เข้าสู่เดือนที่ 2 ของปี 2024 กันแล้ว สิ่งสำคัญที่เราจะมองข้ามไม่ได้ก็คือการตั้งคำถามว่าสิ่งที่วางแผนกันตั้งแต่ปีก่อนหน้า เป็นจริงหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้หรือไม่ และนำผลลัพธ์ไปพิจารณาเป็นกระบวนการทำงานใหม่ ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย “ปรับตัว” เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาแบบนี้ ดังนั้น “คำแนะนำที่ถูกต้อง” คือรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานเติบโตไปข้างหน้าอย่างแข็งแรง และองค์กรก็จะอยู่ร่วมกับพวกเขาเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมอันมีคุณค่าได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งเหล่านี่คือสาเหตุสำคัญที่เราตัดสินใจสร้าง HR Commnunity ขึ้นมา
Q&A Of the Month จำนวน 5 ข้อประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2024 มุ่งเน้นไปในหลากหลายประเด็น ทั้งเรื่องที่เป็นพื้นฐาน, เรื่องกฎหมายแรงงาน, เรื่องเทคโนโลยี ตลอดจนเรื่องที่จำเป็นอีกมากมายอื่น ๆ ทั้งนี้เราอยากให้พื้นที่ของ HR Community เป็นพื้นที่สบาย ๆ ที่ทุกคนสามารถมาถามคำถามได้ ดังนั้นถ้าคุณมีเรื่องไม่สบายใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็หันมาหาเราได้ทุกเมื่อ !
Contents
- Q1 : HR มีสิทธิ์ห้ามพนักงานเทรดหุ้นระหว่างทำงานหรือไม่ ?
- Q2: HR ไม่ยอมให้พนักงานนำ Apple Vision Pro มาใช้ที่ออฟฟิศ
- Q3: พนักงานลางานโดยไม่บอก และทำพลาดในเรื่องที่เคยถูกใบเตือน ไล่ออกได้ไหม ?
- Q4: ออกใบเตือนให้พนักงาน แต่พนักงานไม่พอใจ ควรอธิบายอย่างไร
- Q5: บริษัทตั้งเกณฑ์เกษียณอายุไว้ที่ 60 ปี แต่เปิดให้สิทธิพนักงานสามารถเจตนาเกษียณตอนอายุ 55 ปีได้ โดยให้แจ้งล่วงหน้า 6 เดือน สามารถทำได้ไหม
Q1 : HR มีสิทธิ์ห้ามพนักงานเทรดหุ้นระหว่างทำงานหรือไม่ ?
อยากรู้ว่าแต่ละองค์กรเคยเจอพนักงานที่เล่นหุ้น หรือเล่นคริปโตเคอร์เรนซี่แล้วทำกำไรได้สูง ในช่วงเวลาทำงานไหมครับ ถ้าเจอ HR ควรทำอย่างไรดีครับ ระหว่างปล่อยให้พนักงานทำไป หรือออกมาตรการไม่ให้เล่น แล้วถ้าเกิดพนักงานมาขอลาออกเพื่อไปเล่นหุ้น เทรคคริปโตเต็มตัว ควรทำอย่างไรดี
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
โดยหลักปฏิบัติทั่วไปที่ถูกต้องในทุกองค์กร พนักงานมีหน้าที่ทำงานตามที่บริษัทมอบหมายค่ะ และงดการทำงานทุกชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของบริษัท เช่น การเล่นหุ้น การขายของออนไลน์ และอื่นๆ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ห้ามนำเวลาการทำงานของบริษัทไปใช้ในการทำธุระส่วนตัว หากฝ่าฝืนถือว่า พนักงานคนนั้นๆ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทาง HR ร่วมกับผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดต้องเรียกพนักงานมาตักเตือนและพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ กรณีพนักงานขอลาออกก็ต้องแจ้งบริษัทล่วงหน้า 15-30 วัน เพื่อหาคนทดแทนในตำแหน่งงานนั้นๆ
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community
Q2: HR ไม่ยอมให้พนักงานนำ Apple Vision Pro มาใช้ที่ออฟฟิศ
มีพนักงานท่านหนึง่ซื้อ Apple Vision Pro มา และต้องการนำมาใช้งานที่ออฟฟิศ เพราะเห็นว่าเหมาะกับรูปแบบการทำงานของตนเอง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพงานได้ แต่ HR มองว่าการใส่อุปกรณ์ตลอดเวลาเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่เหมาะสม แม้พนักงานนจะพยายามอธิบายแล้ว แต่เหมือน HR ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Apple Vision Pro คืออะไร ให้ทดลองใส่ก็ใช้งานไม่เป็น จะให้นำกลับบ้านอย่างเดียว จริงอยู่ที่การทำงานแบบเดิมก็ได้ผลอยู่แล้ว แต่ถ้ามีเทคโนโลยีมาช่วยให้ดีขึ้น แล้ว HR ไม่รู้จัก ก็ทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรตกยุคได้เหมือนกัน ทำไงดี ?
A: โดย นภัสราพร เด่นพงศ์พันธุ์
แนะนำว่าให้ทำ Presentation เปรียบเทียบวิธีการทำงานแบบเดิมกับการใช้งาน Apple Vision Pro ทั้งข้อดีและข้อเสียที่มีต่องานทั้งในระดับบุคคล ระดับหน่วยงาน และระดับองค์กร ลองเชื่อมโยงกับ Competency, Vision, Mission ,Core Value จากนั้นนำเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาลงคะแนนให้เป็นมติขององค์กร
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community
Q3: พนักงานลางานโดยไม่บอก และทำพลาดในเรื่องที่เคยถูกใบเตือน ไล่ออกได้ไหม ?
พนักงานลาป่วย 2 ครั้ง ไม่ได้บอกหัวหน้าเอง แต่ฝากเพื่อนบอกแทน และอีกเรื่อง พนักงานเคยโดนตักเตือนเรื่องเล่นโทรศัพท์ในเวลางาน 1 ครั้ง ทั้งหมดนี้ตักเตือนด้วยวาจา ไม่มีหนังสือให้เซ็นรับทราบเรื่อง กรณีทั้งหมดนี้สามารถเชิญพนักงานออกได้ไหม
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
ข้อมูลเพิ่มเติม ความผิดร้ายแรงตามมาตรา 119 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community
Q4: ออกใบเตือนให้พนักงาน แต่พนักงานไม่พอใจ ควรอธิบายอย่างไร
พนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลโดนเตือนเรื่องไม่ปฎิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เป็นการเตือนด้วยวาจา แต่ตามกฎบริษัทต้องทำเป็นจดหมายให้รับทราบ ออกใบเตือนให้พนักงาน พนักงานไม่ยินยอนรับใบเตือน และไปแจ้งแรงงาน ทางบริษัทควรปฎิบัติอย่างไร
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
ข้อ 1 การที่พนักงานไม่พอใจแจ้งแรงงาน แสดงว่าพนักงานไปร้องเรียนแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ ทางเจ้าหน้าที่แรงงานที่ทำหน้าที่ด้านการแรงงานสัมพันธ์จะติดต่อกลับมาที่บริษัทก่อน เพื่อให้ทางบริษัทไปชี้แจงกรณีดังกล่าว สิ่งที่ทางบริษัทต้องเตรียมคือข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้น การไม่ปฎิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา คือเรื่องอะไร การลงโทษตักเตือนเหมาะสมหรือไม่ อะไรเป็นเหตุที่ทำให้พนักงานไม่ยินยอมรับใบเตือน เรื่องในลักษณะนี้ควรจบได้ด้วยการเจรจา ชี้แจงทำความเข้าใจให้ชัดเจน และให้ทางบริษัทแสดงเจตนาด้วยว่าให้ปรับปรุงตัวไม่ได้ให้ลาออก ข้อสังเกต ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ยังขาดเรื่องการสื่อสารเชิงบวก ขาดเรื่องมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน ปกติการตักเตือนให้ปรับปรุงเป็นเรื่องที่สามารถพูดคุยกันได้ ไม่น่าจะเกิดเป็นประเด็นปัญหา
ข้อ 2 การลาออกด้วยปากเปล่าและไม่ยื่นใบลาออก ไม่ถูกต้อง ปกติการลาออกต้องแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบที่บริษัท กำหนด กรณีนี้ถือว่าพนง.ผิดระเบียบ ฯ หากการลาออกกะทันหัน และส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหาย (ต้องระบุความเสียหายให้ชัดเจนด้วย) ถือเป็นความผิดทางวินัย ทางบริษัท สามารถร้องเรียนทางแรงงานได้เช่นกัน
ข้อแนะนำ ขอให้ใช้หลักการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี เจรจาพูดคุยกันให้เข้าใจ และจากกันด้วยดีทั้งสองฝ่าย
อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community
Q5: บริษัทตั้งเกณฑ์เกษียณอายุไว้ที่ 60 ปี แต่เปิดให้สิทธิพนักงานสามารถเจตนาเกษียณตอนอายุ 55 ปีได้ โดยให้แจ้งล่วงหน้า 6 เดือน สามารถทำได้ไหม
คำถามมีดังนี้
1. เราสามารถตั้งเกณฑ์เกษียณไว้ที่ 60 และ เปิดเพิ่มเติมให้พนักงานสามารถแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ตั้งแต่ 55 ปีแต่ต้องแจ้งล่วงหน้า 6 เดือน แบบนี้จะขัดหลักกฏหมายไหมคะ
2. สามารถระบุได้หรือไม่ว่า พนักงานที่เกษียณอายุที่ 60ปี(บริบูรณ์) บริษัทจะกำหนดให้พ้นสถานสภาพพนักงานในวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไปได้หรือไม่ เพราะเป็นที่สงสัยว่าต้องพ้นสภาพจากอายุ หรือบริษัทสามารถกำหนดได้
A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
ข้อ 1 ไม่ขัดหลักกฎหมายแรงงาน หลักปฏิบัติโดยทั่วไป การเกษียณอายุ จะกำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการทำงานของบริษัท ส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่อายุ 60 ปี
การเปิดเพิ่มเติมให้พนักงานสามารถแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ตั้งแต่ 55 ปีแต่ต้องแจ้งล่วงหน้า 6 เดือน แนะนำให้ทางบริษัท จัดทำประกาศแนบท้าย “ระเบียบและหลักเกณฑ์การเกษียณอายุ” และประกาศให้พนักงานทราบโดยทั่วกันเป็นการล่วงหน้าค่ะ
ข้อ 2 การนับอายุเกษียณ ให้นับอายุตามวัน เดือน ปี เกิดในบัตรประชาชน เมื่อครบ 60 ปีบริบูรณ์
ภาคเอกชนไม่เหมือนภาครัฐ ภาครัฐจะกำหนดเกษียณอายุ ทุกวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี ซึ่งอาจจะมีบางคนที่ยังไม่ถึง 60 ปีเต็ม