สรุปทุกเรื่องที่คุณต้องรู้จากงานแถลงข่าว SEAC’s SMART LEARNING : Transform Learning into Action

HIGHLIGHT

  • SEAC มองว่าการเรียนรู้แบบเดิมไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะแม้จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น แต่ปัญหาคือไม่รู้ว่าจะนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้งานได้อย่างไร การเรียนแบบเดิมจึงไม่เกิดประโยชน์อย่างที่ตั้งใจ
  • SEAC มองว่าเราต้องเปลี่ยนมุมมองการเรียนรู้จาก What We Learn ไปเป็น How We Apply What We Learn ต้องสามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สามารถย่อยเรื่องที่ซับซ้อนออกมาให้เข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม 
  • SEAC มองว่าการเรียนการสอนที่ดี ต้องทำให้คนรู้สึก “อยากเรียน” และรู้ว่า “เรียนไปทำไม”
  • SEAC มองว่า SMART Learning ต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ 1.) รูปแบบการเรียนรู้ต้องหลากหลาย 2.) ทำอย่างไรให้คนอยากเรียน 3.) ทำอย่างไรให้คนมีโอกาสได้นำไปใช้

ในยุคที่ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คนที่ไม่รู้จักปรับตัวจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง คนที่จะเอาตัวรอดได้คือคนที่หมั่นเรียนรู้และกล้ายอมรับว่าทักษะบางอย่างที่เคยทำให้เราประสบความสำเร็จ อาจกลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์เมื่อเวลาผ่านไป เราต้องเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนที่พร้อมโอบรับสิ่งใหม่ ๆ และหาทางนำสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์เข้ากับประสบการณ์ เพื่อบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ในโอกาสนี้ HREX.asia ได้รับเชิญจากทาง SEAC เพื่อเข้าร่วมงาน Innovative People Development อัปเดทแนวทางการเรียนรู้ของคนไทย ปรับใช้ได้จริง เพื่อตอกย้ำภารกิจ Empower Lives Through Training ผ่านนวัตกรรม SEAC’s SMART Learning และร่วมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทความนี้จะให้คำตอบกับผู้อ่านว่าเทรนด์การเรียนรู้ยุคใหม่ในระดับสากลเป็นอย่างไร การก้าวจาก EdTech สู่ SMART Learning จะช่วยเรื่องการเรียนรู้ได้มากแค่ไหน รวมถึงกลไกในการคิดค้นหลักสูตรต้องคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุด เพื่อให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ในอนาคตอันใกล้

อ่านทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ได้จาก HREX.asia

Part 1: Redefine What Makes Learning Work โดย ดร. สิรยา คงสมพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC

เพราะปัญหาของการเรียนรู้แบบเก่าคือการ “มีความรู้มากมาย แต่หยิบจับมาใช้ได้ยากเกิน” สอดคล้องกับงานวิจัยที่ระบุว่ากว่า 75% ของผู้เรียนไม่ได้รู้สึกว่าการอบรมมีประสิทธิภาพจริง และกว่า 88% ไม่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการทำงานได้ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมากหากเทียบกับเม็ดเงินหมุนเวียนในอุตสาหกรรมนี้ ที่สูงกว่า 20,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

หากเรามองถึงวิวัฒนาการของการเรียนรู้ในแต่ละยุค เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ยุคที่เราเข้าห้องสมุด, เข้า Google เรื่อยมาจนถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่าง ChatGPT ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราตระหนักได้ว่าการเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้วัดกันที่การเข้าถึงข้อมูลอีกต่อไป เพราะใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยปลายนิ้ว แต่สิ่งที่จะทำให้เราแตกต่างกันก็คือความสามารถในการนำข้อมูลไปใช้ต่างหาก

ปัญหาการเรียนรู้ในปัจจุบันประกอบด้วย

1.) ออกจากห้องเรียนแล้วไม่รู้จะเอาไปใช้อย่างไร

2.) รู้สึกว่าเนื้อหาที่เรียนไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง เพราะคนที่ซื้อหลักสูตรคือองค์กร ไม่ใช่พนักงาน

3.) เนื้อหาไม่อัพเดท ไม่เท่าทันโลก

4.) เรียนแล้วไม่สามารถวัดผลได้ รู้สึกว่าเรียนไปก็เท่านั้น

ดังนั้น SEAC จึงมองว่า SMART Learning จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องวิธีการเรียนรู้แบบเดิม ๆ ได้ โดยมีปัญหาหลักอยู่ 3 ประเด็นดังต่อไปนี้

1.) 70% ไม่ได้รับการเทรนนิ่งทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน

2.) 75% ไม่เกิดการพัฒนาหลังเข้าเรียน

3.) 88% ไม่สามารถนำทักษะไปปรับใช้ในการทำงานได้จริง

การเรียนรู้ที่ดีจึงต้องทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตนพัฒนาขึ้นกว่าเดิม มีความรู้ความเข้าใจมากกว่าตอนที่ยังไม่ได้เข้ามาเรียน และรู้ว่าสิ่งที่เรียนนั้นจะนำไปใช้ได้อย่างไร สรุปอย่างกระชับที่สุดได้ว่า เราต้องเปลี่ยนมุมมองการเรียนรู้จาก What We Learn ไปเป็น How We Apply What We Learn ต่างหาก เราต้องสามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สามารถย่อยเรื่องที่ซับซ้อนออกมาให้เข้าใจได้ยิ่งกว่าเดิม

ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีของ SEAC ได้ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ SMART Learning แบบ 4-5-6 ประกอบด้วย

Part 2: Reframe Learning Innovation for a Greater Impact โดย คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง SEAC

ทุกคนคงได้ยินคำว่า “โลกของเราไม่เหมือนเดิม” อยู่บ่อย ๆ ทำให้เราต้องมาตั้งคำถามว่า “เรายังคงเรียนรู้แบบเดิมได้หรือไม่” เพราะหากมองในแง่ของธุรกิจนั้น เราไม่สามารถทำธุรกิจแบบเดิมได้เลย หากต้องการอยู่ในตลาดอย่างแข็งแรง

เมื่อตั้งธงไว้แบบนี้ SEAC จึงตั้งเป้าที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องวิธีเรียนรู้ให้ดีขึ้น แต่ก็เจอปัญหาคือไม่ว่าจะมองไปทางไหน  ก็ได้ยินแต่คำพูดว่า “วิธีการเรียนรู้ในประเทศนั้น ๆ มีปัญหา” กลับมาเช่นกัน ทำให้ SEAC ไม่สามารถนำกลยุทธ์จากประเทศอื่น ๆ มาเป็นแนวทางได้อีกต่อไป ต้องคิดค้นวิธีแบบใหม่ขึ้นมา นำไปสู่การเกิดขึ้นของนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Innovation) ที่ดีกว่าเดิมอย่างเป็นรูปธรรม

ประเด็นสำคัญก็คือปัจจุบัน “ความรู้จะไม่ได้สร้างความได้เปรียบในการทำงาน และไม่ได้ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่อีกต่อไป” ดังนั้นหากเราต้องการยกระดับการเรียนรู้ในเมืองไทย เราต้องให้ความสำคัญกับกลไกการเรียนรู้ทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่

1.) รูปแบบการเรียนรู้ต้องหลากหลาย

2.) ทำอย่างไรให้คนอยากเรียน

3.) ทำอย่างไรให้คนมีโอกาสได้นำไปใช้

เป้าหมายของ SEAC จึงอ้างอิงอยู่บนคำ 2 คำ ได้แก่ “อยากเรียน” และ “เรียนไปทำไม” เราต้องทำให้คนรู้สึกว่าถ้าเขาได้เรียนตรงนี้ จะช่วยให้ชีวิตเขาดีขึ้นอย่างไร, มีโอกาสเลื่อนขั้นมากขึ้นหรือไม่, ได้เงินเดือนมากขึ้นหรือเปล่า เป็นต้น การชี้ให้เห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจนจะช่วยโน้มน้าวให้คนอยากเรียนกว่าเดิม เราจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ก่อนจะพูดถึงเนื้อหาของการเรียนรู้ด้วยซ้ำ รายละเอียดการสอน (Course Outline) จึงต้องเปลี่ยนจากการไล่เนื้อหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการอบรม ไปสื่อสารในแง่มุมที่เอาผู้เรียนเป็นหลักแทน

และท้ายสุด การเรียนรู้ที่ดีต้องสามารถผสานรูปแบบและเครื่องมือการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ เพราะเราไม่ได้เรียนรู้จากช่องทางเดียวอีกต่อไป แต่สามารถทบทวนจากรูปแบบเนื้อหาที่ต่างออกไปได้ด้วย เช่นเนื้อหาที่เราได้เรียนจากการอบรม ก็อาจปรากฏในรูปของหนังสือและพอดแคสต์ เช่นกัน เราสามารถเลือกทบทวนจากช่องทางที่อยากใช้งานได้เลย เราจึงต้องปรับมุมมองของผู้เรียนให้เข้าใจถึงเรื่องนี้ เป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนเดิม (Refocus Learning For Success)

นี่คือการเรียนรู้เพื่อความสำเร็จ เพราะเป็นเนื้อหาที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง

Part 3: Refocus Learning for Success โดย มิสเตอร์ เจมส์ เอนเกล (James R. Engel) Chief Learning Architect, SEAC ppo AEW

ผู้บรรยายกล่าวว่า SEAC’s SMART Learning คือแนวทาง ที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกได้ตั้งแต่ฐานรากของชีวิต เรื่อยไปจนถึงระดับองค์กร โดยมีตัวชี้วัดเป็น 6 องค์ประกอบสำคัญได้แก่

1.) บริบท : แกรี่ เวเนอร์ซัก (Gary Vaynerchuk) นักธุรกิจชื่อดังกล่าวว่า “หากเนื้อหาคือราชา บริบทก็คือพระเจ้า” เราจึงต้องให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ และออกแบบประสบการณ์การเรียนโดยคำนึงถึงบริบทการทำงานของผู้เรียนเป็นหลัก

2.) การประยุกต์ใช้ : เน้นช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหากับบริบทของตน และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

3.) ความยืดหยุ่นและความมุ่งมั่น : มีวิธีการเรียนรู้และช่องทางเพิ่มทักษะที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนมีตัวเลือก เพิ่มความยืดหยุ่น และทำให้มีความมุ่งมั่นในการเรียนสูงขึ้น

4.) เป็นการแบ่งปันความคิดอย่างแท้จริง : ใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมต่อผู้เรียน เพื่อแบ่งปันความรู้และฝึกปฏิบัติไปด้วยกัน

5.) ให้การสนับสนุน : ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้ดีขึ้น

6.) เริ่มต้นที่ตัวเอง : ทำให้ผู้เขียนเห็นว่าพวกเขาอยู่ตรงจุดไหน ควรเรียนรู้เรื่องอะไร และต้องได้อะไรจากการเรียน

ทิ้งท้ายอีกครั้งว่าการเรียนรู้แบบเดิมนั้น ไม่ตอบโจทย์ของยุคสมัยอีกต่อไป เพราะไม่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง

ที่สำคัญคือเป็นไปได้สูงว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น เราจึงต้องพัฒนาตนเองให้พร้อมรับมือ และสามารถคว้าโอกาสใหม่ ๆ ได้อย่างชาญฉลาด เพราะหากเราละเลย เราก็จะกลายเป็นคนล้าหลัง ก้าวไม่ทันโลกไปโดยไม่รู้ตัว

SEAC’s SMART Learning จึงถือเป็นกลไกที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับการทำงาน และช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ผู้เขียน

Pumi Boonyatud

Pumi Boonyatud

a professional daydreamer. pro-wrestling god.

บทความที่เกี่ยวข้อง