ผ่านมา 2 สัปดาห์เต็มๆของปี 2022 แล้ว บางคนอาจรู้สึกว่าบรรยากาศยังไม่เปลี่ยนแปลงหรือมีอะไรใหม่เท่าไหร่นัก เหมือนเป็นภาคต่อของปี 2021 มากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความหวั่นวิตกและตึงเครียดก็เริ่มเบาบางและจางลงมากกว่าปีที่ผ่านมาบ้างแล้ว
วันนี้ HREX จึงอยากขอรวบรวมบทเรียนที่ปี 2021 มอบให้กับเราทุกคน ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงต่อปีหลังจากนี้ไป มีอะไรบ้างที่เกิดขึ้นเพื่อให้เรารู้ว่าสิ่งใดสำคัญจริงๆ สิ่งใดควรเริ่มทำตั้งแต่นี้ไป สิ่งใดควรเลิกทำได้แล้ว และสิ่งใดที่จะหายไปตลอดกาล…
บทเรียนที่ 1. New Norm ที่เราเห็นอาจใช้ได้เพียงปีสองปีเท่านั้น
เพราะ New Norm ที่จะมาแน่ๆก็คือ ทุกการเปลี่ยนแปลงจะมีมาตลอด ไม่หยุด และหากว่ารู้สึกเหนื่อยกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆรอบตัว ขอบอกตรงนี้ว่านี่ยังไม่จบ ! ยังมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ ไกลกว่านี้ และเร็วกว่านี้อีกแน่นอนในอนาคต เพราะฉะนั้นทุกการเปลี่ยนแปลง จากนี้ไป การตัดสินใจทั้งหมดต้องทำให้ Short และ Sharp นั่นคือตัดสินใจให้รวดเร็วและแหลมคม เพราะสถานการณ์หลังจากนี้จะ uncertainty มากกว่านี้ และไม่มีอะไรคาดการณ์ได้
บทเรียนที่ 2. คนจะถูกแบ่งแยกอย่างชัดเจน และคนกลางๆอาจไม่มีที่ยืน
คนจะถูกแบ่งแยกออกไปอย่างชัดเจน และไม่ใช่จากระบบประเมินผลปกติ แต่คนที่ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่อยากรับสิ่งใหม่ ขาด skill to adapt to จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ซึ่งหลังจากนี้ ความแตกต่างจะยิ่งชัดเจนขึ้น วันนี้ไม่ใช่ว่าองค์กรเลือกใครหรือไม่เลือกใคร แต่เป็นคุณเลือกตัวเองอย่างไร จะไปข้างหน้าหรือว่าถอยหลัง?
บทเรียนที่ 3. ไม่มีอะไร Perfect ไม่มีอะไรคาดเดาได้ ต้องมีสกิลในการรับมือกับความผิดหวัง
ในอดีตเราถูกสอนให้ทำอะไรก็ต้อง Perfect อย่าให้ผิดพลาด แต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ที่จะหกล้ม เพราะการล้มไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าให้เปรียบเทียบองค์กร 2 แห่ง แห่งแรกสอนให้ทำตามขั้นตอน อย่าตั้งคำถามใดๆ ทำตามนั้นแล้วจะได้ไม่ผิดพลาด ในขณะที่อีกแห่ง ส่งคนออกไปสู่ตลาดทั้งที่ยังไม่พร้อม อย่างหลังจะเกิดการเรียนรู้มากกว่า สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการเปลี่ยนผ่านนั่นคือการไม่ยอมเจ็บ ยกตัวอย่างองค์กรที่พยายามประคับประคองสุดฤทธิ์เพื่อไม่ให้มี pain ไม่ให้มีความผิดพลาดเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด ซึ่งสิ่งนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะคนที่รับ pain ได้มากกว่า จะมีภูมิคุ้มกันดีกว่า
บทเรียนที่ 4. Work From Home จะกลายเป็นคำที่ล้าสมัย
เพราะต่อไปจะกลายเป็น Work From Anywhere หลายคนอาจยึดติดกับคำว่า Work From Home ว่าเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ แต่มันจะไม่สิ้นสุดแค่นี้ เพราะหลังจากนี้ต่างหากที่จะเป็น New Norm ของแท้ ! เพราะไม่ว่าจะการ Work from home, ประชุมผ่าน ZOOM หรือการใส่ mask เป็นแค่การบริหารจัดการอยู่บน BCP เป็นเพียงสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น แต่หลังจากนี้ องค์กรใดก็ตามที่จะกลับไปใช้วิธีแบบเดิม ก็ไม่สามารถจะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หน้าที่ขององค์กรก็คือเตรียมความพร้อมให้คนในองค์กรอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ และเมื่ออยู่ที่ไหนก็ทำงาน การเข้างาน 8.00 – 17.00 ก็อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป
บทเรียนที่ 5. งานประจำอาจไม่จำเป็น เพราะ Outsource ตอบโจทย์กว่า
คนรุ่นใหม่เริ่มมีแนวคิดไม่อยากเป็นพนักงานประจำกันมากขึ้น เพราะเขามีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง จึงไม่อยากขึ้นอยู่กับระบบการเติบโตแบบเดิม และก็ไม่ได้นับถือผู้บริหารเพราะ Hierarchy แต่นับถือจากประสบการณ์หรือสิ่งที่จะเพิ่มเติมให้กับพวกเขาได้มากกว่า เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่ได้มีแนวคิดอยากเป็นพนักงานประจำ เขาก็ไม่ได้อยากทำงานให้องค์กรใดองค์หนึ่งอีกต่อไป เพราะฉะนั้นลักษณะการจ้างงานก็เปลี่ยนไป เป็น Co-Hiring หรือการจ้างงานร่วมกัน ซึ่งเป็นการจับกลุ่มระหว่างบริษัทที่เป็นพันธมิตรกันมาร่วมช่วยกัน ทำให้ลักษณะงานของคนรุ่นใหม่เป็นไปแบบบูรณาการ การที่ตอนนี้หลายๆองค์กรใช้ Outsource ช่วยในการทำงาน ต่อไปสิ่งเหล่านี้ก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ
บทเรียนที่ 6. No more Work – Life Balance Concept
Work- Life Balance ไม่จำเป็นอีกแล้ว เพราะ Work Integration ตอบโจทย์คนทำงานรุ่นใหม่มากกว่า คือแนวคิดการทำงานแบบผสานงานกับการใช้ชีวิตเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ โดยนำเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ ทั้งโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ต และระบบคลาวด์มาเป็นตัวช่วยการทำงานแบบ Work-Life Integration
บทเรียนที่ 7. Career Path ไม่จำเป็นเท่า Experience Journey
Talent ไม่ได้มี expectation เหมือนในอดีตที่ผ่านมาแล้ว เพราะเขาไม่ได้สนใจในเรื่องของเงินเดือนหรือสวัสดิการพื้นฐานเหมือนเดิมอีกต่อไป แต่เขาจะเรียกหาพัฒนาการ development หรือความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาส และนั่นก็จะส่งผลให้เทรนด์ของการเรียนรู้ของคนค่อยๆเปลี่ยนไป ไม่มีเทรนเนอร์ที่มาสอนและพูดคนเดียวอยู่หน้าห้องแล้ว แต่จะเป็นในลักษณะของการแชร์ความรู้จากผู้มีประสบการณ์ นั่นจะเป็นความรู้ที่แท้จริง จับต้องได้ และเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น Compensation Benefit ต้องออกแบบมาให้มีลักษณะเข้ากับปัจเจกบุคคล เราอาจเห็นว่า ในอดีต ลูกจ้างต้องรอให้นายจ้างโยนงานมาให้ แต่ตอนนี้ mindset คนรุ่นใหม่เปลี่ยนไป มีความเป็น ownership ต่อองค์กรมากขึ้น และต้องการสิทธิ์ในการเติบโต โดยไม่ต้องการเป็นคนใน pattern ที่นายจ้างพอใจ แต่จะเรียกร้องให้ดูที่ผลงานมากกว่า เพราะฉะนั้น องค์กรต้องทำให้คนได้ access ในการ development ได้ เพื่อให้เขาสามารถทำ goal career path ของตัวเอง
บทเรียนที่ 8. ระบบประเมินผลแบบเก่าไม่เวิร์คอีกแล้ว
Performance Evaluation ระบบการประเมินผลแบบเดิม ใช้การไม่ได้แล้ว เพราะจะมีการแยกความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างคนเก่งและไม่เก่ง ส่วนคนตรงกลางก็จะ out ไป เพราะฉะนั้น นายจ้างจะต้อง identify ตัวเองให้ชัดเจนเสียก่อน และให้เป้าหมายที่ชัดเจนแก่พนักงาน ให้ milestones ที่ชัดเจน เพื่อง่ายต่อการ drive for result ของพนักงานทุกคน
HREX ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนและทุกทีมเอาชนะอุปสรรคและผ่านไปได้ทุกๆสถานการณ์ เราเชื่อว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นสำหรับคนที่เข้มแข็งและไม่ย่อท้อ : )