหาให้แคบลงจนเจอ Solutions

กรณีศึกษา เช่น งานช่างเป็นงานที่ต้อง Work on site ไม่สามารถ Work From Home ได้ แล้วจะทำอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน องค์กรก็จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดจากการทำให้ลูกค้ามาหาช่างเป็นการสร้างพื้นที่ตรงการที่ทำให้ช่างกับลูกค้าได้มาเจอกันได้ง่ายและสะดวกขึ้น อาจดูจาก Location ที่ใกล้เคียงแล้วให้ลูกค้าได้คุยกับช่างโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง แต่ผ่านแพลตฟอร์มหรืออะไรก็ได้ที่สะดวกสำหรับทั้งสองฝ่าย

แล้วผู้นำองค์กรจะทำอย่างไรให้คนในองค์กรมองเห็นเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน ?

ในฐานะที่เป็นผู้นำ ให้ระลึกไว้ว่าคุณมีหมวกอยู่ 3 ใบ และต้องเลือกสวมหมวกตามแต่ละสถานการณ์ให้ได้อย่างถูกต้อง

หมวกใบแรกคือ Lead : ต้อง Lead องค์กรให้ได้ สำคัญคือต้องรู้จักตั้งคำถามที่ถูกต้องและให้ Start with Why หลายๆครั้งเวลาเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างเรามักเริ่มต้นด้วย What เช่น

What – สิ่งที่ต้องทำคืออะไร ? งานนั้นคืออะไร ?

How – วิธีการทำให้สำเร็จคืออะไร ? ต้องทำอย่างไร ?

Why – ทำไมปัญหานี้จึงเกิดขึ้น? ทำไมผลงานถึงทำเงินให้เราไม่ได้?

ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรถามคือ Why เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง เริ่มต้นที่ Why แล้วจะมองเห็นภาพรวมของทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น  กลับกันหากยังไม่รู้ว่าทำไปทำไม ทั้งขั้นตอนที่ทำและผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไร้ความหมาย สำหรับ SCG แล้ว สิ่งแรกที่ตระหนักคือต้องรู้ก่อนว่าคนในองค์กรต้องการคนแบบไหน ซึ่งตรงนี้ทำให้ HR มีบทบาทมากที่ต้องทำหน้าที่เป็น Partner ให้กับองค์กร เพื่อ Start with why ว่า pain point ของคนรุ่นใหม่คืออะไร? Passion ขององค์กรคืออะไร? องค์กรนี้อยู่เพื่ออะไร? แล้ว Journey ที่ต้องทำเพื่อไปให้ถึง Why ข้างหน้านั้น ต้องทำอะไรบ้าง ?  เพราะการสรรหาคนที่องค์กรต้องการนั้นไม่ใช่แค่องค์กรต้องการเท่านั้น แต่พนักงานก็ต้องการเข้ามาในองค์กรด้วยเช่นกัน ทุกอย่างนั้นเริ่มต้นที่ why

หมวกใบที่สอง คือ Manage :  บริหารจัดการคนให้เป็น เลือกคนให้ถูก เวลาที่จะเลือกใครสักคนเข้ามาทำงานในองค์กร อย่าเลือกคนที่คิดเหมือนๆกัน เพราะถ้าตกเขา เราก็จะตกไปด้วยกันทั้งหมด เพราะเราคิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นให้เลือกคนที่คิดต่างดีกว่า คิดต่างเป็นสิ่งที่ดี มันทำให้ได้มองเห็นแง่มุมใหม่ๆที่เราอาจไม่เคยพบเคยเจอ แล้วมันอาจนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำ สิ่งนั้นแหละที่เรียกว่านวัตกรรม ที่สำคัญก็คือผู้นำต้องเข้าใจว่าคนรุ่นใหมต้องการการรับฟัง และการได้รับโอกาสในการแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียม เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ได้ยึดติดคุณค่าของตัวเองกับระบบเดิมๆแบบ Hierarchy อีกแล้ว ดังนั้นผู้นำยุคใหม่ก็ต้องเข้าใจในเรื่องนี้ นั่นคือปล่อยให้คนรุ่นใหม่ๆที่เข้ามาได้มีอิสระในการคิด มีสิทธิ์ในการออกแบบชีวิตของตัวเอง รับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเอง และผู้นำรับฟังและให้โอกาส ให้พื้นที่ในการแสดงความสามารถอย่างเท่าเทียม

