HIGHLIGHT
|
ในยุคที่คนหันไปหาโลกดิจิตอลและมีความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด องค์กรหลายแห่งต้องประสบปัญหาอันเนื่องมาจากสุขภาพของพนักงาน จึงไม่แปลกที่ HR จะมีคำถามว่าเราสามารถลด Screen Time ของพนักงานได้อย่างไร และจะมีวิธีไหนบ้างที่จะพัฒนาทักษะโดยหลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอได้บ้าง โดยวิธีที่ผู้เชี่ยวชาญค้นพบก็คือการให้พนักงานฝึกระบายสี ซึ่งนอกจากจะช่วยระบายความเครียดและเพิ่มความคิดสร้างสรรค์แล้ว การสังเกตุวิธีระบายสีของแต่ละคนยังช่วยให้เราเข้าใจลักษณะนิสัยของพวกเขามากขึ้นด้วย เคล็ดลับดี ๆ และประโยชน์ของ Coloring Book ได้ที่นี่ไปกับ HREX.asia
Coloring Book และการระบายสีมีประโยชน์กับการทำงานอย่างไร ?
ในทำงานที่เต็มไปด้วยความเครียด การระบายสีถูกมองเป็นกลยุทธ์ในการสร้างสมาธิที่เรียบง่ายและได้ผลที่สุด อ้างอิงจากประสบการณ์ของเราเอง ที่หากมองย้อนกลับไปในวัยเด็ก ก็คงผูกพันกับการระบายสีหรือเลือกซื้อสมุดระบายสีจนเป็นเรื่องปกติธรรมดา ขณะเดียวกัน การระบายสียังถูกใช้เพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยด้านจิตเวชมานานกว่า 100 ปีอีกด้วย ดังนั้นการระบายสีจึงถือเป็นโซลูชั่นที่เหมาะกับพนักงานทุกเพศทุกวัย ไม่ต้องสนใจเรื่องความต่างของอายุ (Generational) เหมือนวิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ การนำสมุดระบายสีไปวางไว้ในพื้นที่ส่วนกลางของออฟฟิศจึงจะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทคุณดีขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม
เราสามารถอธิบายถึงประโยชน์ของการใช้ Color Therapy ได้ดังนี้
- ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล (Reduce Stress & Anxiety) : การระบายสีจะทำให้สมองในส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับความกลัวและความเครียดผ่อนคลายลง ซึ่งมีการวิจัยที่ระบุว่าการระบายสีก่อนนอนประมาณ 5 นาทีจะช่วยให้เราหลับสบายขึ้น
- ช่วยให้เราจดจ่อกับงานได้ดีขึ้น (Concentration) : จากเดิมที่คนมองว่าการระบายสีเป็นเรื่องของเด็ก แต่ความจริงแล้วมีหนังสือระบายสีที่ทำขึ้นมาเพื่อกระตุ้นสมองสมองของคนวัยทำงานอยู่มากมายนับไม่ถ้วน การระบายสีเหมาะมากกับคนที่ทำงานแบบความเครียดสูง (High Stress Work) การระบายสีจะทำให้โลกทัศน์ของเรากว้างขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งหาไม่ได้จากการทำงานโดยทั่วไปที่เต็มไปด้วยความกดดัน
- ช่วยให้สมองได้พักผ่อน (Calm/Midfulness) : ปัญหาของการพักผ่อนคือพอเราเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอะไรบางอย่าง หัวสมองของเราจะไปโฟกัสกับสิ่งใหม่ทันที เช่นหากเราเล่นเกม เราอาจไปโฟกัสกับการเล่นเกมให้ชนะจนบางครั้งก็ทำให้ลืมความผ่อนคลายไปเสียสนิท แต่การระบายสีจะช่วยให้เราลืมความเครียดไปเลย (Switch-off) แถมยังเป็นกิจกรรมที่ทำได้อย่างสบาย ควบคู่ไปกับกิจกรรมอื่น เช่นฟังเพลงหรือเปิดทีวีคลอไปเรื่อย ๆ ได้ด้วน จึงทำให้เรารู้สึกโล่งกว่าการผ่อนคลายด้วยวิธีอื่น
มีองค์กรมากมายในโลกที่ใช้การระบายสีเป็นหนึ่งในหลักสูตรเวิร์กช็อป มีการจ้างศิลปินมาวาดลายเส้นเพื่อให้พนักงานลงสีในเนื้อหาที่ตรงกับความชอบส่วนตัว เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานอยากทำกิจกรรมนี้มากขึ้น (Increase Engagement) และบางแห่งก็ทำกิจกรรมเป็นแบบกลุ่มให้พนักงานช่วยกันระบายสีในแผ่นภาพขนาดใหญ่ วิธีนี้จะช่วยในเรื่องของ Team Building ช่วยทำให้ความสัมพันธ์ของคนในทีมดีขึ้นกว่าเดิม
พนักงานของเราเป็นแบบไหน ดูได้จากการระบายสี
Entrepreneurs กล่าวว่าทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของผู้นำคือความสามารถในการอ่านคน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนแต่ละรูปแบบเหมาะกับวิธีเข้าหาแบบไหน, ต้องสื่อสารอย่างไร เพื่อให้พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่รู้สึกว่าตนถูกเอาเปรียบหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม แน่นอนว่าเราสามารถทำแบบสำรวจหรือจัดการพูดคุยแบบตัวต่อตัวได้เป็นระยะ แต่จะดีกว่าไหมหากเรามีวิธีสังเกตด้วยตนเอง เพราะการดูแลที่ดีโดยไม่ต้องให้อีกฝ่ายบอกก่แนคือการแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ สามารถทำให้อีกฝ่ายประทับใจได้มากกว่า
อ้างอิงจากมุมมองทางจิตวิทยา รูปแบบการระบายสีสามารถมองถึงตัวตนของพนักงานได้ดังนี้
- คนที่ระบายสีตามแนวทางที่ควรจะเป็น : พนักงานในลักษณะนี้คือพวกที่ทำทุกอย่างตามแบบแผน ตามข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ดีแล้ว ไม่ชอบทำอะไรนอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง เราสามารถคาดหวังได้ว่าพนักงานที่ระบายสีแบบนี้จะทำงานตรงต่อเวลา เอาผลลัพธ์เป็นที่ตั้ง (Result Driven) ไม่เอาแต่ใจจนเสียงานเสียการแน่นอน
- คนที่เปลี่ยนสีตามใจต้องการ : เช่นแทนที่จะระบายสีท้องฟ้าตามปกติ ก็เลือกระบายเป็นสีเขียวหรือสีชมพูแทน คนเหล่านี้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าทำนอกกรอบ ไม่ยึดติดอยู่กับขนบธรรมเนียมแบบเดิม เราสามารถมอบหมายให้คนเหล่านี้ทำงานด้านการออกแบบได้เลย โดยสามารถฝึกฝนเรื่องของตรรกศาสตร์ (Logical Thinking) เข้าไปเพิ่มเติมเพื่อให้การออกแบบแต่ละอย่างตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ คนที่ระบายสีแบบนี้สามารถเป็นหัวหน้าโปรเจ็คที่เกี่ยวกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม ๆ ได้เลย
- คนเลือกตัดขอบก่อนลงสี : แม้ลายเส้นจะเขียนไว้ชัดอยู่แล้ว แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่ชอบลงสีทับลายเส้นนั้นก่อน แล้วค่อยระบายทีหลัง คนเหล่านี้เป็นพวกที่ชอบความแน่นอน ชอบทำงานที่ถูกวางโครงสร้างเอาไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว เราสามารถให้คนที่ลงสีในลักษณะนี้ทำงานที่มีกระบวนการซับซ้อน หรือช่วยดูแลการทำงานของคนในทีมได้เลย
- คนที่ระบายสีไม่เสร็จ : กรณีนี้ให้แยกตามพฤติกรรมก่อน หากพนักงานระบายสีไม่เสร็จเพราะไม่ใส่ใจ ให้ถือว่าบุคคลนี้ไม่ตั้งใจในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมขององค์กร แต่หากพนักงานเอาเวลาไปสนใจการลงสีของคนอื่นมากกว่า เพราะสนุกสนานกับการสร้างบทสนทนาและชื่นชมผลงานของคนอื่น คนเหล่านี้เหมาะกับการเป็นเซลล์หรือผู้ช่วยด้านการประสานงาน เพราะสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจคนอื่น เช่น Community Management
- คนที่ระบายสีออกนอกกรอบ : คนที่ทำงานในลักษณะนี้ เหมาะกับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำที่ไม่ต้องการหยุดอยู่กับที่ เพราะพวกเขาเป็นคนที่มองเห็นภาพกว้างกว่า ไม่คิดว่าการลงสีแบบทั่วไปคือสิ่งที่ตนชื่นชอบและมีความสุข หากพิสูจน์ดูแล้วว่าการลงสีแบบนี้ทำด้วยเหตุผลอะไร (ต้องไม่ใช่ความสะเปะสะปะ) ก็ถือว่ามีมุมมองที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
รู้ทันคนอื่นด้วยการอ่านภาษากาย และการใช้ Nonverbal Communication |
บทสรุป
อย่างที่กล่าวไปในช่วงต้นว่าการระบายสีคือกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ช่วยในการผ่อนคลาย และทำให้พนักงานกลับมาโฟกัสกับภาระหน้าที่ได้ดีขึ้น เราไม่ควรเอาผลลัพธ์จากการระบายสีเป็นการตัดสินว่าพนักงานดังกล่าวเป็นคนที่มีศักยภาพหรือไม่ แต่สามารถใช้เป็นภาพแสดงอย่างหนึ่งเพื่อช่วยในการพิจารณาทำความรู้จักซึ่งกันและกันมากขึ้น เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ชอบการระบายสี และอาจมีพฤติกรรมต่อต้านบางอย่างโดยที่ไม่ได้เกี่ยวกับความสามารถและความตั้งใจในการทำตามหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมายเลย
กล่าวอีกมุมหนึ่งก็คือการทำงานในปัจจุบันนั้น ผู้นำต้องมีทักษะในการอ่านคนและอ่านบรรยากาศ (Read The Room) โดยกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมนอกเหนือจากการทำกิจกรรมก็คือการอ่านภาษากาย (Body Language) ที่ถือเป็น Non-Verbal Communication ที่ได้รับความนิยม และถือเป็นกลไกสำคัญในการสืบสวนของ FBI ดังนั้น เราสามารถสรุปได้ว่าในโลกธุรกิจ เราไม่สามารถโฟกัสแค่เรื่องของการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องใส่ใจรายละเอียดในภาพรวมให้มากที่สุด หากทำได้ เราก็จะโดดเด่นกว่าบริษัทคู่แข่งทันที
หากคุณไม่รู้ว่าจะวางแผนอย่างไรเราขอแนะนำให้ใช้บริการ HR Consultant จาก HR Products & Services แพลตฟอร์มที่รวบรวมบริการและผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเอาไว้มากที่สุดในเมืองไทย ไม่ว่าคุณจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่ หรือกำลังมองหาตัวช่วยแบบไหน ที่นี่มีคำตอบให้คุณแน่นอน
Sources |