HIGHLIGHT
|
เมื่อต้นปี ค.ศ.2019 ที่ผ่านมาได้มีการแถลงผลงานวิจัยชิ้นสำคัญหนึ่งของโลกซึ่งเป็นการวิจัยในด้านทรัพยากรบุคคลอย่าง Global Talent Competitiveness Index (GTCI) 2019 หรือ ดรรชนีศักยภาพในการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลของโลก ซึ่งดรรชนีนี้เป็นการวัดผลประจำปีที่จัดทำขึ้นต่อเนื่องกันทุกปีเป็นครั้งที่ 6 แล้ว จัดทำโดยหน่วยงานที่ได้รับความน่าเชื่อถือที่นำโดย INSEAD สถาบันการศึกษาด้านธุรกิจชั้นนำอันโด่งดังของโลก ที่ร่วมกับ The Adecco Group องค์กรด้านทรัพยากรมนุษย์ชั้นนำของโลกและ Tata Communications องค์กรด้านนวัตกรรมสื่อสารที่มีชื่อเสียงในระดับสากลเช่นกัน สำหรับผลการวิจัย Global Talent Competitiveness Index 2019 ในครั้งนี้นั้นได้มีการจัดอันดับออกมาเป็นสองหมวดใหญ่ๆ คือประเทศที่ทรัพยากรบุคคลมีศักยภาพในการแข่งขันมากที่สุด และเมืองที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลในระดับโลก โดยการสำรวจและวิจัย GTCI 2019 ในครั้งนี้มีประเทศที่ได้รับการจัดอันดับทั้งหมด 125 ประเทศ และเมืองกว่า 114 เมือง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการจัดอันดับคราวที่แล้ว GTCI 2018 ที่มีประเทศได้รับการจัดอันดับ 119 ประเทศ และเมือง 90 เมือง
Global Talent Competitiveness Index 2019 – Countries / การจัดอันดับประเทศทั่วโลก
ผลการวิจัย Global Talent Competitiveness Index 2019 ประเทศที่ทรัพยากรบุคคลมีศักยภาพในการแข่งขันมากที่สุดที่คว้าอันดับที่ 1 ไปครองในปีนี้ก็ได้แก่สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) ตามมาติดๆ ด้วยอันดับ 2 ที่เพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนอย่างสิงคโปร์ (Singapore) ความไปครอง และอันดับ 3 ก็คือสหรัฐอเมริกา (USA) โดยทั้ง 3 ประเทศนี้ยังคงรักษาตำแหน่งเดิมของการจัดอันดับคราวที่แล้วไว้ได้อย่างเหนียวแน่นแบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ สำหรับประเทศไทยเองการจัดอันดับ GTCI คราวนี้คว้าลำดับที่ 66 มาครอง ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นกว่า GTCI 2018 ในปีที่แล้วที่ไทยได้ลำดับที่ 70 ส่วนประเทศที่อยู่ท้ายตารางก็ได้แก่ เยเมน (Yemen) ที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 125 นั่นเอง
Global Talent Competitiveness Index 2019 – Countries | ||
อันดับ | ประเทศ | คะแนน |
1 | สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) | 81.82 |
2 | สิงคโปร์ (Singapore) | 77.27 |
3 | สหรัฐอเมริกา (USA) | 76.64 |
4 | นอร์เวย์ (Norway) | 74.67 |
5 | เดนมาร์ก (Denmark) | 73.85 |
6 | ฟินแลนด์ (Finland) | 73.78 |
7 | สวีเดน (Sweden) | 73.53 |
8 | เนเธอแลนด์ (Netherlands) | 73.02 |
9 | อังกฤษ (United Kingdom) | 71.44 |
10 | ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) | 71.18 |
| |
| |
| |
66 | ไทย (Thailand) | 38.62 |
| |
| |
| |
125 | เยเมน (Yemen) | 11.97 |
Global Talent Competitiveness Index 2019 – AEC / การจัดอันดับประเทศในภูมิภาคอาเซียน
หากโฟกัสมาเฉพาะในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนนั้นแน่นอนว่าสิงคโปร์เป็นผู้นำคว้าอันดับ 1 ไปครอง โดยมีอันดับ 2 เป็นมาเลเซีย อันดับ 3 เป็นอินโดนีเซีย และอันดับ 4 เป็นของไทย นั่นเอง
Global Talent Competitiveness Index 2019 – AEC | |||
อันดับในอาเซียน | อันดับโลก | ประเทศ | คะแนน |
1 | 2 | สิงคโปร์ (Singapore) | 77.27 |
2 | 27 | มาเลเซีย (Malaysia) | 58.62 |
3 | 58 | ฟิลิปปินส์ (Philippines) | 40.94 |
4 | 66 | ไทย (Thailand) | 38.62 |
5 | 67 | อินโดนีเซีย (Indonesia) | 38.61 |
6 | 91 | ลาว (Lao PDR) | 33.56 |
7 | 92 | เวียดนาม (Vietnam) | 33.41 |
8 | 107 | กัมพูชา (Cambodia) | 26.57 |
Global Talent Competitiveness Index 2019 – Cities / การจัดอันดับเมืองทั่วโลก
แต่หากโฟกัสลงไปที่ตัวเมืองแล้ว เมืองที่ถือว่าทรัพยากรบุคคลมีศักยภาพในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้น อันดับ 1 ได้แก่ วอชิงตัน ดีซี (Washington, DC) สหรัฐอเมริกา (USA) ตามมาด้วยอันดับ 2 โคเปญเฮเกน (Copenhagen) ของเดนมาร์ก (Denmark) และอันดับ 3 ตกเป็นของออสโล (Oslo) นอร์เวย์ (Norway) นั่นเอง ส่วนชาติในเอเชียที่ทำอันดับได้สูงที่สุดในการจัดอับดับระดับเมืองนี้กลับตกเป็นของกรุงโซล (Seoul) เกาหลีใต้ (Korea, Rep.) ซึ่งคว้าอันดับ 10 ไปครอง
Global Talent Competitiveness Index 2019 – Cities |
||
อันดับ |
ประเทศ |
คะแนน |
1 | วอชิงตัน ดีซี (สหรัฐอเมริกา) / Washington, DC (United States) | 69.2 |
2 | โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก) / Copenhagen (Denmark) | 68.0 |
3 | ออสโล (นอร์เวย์) / Oslo (Norway) | 66.1 |
4 | เวียนนา (ออสเตรีย) / Vienna (Austria) | 65.7 |
5 | ซูริค (สวิตเซอร์แลนด์) / Zurich (Switzerland) | 65.5 |
6 | บอสตัน (สหรัฐอเมริกา) / Boston (United States) | 65.4 |
7 | เฮลซิงกิ (ฟินแลนด์) / Helsinki (Finland) | 65.0 |
8 | นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา) / New York (United States) | 64.6 |
9 | ปารีส (ฝรั่งเศส) / Paris (France) | 63.5 |
10 | โซล (เกาหลีใต้) / Seoul (Korea, Rep.) | 62.7 |
สำหรับปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการจัดอันดับศักยภาพในการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลในครั้งนี้มีอยู่หลากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถในระดับสากล (Global Knowledge Skills), ทักษะด้านสายวิชาชีพ (Vocational & Technical Skills), ปัจจัยส่งเสริมภายในชาติ, การพัฒนาคน, การรักษาพนักงานในแต่ละองค์กร, ตลอดจนความดึงดูดให้อยากมาร่วมงานด้วย เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
INSEAD (European Institute of Business Administration)
บทสรุป
ปัจจุบันองค์กรทั่วโลกหันมาใส่ใจในศักยภาพและความสามารถของบุคคลมากขึ้น เพราะปัจจัยนี้เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการส่งผลให้องค์กรหรือแม้แต่ธุรกิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ Global Talent Competitiveness Index (GTCI) 2019 นี้เป็นผลการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรบุคคลที่ทรงอิทธิพลของโลกที่มุ่งเน้นไปยังศักยภาพและความสามารถของบุคคลโดยเฉพาะซึ่งเป็นดรรชนีที่จะทำให้เราได้เห็นศักยภาพด้านทรัพยากรบุคคลของโลกในภูมิภาคต่างๆ ที่ส่งผลต่อขนาดเศรษฐกิจและการเติบโต
สำหรับประเทศไทยเองปีนี้อันดับใน GTCI 2019 นั้นขยับอันดับสูงขึ้นมาเป็นอันดับที่ 66 (และมีค่าเฉลี่ยรวม 3 ปี คือตั้งแต่ ค.ศ.2017-2019 อยู่ในลำดับที่ 59) ซึ่งก็ถือว่าดีกว่าลำดับในปีที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับศักยภาพทั้งโลกหรือแม้แต่ในภูมิภาคอาเซียนเองก็ยังถือว่าเป็นรองและต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดจนหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอีกมาก ซึ่งนั่นเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจและองค์กรเติบโตในระยะยาวอย่างมั่นคง รวมถึงประเทศพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่รายงานฉบับนี้มุ่งเน้นเป็นพิเศษในปีนี้นั้นไม่ใช่เฉพาะการต้องพัฒนาฝั่งแรงงาน หรือบุคคลากรในองค์กรเท่านั้น แต่หนึ่งหน่วยที่สำคัญมากๆ ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษก็คือการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในระดับผู้ประกอบการด้วย ซึ่งนั่นถือเป็นหัวใจหลักที่จะทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศด้วยนั่นเอง