หมวกใบที่สามคือ Coach : เป็นผู้นำ สิ่งสำคัญคือคุณต้องสอนให้เป็น ต้องฉายไฟให้พนักงาน ดึงเอาจุดแข็งและศักยภาพในตัวพนักงานออกมา ที่สำคัญต้องมี Empathy เข้าใจธรรมชาติของพนักงานด้วย เพราะสมัยนี้มันไม่ใช่ยุคของคำสั่งแล้วมีคนทำตามแล้ว แต่คนจะทำตามก็เพราะเขาศรัทธาในตัวผู้นำ หากผู้นำสามารถสร้างบรรยากาศของความ Trust ความน่าเชื่อใจได้ ไม่ว่าจะยากเย็น ลำบากแค่ไหนทุกคนก็พร้อมที่เดินตาม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผู้นำจะต้องเป็นคนที่ “ถูกต้อง” เสมอไป แต่ต้องเป็นคนที่ “ชัดเจน”

Leadership zero to one : ผู้นำที่กล้าจะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ศูนย์

  • Risk Taker : กล้าที่จะเสี่ยง มองหาความท้าทาย และเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ
  • Innovator : มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
  • Change Agent : เป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆให้องค์กร
  • Visionary : มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สิ่งสำคัญคือ Growth Mindset และ Start with WHY

แล้วผู้นำจะมีวิธีรับมืออย่างไรหากต้องประสบกับสถานการณ์ที่อาจแย่ลงได้มากกว่านี้ (Worst Case Scenario) ?

เพราะปัจจุบันเราไม่มีทางรู้ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะแย่ลงกว่านี้อีกมั้ย แต่ Worst case scenario นั้นไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะไปโฟกัส สิ่งที่เราควรโฟกัสในปัจจุบันและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด Worst Case ก็คือ

1. Brace for impacts : พร้อมเผชิญหน้าและรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

Cost Saving, Re Prioritize, Pivot Plan For Uncertainty, Be Agile

2. Stay Positive : มองในแง่ดีแต่ก็อิงอยู่กับความเป็นจริง หมายถึงการมองเห็น Solutions ที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง

Optimistic But Realistic, Hold on to your passion, Be The Positive Agent

3. Look For The Opportunities : มองเห็นโอกาสใหม่ๆเสมอ กล้าลองผิดลองถูก

Growth Mindset, Stay Positive, Reframe Take Advantage of fear and challenge, Look beyond the crisis

 สรุป

  • สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับองค์กรในยุคนี้ก็คือ Comfort Zone เพราะทำให้เราไม่กล้าคิด ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าถามตัวเองว่าเรายังเป็นที่ต้องการของลูกค้าอยู่หรือไม่ เราต้องกลับไปถามลูกค้าว่าลูกค้าต้องการอะไร
  • ผู้บริการต้องกล้า ฉลาดที่จะโง่ และต้องยอมรับว่าอะไรที่ต้องเลิกทำได้แล้ว ต้องหมั่นเทน้ำออกจากแก้วเสมอ
  • มองปัญหาเป็น 3 ระยะคือ Short Term – ทำอะไรที่ทำให้รอดตายก่อน Medium Term – ทำให้ตัวเองมีความสามารถ Long Term – พลิกธุรกิจใหม่ให้ตอบโจทย์ลูกค้ายุคหลังโควิด
  • ผู้นำต้องทำให้พนักงานมี Entrepreneurial Spirit ลุกขึ้นเปลี่ยนตัวเองจาก I – Shape เป็น T- Shape และไปให้ถึง O – Shape 
สามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับงานอีเวนท์ Skillforce Virtual Conference 2021  ได้ทางเพจ Skillforce Conference by Future Trends และ Future Trends หรือเว็บไซต์ : Future Trends

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง